ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,150 รายการ

หมวด 000 ความรู้ทั่วไป ตำรา 102: abc.  กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2553. (089.95911 ต367) นิธิ สถาปิตานนท์.  สถาปนิกสี่เหลี่ยม 12 มุม.  กรุงเทพฯ: คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี, 2544. (089.95911 น612ส) กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง.  พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัย.  กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, 2555. (069.068 ว394พ ฉ.05)     หมวด 100 ปรัชญา จิตวิทยา ดาไล, ลามะ.  ศิลปะแห่งความสุข.  กรุงเทพฯ: อีเทอร์นัล อิงค์, 2547. (158 ด433ศ)     หมวด 200 ศาสนา กรมการศาสนา.  แนะนำการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญทั่วไทยในมิติทางศาสนา.  กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, 2562. (294.3135 ก521น) กระทรวงวัฒนธรรม, กรมศาสนา.  ศาสนพิธีและมารยาทไทย.  กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, 2563. (294.3138 ว394ศ) ต้นพลัม.  ดอกผลจากประสบการณ์ภาวนากับ ติช นัท ฮันห์ สู่ร่มเงาทางจิตวิญญาณในบ้านเมืองไทย.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิหมู่บ้านพลัม, 2553. (294.31435 ต125) พระครูบาบุญชุ่ม ญาณํสวโร อรัญวาสีภิกขุ. ธรรมบุญ 3: พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโรอร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2563.      (294.30922 พ322ธ ล.3) พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ).  ชีวิตของข้าพเจ้า: อัตตชีวประวัติ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ).  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2555.     (294.30922 พ349ช) ภิกขุปาติโมกข์แปล พร้อมมาติกาสำหรับวินิจฉัยสิกขาบท.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2563. (294.318 ภ497) ศักดา  วิมลจันทร์.  เส้นทางนักรบ.  กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2555. (294.30922 ศ321ส) สม สุจีรา.  ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น.  พิมพ์ครั้งที่ 81.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2555. (294.31175 ส231อ)     หมวด 300 สังคมศาสตร์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.  แนวทางการพัฒนาชุมชนวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม     วัฒนธรรม, 2567. (307.14 ส145น) กำชัย เจริญพงศ์ชัย.  เส้นทางเกียรติศักดิ์: นักรบแห่งราชนาวี.  กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2554. (359.007 ก563ส) ชิมามุระ, โนริโอะ.  หนีไฟนรก.  กรุงเทพฯ: กะรัต, 2528. (320.9596 ช576ห) ซัลเวล, เควิน.  พลังแห่งการแบ่งครึ่ง.  กรุงเทพฯ: A Book, 2555. (339.47 ซ151พ) เริงฤทธิ์ คงเมือง.  หมอตระเวนชายแดน ภารกิจสุขภาพเพื่อคนยาก.  นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, 2552. (362.12 ร796ห) เหอ อุ๋น ฮุ่ย.  ภาษิตจอมปราชญ์.  กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, 2557. (398.9951 ห756ภ)     หมวด 400 ภาษาศาสตร์ เฑียร ธรรมดา.  Grammar หน้าด้าน #1.  กรุงเทพฯ: ลีลาภาษา, 2555. (428.1 ฑ711ก)     หมวด 500 วิทยาศาสตร์ ชัยวัฒน์ คุประตะกุล.  ไอสไตน์ ผู้พลิกจักรวาล.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: สารคดี, 2543. (509.2 ช432อ)     หมวด 600 เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดมิงเกอร์, ลินดา อาร์.  เอาต์ซอร์ส (outsource): ใครเก่งสิ่งไหน ก็ทำสิ่งนั้น.  กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์, 2550. (658.4 ด966อ) ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์.  