ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

ฤกษ์ยามและเวทมนต์คาถา ชบ.ส. ๘ เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.18/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : วิวัฒนาการการปกครองของจีนชื่อผู้แต่ง : ธีระวิทย์ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยจำนวนหน้า : 410 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมการปกครองของจีนและญี่ปุ่น ทั้งในอดีตจนถึง พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นตำราวิชาการประวัติศาสตร์ของจีนที่นำไปใช้อ้างอิงต่อไปได้



          ตุ๊กตาสังคโลก เป็นสังคโลกประเภทหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานการพบเครื่องสังคโลก นิยมปั้นเป็นรูปบุคคลในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น สตรีอุ้มเด็ก บุคคลขี่กระบือ และรูปสัตว์ อาทิ ช้าง วัว นก แม่ไก่กับลูก           ตุ๊กตาสังคโลกเป็นหลักฐานหนึ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนมากขึ้น อาทิ การแต่งกาย การเลี้ยงสัตว์ สัตว์พาหนะ นอกจากนี้ ยังสะท้อนความเชื่อและการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนใกล้เคียงด้วย ตัวอย่างเช่น ตุ๊กตาสังคโลกที่มีการผสมระหว่างคนและสัตว์นั้น ในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเคยมีพระวินิจฉัย เรียกว่า นรสิงห์ เป็นสัตว์ผสมที่มีศีรษะเป็นคนสวมเครื่องประดับศีรษะ มีลำตัวเป็นสิงห์ ซึ่งปรากฏในตำนานของชาวมอญแถบ เมืองสะเทิมในประเทศพม่า           ปัจจุบัน เรายังไม่พบหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่าตุ๊กตาสังคโลกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีผู้สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อเป็นของเล่น หรือใช้ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์โดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัวตายตัวแทน เมื่อเสร็จพิธีก็จะหักคอ แขน หรือขาของตุ๊กตา หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า ตุ๊กตาเสียกบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หน้าที่การใช้งานที่แท้จริงของตุ๊กตาสังคโลกก็ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องศึกษาหาคำตอบต่อไป ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก


