ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ




ประวัติความเป็นมาตำนานโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุญนาค) ปริเฉทที่ ๙ ว่าด้วยศึกสงครามกับกรุงละโว้ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ หน้า ๒๐๔ - ๒๐๕ ความว่า  “...จุลศักราชได้ ๓๐๙ พระยาจุเลระราช ได้ครองราชย์สมบัติในนครหริภุญไชยสืบไป ในสมัยนั้นเมืองหริภุญไชยเกิดความไข้ คนตายมาก ประชุมชนชาวหริภุญไชยพากันหนีความไข้ไปอยู่ยัง เมืองสุธรรมาวดีนคร อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ในเมืองนั้นเป็นอันมาก ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าพุกามราช มาได้เมืองสุธรรมาวดี พระองค์ไม่ยินดีแต่ที่จะเก็บเอาบุตรีธิดาของคนในเมืองสุธรรมาวดีเท่านั้น แม้หมู่ชนหริภุญไชยอันทุพพลภาพ ก็มิได้กรุณาปรานี ยังเก็บ เอาบุตรีธิดาของชาวเมืองหริภุญไชยเหล่านั้นด้วย ฝ่ายพวกชาวเมืองหริภุญไชย จึงได้พากันอพยพหนีจากเมืองสุธรรมนครไปยัง กรุงหงสาวดี อาศัยยังชีวิตอยู่ในเมืองนั้น พระเจ้าหงสาวดีทรงอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชนชาวหริภุญไชย เป็นอันมาก ชาวหริภุญไชยกับชาวหงสาวดีได้มีความวิสาสะรักใคร่ต่อกันและกับสืบมา ครั้นครบ ๖ ปี ความไข้นั้นระงับหายไป ผู้ที่ปรารถนาจะกลับคืนมาอยู่เมืองหริภุญไชย ก็พากันกลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม คนที่ไม่มีอาลัยต่อบ้านเมืองเดิมก็เลยอยู่อาศัยในเมืองหงสาวดีนั้น เพราะเหตุนี้ ชนทั้งหลายใดที่ได้กลับคืนมายังเมืองหริภุญไชยนี้แล้ว เมื่อระลึกถึงหมู่ญาติอันยังอยู่เมืองหงสาวดี ครั้นถึงกำหนดปีเดือน ย่อมแต่งเครื่องสักการะไปบูชาโดยทางน้ำ เรียกว่า ลอยโขมด (คือลอยไฟ) จึงเป็นประเพณีลอยประทีป สืบมา...” สำหรับในปัจจุบันประเพณีล่องสะเปา เป็นประเพณีที่เก่าแก่ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนาทางภาคเหนือที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณอย่างช้านาน คำว่าสะเปา สะกดตามเสียงสำเนียงล้านนาจะสะกดว่าเป็น “สะเพา” หมายถึง เรือสำเภา หรือ “ล่องสะเปา” แปลว่า ปล่อยเรือไหลล่องลงตามน้ำในช่วงเทศกาลประเพณียี่เป็ง ซึ่งคำว่ายี่เป็ง ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำว่า “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หมายถึง ประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสองหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เมื่อถึงเดือนยี่เป็งจะมีการจัดประเพณีล่องสะเปา เป็นการล่องกระทงรูปเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ประดับไปด้วยกาบกล้วย ไม้ไผ่ ทรงกระโจม ภายในกระโจมประดับด้วยธงทิวภายในบรรจุดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสารอาหารแห้ง และสิ่งของต่างๆ จุดประทีปตามไฟแล้วลอยลงตามแม่น้ำในเวลากลางคืนทำให้เกิดแสงสว่างกระทบกับผิวน้ำในคืนพระจันทร์เต็มดวงคล้ายกับดวงไฟของผีโขมด สำหรับคำว่าผีโขมดเป็นชื่อเรียกของผีป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะคล้ายผีกระสือ จึงเป็นที่มาของคำว่า ลอยโขมด อีกทั้งยังเป็นการลอยไปตามแม่น้ำหวังว่าการลอยในครั้งนี้เพื่อต้องการให้ชาวเมืองสะเทิมและหงสาวดี ร่วมถึงญาติพี่น้องที่ยังคงอยู่ได้รับรู้ว่าชาวหริภุญชัยยังคงระลึกถึงอยู่เสมอ สำหรับความเชื่อในการสร้างสะเปา เพื่อทำให้เกิดอานิสงส์และเป็นการอุทิศกุศลในการทำทานให้กับดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในภพหน้าชาติหน้า และเป็นการลอยทุกข์โศกในปีที่แล้วให้ผ่านพ้นไปด้วยดี นอกจาการนี้ยังเป็นการเคารพบูชาพระแม่คงคาและเพื่อเป็นขอขมาแม่น้ำ ซึ่งในปัจจุบันประเพณีการล่องสะเปาได้รับความนิยมน้อยลง แต่ยังคงมีการทำบุญอุทิศลักษณะทำนองเดียวกัน โดยการสร้างเรือจำลองบรรจุสิ่งของถวายแด่พระสงฆ์ แต่ไม่ได้นำไปลอยน้ำเหมือนในอดีตที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ประเพณีการล่องสะเปา เป็นความเชื่อ ความศรัทธา ความกตัญญูกตเวทีต่อการบูชารอยพระพุทธบาทแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้ทานแก่ผู้ยากไร้หรือเป็นประโยชน์ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำจากเครื่องอุปโภคบริโภคที่อยู่ในสะเปา เพื่อเป็นอานิสงส์แก่การดำรงชีวิตและส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีความมั่งคั่ง มีโชค มีทรัพย์ หรือมีความราบรื่นในการดำรงชีวิต ถือได้ว่าประเพณีการล่องสะเปาเป็นวัฒนธรรมอันดีของทางภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้อนุชนควรอนุรักษ์ประเพณีและส่งเสริมประเพณีอันดีงามนี้สืบไป เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : เทศบาลตำบลต้นธง .  เทศบาลตำบลต้นธง ร่วมส่งเสริมประเพณีลอยโขมด ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๖๖ หนึ่งเดียวในล้านนา หนึ่งเดียวในโลก”. [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: http://www.tontong.go.th/v/catalog/180, ๒๕๖๖. เทศบาลนครเชียงใหม่.  การแห่ขบวนสะเปาล้านนา ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๖๖. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.cmcity.go.th/News/20037-การแห่ขบวนสะเปาล้านนา%20ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่%20ประจำปี%202566.html, ๒๕๖๖. ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก.  กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖. มณี พยอมยงค์.  ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.   พิมพ์ครั้งที่ ๓.  เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๗.


ประวัติความเป็นมาตำนานโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุญนาค) ปริเฉทที่ ๙ ว่าด้วยศึกสงครามกับกรุงละโว้ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ หน้า ๒๐๔ - ๒๐๕ ความว่า  “...จุลศักราชได้ ๓๐๙ พระยาจุเลระราช ได้ครองราชย์สมบัติในนครหริภุญไชยสืบไป ในสมัยนั้นเมืองหริภุญไชยเกิดความไข้ คนตายมาก ประชุมชนชาวหริภุญไชยพากันหนีความไข้ไปอยู่ยัง เมืองสุธรรมาวดีนคร อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ในเมืองนั้นเป็นอันมาก ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าพุกามราช มาได้เมืองสุธรรมาวดี พระองค์ไม่ยินดีแต่ที่จะเก็บเอาบุตรีธิดาของคนในเมืองสุธรรมาวดีเท่านั้น แม้หมู่ชนหริภุญไชยอันทุพพลภาพ ก็มิได้กรุณาปรานี ยังเก็บ เอาบุตรีธิดาของชาวเมืองหริภุญไชยเหล่านั้นด้วย ฝ่ายพวกชาวเมืองหริภุญไชย จึงได้พากันอพยพหนีจากเมืองสุธรรมนครไปยัง กรุงหงสาวดี อาศัยยังชีวิตอยู่ในเมืองนั้น พระเจ้าหงสาวดีทรงอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชนชาวหริภุญไชย เป็นอันมาก ชาวหริภุญไชยกับชาวหงสาวดีได้มีความวิสาสะรักใคร่ต่อกันและกับสืบมา ครั้นครบ ๖ ปี ความไข้นั้นระงับหายไป ผู้ที่ปรารถนาจะกลับคืนมาอยู่เมืองหริภุญไชย ก็พากันกลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม คนที่ไม่มีอาลัยต่อบ้านเมืองเดิมก็เลยอยู่อาศัยในเมืองหงสาวดีนั้น เพราะเหตุนี้ ชนทั้งหลายใดที่ได้กลับคืนมายังเมืองหริภุญไชยนี้แล้ว เมื่อระลึกถึงหมู่ญาติอันยังอยู่เมืองหงสาวดี ครั้นถึงกำหนดปีเดือน ย่อมแต่งเครื่องสักการะไปบูชาโดยทางน้ำ เรียกว่า ลอยโขมด (คือลอยไฟ) จึงเป็นประเพณีลอยประทีป สืบมา...” สำหรับในปัจจุบันประเพณีล่องสะเปา เป็นประเพณีที่เก่าแก่ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนาทางภาคเหนือที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณอย่างช้านาน คำว่าสะเปา สะกดตามเสียงสำเนียงล้านนาจะสะกดว่าเป็น “สะเพา” หมายถึง เรือสำเภา หรือ “ล่องสะเปา” แปลว่า ปล่อยเรือไหลล่องลงตามน้ำในช่วงเทศกาลประเพณียี่เป็ง ซึ่งคำว่ายี่เป็ง ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำว่า “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หมายถึง ประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสองหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เมื่อถึงเดือนยี่เป็งจะมีการจัดประเพณีล่องสะเปา เป็นการล่องกระทงรูปเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ประดับไปด้วยกาบกล้วย ไม้ไผ่ ทรงกระโจม ภายในกระโจมประดับด้วยธงทิวภายในบรรจุดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสารอาหารแห้ง และสิ่งของต่างๆ จุดประทีปตามไฟแล้วลอยลงตามแม่น้ำในเวลากลางคืนทำให้เกิดแสงสว่างกระทบกับผิวน้ำในคืนพระจันทร์เต็มดวงคล้ายกับดวงไฟของผีโขมด สำหรับคำว่าผีโขมดเป็นชื่อเรียกของผีป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะคล้ายผีกระสือ จึงเป็นที่มาของคำว่า ลอยโขมด อีกทั้งยังเป็นการลอยไปตามแม่น้ำหวังว่าการลอยในครั้งนี้เพื่อต้องการให้ชาวเมืองสะเทิมและหงสาวดี ร่วมถึงญาติพี่น้องที่ยังคงอยู่ได้รับรู้ว่าชาวหริภุญชัยยังคงระลึกถึงอยู่เสมอ สำหรับความเชื่อในการสร้างสะเปา เพื่อทำให้เกิดอานิสงส์และเป็นการอุทิศกุศลในการทำทานให้กับดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในภพหน้าชาติหน้า และเป็นการลอยทุกข์โศกในปีที่แล้วให้ผ่านพ้นไปด้วยดี นอกจาการนี้ยังเป็นการเคารพบูชาพระแม่คงคาและเพื่อเป็นขอขมาแม่น้ำ ซึ่งในปัจจุบันประเพณีการล่องสะเปาได้รับความนิยมน้อยลง แต่ยังคงมีการทำบุญอุทิศลักษณะทำนองเดียวกัน โดยการสร้างเรือจำลองบรรจุสิ่งของถวายแด่พระสงฆ์ แต่ไม่ได้นำไปลอยน้ำเหมือนในอดีตที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ประเพณีการล่องสะเปา เป็นความเชื่อ ความศรัทธา ความกตัญญูกตเวทีต่อการบูชารอยพระพุทธบาทแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้ทานแก่ผู้ยากไร้หรือเป็นประโยชน์ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำจากเครื่องอุปโภคบริโภคที่อยู่ในสะเปา เพื่อเป็นอานิสงส์แก่การดำรงชีวิตและส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีความมั่งคั่ง มีโชค มีทรัพย์ หรือมีความราบรื่นในการดำรงชีวิต ถือได้ว่าประเพณีการล่องสะเปาเป็นวัฒนธรรมอันดีของทางภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้อนุชนควรอนุรักษ์ประเพณีและส่งเสริมประเพณีอันดีงามนี้สืบไป เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : เทศบาลตำบลต้นธง .  เทศบาลตำบลต้นธง ร่วมส่งเสริมประเพณีลอยโขมด ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๖๖ หนึ่งเดียวในล้านนา หนึ่งเดียวในโลก”. [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: http://www.tontong.go.th/v/catalog/180, ๒๕๖๖. เทศบาลนครเชียงใหม่.  การแห่ขบวนสะเปาล้านนา ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๖๖. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.cmcity.go.th/News/20037-การแห่ขบวนสะเปาล้านนา%20ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่%20ประจำปี%202566.html, ๒๕๖๖. ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก.  กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖. มณี พยอมยงค์.  ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.   พิมพ์ครั้งที่ ๓.  เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๗.


วันที่ ๗-๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ให้การต้อนรับสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร นำโดยนายพงศธร เหียงแก้ว สถาปนิกชำนาญการพิเศษ พร้อมคณะ ซึ่งเดินทางมาสำรวจสภาพอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อการออกแบบซ่อมแซมให้เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัยต่อไป


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวชาวไทยที่พาครอบครัวมาเข้าชมและร่วมกิจกรรมพิเศษ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๙๗ คน


เดือนกันยายน ๒๕๖๗ กรมศิลปากรได้มอบนโยบายให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์เพื่อเปิดโอกาสการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าเยี่ยมชม เพิ่มจากวันทำการปรกติวันพุธ - วันอาทิตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้เปิดให้บริการวันนักขัตฤกษ์ตามนโยบายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา มีผู้มาเยี่ยมชมทั้งสิ้น ๔๙ คน เดือนธันวาคมนี้ มีตารางเปิดบริการวันนักขัตฤกษ์ ๔ วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ วันพ่อแห่งชาติ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ วันรัฐธรรมนูญ และวันที่ ๓๐-๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ วันส่งท้ายปี แล้วพบกันค่ะ


บทเพลงรำวงลอยกระทงฉบับภาษาต่างประเทศ ๖ ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ สเปน เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการสืบสานคุณค่าวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีลอยกระทงของไทย - Ram Wohng Wan Loy Kra Thong (Thai Ver.) (English Ver.) Music : EUA SUNTHORNSANAN Thai Lyrics : KAEW ADCHARIYAKUL Making Music : SUNTARAPORN BAND - Ram Wohng Wan Loy Kra Thong (Spanish Ver.) Music : EUA SUNTHORNSANAN Thai Lyrics : KAEW ADCHARIYAKUL Spanish Lyrics : NUNGHATAI RANGPONSUMRIT & BUHONERO - Ram Wohng Wan Loy Kra Thong (Korean Ver.) Music : EUA SUNTHORNSANAN Thai Lyrics : KAEW ADCHARIYAKUL Korean Lyrics : HAEJUNG KIM   - Ram Wohng Wan Loy Kra Thong (Japanese Ver.) Music : EUA SUNTHORNSANAN Thai Lyrics : KAEW ADCHARIYAKUL Japanese Lyrics : DUANTEM KRISDATHANONT & AYAME WATANABE   - Ram Wohng Wan Loy Kra Thong (Chinese Ver.) Music : EUA SUNTHORNSANAN Thai Lyrics : KAEW ADCHARIYAKUL Chinese Lyrics : VANIDA WONGSANTICHON & ZHENG XIAO YING


เนื่องจาก การอ่าน  เป็นทักษะสำคัญสำหรับชีวิต ในทุกระดับอายุ และสังคม  ตั้งแต่ระดับบุคคล  ชุมชน  ระดับชาติ การอ่านช่วยสร้างสติปัญญา  สร้างจินตนาการรวมทั้งสร้างความสุข     ความเพลิดเพลินให้กับชีวิต จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป มีนิสัย รักการอ่าน  เพราะการอ่านเป็นวิธีการหาความรู้ทีดีวิธีหนึ่ง ทำให้ผู้อ่านเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง เนื่องจากหนังสือเป็นขุมทรัพย์แห่งวิทยาการทั้งปวง              หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ได้จัดโครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชนขึ้น  เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้            ตลอดจนนำหนังสือดี ๆ ที่มีประโยชน์  พร้อมกับสื่อเสริมพัฒนาการต่าง ๆ มาให้บริการ  ให้กับเด็ก  เยาวชน ประชาชนตลอดจนผู้ที่สนใจในจังหวัดสงขลาและใกล้เคียง ได้ร่วมกิจกรรมรักการอ่าน              นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และก่อให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพไม่สิ้นสุด เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม ซึ่งส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองต่อประเทศชาติ


"หนังสือดี ที่คุณควรอ่าน" หนังสือท้องถิ่นภาคใต้ ที่มีคุณค่า พร้อมบริการ ห้องบริการหนังสือท้องถิ่นภาคใต้ #หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯสงขลา #หนังสือดีในสวนสวย #มาอ่านกันเถอะ เปิดบริการทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 09.00 น.-17.00 น.


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขอเชิญร่วมกิจกรรมประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เนื่องในเทศกาลลอยกระทง พุทธศักราช 2567 ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2567 ณ อาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร (ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมกิจกรรม)


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ชวนน้องๆ ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย “ประเพณีลอยกระทง” ด้วยกิจกรรมวาดภาพ ระบายสี ประดิษฐ์กระทงกระดาษ ณ มุมกิจกรรม Museum Kid's Zone พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2567 ร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย            สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3721 1586 เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00-16:00 น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร ค่าเข้าชมชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท และพระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เข้าชมฟรี ทั้้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ที่ ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 google map : https://maps.app.goo.gl/tAcTjUtEEgV7zY9s9  


            อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม “วันลอยกระทง” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 กิจกรรมพิเศษในงาน “4 วัด 1วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ใครจะเป็นสายลอย เราก็มีที่ให้ลอย ใครเป็นสายประกวด เราก็มีนางนพมาศให้ดู ใครเป็นสายประดิษฐ์ เราก็มีกระทงโคมประทีปให้ลองทำ หรือใครเป็นสายบุญ เราก็มีให้ร่วมงานบุญเช่นกัน             พบกับกิจกรรมการประดิษฐ์กระทง ประกวดนางนพมาศ และ ลอยกระทงบึงพระราม ตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้น ณ วัดพระราม,  พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ จันทร์วันเพ็ญ ตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดมหาธาตุ, การประดิษฐ์กระทง ประทีปโคมไฟ และลอยกระทงแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดไชยวัฒนาราม            ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้นำวัตถุระเบิดหรือวัตถุเชื้อเพลิงเข้ามาในโบราณสถาน และไม่อนุญาตให้จุดดอกไม้ไฟภายในโบราณสถานทุกกรณี


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดปราสาท นนทบุรี“ วิทยากร นายอลงกรณ์ เทียมจันทร์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กองโบราณคดี และนายศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรม


Messenger