ปฏิวัติสุขภาพด้วยธรรมชาติบำบัด กิน ดื่มด่าง ล้างพิษตับ.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์, 2556. (615.8 ป547ป) พัชรวรรณ พรรณพฤกษา.  สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อสุขภาพดี สวยใส และไม่มีโรค.  กรุงเทพฯ: เพชรสีน้ำเงิน, 2551. (613 พ516ส) มาโนช พุ่มไพจิตร.  ยุทธศาสตร์เถ้าแก่หมาก 3 ชั้น ระดับ 5 ดาว.  เชียงใหม่: ขุมทรัพย์การพิมพ์, 2550 (658 ม456ย) แลนโด, ชาย.  การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์.  กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2549. (658.4053 ล948ก)     หมวด 700 ศิลปะ นันทนาการ ธนาคารกรุงเทพ.  การละเล่นพื้นบ้าน: ศูนย์สังคีต (พ.ศ. 2522 – 2524 รวมสูจิบัตรด้านการละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง ซึ่งแสดง ณ ศูนย์สังคีตศิลป์.       กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ, 2529. (795.319593 ธ232ก) องอาจ ชัยชาญชีพ.  หัวแตงโม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: สำนักเป็ดเต่าควาย, 2550. (741.5 อ117ห ล.2)   หมวด 800 วรรณคดี นวนิยาย 40 เรื่องสั้น 40 บทกวี 40 ปี สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย: เรื่องสั้นและบทกวีคัดสรร พ.ศ. 2514-2554. กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, 2555.      (808.831 ส733) กรรัมภา.  คุณพ่อสายลับ.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2562. (895.913 ก181ค) _________.  ภารกิจปราบพยศ.  กรุงเทพฯ: ชูการ์บีท, 2557. (895.913 ก181ภ) แก้วชวาลา.  คลื่นรักทะเลหวาน.  กรุงเทพฯ: อักษรศาสตร์, 2551. (895.913 ก892ค) ________. ทาสรักเมดิเตอร์เรเนียน.  กรุงเทพฯ: อักษรศาสตร์, 2551. (895.913 ก892ท) คุณสมปอง.  ขุนขังรัก.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ค631ข) ________.  เขตเก็บรัก.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2562. (895.913 ค631ข) คำรัก.  ผุดปาดปัญญาพร่าง.  กรุงเทพฯ: สถาบันไทยปัญญ์สุข, 2564. (895.911 ค379ผ) จุฑารัตน์.  จักรพรรดิแห่งดวงดาว.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 จ631จ) เจ้าเอย.  ร้ายแสนรัก.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2562. (895.913 จ758ร) ชมจันทร์.  ดุจคำอธิษฐาน.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2555. (895.913 ช163ด) ________.  บนสะพานแห่งความรัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2557. (895.913 ช163บ) ชลันตี.  คีรีมายัน.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2561. (895.913 ช238ค) ช่อมณี.  หงส์สะบัดลาย.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 ช321ห) โชติรส.  เกมแค้นชนวนรัก.  กรุงเทพฯ: ตะวันเปรมปรีดิ์, 2561. (895.913 ช828ก) ญนันธร.  พระจันทร์กลางใจ.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2559. (895.913 ญ119พ) ________.  เรือนทาส.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2557. (895.913 ญ119ร) ญานภา.  เล่ห์ลายโบตั๋น.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2555. (895.913 ญ339ล) ดังเต้, อลิกิเอริ.  สายน้ำแห่งวิญญาณ.  กรุงเทพฯ: แบลคแมจิก, 2536. (851.1 ด319ส) ดาริยา.  บ่วงน้ำผึ้ง.  กรุงเทพฯ: ชูการ์ บีท, 2558. (895.913 ด428บ) ดาริส.  กลวิธีรัก กับดักเสน่หา.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 ด422ก) ติยากร.  คนรักของสายฟ้า.  กรุงเทพฯ: เขียนฝัน, 2561. (895.913 ต393ค) ________.  Baby I fall in love with you.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ต393บ) ________.  Baby I’m addicted to you.