กุฏิลาย วัดราษฏร์ประดิษฐ์ วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ตั้งอยู่บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประวัติการก่อตั้งชุมชน กล่าวว่า ชุมชนบ้านกระเดียนก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายถิ่นมาจากบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน เมื่อประมาณช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า บ้านกระเบียน หรือกระด้งขนาดเล็ก ด้วยในพื้นที่มีต้นไผ่จำนวนมาก และชาวบ้านได้นำมาสานเป็นเครื่องจักสาน จนเป็นที่รู้จัก ซึ่งในภายหลังได้มีการเพี้ยนจากบ้านกระเบียนเป็นบ้านกระเดียน และเรียกสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2470 มีเสนาสนะที่สำคัญได้แก่ อุโบสถ (สิม) ศาลาการเปรียญ(หอแจก) กุฏิลาย นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เช่น พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ หีบไม้สำหรับเก็บคัมภีร์และตำรา เป็นต้น กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ เล่มที่ 118 ตอนพิเศษ 124ง ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2544 กุฎิลาย เดิมจากคำบอกเล่ากล่าวว่าเป็นกุฏิ 3 หลัง ปัจจุบันเหลือเพียง 2 หลัง เป็นอาคารใต้ถุนสูง แต่ละหลังมีเสาจำนวน 12 ต้น หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศเดียวกับศาลาการเปรียญ (หอแจก)และอุโบสถ (สิม) ตัวอาคารใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก แต่ละหลังเป็นอาคารหลังคาทรงจั่ว ประดับโหง(ช่อฟ้า) ใบระกา หางหงส์ สำหรับกุฎิหลังทิศใต้บริเวณกลางสันหลังคามีการประดับช่อฟ้า ส่วนหน้าบันมีการทาสีประดับกระจกสวยงาม โดยหลังด้านทิศเหนือ หน้าจั่วเป็นจั่วลูกฟัก ทาสีประดับกระจก หลังคาจะยาวเลยส่วนล่างของหน้าจั่วลงมา และมีปีกนกคลุมใต้จั่วทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ส่วนหลังทิศใต้เป็นจั่วรูปพระอาทิตย์ทาสีและประดับกระจกเช่นกัน ทำปีกนกรับหลังคาสามด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันตกซึ่งมีการต่อพาไลหรือเทิบยาวใต้จั่วเพื่อรับส่วนชานของอาคาร เดิมกุฏิลายมุงด้วยกระเบื้องไม้หรือแป้นเกล็ด ในภายหลังชาวบ้านจึงได้เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็นสังกะสีซึ่งหาง่ายและมีราคาถูกกว่า เมื่อสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี ดำเนินการบูรณะในปี พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนกลับหลังคาเป็นกระเบื้องไม้หรือแป้นเกล็ดเช่นเดิมเมื่อแรกสร้าง กุฏิลายสองหลังนี้ถูกสร้างเจตนาให้เชื่อมต่อประโยชน์ระหว่างกัน กล่าวคือ หลังด้านทิศใต้ ซึ่งไม่มีผนังหรือเป็นอาคารโล่งมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าทั้งฝั่งด้านทิศเหนือและใต้ ส่วนกุฏิหลังทิศเหนือนั้นไม่มีบันไดขึ้นหาอาคารได้โดยตรง หากแต่มีประตูที่บริเวณกลางผนังด้านทิศใต้ซึ่งติดต่อกับกุฏิหลังทิศใต้ นั่นหมายความว่าหากต้องการไปยังกุฏิหลังทิศเหนือต้องขึ้นบันไดและผ่านมาจากกุฏิหลังทิศใต้นั่นเอง เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกุฏิทั้งสองหลังที่หากเปรียบกับเรือนไทยภาคกลางจะเห็นได้ว่า กุฏิหลังทิศใต้ทำหน้าที่เป็นเรือนชานของกลุ่มเรือน ใช้ประโยชน์ในการพบปะกับผู้มาติดต่อหรือวางสิ่งของที่ไม่ใช่ของใช้ส่วนตัว หากแต่กุฏิหลังทิศเหนือนั้น มีลักษณะความยาวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นอาคารสามห้อง แต่ละห้องที่ผนังด้านทิศเหนือมีหน้าต่างห้องละ 1 บาน ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเจาะช่องหน้าต่างด้านละหนึ่งบาน ส่วนตัวเรือนของกุฏิหลังทิศเหนือมีความมิดชิด ผนังทั้งสี่ด้านเป็นผนังปิดด้วยฝาสายบัวประดับตกแต่งด้วยการทาสี กุฏิหลังทิศเหนือจึงน่าจะใช้เป็นส่วนจำวัดของพระภิกษุสงฆ์ วัดราษฏร์ประดิษฐ์มีโบราณสถานที่สำคัญหลายหลัง ซึ่งจะได้นำมาเสนอให้แก่ผู้ติดตามในโอกาสต่อไปนะคะ ........................................................................................................................................ นางสาวสิริพัฒน์ บุญใหญ่ นักโบราณคดีชำนาญการ ผู้เรียบเรียง อ้างอิง http://kradian.go.th/th/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี .รายงานการบูรณะโบราณสถานกุฏิไม้ วัดราษฎร์ประดิษฐ์ บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี,พ.ศ. 2556  




          ภาพสลักหน้าบัน ของปราสาทประธาน ด้านทิศใต้ สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเทพปกปักรักษาดูแลปราสาท อยู่เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย พรรณพฤกษา เป็นทรงพุ่ม ล้อมรอบบุคคล ซึ่ง มีองค์ประกอบภาพคล้ายกับภาพสลักหน้าบัน ของปราสาทประธาน ด้านทิศเหนือ โดยสภาพปัจจุบันมีบางส่วนได้รับความเสียหาย           บริเวณใต้หน้าบัน ปรากฏ ทับหลัง สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก เช่นเดียวกับ ทับหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก โดยองค์ประกอบภาพสลัก ประกอบด้วยพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย มีใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง แถวด้านบนสลักเป็นรูปสัตว์ ช้าง กระรอก หมู ลิงและวัว ซึ่งมีสภาพลบเลือน          ความพิเศษของภาพสลัก ปราสาทประธาน ด้านทิศใต้นี้ อยู่ด้านบนเหนือทับหลัง สลักภาพสัตว์ ฟากหนึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย อย่าง จระเข้ และแร้งกินซากสัตว์ อีกฟากหนึ่ง เป็นม้า ลูกม้าและลิง ซึ่งไม่พบในด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ           การปรากฏ ภาพสลัก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทพประจำทิศตะวันออก บนทับหลังทั้งด้านทิศตะวันออก และทิศใต้ นั้น จึงสันนิษฐานว่า ปราสาทบ้านพลวงให้ความสำคัญกับการเคารพนับถือบูชาพระอินทร์ ในฐานะเทพประจำทิศตะวันออก และเทพเจ้าแห่งฟ้า-ฝน เป็นพิเศษ           สำหรับภาพสลักหน้าบัน และกรอบทับหลัง ปราสาทประธานด้านทิศตะวันตกนั้น ไม่ปรากฏ หรือพบลวดลายสลักใดๆ พบเพียงพื้นผิวของหินทรายที่มีร่องรอยการโกลนลวดลายไว้เท่านั้น ----------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา-------------------------------------------------------


ชื่อเรื่อง                         สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)      สพ.บ.                           394/7หมวดหมู่                       พุทธศาสนาภาษา                           บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                   ชาดก                                   เทศน์มหาชาติ                                   คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   38 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ในอดีต ขุนนางถือว่าการมีเมียน้อยได้หลายคนนั้นเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาอย่างสูง ขุนนางคนใดไม่มีเมียน้อยก็ถือว่าเป็นคนอัตคัดเต็มที ส่วนสตรีนั้นไม่สามารถมีสามีหลายคนได้ดังเช่นบุรุษ หากเมียคนใดถูกจับได้ว่าเล่นชู้แล้ว เมียหลวงก็จะนำความไปแจ้งแก่สามีเพื่อลงทัณฑ์  


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “โฉมใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์” วิทยากรโดย นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร, ร้อยเอกบุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี และนางสาวสมลักษณ์ คำตรง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร



          สะพานแห่งนี้ ใน พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างสิ่งสำคัญเพื่อเป็นอนุสรณ์นี้เพื่อการสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๔๗๕) ด้วยทรงพระราชวินิจฉัยว่า สิ่งอนุสรณ์ที่จะสร้างในครั้งนี้ มี ๒ สิ่ง ได้แก่ สิ่ง ๑ คือ สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี เพื่อมหาชนได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสืบไป สิ่งที่ ๒ คือ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยา ทำทางถนนเชื่อมกรุงเทพฯ กับธนบุรี เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่มหาชน โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างบริเวณปลายถนนตรีเพ็ชร์ไปทางด้านทิศใต้ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณที่ทำการกรมทดน้ำ เดิม ซึ่งต่อมา คือ กรมชลประทาน) ต่อข้ามไปยังวัดประยูรวงศาวาส ในธนบุรี           พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอำนวยการแผนกศิลปากร ทรงออกแบบ หล่อด้วยสำริด สูง ๔.๖ เมตร ส่วนสะพานข้าม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงอำนวยการสร้าง มีกรมรถไฟหลวงเป็นผู้ออกแบบโครงการ ในการก่อสร้างดำเนินการจ้างด้วยวิธีประกวดราคาจากบริษัทต่างประเทศ จำนวน ๕ บริษัท จาก ๕ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเลือกบริษัท เมสส์ ดอร์แมน ลอง จำกัด (Messrs Dorman Long & Co.Ltd, Middlesbrough, England) จากอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเสนอราคาการก่อสร้างต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ กล่าวคือ ราคาก่อสร้างสะพานเหล็กและทางลาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒๔๔,๓๓๒ ปอนด์ และค่าตกแต่งสะพาน ๗๕,๐๙๓ ปอนด์ พร้อมทั้ง พระราชทานนามสะพานแห่นี้ว่า “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๗๒ เริ่มส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ กำหนดส่งมอบงานก่อสร้างในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๕           สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยที่มาของงบประมาณในการก่อสร้างส่วนหนึ่งมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรขึ้นร่วมกับเงินที่ประชาชนบริจาคพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ณ บริเวณสำนักงานกรมทดน้ำพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงอธิบายแผนผังถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์    (ซ้าย – ขวา) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๗๒การประกอบสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งกรุงเทพฯ โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและเสาเชิงสะพาน เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓การก่อสร้างตอม่อกลางแม่น้ำเจ้าพระยาของสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งธนบุรี โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและโครงสะพานเหล็กฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีประทับเรือพระที่นั่งจักรีเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔ สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อช่องกลางสะพานปิด (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔) สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อเปิดช่องกลางสะพาน (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)-----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี-----------------------------------------------------------(หมายเหตุ : ภาพประกอบข้อมูลมาจาก :- อำมาตย์โท หลวงประกอบยันตรกิจ(โยน ใยประยูร). สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข่าวช่าง ฉบับพิเศษ เนื่องในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕(พระนคร : สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม, ๒๔๗๕) หน้า ๒ – ๓๔)