ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,515 รายการ

            บรรยากาศงานประเพณีปอยส่างลอง หรือ ประเพณีบวชลูกแก้ว เป็นการบวชเณรให้กับบุตรหลานตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทยใหญ่ ที่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน               ในวันที่ ๓   วันข่ามส่าง วันนี้ส่างลองจะเข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด ซึ่งตลอดวันที่จัดงาน มีข้อห้ามสำคัญว่า ห้ามให้เท้าของส่างลองแตะพื้นเด็ดขาด ถ้าจะไปไหนให้พ่อ พี่หรือญาติที่เป็นผู้ชายเอาขี่คอแทน และจะมีตะแปหรือคนคอยกางร่มให้ตลอดเวลา                   พอถึงวัด ลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านได้อนุญาต ลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตน และอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นก็สามเณรอย่างสมบูรณ์ 


สัมมนาเรื่อง “เรือนอาศัย : ความเชื่อและวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท”ในวันระหว่างวันที่ 25 – 26 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก  ตำบลคลองห้า  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ร่วมสืบสาน สืบทอดและเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานรัฐและเอกชน   พิธีกล่าวเปิด โดย ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  นายสหภูมิ  ภูมิธฤติรัฐ เมื่อวันพุธ ที่ 25  มิถุนายน 2557 ได้จัดสัมมนาการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การศึกษาความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทยจากเรือนอยู่อาศัย” โดย รศ.วีระ อินพันทัง อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาลัยศิลปากร การอภิปรายเรื่อง “เรือนไทลื้อ –เรือนไทยวน – เรือนไทยใหญ่ : ความเชื่อและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม” โดยวิทยากร :นายสุรศักดิ์  ป้อมทองคำ  ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ดร.อุดม  สมพร  ผู้ก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สภาบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี, นายวิชัย  ศรีจันทร์  อุปนายกสมาคมไทลื้อ จังหวัดพะเยา และนายจรัส  สมฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดพะเยา                   ดำเนินการอภิปราย : นายลักษณ์  บุญเรือง  ภัณฑารักษ์ชำนาญการ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน การอภิปรายเรื่อง “เรือนไทดำ –เรือนไทกะเลิง – เรือนภูไท : ความเชื่อและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม” โดยวิทยากร : นายสุเทพ ไชยขันธุ์  นักวิชาการอิสระกลุ่มภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์, นาวาอากาศโทวีระ  การะเวก  นักวิชาการอิสระกลุ่มไทดำ บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย และอาจารย์สำเริง  ทรงศิริ  นักวิชาการอิสระกลุ่มไทกะเลิง จังหวัดสกลนคร                  ดำเนินการอภิปราย : นางสาวชวรัตน์  อุลิศ  ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี การอภิปรายเรื่อง “เรือนไทลาวและเรือนไทยพื้นถิ่นใต้ : ความเชื่อและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม” โดยวิทยากร :   ดร.จเร  สุวรรณชาติ  อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา, นางจิตกวี  กระจ่างเมฆ  พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดทุ่งผักกูด จังหวัดนครปฐม และนางวนัสสุดา  วงษ์วัฒนคุ้ม  เลขานุการชมรมไท-แง้ว ตำบลทองเอน จังหวัดสิงห์บุรี                    ดำเนินการอภิปราย : นางกาญจนา  โอษฐยิ้มพราย ภัณฑารักษ์ชำนาญการ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น  กรุงเทพมหานครและวันพฤหัสบดี ที่ 26 มิถุนายน 2557 ได้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “พิธีกรรมเนื่องในการปลูกเรือน” โดย ผศ.ดร.สมชาย  นิลอาธิ  สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาลัยมหาสารคาม การอภิปรายเรื่อง “เรือนไทโย้ย – ไทญ้อ – ไทแสก : ความเชื่อและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม” โดยวิทยากร :  นายประดิษ  คิอินธิ  นักวิชาการอิสระกลุ่มไทยโย้ย จังหวัดสกลนคร, นายวอน  ดันมีแก้ว  นักวิชาการอิสระกลุ่มไทญ้อ จังหวัดสกลนครและนายปรีชา  ชัยปัญหา  นักวิชาการอิสระกลุ่มไทแสก จังหวัดนครพนม                   ดำเนินการอภิปราย : นางสาวดาริกา  ธนะศักดิ์ศิริ  ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีการบรรยายพิเศษเรื่อง “อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ตระกูลไท” โดย ดร.ภัททิยา  ยิมเรวัต คณะศิลปาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  การอภิปรายเรื่อง “แนวคิดในการอนุรักษ์และฟื้นฟูอัตลักษณ์เรือนอาศัยของชาติพันธุ์ตระกูลไท” โดยวิทยากร : นายสุรศักดิ์  ธาดา  เจ้าคุ้มวัฒนธรรมเมืองมัญจาคีรี (บ้านไทลาว) จังหวัดขอนแก่น, นายชุมพร  สิทธิบุญ  เฮือนไทพวนกับบทบาทการเป็นโฮมสเตย์ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และนายพลาดิสัย  สิทธิธัญกิจ  นายกสมาคมสื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย                   ดำเนินการอภิปราย : นางจารุณี  อินเฉิดฉาย  ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก  จังหวัดปทุมธานี







