ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,617 รายการ

ประเพณีการแข่งเรือวันออกพรรษาของวัดบุญยืน ซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จะกระทำในโอกาสประเพณีตานก๋วยสลากของวัดบุญยืน ซึ่งยึดถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่สมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงสร้างและบูรณะวัดบุญยืนขึ้นในปี พ.ศ.2343 โดยยึดถือคติในไตรภูมิพระร่วง ตามพุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเสด็จประทับจำพรรษาบนสรวงสวรรค์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ครั้งออกพรรษาจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ในวันออกพรรษาของวัดบุญยืน จะมีกิจกรรมการแข่งขันเรือของแต่ละหมู่บ้านที่มาร่วมงานถวายทานสลากภัต โดยยึดถือปฏิบัติกันมา ไม่ว่าวันออกพรรษาจะตรงกับวันใดก็ตามโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรือแข่งเมืองน่านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากเรือแข่งโดยทั่วไป ด้วยหัวเรือใช้ไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาค เนื่องจากคติความเชื่อของคนโบราณที่ว่า พญานาคเป็นเจ้าแห่งสายน้ำ เจ้าแห่งชีวิต เป็นตัวแทนความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อน้ำ พญานาคจะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดความสมบูรณ์ต่อเรือกสวนนาไร่ บางปีหากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวเมืองจะนำเรือมาพาย เสมือนว่าพญานาคเล่นน้ำขอฝน ซึงเป็นที่อัศจรรย์ว่า มีฝนตกลงมาทุกครั้ง ลักษณะเรือแข่งเมืองน่านจะทำหัวเรือเป็นรูปพญานาค ชูคอสง่า อ้าปากเห็นเขี้ยวโง้ง งอนสูง ตาโปนแดง ส่วนหางยาวเรียว โค้งสะบัด ติดพู่ห้อยงดงามยิ่งนัก เอกลักษณ์ของเรือแข่งเวียงสามีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หัวเรือ กัญญาหัว และกัญญาท้ายเรือ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรือแข่งเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่ตัดไม้ตะเคียน ขุดแต่งลำเรือ ไปจนกระทั่งการแข่งขันเรือสิ้นสุดลง โดยจะมีผู้ประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า "ข้าวจ้ำ" หรือ "หมอสู่ขวัญ" เรียกแตกต่างกันไปตามโอกาสของการจัดพิธีกรรม โดยทั่วไปเป็นปราชญ์ที่มีความอาวุโสในหมู่บ้าน หรือพระสงฆ์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการอ่าน เขียนและท่องบทคาถาภาษาล้านนาได้เป็นอย่างดี เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของคนในหมู่บ้าน มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม 6 พิธี ได้แก่ 1) พิธีตัดต้นตะเคียน 2) พิธีอัญเชิญเจ้าแม่ตะเคียน 3) พิธีขอขมาเจ้าแม่ตะเคียนเพื่อทำการขุดเรือแข่ง 4) พิธีอัญเชิญเจ้าแม่ตะเคียนสิงสถิตในเรือแข่ง 5) พิธีบายศรีสู่ขวัญเรือแข่ง 6) พิธีอัญเชิญเรือแข่งลงสู่น้ำ โดยพิธีกรรมที่ 1)-5) จะดำเนินเมื่อมีการขุดเรือแข่งขึ้นใหม่ และพิธีที่ 5)-6) จะดำเนินการก่อนการแข่งขัน บทบาทผู้ประกอบพิธี ได้แก่ การจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธี การประกอบพิธีกรรม และสร้างขวัญกำลังใจแก่ฝีพายและประชาชนในหมู่บ้าน จากเดิมที่เคยใช้เรือในวิถีชีวิตเพื่อการไปมาหาสู่ใช้เป็นขบวนทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานบุญประเพณีได้ค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นประเพณีที่มีการแข่งขันเพื่อความสามัคคีของคนในชุมชน หากหมู่บ้านใดวัดใดประสงค์ให้มีการแข่งขันเรือในงานประเพณีตานก๋วยสลาก ก็จะมีใบฎีกาบอกบุญและเชิญไปยังคณะศรัทธาต่าง ๆ ที่อยู่ต่างหมู่บ้านต่างตำบลออกไป สมัยก่อนมีกฎกติกาง่าย ๆ เพียงตั้งลำเรือ เมื่อหัวเรือตรงกันก็เริ่มการแข่งขันได้ ไม่มีการคัดแยกประเภทเรือ รางวัลที่ได้ก็เป็นเพียงเหล้าขาวใส่กระบอกไม้ไผ่ และเปลี่ยนเป็นตะเกียงเจ้าพายุพร้อมน้ำมันก๊าด 1 ปี๊บ ในสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ใครชนะก็ตีฆ้องกลองพับพาง บ้างก็ลุกฟ้อน พายเรือกลับบ้านอย่างมีความสุข ในปี พ.ศ.2551 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลเรือใหญ่ ประเภทเรือเร็ว ให้แก่ชาวอำเภอเวียงสา ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทานเรือแข่งประเภทเรือเร็ว รวม 3 ประเภท คือ เรือใหญ่ (ฝีพายตั้งแต่ 48-58 คน) เรือกลาง (ฝีพายตั้งแต่ 35-40 คน) และเรือเล็ก (ฝีพายตั้งแต่ 25-30 คน) ซึ่งในปี พ.ศ.2555 อำเภอเวียงสาได้จัดการแข่งเรือเอกลักษณ์เมืองน่าน และปี พ.ศ.2556 ได้เพิ่มการแข่งขันเรือเอกลักษณ์เมืองน่าน ประเภทเรือมะเก่า ซึ่งการแข่งขันไม่ได้เน้นแพ้ชนะ แต่มุ่งความสนใจไปที่การนำเสนอความเป็นอดีตของประเพณีแข่งเรืออำเภอเวียงสา ดังจะเห็นได้จากการแต่งกายของฝีพาย ที่จะต้องสวมเสื้อหม้อห้อม คาดผ้าขาวม้า แสดงวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในอดีต ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่บนเรือต่างพากันส่งเสียงโห่ร้อง ฟ้อนรำกันด้วยความสนุกสนาน ในขณะที่เรือกำลังล่องเข้าสู่ร่องน้ำ สร้างความประทับใจแก่ชาวอำเภอเวียงสา และนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานยิ่งนัก รายการอ้างอิง กวินธร เสถียร และพัชรินทร์ สิรสุนทร. คู่มือส่งเสริมความเข้าใจ เอกลักษณ์เรือแข่งเวียงสา และส่งเสริมสุขภาพเชิงสร้างสรรค์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557. กวินธร เสถียร และพัชรินทร์ สิรสุนทร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ในประเพณีแข่งเรือ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557. สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า. แข่งเรือปลอดเหล้าจังหวัดน่าน พลังการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน, 2554. ที่มาของภาพประกอบ อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง. แข่งเรือเมืองน่าน บูชาพญานาค สานตำนานเชื่อมความสามัคคี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก: https://www.nairobroo.com/travel/boat-race-in-naan/ เรียบเรียงโดย: นางสาวอลิษา สรเดชบรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


          อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ เรื่อง “รำลึก ๖๘ ปี เสด็จประพาส ปราสาทพิมาย” เพื่อร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในเหตุการณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ (เมื่อ ๖๘ ปีที่แล้ว) นับเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สำคัญต่อโบราณปราสาทพิมาย ตลอดจนพสกนิกรในพื้นที่ ซึ่งมีภาพถ่ายบันทึกไว้หลายภาพ ทั้งโดยส่วนราชการและประชาชน นับเป็นภาพถ่ายที่ทรงคุณค่า แสดงให้เห็นสภาพของปราสาทพิมายก่อนที่จะได้รับการบูรณะ และพระราชกรณียกิจครั้งสำคัญ อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย” ทรงมีต่องานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ            โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการ ในวันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ ระหว่างวันที่ ๑๑ ตุลาคม ถึง ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ไม่มีวันหยุด) สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๔๔๔๘ ๑๕๖๘


วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 นายประพนธ์ รอบรู้ ผู้แทนหน่วยงาน ได้เข้าร่วมพิธีในงาน “ 4 ตุลา วันมหามงคล เคลื่อนพลไปกู้ชาติ” ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) จังหวัดจันทบุรี ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกับสภาวัฒนธรรม ส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและวีรชนบรรพบุรุษชาวจันทบุรี ที่ร่วมกองทัพพระเจ้าตากสินมหาราชไปกู้ชาติ ในงานมีการแสดงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และการเคลื่อนพลนักรบจากจันทบุรีไปกู้ชาติ/ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีเสริมสิริมงคล บทสวดธชัคคปริตร /พิธีตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 48 รูป อุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษของไทย


          หนังสือ : คู่มือเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉิบหายขั้นสุด = The worst-case scenario survival handbook           ผู้เขียน :  โจชัว ไพเวน และ เดวิด โบร์เกนิซต์            ผู้แปล : พรเลิศ อิฐฐ์ เวลาดูภาพยนตร์ที่ต้องหนีตายจากฉลาม จระเข้ เคยสงสัยไหมคะ ว่าถ้าเราอยู่ในสถานการณ์นั้น เราต้องทำอย่างไรถึงจะรอด หนังสือเล่มนี้จะช่วยไขข้อสงสัยดังกล่าว (แต่ไม่รับประกันความปลอดภัย) โดยผู้เขียนทำการรวบรวมวิธีเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง เช่น วิธีหนีออกจากรถที่กำลังจม วิธีป้องกันตัวจากฉลาม วิธีสลัดให้หลุดจากจระเข้ วิธีกระโดดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงตาย วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกฟ้าผ่า ฯลฯ สรุปเป็นขั้นตอนที่กระชับ เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ ให้เราพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์  คำเตือน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน             ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           เลขหมู่ : 363.34 พ994ค




เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เริมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๑.๑/๑๐๒ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


         กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดทำบอร์ดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อพสกนิกรชาวไทยจะได้น้อมรำลึกและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการสร้างสรรค์ และธำรงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนสืบไป


            เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทย ที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดมาอย่างยาวนานผ่านขบวนเรือพระราชพิธีอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเรือพระราชพิธี การฝึกซ้อมฝีพาย ระเบียบแบบแผนการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน บุคลากรจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จะดำเนินการซ่อมแซมงานประดับตกแต่งเรือพระราชพิธีที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี การปิดทองประดับกระจก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ การเขียนลายรดน้ำเรือพระราชพิธี จำนวน 4 ลำ ตามแบบลวดลายเดิม ได้แก่ เรืออสุรวายุภักษ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือเอกไชยเหินหาว เพื่อให้เรือพระราชพิธีมีความสมบูรณ์ สวยงามสมพระเกียรติ และพร้อมสำหรับการพระราชพิธีสำคัญ ก่อนจะเชิญเรือพระราชพิธีลงน้ำในเดือนกรกฎาคม 2567 และเข้าร่วมฝึกซ้อมการจัดริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2567 ต่อไป             หลังจากชมเรือพระราชพิธีแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนปากคลองบางกอกน้อย เพียงเดินลัดเลาะหลังรั้วของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ผ่านชุมชน ช่วงเที่ยงๆ จะได้ยินเสียงละหมาดแว่วมาจากมัสยิดหลวงบางกอกน้อย ไม่ไกลจากมัสยิดมีร้านอาหารมุสลิมที่มีเมนูหลากหลายให้ได้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหมกสามสี ข้าวหมกอินเดีย ข้าวซอย โรตีแกงเขียวหวาน ยาสุม ซาโมซา และชาอินเดีย หากชอบอาหารรสจัด ก็มีร้านอาหารใต้ ต้นตำรับนครศรีธรรมราช ที่มีหลากหลายเมนูให้เลือกทานเช่นกัน หรือเดินต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับร้านอาหารในบรรยากาศสงบๆ ของปากคลองบางกอกน้อย แวะนั่งพักจิบชา กาแฟ และลิ้มรสอาหารที่การันตีโดย Michelin Guide              และที่พิเศษกว่าทุกวัน หากมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ในวันศุกร์ ยังสามารถแวะไปอุดหนุนอาหารและขนมฮาลาลขนานแท้ อบสดใหม่หอมกรุ่นจากเตาได้ที่มัสยิดหลวงบางกอกน้อย เพราะที่นี่เป็นสถานที่ทำพิธีละหมาดหมู่ในวันศุกร์ ชาวมุสลิมบางกอกน้อยและที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง จะพร้อมเพียงกันมาที่มัสยิดแห่งนี้ เพื่อขอพรในศาสนาอิสลาม จึงมีการทำอาหารจำหน่ายเป็นพิเศษ             เมื่ออิ่มอร่อยกับอาหารเลิศรสแล้ว ออกเดินต่อไปอีกไม่ไกล ไปชมศาลเรือโบราณในวัดดุสิตาราม ที่นั่นมีโกลนเรือขุดซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงขั้นตอนการสร้างเรือขุดโบราณ ลักษณะเป็นท่อนซุงต้นใหญ่ที่ขุดด้านบนให้เป็นราง แต่ยังไม่ได้ถากหัวและท้ายให้เรียวขึ้น ซึ่งหากโกลนเหล่านี้ได้รับการขุดจนสมบูรณ์ จะต้องถูกเบิกเรือด้วยการดัด ขยายปากเรือให้กว้างออกตามความกว้างของเรือ ปัจจุบันการทำเรือขุดแบบโบราณนั้นหาดูได้ยาก โกลนเรือขุดที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเที่ยวชมเรือพระราชพิธี และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากชมโกลนเรือขุดแล้ว เดินทะลุเขตสังฆาวาสไปที่วัดภุมรินทร์ราชปักษี ชมงานจิตรกรรมฝีมือช่างโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่หาชมได้ยาก เรียกได้ว่าทริปนี้ ครบถ้วนทั้งสาระความรู้และอาหารอร่อย


ทดสอบ 


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอนนอก เรื่องสังข์ทอง ตอน เลือกคู่และหาปลา.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๗.



ชื่อเรื่อง : เชียงใหม่ ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โสมนิมิตต์       เชียงใหม่คือจังหวัดปลายสุดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่รองจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวยงามด้วยผู้คน ภูเขา ดินฟ้าอากาศ และทัศนียภาพอื่น ๆ เชียงใหม่เคยเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์มาแต่โบราณมีปูชนียสถาน โบราณวัตถุและขนบธรรมเนียมเก่าๆ เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่านและผู้ที่ต้องการจะศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม หนังสือเชียงใหม่ได้หาภาพถ่ายสีธรรมชาติของที่สำคัญๆ และของดีมีค่าของไทยภายในหนังสือเชียงใหม่


     ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พบที่เตาบ้านเกาะน้อย นอกเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย     สังคโลกรูปบุคคลนั่งแบกเด็กไว้บนบ่าซ้ายติดอยู่กับชามลายกลีบดอกไม้เคลือบสีเขียวอ่อน บริเวณบนศีรษะรูปบุคคลมีลักษณะเป็นรู อาจใช้สำหรับใส่ของเหลว ซึ่งการที่รูปคนอุ้มเด็กติดอยู่ภายในชาม คงเกิดจากความผิดพลาดระหว่างกรรมวิธีการเผา      สังคโลกชนิดเคลือบสีเขียว เป็นเครื่องสังคโลกที่ได้รับการพัฒนาในระดับสูงสุดในด้านของวัตถุดิบ เทคโนโลยีและความชำนาญในเชิงช่างของชาวศรีสัชนาลัย ที่รู้จักกันดีในนามเครื่องเคลือบแบบเซลาดอน และมีแหล่งผลิตที่สำคัญบริเวณแหล่วเตาบ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย โดยได้รับการพัฒนาในระดับที่สามารถส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศได้



Messenger