ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 42,067 รายการ

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 67 เวลา 16.00 น. คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคุณประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลนครราชสีมา และคณะ เดินทางมาเยี่ยชม การขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก โดยมีนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา บรรยายสรุปหลุมขุดตรวจ


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงานเฉลิมฉลองมรดกโลกบ้านเชียง ประจำปี ๒๕๖๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ "คนโบราณที่บ้านเรา" กิจกรรมต่าง ๆ ในงานประกอบด้วย ๑. นิทรรศการพิเศษจากหน่วยงานกรมศิลปากร ๒. กิจกรรม Workshop มากมาย ๓. การสาธิตภูมิปัญญา ปั้นหม้อ ทอผ้า ฯลฯ และขอเชิญทุกท่านร่วมสนุกด้วยการแต่งกายย้อนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่จำกัดไอเดีย นอกจากนี้ยังเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงให้เข้าชมโดยยกเว้นค่าธรรมเนียม ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ อีกด้วย


            สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เวลาเปิด - ปิดโบราณสถาน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘ ได้แก่ หอพระสิหิงค์ หอพระสูง หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ และโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางกล่องข้อความ facebook สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. ๐ ๗๕๓๕ ๖๔๕๘              - หอพระสิหิงค์ หรือหอพระพุทธสิหิงค์ เป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองนครศรีธรรมราช กำหนดอายุในสมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑) หอพระสิหิงค์ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นหอพระตั้งอยู่บริเวณจวนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช “พระพุทธสิหิงค์” ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งในประเทศไทยปรากฏพระพุทธสิหิงค์เพียง ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช               - หอพระสูง หรือ พระวิหารสูง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔) หอพระสูงถือเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งอยู่ที่ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ นอกกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือ มีข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับประวัติการสร้างหอพระสูงและที่มาของเนินดิน เช่น เชื่อว่าเนินดินนี้เกิดจากชาวเมืองนครศรีธรรมราชช่วยกันขุดดินจากบริเวณคลองหน้าเมืองมาถมจนเป็นเนินใหญ่ เพื่อใช้ตั้งปืนใหญ่ในการสกัดกั้นทัพพม่าในคราวที่มีการยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้ตั้งแต่มะริด ถลาง ไชยา เรื่อยมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งสงคราม ๙ ทัพใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ภายหลังเนินดินแห่งนี้ได้กลายเป็นที่รกร้าง มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ราว พ.ศ.๒๓๗๗ เจ้าพระยานคร (น้อย) เห็นว่าควรจะสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวเมือง จึงให้สร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตักประมาณ ๕ ศอก สูงประมาณ ๘ ศอกขึ้นบนเนินนั้น และสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปด้วยหลังหนึ่ง เรียกว่า “หอพระสูง” และเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าหอพระสูงมาตั้งแต่บัดนั้น              - หอพระอิศวร ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งบูชาพระอิศวรหรือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ศิลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ สันนิษฐานว่าหอพระอิศวรสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยสร้างขึ้นพร้อมกับหอพระนารายณ์ และโบสถ์พราหมณ์ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เจริญควบคู่มากับการตั้งถิ่นฐานของเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นภายในหอพระอิศวรยังเคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปสำริดอื่นๆ ได้แก่ พระศิวนาฏราช พระอุมา พระคเณศ และรูปหงส์ ปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช                - หอพระนารายณ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับหอพระอิศวร เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย บูชาพระนารายณ์เป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมเนื่องในลัทธิศาสนาและประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ หอพระนารายณ์ มีการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง การบูรณะครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๔๗๕) หลักฐานสำคัญที่พบในหอพระนารายณ์ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ สี่กร ทำด้วยหินทรายลักษณะเป็นเทวรูปรุ่นเก่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑ ปัจจุบันนำมาเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ส่วนเทวรูปพระนารายณ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในหอนั้น กรมศิลปากรได้จำลองแบบตามภาพถ่ายเก่า ลักษณะเป็นเทวรูปในศิลปะอยุธยา จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พบว่าอาคารหอพระนารายณ์หลังปัจจุบัน สร้างทับอาคารหลังเก่าที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยอาคารปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่า               - โบสถ์พราหมณ์ เป็นเทวสถานสำคัญประจำเมืองนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ โดยเฉพาะพิธีตรียัมปวาย และตรีปวาย ภายในเคยเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด พระคเณศสำริด และหงส์สำริด ภายหลังโบสถ์พราหมณ์หลังที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยามีสภาพชำรุดมาก จึงถูกรื้อลงใน พ.ศ. ๒๕๐๕ กระทั่งใน พ.ศ.๒๕๕๗ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี พบฐานรากอาคารของโบสถ์พราหมณ์ห่างจากหอพระอิศวรมาทางทิศใต้ ๕ เมตร ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก ขนาดกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ภายในอาคารด้านในสุดมีห้องคูหาก่ออิฐทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมีแท่นสำหรับประดิษฐานรูปเคารพอยู่ภายใน ในครั้งนั้นได้มีการนำตัวอย่างอิฐที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีไปกำหนดอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคเรืองแสงความร้อน (TL) ได้ค่าอายุประมาณ ๔๕๐ - ๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา จากการดำเนินงานทางโบราณคดีครั้งดังกล่าว ใน พ.ศ. ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช จึงดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์พราหมณ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และเพื่อเป็นการคงคุณค่าความสำคัญของโบสถ์พราหมณ์ในฐานะโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงานเฉลิมฉลองมรดกโลกบ้านเชียง ประจำปี ๒๕๖๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ "คนโบราณที่บ้านเรา" กิจกรรมต่าง ๆ ในงานประกอบด้วย ๑. นิทรรศการพิเศษจากหน่วยงานกรมศิลปากร ๒. กิจกรรม Workshop มากมาย ๓. การสาธิตภูมิปัญญา ปั้นหม้อ ทอผ้า ฯลฯ และขอเชิญทุกท่านร่วมสนุกด้วยการแต่งกายย้อนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่จำกัดไอเดีย นอกจากนี้ยังเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงให้เข้าชมโดยยกเว้นค่าธรรมเนียม ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ อีกด้วย


            กรมศิลปากร โดยศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ เปิดรับสมัครผู้สนใจเรียนรู้การสร้างงานศิลปะไทย หลักสูตร "งานลายรดน้ำ" อายุระหว่าง 18-50 ปี จำนวน 20 คน ระยะเวลาการอบรมต่อเนื่อง 5 วัน (24-28 กุมภาพันธ์ 2568) ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม               ผู้สนใจสามารถดำเนินการสมัครได้ในวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2568 กรอกข้อมูลใบสมัครผ่านการสแกน QR CODE หรือกดลิ้งค์นี้ https://forms.gle/WedXXBzoqtwjaF1P8 หรือ สมัครด้วยตนเอง ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ในวันและเวลาราชการ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 ทางเพจ facebook สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร


              พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและงานด้านศิลปวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๘ เรื่อง “การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในอาคารเครื่องทองอยุธยาสำหรับมัคคุเทศก์มืออาชีพ รุ่นที่ ๒” ในวันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา               ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทาง Qr-code หรือกดลิ้งค์นี้ https://qr.me-qr.com/ksQ3Nj6w (ฟรี) รับจำนวนจำกัด โดยเมื่อจบการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" ทั้งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์จะตอบรับผู้สมัครที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางอีเมลที่ผู้สมัครระบุไว้ สอบถามเพิ่มเติม โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗ ทุกวันเวลาราชการ


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มุ่งเน้นไปที่การใช้วีธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เสริมความมั่งคงแข็งแรง และปรับสภาพพื้นผิวให้มีความกลมกลืน เงางาม ด้วยวิธีการและสารเคมีที่เหมาะสม มีความปลอดภัยต่อโบราณวัตถุและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อเนื้อโลหะและวัสดุดั้งเดิม ให้พระพุทธสิหิงค์กลับมามีสภาพสวยงาม คงหลักฐานความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด และป้องกันการเสื่อมสภาพในอนาคต เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศ            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานปัทม์ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ มีพระรัศมีคล้ายเปลวเพลิง กำหนดอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 – พุทธศตวรรษที่ 21 รูปแบบศิลปะสุโขทัย - ล้านนา สร้างจากโลหะผสมของทองแดง พื้นผิวเป็นสีทอง ด้วยวิธีการกะไหล่ทอง หรือเรียกว่าเทคนิคเปียกทอง ตั้งแต่พระรัศมีจนถึงฐาน ไม่มีหลักฐานปรากฎชัดว่าองค์พระถูกกะไหล่ทองเมื่อใด พระเนตรใช้เทคนิคคล้ายการลงยาสี สภาพปัจจุบันของพระพุทธสิหิงค์เกิดความชำรุด พื้นผิวหมองคล้ำ มีรอยขูดขีด รอยถลอกพบสนิมคอปเปอร์ซัลเฟต ลักษณะเป็นจุดสีดำนูนขนาดเล็กๆ กระจายทั่วพื้นผิว มีรอยแตกร้าว บางจุดสีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ พระเนตรแตกหลุดบางส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะคืนความสมบูรณ์งดงามของพระพุทธสิหิงค์ด้วยวิธีการกะไหล่ทอง แต่ขั้นตอนของการกะไหล่ทอง จะต้องใช้น้ำ ความร้อน กรดเข้มข้น ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิวดั้งเดิมของโบราณวัตถุ โดยเฉพาะพื้นผิวโลหะที่มีความชำรุด แตกร้าว สึกกร่อนอยู่เดิม หากถูกความร้อน สารละลายกรดต่างๆ จะมีโอกาสทำให้ชำรุดเสียหายเพิ่มมากขึ้น ตามรายงานการสำรวจสภาพพระพุทธสิหิงค์และผลกระทบของการกะไหล่ทองของกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา จึงได้มอบหมายกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมพระพุทธสิหิงค์ ฐาน และ ฉัตร ด้วยการรักษาสภาพพื้นผิว ทำความสะอาดและกำจัดสนิม เสริมความมั่งคงแข็งแรง อุดซ่อมรอยแตกร้าวเท่าที่จำเป็น และปรับสภาพพื้นผิว เติมส่วนที่หายไป ด้วยวิธีการ วัสดุและสารเคมีที่เหมาะสม ส่งผลกระทบกับพื้นผิวดั้งเดิมให้น้อยที่สุด และคงไว้ซึ่งความเป็นของแท้ดั้งเดิม             นอกจากนี้ ยังให้ดำเนินการตรวจสอบ เก็บข้อมูลปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณก๊าซ มลพิษที่ก่อให้เกิดสนิมบนพื้นผิว รวมถึงกิจกรรมที่มีโอกาสส่งผลกระทบกับการเสื่อมสภาพของพระพุทธสิหิงค์ รวมถึงจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล หลักฐาน ขั้นตอนการอนุรักษ์พระพุทธสิหิงค์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไปในอนาคต คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน ทั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์องค์จำลอง มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการะในระหว่างดำเนินการ             สำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบูรณะองค์พระพุทธสิหิงค์ สามารถร่วมบริจาคโดยบูชาวัตถุมงคลพระพุทธสิหิงค์ ได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง ชั้น 3 กรมศิลปากร เทเวศร์ สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2126 6559 หรือ facebook page พระพิฆเนศวร 108 ปี กรมศิลปากรทั้งนี้ สามารถสั่งเช่าบูชาได้ผ่านทางกล่องข้อความ facebook หรือหากสะดวกสามารถเข้ามาบูชาได้ด้วยตนเองได้ทุกวัน เวลา 09:30 - 15:30 น. * หมายเหตุ : บางรายการอาจมีผู้ศรัทธาบูชาหมดแล้ว


            กรมศิลปากรได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มุ่งเน้นไปที่การใช้วีธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เสริมความมั่งคงแข็งแรง และปรับสภาพพื้นผิวให้มีความกลมกลืน เงางาม ด้วยวิธีการและสารเคมีที่เหมาะสม มีความปลอดภัยต่อโบราณวัตถุและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อเนื้อโลหะและวัสดุดั้งเดิม ให้พระพุทธสิหิงค์กลับมามีสภาพสวยงาม คงหลักฐานความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด และป้องกันการเสื่อมสภาพในอนาคต เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศ            กรมศิลปากร ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคบูชาวัตถุมงคลพระพุทธสิหิงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะองค์พระพุทธสิหิงค์ และยอดฉัตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ โทร. ๐ ๒๑๒๖ ๖๕๕๙ หรือ Facebook : พระพิฆเนศวร ๑๐๘ ปี กรมศิลปากรทั้งนี้ สามารถสั่งเช่าบูชาได้ผ่านทางกล่องข้อความ facebook หรือหากสะดวกสามารถเข้ามาบูชาได้ด้วยตนเองได้ทุกวัน เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. *หมายเหตุ : บางรายการอาจมีผู้ศรัทธาเช่าบูชาหมดแล้วอ่านข่าวเพิ่มเติม https://www.finearts.go.th/promotion/view/54326-กรมศิลปากรบวงสรวงพระพุทธสิหิงค์-พระพุทธรูปคู่วังหน้า-ก่อนดำเนินการอนุรักษ์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นของแท้ดั้งเดิม


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มุ่งเน้นไปที่การใช้วีธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เสริมความมั่งคงแข็งแรง และปรับสภาพพื้นผิวให้มีความกลมกลืน เงางาม ด้วยวิธีการและสารเคมีที่เหมาะสม มีความปลอดภัยต่อโบราณวัตถุและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อเนื้อโลหะและวัสดุดั้งเดิม ให้พระพุทธสิหิงค์กลับมามีสภาพสวยงาม คงหลักฐานความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด และป้องกันการเสื่อมสภาพในอนาคต เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศ            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานปัทม์ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ มีพระรัศมีคล้ายเปลวเพลิง กำหนดอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 – พุทธศตวรรษที่ 21 รูปแบบศิลปะสุโขทัย - ล้านนา สร้างจากโลหะผสมของทองแดง พื้นผิวเป็นสีทอง ด้วยวิธีการกะไหล่ทอง หรือเรียกว่าเทคนิคเปียกทอง ตั้งแต่พระรัศมีจนถึงฐาน ไม่มีหลักฐานปรากฎชัดว่าองค์พระถูกกะไหล่ทองเมื่อใด พระเนตรใช้เทคนิคคล้ายการลงยาสี สภาพปัจจุบันของพระพุทธสิหิงค์เกิดความชำรุด พื้นผิวหมองคล้ำ มีรอยขูดขีด รอยถลอกพบสนิมคอปเปอร์ซัลเฟต ลักษณะเป็นจุดสีดำนูนขนาดเล็กๆ กระจายทั่วพื้นผิว มีรอยแตกร้าว บางจุดสีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ พระเนตรแตกหลุดบางส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะคืนความสมบูรณ์งดงามของพระพุทธสิหิงค์ด้วยวิธีการกะไหล่ทอง แต่ขั้นตอนของการกะไหล่ทอง จะต้องใช้น้ำ ความร้อน กรดเข้มข้น ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิวดั้งเดิมของโบราณวัตถุ โดยเฉพาะพื้นผิวโลหะที่มีความชำรุด แตกร้าว สึกกร่อนอยู่เดิม หากถูกความร้อน สารละลายกรดต่างๆ จะมีโอกาสทำให้ชำรุดเสียหายเพิ่มมากขึ้น ตามรายงานการสำรวจสภาพพระพุทธสิหิงค์และผลกระทบของการกะไหล่ทองของกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา จึงได้มอบหมายกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมพระพุทธสิหิงค์ ฐาน และ ฉัตร ด้วยการรักษาสภาพพื้นผิว ทำความสะอาดและกำจัดสนิม เสริมความมั่งคงแข็งแรง อุดซ่อมรอยแตกร้าวเท่าที่จำเป็น และปรับสภาพพื้นผิว เติมส่วนที่หายไป ด้วยวิธีการ วัสดุและสารเคมีที่เหมาะสม ส่งผลกระทบกับพื้นผิวดั้งเดิมให้น้อยที่สุด และคงไว้ซึ่งความเป็นของแท้ดั้งเดิม             นอกจากนี้ ยังให้ดำเนินการตรวจสอบ เก็บข้อมูลปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณก๊าซ มลพิษที่ก่อให้เกิดสนิมบนพื้นผิว รวมถึงกิจกรรมที่มีโอกาสส่งผลกระทบกับการเสื่อมสภาพของพระพุทธสิหิงค์ รวมถึงจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล หลักฐาน ขั้นตอนการอนุรักษ์พระพุทธสิหิงค์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไปในอนาคต คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน ทั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์องค์จำลอง มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการะในระหว่างดำเนินการ             สำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบูรณะองค์พระพุทธสิหิงค์ สามารถร่วมบริจาคโดยบูชาวัตถุมงคลพระพุทธสิหิงค์ ได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง ชั้น 3 กรมศิลปากร เทเวศร์ สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2126 6559 หรือ facebook page พระพิฆเนศวร 108 ปี กรมศิลปากรทั้งนี้ สามารถสั่งเช่าบูชาได้ผ่านทางกล่องข้อความ facebook หรือหากสะดวกสามารถเข้ามาบูชาได้ด้วยตนเองได้ทุกวัน เวลา 09:30 - 15:30 น. * หมายเหตุ : บางรายการอาจมีผู้ศรัทธาบูชาหมดแล้ว


ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อให้เกิดการค้าการขาย ตลอดจนมีการนำวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกที่หลากหลายด้านเข้ามาใช้ในประเทศสยาม รวมถึงในทางการแพทย์ที่ใช้แบบผสมผสาน กล่าวคือ การใช้สมุนไพรไทยร่วมกับสมุนไพรทางต่างประเทศ โดยมีการรวมเป็นคณะทางการแพทย์แบบบูรณาการ ประกอบด้วยแพทย์ไทย แพทย์จีน แพทย์อินเดีย และแพทย์ฝรั่ง เป็นผู้ประกอบยาหรือปรุงยาขึ้น เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทั้งนี้มีชื่อปรากฏในตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีทั้งหมด ๙ คน ประกอบด้วยแพทย์หลวง ๗ คน (แบ่งเป็นแพทย์ไทย ๔ คน แพทย์จีน ๑ คน แพทย์อินเดีย ๑ คน และแพทย์ฝรั่ง ๑ คน) หมอเชลยศักดิ์ ๑ คน และหมอฝรั่ง ๑ คน ดังนี้ - แพทย์ไทย ๔ คน คือ ออกพระแพทย์พงษา ออกพระสิทธิสาร ออกขุนประสิทธิโอสถ และออกขุนทิพจักร - แพทย์จีน ๑ คน คือ ขุนประสิทธิโอสถจีน - แพทย์อินเดีย ๑ คน คือ ออกพระสิทธิสารพราหมณ์เทศ - แพทย์ฝรั่ง ๑ คน คือ พระแพทย์โอสถฝรั่ง - หมอเชลยศักดิ์ ๑ คน คือ นายเพ็ชรปัญญา - หมอฝรั่ง ๑ คน คือ เมสีหมอฝรั่ง ตำราพระโอสถพระนารายณ์ จึงเป็นการรวมคณะทางการแพทย์แบบบูรณาการหรือหมอหลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะแพทย์ไทย แต่หากจะมีหมอทางเลือกจากต่างชาติที่เป็นแพทย์จีน แพทย์อินเดีย และแพทย์ฝรั่ง อีกด้วย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ เป็นหนังสือหายาก และถือว่าเป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทยที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเชื่อว่าตำราพระโอสถนี้จะเป็นยารักษาโรคได้ผลดี นอกจากนี้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำรัสสั่งกรรมการของหอพระสมุดวชิรญาณให้ทำการคัดเลือกหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับพิมพ์พระราชทานเป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์) ตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีจำนวนหน้าทั้งสิ้น ๔๔ หน้า โดยนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับตำรับยา สรรพคุณของสมุนไพร