ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,559 รายการ

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 67 เวลา 16.00 น. คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคุณประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลนครราชสีมา และคณะ เดินทางมาเยี่ยชม การขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก โดยมีนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา บรรยายสรุปหลุมขุดตรวจ



           หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันหนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้กับห้องสมุดที่ขาดแคลนหรือได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ ในโครงการ Read Me Around @NL.CNX สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : m.me/446551452388843 หรือ Scan QR Code             ท่านที่สนใจอยากจะเป็นส่วนนึงในการแบ่งปัน สามารถนำหนังสือใหม่ หรือหนังสือมือสองสภาพดีมาบริจาคด้วยตัวเองได้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ 20/1 ถนน บุญเรืองฤทธิ์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100 (ในวันและเวลาทำการ) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทาง Inbox Facebook : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ NL.CNX หรือ โทร 0 5327 8322








วันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ร่วมกิจกรรมทำความสะอาด ณ โบราณสถานวัดหนานช้างและวัดอีก้าง (อีค่าง) พื้นที่เมืองโบราณเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่


         สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ดำเนินการพัฒนาชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้หลักสูตรหรือชุดวิชาการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริตเนื้อหาใหม่ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้กรอบแนวคิดผสานพลังต้านทุจริตและสินบนในสังคม (Together against Corruption and Bribery in Society) จำนวน ๓ เรื่อง          ๑. ครอบครัวรุ่นใหม่ไม่ทนคอร์รัปชัน และสินบน (New Generation Families with Intolerance to Corruption and Bribery) เพื่อเป็นกลไกระยะยาวใน การปลูกฝังวิธีคิดป้องกันการทุจริตให้แก่ผู้เรียนอย่างเป็นอัตโนมัติ Download Click          ๒. องค์กรโปร่งใสไร้ ทุจริตและสินบน (STRONG Organization Anti-Corruption and Bribery) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่องค์กรโปร่งใสไร้ทุจริตและสินบน ทั้งในมิติของการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปสร้างวัฒนธรรมองค์กรและผลักดันให้เกิดองค์กร โปร่งใสไร้ทุจริตและสินบนอย่างเป็นรูปธรรม Download Click          ๓. การต้าน การลดทุจริตและสินบนในสังคม (Anti-Corruption and Bribery in Society) ด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส ประชาชนจะตื่นตัวและ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการป้องกันและแจ้งเบาะแสการทุจริต การสร้างรากฐานทางจริยธรรมที่แข็งแกร่งภายใน สังคมอาจเป็นแนวทางระยะยาว แต่ท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลในการแก้ปัญหาการทุจริตตั้งแต่ต้นตอ โดยอาศัยความ ร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อการต้าน การลดทุจริตและสินบนในสังคม (Anti - Corruption and Bribery in Society) ผ่านกลไกต่าง ๆ Download Click          หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบได้ครอบคลุมทุกเป้าหมาย ได้แก่ สถาบันครอบครัว องค์กร และสังคม รวมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วน อีกทั้ง ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงานตามความเหมาะสม 


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๐๒ คน


            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าและแสงสว่าง (Light up) บริเวณโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า (ป้อมหมายเลข 9) ตำบลหัวเขา อำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา และเปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว รวมถึงผู้ที่สัญจรไปมาได้มองเห็นถึงความสวยงาม และคุณค่าของโบราณสถานป้อมหมายเลข 9 ในยามค่ำคืนทุกวัน ระหว่างเวลา 18.00 - 22.00 น. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์              อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวอีกว่า การดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าและแสงสว่าง (Light up) โบราณสถานในเขตเมืองเก่าสงขลา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสงขลาสู่มรดกโลก และการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ ตามนโยบาย  ซอฟพาวเวอร์ของรัฐบาล และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ โดยหลังจากนำร่องที่โบราณสถานป้อมหมายเลข 9 แล้ว จะได้ดำเนินการกับโบราณสถานอื่น ๆ ในเมืองสงขลาเก่า ต่อไป             ป้อมเมืองสงขลาเก่า หมายเลข 9 เป็นโบราณสถานที่มีความงามทางสถาปัตยกรรมโดดเด่น ตั้งอยู่ใกล้ริมถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ระหว่างตำบลหัวเขากับตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นป้อมปราการเมืองสงขลาเก่า ปรากฎชื่ออยู่ในเอกสารโบราณว่า SINGORA เป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยอยุธยาเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการเป็นอาณาเขตและเป็นปราการของเมือง โดยมีคูเมืองและกำแพงเมืองเป็นปราการด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศใต้มีเขาแดงและเขาค่ายม่วงเป็นปราการ ป้อมเมืองเก่าสงขลาหมายเลข 9 เป็นป้อมก่อด้วยหินที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบเชิงเขาน้อยบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสงขลาเก่า โดยอยู่ห่างจากโบราณสถานเจดีย์ภูเขาน้อยประมาณ 300 เมตร อยู่ห่างจากป้อมเมืองสงขลาเก่าหมายเลข 1 ประมาณ 1,072 เมตร ทำหน้าที่เป็นป้อมตรวจการณ์ด้านทิศใต้และด้านตะวันตกของเมืองสงขลาเก่า กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานป้อมหมายเลข 9 เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 109 ตอนที่ 119 หน้า 10190 วันที่ 17 กันยายน 2535 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 2,460 ไร่


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “รัชกาลที่ ๕ กับพระบรมราโชบายในการว่าจ้างชาวต่างชาติ” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชวนทุกท่านเตรียมพบกับงาน Bangkok Art Biennale 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งที่ 4 โดยในปีนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เป็น 1 ในสถานที่จัดแสดงผลงานจากศิลปินชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 14 ท่าน อาทิ Agnes Arellano, Aideen Barry, Lena Bui, Guerreiro do Divino Amor, Chitra Ganesh, Mella Jaarsma(in collaboration with Agus Ongge), George K., Kira O'Reilly, Som Supaparinya, Deneth Piumakshi Veda Arachchige, Supawich Weesapen, Wishulada และ Pokchat Worasab              มาร่วมค้นหาความหมายที่แตกต่างของ “ไกอา” (Gaia) ภายใต้แนวคิด “รักษา กายา” (Nurture Gaia) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อของเทพี “ไกอา” หนึ่งในร่างของพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นตัวแทนของแม่ผู้ให้กำเนิด และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ที่ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลานานในหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ชมตระหนักถึงความสำคัญของไกอาในฐานะที่เป็นแม่ของแผ่นดิน ที่ถูกถ่ายทอดในรูปลักษณ์ที่หลากหลายตามบริบททางวัฒนธรรม ไปจนถึงตระหนักถึงการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน              นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568 วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท I ชาวต่างชาติ 200 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/bkkartbiennale?mibextid=LQQJ4d