111111111111111111111






            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤษภาคม" เชิญพบกับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณ เรียนรู้เรื่องเครื่องจักสานที่เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน             โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "ตะข้องเป็ด" ขนาดความสูง ๓๖ เซนติเมตร ปากกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร วัสดุทำจากไม้ สมัยรัตนโกสินทร์ ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ มีลักษณะเป็นภาชนะจักสานจากตอกไม้ไผ่สำหรับใส่สัตว์น้ำ ปากกลมแคบ คอคอด ตัวตะข้องรูปร่างคล้ายตัวเป็ด ก้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีฝาใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปากกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไผ่ไว้เรียกว่า งาแซง นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของข้อง การใช้งานของข้อง การสานข้องเป็ด ความเป็นมาของเครื่องจักสาน การประดิษฐ์เครื่องจักสานของแต่ละภูมิภาค รูปแบบเครื่องจักสานภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ กับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนไทยที่มีชื่อเสียง มีผลงานหลากหลาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษประชามิตร ลงพิมพ์การ์ตูนเรื่อง จันทโครพ ที่ใช้บทลิเกบรรยายเรื่อง ฉาก และคำพูดของตัวละคร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่องแรก หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษประชามิตร เป็นแหล่งกำเนิดของตัวการ์ตูนสำคัญ ซึ่งในชีวิตของ ประยูร จรรยาวงษ์ นั่นก็คือ “ศุขเล็ก”พระเอกลิเก (การ์ตูน) ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แสดงออกถึงการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การปลูกต้นไม้ หรือการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ทั้งการพึ่งตนเอง อยู่กับธรรมชาติ ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ผ่านการ์ตูนชุดขบวนการแก้จน เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ - ๒๕๒๑ ซึ่งการ์ตูนชุดนี้ได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างมากในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานกว่า ๒๐ ปี นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนภาพการ์ตูนของโลกที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นภาพการทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้ายและในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับรางวัลแมกไซไซ รวมถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่ คนไทยควรจะได้อ่าน (พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๕๑๙) อีกด้วย เรียบเรียงโดย : นาย ธนกฤต แสงวิจิตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : ไปรษณีย์ไทย.  แสตมป์ ๑๐๐ ปี ผู้สร้างตำนานการ์ตูนไทย “ประยูร จรรยาวงษ์”.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/article/11/1956 ยอดมนุษย์..คนธรรมดา.  ประยูร จรรยาวงษ์ : นักเขียนการ์ตูน ‘ขบวนการแก้จน’. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก:  https://www.thenormalhero.co/prayoon-chanyavongs/, ๒๕๖๔. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo?fbid=886334652876134, ๒๕๖๖. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  ข้าวแช่ (อาหารแห่งความรัก).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo/?fbid=4680525725386507&set=pb.100044988228985.-2207520000, ๒๕๖๕. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  ประยูร จรรยาวงษ์.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo/?fbid=5282672651838475&set=pcb.5282722105166863, ๒๕๖๕. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.   [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/SookLekCartoon/?locale=th_TH   สำนักพิมพ์บ้านและสวน.  หนังสือในตำนาน ๒.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/photos/a.205569129477179/1086113068089443/?type=3&locale=th_TH, ๒๕๕๘. Sooklek Channel.  ขบวนการแก้จน.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/channel/UCzk66OopWhNQaPv_xVuY3PQ  


ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนไทยที่มีชื่อเสียง มีผลงานหลากหลาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษประชามิตร ลงพิมพ์การ์ตูนเรื่อง จันทโครพ ที่ใช้บทลิเกบรรยายเรื่อง ฉาก และคำพูดของตัวละคร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่องแรก หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษประชามิตร เป็นแหล่งกำเนิดของตัวการ์ตูนสำคัญ ซึ่งในชีวิตของ ประยูร จรรยาวงษ์ นั่นก็คือ “ศุขเล็ก”พระเอกลิเก (การ์ตูน) ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แสดงออกถึงการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การปลูกต้นไม้ หรือการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ทั้งการพึ่งตนเอง อยู่กับธรรมชาติ ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ผ่านการ์ตูนชุดขบวนการแก้จน เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ - ๒๕๒๑ ซึ่งการ์ตูนชุดนี้ได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างมากในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานกว่า ๒๐ ปี นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนภาพการ์ตูนของโลกที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นภาพการทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้ายและในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับรางวัลแมกไซไซ รวมถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่ คนไทยควรจะได้อ่าน (พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๕๑๙) อีกด้วย เรียบเรียงโดย : นาย ธนกฤต แสงวิจิตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควบคุมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : ไปรษณีย์ไทย.  แสตมป์ ๑๐๐ ปี ผู้สร้างตำนานการ์ตูนไทย “ประยูร จรรยาวงษ์”.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/article/11/1956 ยอดมนุษย์..คนธรรมดา.  ประยูร จรรยาวงษ์ : นักเขียนการ์ตูน ‘ขบวนการแก้จน’. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก:  https://www.thenormalhero.co/prayoon-chanyavongs/, ๒๕๖๔. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo?fbid=886334652876134, ๒๕๖๖. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  ข้าวแช่ (อาหารแห่งความรัก).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo/?fbid=4680525725386507&set=pb.100044988228985.-2207520000, ๒๕๖๕. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.  ประยูร จรรยาวงษ์.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/photo/?fbid=5282672651838475&set=pcb.5282722105166863, ๒๕๖๕. ศุขเล็ก โดย ประยูร จรรยาวงษ์.   [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/SookLekCartoon/?locale=th_TH สำนักพิมพ์บ้านและสวน.  หนังสือในตำนาน ๒.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/photos/a.205569129477179/1086113068089443/?type=3&locale=th_TH, ๒๕๕๘. Sooklek Channel.  ขบวนการแก้จน.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/channel/UCzk66OopWhNQaPv_xVuY3PQ


            สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “แผนภูมิของแผ่นดิน” ประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ วิทยากรโดยนายไอยคุปต์ ธนบัตร นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ, นายภูวนารถ สังข์เงิน นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ, นางสาวณัฏฐ  กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ และนายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ ผู้ดำเนินรายการ ในวันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยท่านสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่านการสแกน QR Code หรือผ่าน Link https://forms.gle/yptE9EzKU99D76TW7 หรือรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ Facebook Fanpage กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในวันและเวลาดังกล่าว


               กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ ๔ กับกิจกรรม "ท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมภาคตะวันตก : ต้นธารแห่งอารยธรรมไทย" ในราคา ๕,๐๐๐ บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหารและอาหารว่าง ค่าที่พัก ค่าเข้าชมละคร เรื่อง "เลือดสุพรรณ" และค่าบริการอื่น ๆ)             กิจกรรมครั้งนี้ จัดให้ทุกท่านไปท่องเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน ระหว่างวันที่ ๖ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นำชมโดยนักวิชาการจากกรมศิลปากรตลอดทั้งรายการ  เริ่มต้นวันแรกด้วยการเดินทางไปจังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ณ แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชมและซื้อสินค้าชุมชน ณ ตลาดสามชุก ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และชมทิวทัศน์เมืองโบราณอู่ทองบน skywalk และสักการะพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พร้อมชมการแสดงละคร เรื่อง “เลือดสุพรรณ” จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก รุ่งเช้าวันที่ ๒ ออกเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จากนั้นเดินทางไปสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม             เปิดรับผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน ๘๐ ท่าน  สนใจร่วมกิจกรรม สามารถสำรองที่นั่ง และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๖๐๐๘ และ ๖๐๑๐ หรือโทร. ๐ ๙๒๖๓๔ ๘๕๘๓


"สระเพลง" บารายขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง ๒๕๐ เมตร ยาว ๔๔๐ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทพนมวัน ปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท