ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,569 รายการ
ชื่อเรื่อง ตำราดูลักษณะบุคคล (หญิง ชาย – ดี และ ชั่ว)ผู้แต่ง ลักษมันต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ปรัชญา โหราศาสตร์เลขหมู่ 138 ล229ตสถานที่พิมพ์ ธนบุรีสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งวัฒนาปีที่พิมพ์ 2515ลักษณะวัสดุ 440 หน้า หัวเรื่อง การทำนายลักษณะ บุคลิกภาพภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก“ตำราคูลักษณะบุคคล” เล่มนี้ได้ถอดความมาจากต้นฉบับเดิม จากตำราดูลักษณะในราชสำนักของจีน ที่สืบมาแต่โบราณ เป็นตำราที่บอกถึงลักษณะของบุคคลแต่ละประเภท แต่ละชนิดทั้งหญิงและชาย ว่าเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยใจคอเช่นไร น่าคบค้าสมาคมด้วยเพียงใดหรือไม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านควรจะศึกษาเอาไว้เป็นความรู้ ความเชี่ยวชาญในการที่จะสมาคมกับบุคคลต่างหน้าอยู่ทุกเมื่อชื่อวัน อย่างน้อยที่สุดก็ยังเป็นวิชาพิเศษ ที่ท่านสามารถจะทดสอบและพยากรณ์ให้กับเพื่อนฝูง หรือญาติมิตรได้ในโอกาสที่สมควร
ชื่อเรื่อง สพ.บ.424/1ก พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)
สพ.บ. 424/1ก
ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
เทศน์มหาชาติ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาต ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พช. จันทรเกษม เปิดรับสมัครผู้สนใจร่วมกิจกรรม Batik workshop เรียนรู้และสืบสานงานศิลปหัตถกรรมบนผืนผ้า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Batik workshop เรียนรู้และสืบสานงานศิลปหัตถกรรมบนผืนผ้า ในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 โดยวิทยากรจากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าบาติกและมัดย้อม ตำบลบ้านชุ้ง
สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน) สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ 035 251 586 หรือ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
--------------------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดเรียกลักษณะนี้ว่า “อุทกสีมา” ซึ่งเป็นรูปแบบแผงผังวัดที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคาร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น จากนั้นเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนกันสองชั้น (ชั้นแว่นฟ้า) ตามด้วยส่วนเรือนธาตุเพิ่มเหลี่ยมมุมไม้ยี่สิบรองรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม ส่วนปลีหักหาย
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม มีที่มาของชื่อตามลักษณะของส่วนยอดซึ่งคล้ายดอกบัวตูม และการพบเจดีย์ลักษณะเดียวกันบางองค์ ปรากฏการทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูม โดยชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่างอาทิเช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เนื่องจากพบเจดีย์ทรงนี้อย่างแพร่หลายตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย มีรายละเอียดส่วนประกอบโดยรวม ดังนี้
ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3-5 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน 2 ฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ นิยมเรียกชุดฐานบัวทั้งสองฐานนี้ว่า “ชั้นแว่นฟ้า” ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐานมี 2 รูปแบบ คือ เรือนธาตุไม่มีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งพบมากที่สุด และรูปแบบเรือนธาตุมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เช่น เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย
ส่วนยอด ประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อเหนือเรือนธาตุมีชั้นซ้อน 1 ชั้น ประดับด้วยบรรพแถลง และกลีบขนุน แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอด คือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบด้วยองค์ระฆังที่เป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม และเหนือส่วนยอดของดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงระฆังรองรับส่วนยอดสุดคือ ปลี
ทั้งนี้ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมักพบการประดับหน้ากาลเต็มพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะบรรพแถลงมีขนาดเล็กมาก และอยู่สูง เช่น เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว
นอกจากนี้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมบางกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และเป็นเจดีย์ประธานอันสำคัญที่สุดของวัดจะมีการทำบันไดบริเวณส่วนฐานด้านทิศตะวันออกขึ้นไปถึงส่วนเรือนธาตุ โดยรวมแล้วเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีเพียงบางองค์
ที่มีลักษณะแตกต่างไปคือ มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนตามระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป เช่น ไม่มีชั้นเขียง ไม่มีชั้นแว่นฟ้า มีชั้นแว่นฟ้าเพียงชั้นเดียว หรือมีการเพิ่มชั้นฐานบัว เป็นต้น
ตัวอย่างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในเมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ, เจดีย์วัดอโสการาม และเจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เป็นต้น
การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบรูปแบบสถาปัตยกรรม และอ้างอิงจากอายุของวัดที่พบรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงทำการกำหนดอายุเปรียบเทียบโดยใช้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสื่อกลางในการอ้างอิงระหว่างวัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัย
1. หลักฐานทางโบราณคดีประเภทจารึก : ปรากฏจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่ทำการขุดแต่งพบส่วนยอดของเจดีย์ลักษณะทรงยอดดอกบัวตูม โดยจารึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม ระบุปีพุทธศักราช 1956
นอกจากนี้ยังพบจารึกภายในบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1935, จารึกเจดีย์น้อย อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พุทธศตวรรษที่ 20-21 และจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณี อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พุทธศักราช 1919
2. หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการดำเนินการโครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย โดยการดำเนินงานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย ขนาดหลุม 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม แบ่งประเภทการกำหนดอายุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีเปรียบเทียบ
- ชิ้นส่วนภาชนะแหล่งเตาสุโขทัย ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนลายสีดำบนพื้นสีขาวลวดลายกงจักร ลายปลาในวงกลม ลายดอกไม้หรือลายพันธุ์พฤกษา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งน้ำเคลือบสีเขียวหรือสังคโลกจากแหล่งเตาสุโขทัย กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20
- เครื่องถ้วยจีน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุคร่าวๆได้ว่า ชิ้นที่พบว่ามีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ต่อมาคือสมัยเยวี๋ยน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) นอกจากนั้นยังพบภาชนะสำริดตกแต่งผิวด้านนอก-ด้านในด้วยวิธีถมปัด อายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเมื่อเปรียบเทียบชั้นดินวัฒนธรรมแล้วพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงเหล่านี้ อยู่ในชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย ร่วมสมัยกับชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งรูปทรงต่างๆ และชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลก
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
จากรายงานผลการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating ตัวอย่างถ่าน และเปลือกหอยจากการดำเนินงานการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการวิจัยการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2561 นำตัวอย่างถ่านที่พบในหลุมขุดค้นที่ 2 (TP.2) ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน ระดับความลึกสมมติที่ 11 (160-170 cm.dt.) ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการเร่งอนุภาคมวลสาร (AMS) มีค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศักราช 1690-1758 ซึ่งมีอายุเก่ากว่าสมัยสุโขทัย โดยในระดับชั้นเดียวกันนี้พบโบราณวัตถุที่มีอายุสมัยร่วมกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุโดยวิธีเปรียบเทียบราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทิศตะวันตกของวัดตระพังเงินมี 2 ชั้นวัฒนธรรม ได้แก่ ชั้นที่อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกสุโขทัย และชั้นที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการสร้างวัดที่ปรากฏศิลปกรรมเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมอย่างช้าที่สุดคือช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
ดังนั้นการปรากฏรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัย
------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ.
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2519. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2542.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย : แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบ และการวิเคราะห์ทาง
ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โครงการเจดีย์ในประเทศไทย แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์, สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
. เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.
. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.
. ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์สมาพันธ์, 2563.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :
มติชน, 2553.
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย
ปีงบประมาณ 2561. ม.ป.ท. : โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ม.ป.ป.
--------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล: อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/kpppark2534/posts/pfbid0yNCD4hjV5v9LxZNGmfR8aeQ9BiBE8T52uDMNiyK8jyeqn6Rd9cnwh2gtfNTjVEpMl
--------------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชวนร่วมกิจกรรม “มุม - พบ - ปะ” พบกับศิลปินอาร์ตทอย เวิร์กชอป DIY มากมาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชวนร่วมกิจกรรม “มุม - พบ - ปะ” พบกับศิลปินอาร์ตทอย เวิร์กชอป DIY เครื่องประดับชาร์ม แต่งองค์พระคเณศ และอื่น ๆ อีกมากมาย ในวันเสาร์ที่ 23 กันยายน - 1 ตุลาคม 2566 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมนี้อยู่กลางพระที่นั่งฯ จัดร่วมในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 หัวข้อ "Museum Unveiling: เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย" จัดแสดงสิ่งของสำคัญ สิ่งแปลกจากคลังพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่มิได้เผยแพร่มาก่อน
ความรื่นรมย์เวียนมาบรรจบอีกครั้งแบบยิ่งใหญ่กว่าเดิม ! พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ร่วมกับภาคีเครือข่าย ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังดนตรีในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนชวนมาทอดน่องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ยลพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน ฟรี !! ในงาน Music and Night at the Museum ครั้งที่ 3 วันที่ 1-2 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 17.00น. - 21.00น. โดยภายในงานจะได้พบกับกิจกรรมมากมาย ได้แก่
Shining Market
ละลานตากับสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มสร้างสรรค์ พบกับ "เมนูใหม่” ที่รังสรรค์มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ พร้อม Workshop เท่ ๆ เอาใจสายอาร์ต
............................................................................
Starlight
เดินเพลิน นั่งเพลิน ฟังเพลิน ไปกับเสียงดนตรีขับขานในคืนฟ้าพร่างดาว กับมินิคอนเสิร์ตโดย Newery เจ้าของบทเพลงกลิ่นดอกไม้ หลงรัก และต่อจากคืนนี้ (ฉันจะไม่มีเธออีกแล้ว)
**ชมชุดการแสดงสร้างสรรค์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และฟังดนตรีจากเยาวชนที่จะมาช่วยสร้างบรรยากาศสุดอบอุ่นท่ามกลางหมู่ดาว
.............................................................................
Star Party
ชวนหนุ่มสาวดูดาว เล่าเรื่องราวจากพิพิธภัณฑ์ เช็คอินกับบอลลูนดวงจันทร์ ส่องกลุ่มดาวฤดูหนาวและพระจันทร์ข้างแรม โดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
.............................................................................
Museum Tour
ประสบการณ์ใหม่ในการชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ที่ครบทั้ง “รูป รส กลิ่น เสียง” พบกับการเล่าเรื่องเมืองสงขลาผ่านดวงดาว พาเดินทางย้อนประวัติศาสตร์ผ่าน Site Specific Dance โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สัมผัส “กลิ่นสงขลา” โดย SAN Original Scent Store พร้อมเสิร์ฟสำรับ “เสน่ห์สงขลา” ที่รังสรรค์วัตถุดิบท้องถิ่นให้โดดเด่น และเฉิดฉาย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่
จำนวนวันละ 2 รอบ รอบละ 40 คน (มีค่าใช้จ่าย)
รอบที่ 1 เวลา 18.00น.-19.00น.
รอบที่ 2 เวลา 19.00น.-20.00น.
วิทยากร : ธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ และ ชนาธิป ไชยานุกิจ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา
ออกแบบการแสดง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรวรรณ โภชนาธาร ประธานสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ออกแบบเมนูขนม : Lunaray
ออกแบบเมนูเครื่องดื่ม : เล่ากาแฟ (LaowKafea)
สำรองที่นั่งทาง inbox หรือกล่องข้อความของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา (Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา) ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00น. เป็นต้นไป (ทักก่อนมีสิทธิ์ก่อน)
.............................................................................
Night at the Museum ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ ชมนิทรรศการกลิ่นสงขลาโดย SAN Original Scent Store ตั้งแต่เวลา 20.00น.-21.00น.
...........................................................................
พิเศษ ! แคมเปญ #แต่งใต้ไฉไล2024 ชวนมาแต่งตัวเที่ยวงานด้วยชุดพื้นถิ่นกลิ่นใต้ให้เฉี่ยวจนต้องเหลียวหลัง ชิงรางวัลตั๋วเครื่องบินเส้นทาง "หาดใหญ่ - เชียงใหม่" จำนวน 1 รางวัล จากสายการบิน Airasia (โปรดติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา)
วันนี้ (วันอังคารที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ กิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักงานเขตพระนคร เครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมกว่า ๑๕๐ คน
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้าในวันนี้ เป็นกิจกรรมทำความสะอาดโบราณสถาน อาคาร สิ่งสำคัญภายในวัดที่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเป็นการทำความสะอาดในเชิงอนุรักษ์เป็นสำคัญ ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ แหล่งเรียนรู้ วัด และโบราณสถานทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชาติ อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้เห็นเป็นตัวอย่างตลอดมา การดำเนินการในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม และร่วมกันปกป้อง พัฒนาโบราณสถานหรือแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร โดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า จึงไม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาสเป็นโบราณสถานสำคัญ ซึ่งนอกจากจะมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามแล้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถยังเป็นภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มีคุณค่ายิ่ง เป็นที่ยกย่องเชิดชูกันในหมู่นักปราชญ์และศิลปินตลอดมา
วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง "สมุดไทยเรื่องพระมาลัย" โดยนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จลง ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรสรหัสเอกสาร ภ หจภ ศธ ๑.๑/๔๔
วันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะจากบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จังหวัดสระบุรี จำนวน ๖๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนายธิริทธิ์ เรืองทวีทรัพย์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้