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ต393บ) ________.  Baby I’m crazy about you เรามารักกันไหม.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ต393บ) ________.  Baby I need you.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ต393บ) ________.  Baby, only you.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ต393บ) ติยาภัทร.  สุดรอยทรายใต้เงาจันทร์.  กรุงเทพฯ: Come on, 2551. (895.913 ต393ส) ธารใส.  พลิกร้ายตลบรัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2554. (895.913 ธ522พ) ธีรตี.  กับดักบุษา.  กรุงเทพฯ: เขียนฝัน, 2562. (895.913 ธ623ก) ธุวัฒธรรพ์.  เปิดประตูใจ.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2560. (895.913 ธ739ป) นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์.  4 - 6.  กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2556. (895.914 น297ส) น้ำฟ้า.  ห้วงรักเงาอดีต.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 น527ห) บุษบาพาฝัน.  วิวาห์นี้มีเดิมพัน.  กรุงเทพฯ: อิงค์, 2553. (895.913 บ675ว) บุหลัน ลันตา.  รักแท้น้ำตาลวง.  นนทบุรี: ทัช, 2554. (895.913 บ691ร) เบญจามินทร์.  I promise อาณาจักรรัก.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 บ796อ) โบ พิมพ์พลอย.  ห่อใจด้วยรัก.  กรุงเทพฯ: ปองรัก, 2562. (895.913 บ912ห) ป. ศิลา.  สะดุดรักกลางใจ.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2562. (895.913 ป111ส) ________.  สะดุดรักที่พักกอง.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2562. (895.913 ป111ส) ________.  สะดุดรักนักวางแผน.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2562. (895.913 ป111ส) ________.  สะดุดรักสลับร่าง.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2562. (895.913 ป111ส) ________.  หัวใจ สายใย ไออุ่นรัก.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561. (895.913 ป111ห) ปลายตะวัน.  ลิขิตแห่งรักซึ่งกันและกัน.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2548. (895.913 ป486ล) ปัณภัส.  รัก (กรรณ) วันละนิด.  กรุงเทพฯ: ทัช, 2562. (895.913 ป526ร) ปาณัฐ.  บ่วงรักกับดักหัวใจ.  นนทบุรี: สมาร์ทบุ๊ค, 2552. (895.913 ป545บ) ปาลินี.  Lucky in Love จัดหัวใจให้ลงรัก.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 ป561ล) ผักบุ้ง.  เกี่ยวก้อยกามเทพ.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2562. (895.913 ผ259ก) พัพพุ.  พริ้งพราว.  กรุงเทพฯ: ชูการ์ บีท, 2562. (895.913 พ579พ) พรรษชล.  แซะรัก มัดรัก.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2562. (895.913 พ273ซ) พลิ้วอ่อน.  โหยเสน่หา.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2557. (895.913 พ458ห) พิมพ์พลอย.  เสน่หารักร้อยใจ.  กรุงเทพฯ: ไอวี่ บุ๊คเฮ้าส์, 2554. (895.913 พ718ส) เพฑูรย์.  หิมาลายาล่ารัก.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2556. (895.913 พ912ห) ภัคธร.  หิมะพร่างรัก.  กรุงเทพฯ: ชูการ์บีท, 2562. (895.913 ภ321ห) ภาคินัย.  Mirror กระจกสั่งตาย.  กรุงเทพฯ: โซฟา, 2555. (895.913 ภ418ม) มนต์จันทร์.  กรุ่นกลิ่นหัวใจสายใยแห่งรัก Oh my boy.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2562. (895.913 ม145ก) มาย เลดี้ พิมซ์.  ลิขิตรักข้ามขอบฟ้า.  กรุงเทพฯ: Z - Girl, 2550. (895.913 ม456ล) เมญาณี.  นี่ไง...ใช่รัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2562. (895.913 ม721น) ________.  ไม่สิ้นสุดรัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2562. (895.913 ม721ม) ________.  ร้อยรักกฤตนัย.  กรุงเทพฯ: ชูการ์บีท, 2561. (895.913 ม721ร) โยโคมิโซะ, เซชิ.  คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 3 บทเพลงปีศาจ.  กรุงเทพฯ: เจบุ๊ค, 2552. (895.63 ซ499ค) รพัด.  ขวัญเกล้า.  กรุงเทพฯ: ดีต่อใจ, 2561. (895.913 ร142ข) รมย์นลิน.  สิเน่หามรณะ.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2556. (895.913 ด422ก) รัมย์.  สูตรรักนักปรุงรส.  กรุงเทพฯ: 1668, 2548. (895.913 ร387ส) ร้านกาแฟไร้ชื่อ.  กรุงเทพฯ: โฟกัล อิมเมจ, 2555. (895.91301 ร443) ริญจน์ธร.  Come back to me บาดาลรัก.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 ร477ค) เรณี.  สิงสารารัก.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2560. (895.913 ร761ส) โรสิตา.  บ่วงรักเล่ห์ซาตาน.  กรุงเทพฯ: ปองรัก, 2561. (895.913 ร949บ) ลานีน.  ดวงใจศิขรินทร์.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2562. (895.913 ล266ด) วาโย.  เล่ห์จันทร์พรางใจ.  กรุงเทพฯ: อรุณ, 2553. (895.913 ว475ล) วิชัย มาตกุล.  รุ้งตะแคงแวงตั้ง.  กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2556. (895.914 ว539ร) เวห์.  Night to need you คืนปรารถนาวิวาห์สลับรัก.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2562. (895.913 ว919น) สันติ วุฒิรัตน์.  สามก๊ก ฉบับการ์ตูนคลาสสิก.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2556. (895.13 ส582ส) สัมพันธภาพ.  กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม, 2564. (895.91301 ส612) สายไหม.  เพียงเธอ.  นนทบุรี: ทัช, 2555. (895.913 ส664พ) โสภี พรรณราย.  หัวใจทะเลทราย.  กรุงเทพฯ: บิวตี้บุ๊ค, 2550. (895.913 ส988ห) ศิศิรา.  เงารักแรงแค้น.  กรุงเทพฯ: ชูการ์บีท, 2558. (895.913 ศ557ง) อัยย์เนญ่า.  ปฏิบัติการกามเทพ.  กรุงเทพฯ: บี ไมน์, 2553. (895.913 อ569ป) อาริตา.  ตะวันดวงใหม่.  ปทุมธานี: ลีลา, 2550. (895.913 อ655ต) _________. องค์รักษ์พิทักษ์ใจ.  ปทุมธานี: ลีลา, 2550. (895.913 อ655อ) อิ่มอุ่น.  สะใภ้รับจ้าง.  กรุงเทพฯ: เดซี่, 2555. (895.913 อ749ส) Amity.  Bangkok: Ministry of Culture, 2021. (895.91301 A517 C.2)     หมวด 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ กรรณิกา ธรรมเกษร.  จะมืดกี่ด้านก็ผ่านได้.  กรุงเทพฯ: ณ เพชร, 2551. (920.1 ก172จ) ของดีกรุงเทพฯ.  กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานคร, 2557. (915.9311) นิธิ เอียวศรีวงศ์.  การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี.  กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, 2529. (959.304 น612ก) เพ็ญแสง ปุตตะ.  สองมหาราชกู้ชาติสยาม.  จันทบุรี: ต้นฉบับ, 2551. (923.1593 พ912ส) วุฒิชัย  มูลศิลป์.  เจ้านายในรางวงศ์จักรี เล่ม 2.  กรุงเทพฯ: 2020 เวิลด์ มีเดีย, 2542. (929.709593 ว865จ ล.2 ) สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ.  ปารีส เฌอ แตม เสน่หาปารีส.  กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม, 2552. (914.4 ส826ป) องอาจ บุญการี.  111 วัน พระยาตากรวบรวมไพร่พลที่จันทบุรี.  กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็ม. การพิมพ์, 2559. (959.304 อ117ห) อโยธยาศรีรามเทพนครบวรทวารวดี: มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศ เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยอิสระประวัติศาสตร์ไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร      (องค์การมหาชน), 2559. (959.33 อ312 ล. 1-2) ไอแซคสัน, วอลเตอร์.  สตีฟ จ็อบส์.  กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์, 2554. (923.873 อ993ส) Van Beek, Steve.  Bangkok then and now.  Nonthaburi: AB Publications, 1999. 




          ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอมอบของขวัญปีใหม่ “ให้หนังสือเท่ากับให้ปัญญา” มอบหนังสือแด่คนที่ท่านรัก พบกับหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม ช่างศิลป์ไทย ภาษา หนังสือ วรรณกรรม และนาฏศิลป์ ดนตรี นำมาลดราคาหนังสือสูงสุด ๒๐% ระหว่างวันที่ ๑๕ ธ.ค.๖๗ - ๑๕ ม.ค.๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ร้านหนังสือกรมศิลปากร ชั้น ๑ อาคารเทเวศร์ หรือสามารถสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ หรือ Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร (ในวันและเวลาราชการ)


         วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ โบราณสถานเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามการบูรณะและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย ฟื้นฟูการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากเวียงกุมกามได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ส่งผลให้โบราณสถานได้รับความเสียหายหลายแห่งถูกน้ำท่วมและจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานานและได้ความเสียหายหลายแห่ง โดยมี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายประสพ เรียงเงิน อธิบดี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ เครือข่ายทางวัฒนธรรม พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าร่วมต้อนรับ เครดิตภาพข่าวประชาสัมพันธ์ จาก : Facebook กระทรวงวัฒนธรรม


วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๓๔ คน คุณครู ๑๖ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านหนองขามวิทยาคม ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๐ คน คุณครู ๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม ตำบลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๒๐๙ คน คุณครู ๑๔ ท่าน เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


         วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๓๐ น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ หารือแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ เครือข่ายทางวัฒนธรรม พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าร่วมต้อนรับเครดิตภาพข่าวประชาสัมพันธ์ จาก : Facebook กระทรวงวัฒนธรรม


โรงเรียนบ้านกาด เขมวังส์ราษฎร์รังสฤษฏิ์ ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ขอความอนุเคราะห์ยืมหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองเชียงใหม่ จำนวน ๖ เล่ม จากห้องมรดกล้านนา หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อนำไปจัดแสดงในกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน (A Book A Week) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ และจัดทำวีดิทัศน์แนะนำแหล่งเรียนรู้ ชุด เชียงใหม่ในหลากหลายมิติ




วันดำรงราชานุภาพ  ตรงกับวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ พระกรณียกิจนานัปการ ตลอดจนพระนิพนธ์หลากหลายสาขาวิชา เพื่อเป็นการถวายความรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์เป็นมรดกทางปัญญาของคนไทย ทั้งในส่วนของการศึกษา การปกครอง สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นคนไทยคนแรกของประเทศ ซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่งผลให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ นอกจากนี้พระองค์ทรงได้รับสมญานามว่าเป็น บิดาแห่งการปกครอง บิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี และบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระปรีชาสามารถในการเขียนหนังสือได้หลายประเภท เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี ศาสนา วัฒนธรรม ท่องเที่ยว โบราณคดี นิทาน โคลง กลอน และประวัติความรู้ต่างๆ เป็นต้น และพระองค์ทรงได้รับย่องจากวงการประพันธ์ไทยว่า ทรงเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  ได้ทรงบันทึกรายละเอียดไว้เป็นประเภท ดังนี้ พงศาวดาร ๑๓๔ เรื่อง ศาสนา ๗๖ เรื่อง ตำนาน ๑๐๓ เรื่อง ประวัติต่างๆ ๑๖๐ เรื่อง โคลง กลอน ๙๒ เรื่อง อธิบายแทรก ๑๙ เรื่อง และในนิตยสารสยามสมาคม ๑๐ เรื่อง (จิรัสสา คชาชีวะ ๘๕) สาส์นสมเด็จ และนิทานโบราณคดี เป็นพระนิพนธ์ที่อยู่ในรายชื่อหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑ สำหรับหนังสือสาส์นสมเด็จ จัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม และหนังสือนิทานโบราณคดี อยู่ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ สาส์นสมเด็จ เป็นชุดหนังสือรวมลายพระหัตถ์โต้ตอบในรูปแบบจดหมายเชิงวิชาการ ระหว่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นเจ้าของพระนามย่อ “ดร.” และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นเจ้าของพระนามอักษรย่อ “น.” (เรียกว่า น. เทียนสิน) และนานาชาติที่รักงานทางศิลป์ อักษร น. หมายถึง นริศ อันเป็นพระนาม สาส์นสมเด็จ เริ่มเขียนถึงกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๘๖ ที่ทรงปรึกษาหารือ เล่าเรื่อง และโต้ตอบในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการวิเคราะห์และวิจารณ์ รวมถึงถ้อยอรรถาธิบายในเรื่องศาสตร์และศิลป์หลายแขนงของไทย นอกจากนี้เนื้อหาในลายพระหัตถ์มีทั้งข้อราชการงานเมือง และเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม อักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น นิทานโบราณคดี เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ จากเรื่องจริง และเป็นเกร็ดนอกพงศาวดารเอาไว้ เนื่องจากหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดา ได้ทูลว่าพระองค์ทรงเสด็จไปไหนมากมาย มีแก่นสารสาระ มีคติให้ข้อคิด และมีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจอย่างมาก จึงอยากให้ทรงบันทึกเก็บไว้เพื่อให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ทราบบ้าง นอกจากนิทานโบราณคดีจะเป็นเรื่องทางโบราณคดีแล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม อีกด้วย นิทานโบราณคดี ประกอบด้วยนิทาน ๒๑ เรื่อง อาทิเช่น นิทานที่ ๑ เรื่อง พระพุทธรูปประหลาด กล่าวถึง พระพุทธรูปที่ทรงนำมาจากเมืองทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยชาวบ้านเชื่อกันว่าไม่ว่าพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ที่ไหน จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกัน สำหรับนิทานที่ ๓ เรื่อง เสือใหญ่เมืองชุมพร เป็นเรื่องราวของเสือที่มีความดุร้ายแห่งเมืองชุมพร พระองค์ทรงบรรยายให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ทางตอนใต้ของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน เป็นต้น เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : กรมศิลปากร.  ๑๐ โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,           จาก: https://www.finearts.go.th/main/view/19607 กระทรวงมหาดไทย.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย กับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข.  [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=siyq5sS-StI, ๒๕๖๔. จิรัสสา คชาชีวะ.  "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานโบราณคดี."  วารสารดำรงราชานุภาพ.  ๑๒, ๔๓ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๕): ๗๓-๘๗. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  ความทรงจำ.  กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖. สถาบันดำรงรานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.  การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.  กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๕. ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๗๙.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๕๗-๒๔๗๙ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๐ - ๒๔๘๖.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๐-๒๔๘๖


วันดำรงราชานุภาพ  ตรงกับวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ พระกรณียกิจนานัปการ ตลอดจนพระนิพนธ์หลากหลายสาขาวิชา เพื่อเป็นการถวายความรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์เป็นมรดกทางปัญญาของคนไทย ทั้งในส่วนของการศึกษา การปกครอง สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นคนไทยคนแรกของประเทศ ซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่งผลให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ นอกจากนี้พระองค์ทรงได้รับสมญานามว่าเป็น บิดาแห่งการปกครอง บิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี และบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระปรีชาสามารถในการเขียนหนังสือได้หลายประเภท เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี ศาสนา วัฒนธรรม