รวมถึงวิธีปรุงยาแบบโบราณแก้อาการต่างๆ เช่น ลักษณะเตโชธาตุออกจากกายยาแก้เตโชธาตุพิการ ยาแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ลมป่วง ลักษณะอาโปธาตุถอย ยาแก้ขัดปัสสาวะยาแก้ปถวีธาตุวิการ ยาแก้ไข้ให้อาเจียน ยาแก้ไข้ลิ้นหด ยามหาวัฒนะแก้ฉันนะวิตติโรค ๙๖ ประการและสีผึ้งพระเส้นให้หย่อน ฯลฯ ในปัจจุบันวงการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ตำราพระโอสถพระนารายณ์ สามารถนำมาใช้ประกอบเป็นองค์ความรู้จากบรรพชนรวบรวมไว้ในการต่อยอดได้จากการแพทย์แผนไทย หรือแนวทางในการปรุงยาแผนโบราณ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงให้ถึงภูมิปัญญาของยุคสมัยก่อนที่รักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่างดีจนมาถึงปัจจุบัน เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง และวิเชียร จีรวงส์.  คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ : ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒.          พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๔๔. ตำราพระโอสถพระนารายณ์.  กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระสุธรรมกิตยารักษ์ ต.ช. (ชู  หังสสูต)         ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๖). ตำราพระโอสถพระนารายน์.  พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๐. (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน         ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์)). ทรงสรรค์ นิลกำแหง และสมชัย บวรกิตติ.  “โรคภัยไข้เจ็บในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช.”  วารสารราชบัณฑิตยสถาน.  ๒๗, ๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๔๕): ๘๕๘-๘๗๐. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี.   ย้อนอดีตไปกับชุดภาพถ่ายเก่าใน “เสน่ห์วังนารายณ์ จากภาพถ่ายผ่านเลนส์”.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘,         จาก: https://finearts.go.th/somdetphranaraimuseum/view/48354-ย้อนอดีตไปกับชุดภาพถ่ายเก่าใน--เสน่ห์วังนารายณ์-จากภาพถ่ายผ่านเลนส์- พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, อุษา เก็จวลีวรรณ และณิชารีย์ เนตรทอง.  คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน (ตำราพระโอสถพระนารายณ์).           กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, ๒๕๕๕. พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, อุษา เก็จวลีวรรณ และณิชารีย์ เนตรทอง.  คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน (ตำราพระโอสถพระนารายณ์).  [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘, จาก: https://indi.dtam.moph.go.th/images/คมภรธาตพระนารายณ_ฉบบใบลาน.pdf องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).  พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช. [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘, จาก: https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/relattraction/content/776


ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อให้เกิดการค้าการขาย ตลอดจนมีการนำวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกที่หลากหลายด้านเข้ามาใช้ในประเทศสยาม รวมถึงในทางการแพทย์ที่ใช้แบบผสมผสาน กล่าวคือ การใช้สมุนไพรไทยร่วมกับสมุนไพรทางต่างประเทศ โดยมีการรวมเป็นคณะทางการแพทย์แบบบูรณาการ ประกอบด้วยแพทย์ไทย แพทย์จีน แพทย์อินเดีย และแพทย์ฝรั่ง เป็นผู้ประกอบยาหรือปรุงยาขึ้น เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทั้งนี้มีชื่อปรากฏในตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีทั้งหมด ๙ คน ประกอบด้วยแพทย์หลวง ๗ คน (แบ่งเป็นแพทย์ไทย ๔ คน แพทย์จีน ๑ คน แพทย์อินเดีย ๑ คน และแพทย์ฝรั่ง ๑ คน) หมอเชลยศักดิ์ ๑ คน และหมอฝรั่ง ๑ คน ดังนี้ - แพทย์ไทย ๔ คน คือ ออกพระแพทย์พงษา ออกพระสิทธิสาร ออกขุนประสิทธิโอสถ และออกขุนทิพจักร - แพทย์จีน ๑ คน คือ ขุนประสิทธิโอสถจีน - แพทย์อินเดีย ๑ คน คือ ออกพระสิทธิสารพราหมณ์เทศ - แพทย์ฝรั่ง ๑ คน คือ พระแพทย์โอสถฝรั่ง - หมอเชลยศักดิ์ ๑ คน คือ นายเพ็ชรปัญญา - หมอฝรั่ง ๑ คน คือ เมสีหมอฝรั่ง ตำราพระโอสถพระนารายณ์ จึงเป็นการรวมคณะทางการแพทย์แบบบูรณาการหรือหมอหลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะแพทย์ไทย แต่หากจะมีหมอทางเลือกจากต่างชาติที่เป็นแพทย์จีน แพทย์อินเดีย และแพทย์ฝรั่ง อีกด้วย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ เป็นหนังสือหายาก และถือว่าเป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทยที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเชื่อว่าตำราพระโอสถนี้จะเป็นยารักษาโรคได้ผลดี นอกจากนี้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำรัสสั่งกรรมการของหอพระสมุดวชิรญาณให้ทำการคัดเลือกหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับพิมพ์พระราชทานเป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์) ตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีจำนวนหน้าทั้งสิ้น ๔๔ หน้า โดยนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับตำรับยา สรรพคุณของสมุนไพร รวมถึงวิธีปรุงยาแบบโบราณแก้อาการต่างๆ เช่น ลักษณะเตโชธาตุออกจากกายยาแก้เตโชธาตุพิการ ยาแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ลมป่วง ลักษณะอาโปธาตุถอย ยาแก้ขัดปัสสาวะยาแก้ปถวีธาตุวิการ ยาแก้ไข้ให้อาเจียน ยาแก้ไข้ลิ้นหด ยามหาวัฒนะแก้ฉันนะวิตติโรค ๙๖ ประการและสีผึ้งพระเส้นให้หย่อน ฯลฯ ในปัจจุบันวงการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ตำราพระโอสถพระนารายณ์ สามารถนำมาใช้ประกอบเป็นองค์ความรู้จากบรรพชนรวบรวมไว้ในการต่อยอดได้จากการแพทย์แผนไทย หรือแนวทางในการปรุงยาแผนโบราณ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงให้ถึงภูมิปัญญาของยุคสมัยก่อนที่รักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่างดีจนมาถึงปัจจุบัน เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง และวิเชียร จีรวงส์.  คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ : ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒.          พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๔๔. ตำราพระโอสถพระนารายณ์.  กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระสุธรรมกิตยารักษ์ ต.ช. (ชู  หังสสูต)         ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๖). ตำราพระโอสถพระนารายน์.  พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๐. (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน         ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์)). ทรงสรรค์ นิลกำแหง และสมชัย บวรกิตติ.  “โรคภัยไข้เจ็บในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช.”  วารสารราชบัณฑิตยสถาน.  ๒๗, ๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๔๕): ๘๕๘-๘๗๐. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี.   ย้อนอดีตไปกับชุดภาพถ่ายเก่าใน “เสน่ห์วังนารายณ์ จากภาพถ่ายผ่านเลนส์”.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘,         จาก: https://finearts.go.th/somdetphranaraimuseum/view/48354-ย้อนอดีตไปกับชุดภาพถ่ายเก่าใน--เสน่ห์วังนารายณ์-จากภาพถ่ายผ่านเลนส์- พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, อุษา เก็จวลีวรรณ และณิชารีย์ เนตรทอง.  คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน (ตำราพระโอสถพระนารายณ์).           กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, ๒๕๕๕. พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, อุษา เก็จวลีวรรณ และณิชารีย์ เนตรทอง.  คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน (ตำราพระโอสถพระนารายณ์).  [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘, จาก: https://indi.dtam.moph.go.th/images/คมภรธาตพระนารายณ_ฉบบใบลาน.pdf องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).  พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช. [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘, จาก: https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/relattraction/content/776


            กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา รายงานผลจากการขุดค้นทางโบราณคดี ครบ 7 วัน จากวันที่ 25 มกราคม จนถึงวันนี้ 31 มกราคม 2568 ขณะนี้ได้ขุดค้นถึงระดับความลึก 160 เซนติเมตรจากผิวดิน พบโครงกระดูกมนุษย์ถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาวร่วมกับของอุทิศ จำนวน 3 โครง ได้แก่              1) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผา ชามดินเผา และหม้อดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มภาชนะใกล้กับต้นแขนซ้ายด้วย              2) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 2 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันตก ฝังร่วมกับหม้อดินเผาอยู่บริเวณปลายเท้า              3) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 3 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก และหม้อดินเผาอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน              จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สอดคล้องกับหลักฐานที่พบจากการดำเนินงานเมื่อปีพ.ศ 2567 ซึ่งพบว่าพื้นที่โนนพลล้านนี้ เป็นแหล่งฝังศพของชุมชนในวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วง 2,400-1,500 ปีมาแล้ว การขุดค้นยังคงดำเนินการต่อไป ขอเรียนเชิญทุกๆท่าน แวะเวียนมาเยี่ยมชมหลุมขุดค้น ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการข้างหลุมขุดค้น "สืบร่องรอยมนุษย์โบราณเมืองเก่านครราชสีมาจากหลักฐานทางโบราณคดี" ในช่วงเวลา 9:30 น ถึง 16.00 น. ไปจนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ มีนักโบราณคดีคอยบริการให้ความรู้อยู่นะครับ


           อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางวัฒนธรรม ในงานมหกรรมเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม งามล้ำอารยธรรมอีสานใต้  ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์บุรีรัมย์ ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมงานได้ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2568


วันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๕.๓๐ น. ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยบุคลากรร่วมกันทำความสะอาด เก็บเศษใบไม้ วัชพืช ทำความสะอาดถนน บริเวณด้านหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความสะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย


             จังหวัดอุดรธานี ขอเชิญชวนเที่ยวงานเฉลิมฉลองมรดกโลกบ้านเชียง ประจำปี 2568 บ้านเชียงมรดกโลกแห่งแรกของเมืองอุดร ระหว่างวันที่ 6 - 9 กุมภาพันธ์ 2568 ณ บริเวณลานวัฒนธรรมบ้านเชียง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง และรอบสวนสาธารณะบึงนาคำ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจัดขึ้นภายใต้โครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์จังหวัดอุดรธานี มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและไมซ์ในระดับนานาชาติ              พบกับกิจกรรมมากมาย ยิ่งใหญ่ เต็มอิ่ม ม่วนซื่นตลอดงาน              - ชมการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ชุด "ย้อนรอยบ้านเชียง มรดกโลกแห่งแรกของอุดรธานี"              - ตื่นตากับขบวนแห่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมมรดกโลกบ้านเชียง              - ชมการแสดง “วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก”              - ชมนิทรรศการวิชาการเกี่ยวกับ “คนก่อนประวัติศาสตร์”              - การจัดจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน              - ชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อาทิ กานต์ ทศน / เต๋า ภูศิลป์              - ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน “วงโปงลาง แมงตับเต่า”              - พบกับ influencer ชื่อดัง “หญิงจี้ ดาวจรัสฟ้า”              - และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย