ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,398 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           13/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              24 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.513/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172  (248-253) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองอาราม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເໜືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ສປປ.ລາວ จิตรกรรมฝาผนังวิหาร วัดโพธิ์ศรี บ้านเหมืองแพร่ แขวงไชยบุรี สปป.ลาว ติดกับบ้านเหมืองแพร่ ต.นาแห้ว อ.นาแห้ว จ.เลย เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนผนังปูน เล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดก พระมาลัย และสอดภาพแทรกวิถีชีวิต สามารถข้าม"พรมแดน"เข้าชมความงดงามได้ในทุกๆ"วันพระ"ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເຫມືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ເມືອງບໍ່ແຕນ ສປປ.ລາວ


         ประติมากรรมดินเผารูปนาค พบจากเมืองโบราณอู่ทอง          ประติมากรรมดินเผารูปนาค สมัยทวารวดี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ประติมากรรมดินเผารูปนาค สูง ๔ เซนติเมตร กว้าง ๓.๓ เซนติเมตร มีขนดนาคซ้อนเป็นวง ๒ ชั้น รองรับเศียรนาคซึ่งมีลักษณะเหมือนหงอนเป็นตุ่มนูน ใบหน้าและลำตัวของนาค ตกแต่งโดยใช้วัสดุปลายแหลมขีดให้เป็นลูกตากลมโต จมูกเจาะเป็นรูกลม ๒ รู ส่วนปากขีดเป็นเส้นตรงยาว มุมปลายยกขึ้นคล้ายอมยิ้ม ลำตัวตกแต่งเป็นขีดคล้ายเกล็ดงู            นาค เป็นสัตว์ในจินตนาการ ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากสัตว์ที่มีอยู่จริงประเภทงูใหญ่ ตามความเชื่อ นาค ถือเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์รักษาในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู ความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏในดินแดนไทย จึงเป็นการผสมผสานทั้งความเชื่อที่มีมาแต่เดิม และความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งการรับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย          รูปแบบทางศิลปกรรมของนาคชิ้นนี้ สัมพันธ์กับประติมากรรมรูปนาค ที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ได้แก่ ประติมากรรมปูนปั้นรูปนาค พบที่เจดีย์หมายเลข ๓ นาค เป็นนาคหัวโล้น มีหงอนเป็นจุกสามเหลี่ยม นอกจากนั้น ในเมืองโบราณอู่ทอง ยังพบหลักฐานประติมากรรมรูปนาคปูนปั้นที่เจดีย์หมายเลข ๒๘ ซึ่งประติมากรรมรูปนาคปูนปั้นเหล่านี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อประดับส่วนฐาน หรือประดับองค์ประกอบอื่นๆ ของสถาปัตยกรรม หลักฐานประติมากรรมรูปนาคที่พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ส่วนใหญ่มักทำจากปูนปั้น และเกี่ยวข้องกับการตกแต่งศาสนสถานในศาสนาพุทธ ซึ่งน่าจะมีความหมายถึงความเป็นสิริมงคลและเป็นผู้พิทักษ์ดูแลพุทธสถานแห่งนั้น          ประติมากรรมรูปนาคชิ้นนี้ น่าจะมีหน้าที่ต่างจากประติมากรรมรูปนาคชิ้นอื่น ๆ ที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง เนื่องจากทำจากดินเผา มีขนาดเล็ก และส่วนฐานโค้งเว้า ประกอบกับบริเวณขนดนาคมีการเจาะรูกลมทะลุถึงกัน  ลักษณะคล้ายกับประติมากรรมดินเผารูปช้าง และสิงห์ ประดับบนจุกภาชนะ พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จึงสันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปนาคนี้ เป็นประติมากรรมที่ประดับอยู่บนจุกภาชนะเช่นเดียวกัน ซึ่งน่าจะใช้สำหรับอุดปากภาชนะประเภทปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “ความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔. สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ. “นาค” ในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี เอกสารประกอบงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ๑๑-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒.




ชื่อเรื่อง: ประวัติการส้างพระพุทธรูปประจำวัน พระ 7 ปาง ผู้แต่ง: พุทธสมาคมแห่งประเทสไทย สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๖สถานที่พิมพ์: เชียงใหม่สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ปติพงส์จำนวนหน้า: ๒๐ หน้า เนื้อหา: "ประวัติการส้างพระพุทธรูปประจำวัน พระ ๗ ปาง" พุทธสมาคมแห่งประเทสไทย สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดส้างพระพุทธรูปประจำวัน          นะ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๘๖ เนื้อหาว่าด้วย พระ ๗ ปาง ประกอบด้วย ๑) ผู้เกิดวันอาทิตย์ บูชาพระยืนถวายเนตร์      ๒) ผู้เกิดวันจันทร์ บูชาพระยื่นห้ามญาติ ๓) ผู้เกิดวันอังคาร บูชาพระไสยาสน์ (หรือคันตรราสตร์ ราถปางขอฝน) ๔) ผู้เกิดวันพุธ บูชาพระอุ้มบาตร์          ๕) ผู้เกิดวันพรึหัสบดี บูชาพระขัดสมาธิ ๖) ผู้เกิดวันสุกร์ บูชาพระยืนรำพึง และ ๗) ผู้เกิดวันเสาร์ บูชาพระนาคปรก ทั้งยังมีการกล่าวถึงเริกส์ผสม      วัตถุส้างพระพุทธรูป พิธีการปลุกเสก วัตถุที่นำมาจากปูชนียสถานสำคันในจังหวัดต่างๆ       เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๓๗๖เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: ๒๕๖๖_๐๐๐๔หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖




        หนังสือ : ปกีรณำพจนาดถ์ และ อนันตวิภาค         ผู้เขียน : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)    ปกีรณำพจนาดถ์ และ อนันตวิภาค เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังเป็นหนังสือเก่าที่หาฉบับได้ยาก โดยผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นผู้แต่งแบบเรียนแรกของไทย ‘แบบเรียนหลวง’ และแบบเรียนอีกจำนวนมาก แบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหารถือเป็นวรรณกรรมแบบเรียนที่ทรงคุณค่า ด้วยบันทึกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งยังเป็นแบบอย่างแก่การเรียบเรียงแบบเรียนภาษาไทยในชั้นหลัง         ปกีรณำพจนาดถ์ เป็นแบบเรียนแต่งเป็นกลอนอธิบายเกี่ยวกับคำพ้อง คำคล้าย ตลอดจนคำที่กำหนดรูปเขียนและวิธีอ่านออกเสียงเป็นพิเศษ อนันตวิภาค เป็นแบบเรียนที่รวบรวมคำศัพท์และความหมาย เนื้อหาจำแนกตามหมวดหมู่ ได้แก่ คำสยามพากย์(คำภาษาไทย) คำกำพุชพากย์(คำภาษาเขมร) คำชวา คำราชาศัพท์ คำมคธพากย์และสังสกฤษฎพากย์(คำภาษาบาลีและสันสกฤต) อันเป็นแบบเรียนที่มีเนื้อหาต่อเนื่องจากชุดแบบเรียนหลวง   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ : 495.918 ศ427ป


เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศดอนเมือง เพื่อทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ซาลาฮุดดิน อับดุล อาซิซ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย และสมเด็จพระราชินี ตวนกู ซีตี ไอซาห์ สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓ รหัสเอกสาร ฟ หจภ นร ๕.๑/๘ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอน เรื่อง ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๕.


      สำริด ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เทวรูปองค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายจากเมืองโบราณสุโขทัย ไปประดิษฐานไว้ ณ เทวสถาน กรุงเทพมหานคร และนำกลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ในปี พุทธศักราช ๒๕๐๗ พระหริหระ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ที่เป็นการรวมพระวิษณุ (หริ) และพระศิวะ (หระ) ให้อยู่ในองค์เดียวกัน โดยนำลักษณะเด่นของแต่ละองค์มารวมไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม พระองค์มี ๔ กร พระหัตถ์ขวาบนทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงดอกบัว สัญลักษณ์ของพระวิษณุ พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางกรัณฑมุทรา เครื่องประดับพระเศียรตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา ยอดเป็นทรงกระบอกคอดเว้า คล้ายมุ่นมวยผม ประดับด้วยรูปพระจันทรืเสี้ยว มีพระเนตรที่ ๓ บริเวณกลางพระนลาฏ ทรงสวมสายธุรำรูปนาค ซึ่งเป็นสัญลักษ์ของพระศิวะ ลักษณะของพระพักตรเป็นรูปไข่ พระเนตรยาวรี พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์บางพระหนุเป็นปมตามรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระกรรณสวมกุณฑล ทรงกรองศอ พาหุรัดและทองพระกร พระภูษายาวที่เรียกว่า "โธตี" (ผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพันรอบตัว) ด้านหน้าจีบเป็นริ้วแฉก คาดปั้นเหน่งชักชายภูษาโค้งลงมาปิดหัวปั้นเหน่งประทับยืนบนฐานบัวคว่ำ - บัวหงาย      การสร้างเทวรูปซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของศาสนาพราหมณ์ที่มีบทบาทในสังคมพุทธศาสนาในสุโขทัย โดยได้สร้างสรรค์รูปแบบงานศิลปกรรมตามคตินิยมและสุนทรียภาพตามแบบศิลปะไทยที่นิยมในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งตามหลักฐานศิลาจารึก วัดป่ามะม่วง พุทธศักราช ๑๙๐๔ ได้ระบุว่าพระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดให้ประดิษฐานเทวรูป พระศิวะและพระวิษณุไว้ที่หอเทวาลัยมหาเกษตรในป่ามะม่วงนอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านตะวันตกเพื่อให้พราหมณ์และดาบสได้บูชา โดยเทวรูปพระหริหระนี้อาจเป็นหนึ่งในเทวรูปที่พระองค์ทรงโปรดให้นำไปประดิษฐานในหอเทวาลัยมหาเกษตร