ท่องเที่ยว โบราณคดี นิทาน โคลง กลอน และประวัติความรู้ต่างๆ เป็นต้น และพระองค์ทรงได้รับย่องจากวงการประพันธ์ไทยว่า ทรงเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  ได้ทรงบันทึกรายละเอียดไว้เป็นประเภท ดังนี้ พงศาวดาร ๑๓๔ เรื่อง ศาสนา ๗๖ เรื่อง ตำนาน ๑๐๓ เรื่อง ประวัติต่างๆ ๑๖๐ เรื่อง โคลง กลอน ๙๒ เรื่อง อธิบายแทรก ๑๙ เรื่อง และในนิตยสารสยามสมาคม ๑๐ เรื่อง (จิรัสสา คชาชีวะ ๘๕) สาส์นสมเด็จ และนิทานโบราณคดี เป็นพระนิพนธ์ที่อยู่ในรายชื่อหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑ สำหรับหนังสือสาส์นสมเด็จ จัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม และหนังสือนิทานโบราณคดี อยู่ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ สาส์นสมเด็จ เป็นชุดหนังสือรวมลายพระหัตถ์โต้ตอบในรูปแบบจดหมายเชิงวิชาการ ระหว่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นเจ้าของพระนามย่อ “ดร.” และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นเจ้าของพระนามอักษรย่อ “น.” (เรียกว่า น. เทียนสิน) และนานาชาติที่รักงานทางศิลป์ อักษร น. หมายถึง นริศ อันเป็นพระนาม สาส์นสมเด็จ เริ่มเขียนถึงกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๘๖ ที่ทรงปรึกษาหารือ เล่าเรื่อง และโต้ตอบในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการวิเคราะห์และวิจารณ์ รวมถึงถ้อยอรรถาธิบายในเรื่องศาสตร์และศิลป์หลายแขนงของไทย นอกจากนี้เนื้อหาในลายพระหัตถ์มีทั้งข้อราชการงานเมือง และเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม อักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น นิทานโบราณคดี เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ จากเรื่องจริง และเป็นเกร็ดนอกพงศาวดารเอาไว้ เนื่องจากหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดา ได้ทูลว่าพระองค์ทรงเสด็จไปไหนมากมาย มีแก่นสารสาระ มีคติให้ข้อคิด และมีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจอย่างมาก จึงอยากให้ทรงบันทึกเก็บไว้เพื่อให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ทราบบ้าง นอกจากนิทานโบราณคดีจะเป็นเรื่องทางโบราณคดีแล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม อีกด้วย นิทานโบราณคดี ประกอบด้วยนิทาน ๒๑ เรื่อง อาทิเช่น นิทานที่ ๑ เรื่อง พระพุทธรูปประหลาด กล่าวถึง พระพุทธรูปที่ทรงนำมาจากเมืองทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยชาวบ้านเชื่อกันว่าไม่ว่าพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ที่ไหน จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกัน สำหรับนิทานที่ ๓ เรื่อง เสือใหญ่เมืองชุมพร เป็นเรื่องราวของเสือที่มีความดุร้ายแห่งเมืองชุมพร พระองค์ทรงบรรยายให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ทางตอนใต้ของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน เป็นต้น เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : กรมศิลปากร.  ๑๐ โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.finearts.go.th/main/view/19607 กระทรวงมหาดไทย.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย กับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข.  [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=siyq5sS-StI, ๒๕๖๔. จิรัสสา คชาชีวะ.  "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานโบราณคดี."  วารสารดำรงราชานุภาพ.  ๑๒, ๔๓ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๕): ๗๓-๘๗. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  ความทรงจำ.  กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖. สถาบันดำรงรานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.  การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.  กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๕. ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๗๙.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๕๗-๒๔๗๙ ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๐ - ๒๔๘๖.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๐-๒๔๘๖


วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๕.๐๐ น. นางสาวพัทธวรรณ ขัตนำ เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ พระอารามหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


Messenger