ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,568 รายการ
ชื่อเรื่อง : หลากเผ่าหลายพันธุ์ในลุ่มน้ำของ ผู้เขียน : บุญยงค์ เกศเทศ สำนักพิมพ์ : อินทนิล ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๗๕๗๗-๒๖-๕ เลขเรียกหนังสือ : ๓๐๕.๘๐๐๙๕๙ บ๕๓๒ห ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑สาระสังเขป : ลุ่มน้ำของ ตามสำเนียงคนพื้นถิ่นก็คือ บริเวณลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขานับร้อยสายที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินแถบนี้ ไหลจากจีนผ่านลาว พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม นับว่าเป็นสายน้ำแห่งชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้คนหลาก เผ่าหลายชาติพันธุ์ ได้อาศัยพักพิง และก่อร่างสร้างชีวิต ชุมชน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมานานนับพันปี "หลากเผ่าหลายพันธุ์ในลุ่มน้ำของ"นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคนในดินแดนลุ่มน้ำโขง ตำนาน นิทานพื้นถิ่น พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเกี่ยวกับผี การแต่งกาย และการกินอยู่ในช่วงเวลาที่วิถีชีวิตแบบเรียบง่ายค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมกับความเจริญและการพัฒนาที่กำลังมุ่งเข้ามาอย่างมากมาย
ชื่อเรื่อง ประชุมพงศาวดาร เล่ม 27 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 45 (ต่อ)ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 959.3 ป247 ล.27สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุปีที่พิมพ์ 2511ลักษณะวัสดุ 320 หน้าหัวเรื่อง ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- วัฒนธรรมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วย ประชุมพงศาวดาร เล่ม 27 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 45 (ต่อ)) รวมจดหมายเหตุ เรื่องราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2400
หินทุบเปลือกไม้วัสดุ : หิน ขนาด : ยาว 9.6 เซนติเมตร กว้าง 5.8 เซนติเมตร สูง 5.5 เซนติเมตรสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ อายุ : พุทธศตวรรษที่ 5-10 ลักษณะวัตถุ : ทรงกลม ด้านหนึ่งเซาะร่องเป็นเส้นตรงตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ช่วงตรงกลางแกะเป็นร่องเว้าลึกเล็กน้อย เพื่อการจับ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแถบฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้มีวัฒนธรรมการนุ่งห่มด้วยผ้า ทำจากเปลือกไม้ โดยพบหินทุบเปลือกไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งหินทรงกระบอก หรือ ทรงรี ด้านหนึ่งสกัดเป็นร่องเส้นไขว้เป็นตาตาราง ในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ ถ้ำเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ในจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และพังงา อีกด้วย จากนั้นในราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 ชุมชนโบราณในภาคใต้ได้มีการรับวัฒนธรรมจากอินเดีย จีน และเมดิเตอเรเนียน ทำให้มีการพัฒนาการทำผ้าจากเปลือกไม้มาเป็นการทอผ้าด้วยเส้นใยจากพืช โดยเฉพาะ ฝ้าย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในอินเดีย นั้น น่าจะมีการนำเข้ามาปลูกและเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยและทอผ้าจากเส้นใยฝ้ายแล้ว เพราะพบอุปกรณ์ปั่นด้ายที่เรียกว่า แว ทำจากดินเผาและหิน มีรูปทรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ มีฐานรูปกรวย รูปครึ่งวงกลม มีแกนยาวเป็นเดือยทรงกระบอกยื่นออกมาและมีรูตรงกลาง ในแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลานี้หลายแห่ง อาทิ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด ในเขตอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แหล่งที่พบ : เขาเสก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ที่มาข้อมูล ระบบทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระปรางค์วัดอรุณราชวราม มีแนวคิดและการวางผังการก่อสร้างโดยจำลองแบบมาจาก “ภูมิจักรวาล” องค์พระปรางค์ประธาน เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุราชบรรพต ซึ่งเป็นแกนกลาง หรือศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่สถิตของเทพเจ้า ประกอบด้วยสวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูปพรม ๖ ชั้น ในบรรดาสวรรค์ ๖ชั้นนั้น ที่สวรรค์ชั้นดา วดึงส์ มีไพชยนต์ปราสาทตั้งอยู่กลางนครไตรตรึงษ์ อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ดังปรากฏรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่ซุ้มปรางค์ประธานทั้ง ๔ ทิศ ถัดจากแกนกลางนอกเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วย ทะเลสีทันดรซึ่งเป็นทะเลน้ำจืด สลับกับเขาสัตบริภัณฑ์ อย่างละ ๗ ชั้น ถัดจากเขาสัตบริภัณฑ์ออกไปเป็นมหาสมุทร ที่เรียกว่า โลณสาครหรือทะเลน้ำเค็ม ในโลณสาคร มีทวีปใหญ่อีก ๔ ทวีปโดยมีแผ่นดินเล็กๆหรือเกาะอีก ๕๐๐ เป็นบริวาร และระหว่างกลางทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ยังมีทวีปเล็กอีก ๔ ทวีป เรียกว่า ยุปรทวีป โดยมีเขาจักรวาลล้อมรอบทะเลทั้งหมดนี้ไว้ เป็นกำแพงจักรวาล ปรางค์ทิศ หรือปรางค์บริวารของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เปรียบได้กับทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีป ได้แก่ บูรพวิเทห์ทวีป อุตตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป และ ชมพูทวีป แต่บ้างก็ว่า อาจหมายถึง เขายุคนธรทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองใหญ่ ๔ เมืองของท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือท้าวจตุโลกบาล รูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์ทิศนี้ มีลักษณะเป็นรูปบุคคลกายสีขาว แต่งเครื่องทรง ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ มีม้าขาวเป็นพาหนะ อยู่ในซุ้มทั้งสี่ทิศ ของปรางค์ทิศทั้ง ๔ องค์ มีลักษณะเดียวกัน ดังนั้นข้อสันนิษฐานที่ว่า ปรางค์ทิศอาจหมายถึงเขายุคนธรทั้ง ๔ ทิศ อันเป็นที่ตั้งเมืองของท้าวจตุโลกบาล อันได้แก่ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวัณ จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะแต่ละองค์จะมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน และไม่เหมือนกับรูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์ทิศ ดังที่กล่าวมาแล้ว บ้างก็ว่ารูปบุคคลดังกล่าวหมายถึง พระพาย เนื่องจากพระพายเป็นบริวารของพระอินทร์ ซึ่งอยู่ในซุ้มที่พระปรางค์ประธาน บ้างก็ว่า หมายถึง พระจันทร์ จะมีกายสีนวล ทรงม้าขาวหรือแม้แต่อวตารปางที่ ๑๐ ของพระนารายณ์ซึ่งมีนามว่า กัลกี ซึ่งมีลักษณะกายสีขาว ทรงม้าขาว อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเกิดขึ้นของ พระยาจักรพรรดิราชผู้ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล ในที่นี้จะขอกล่าวถึง พระยาจักรวรรดิราช หรือพระยาจักรพรรดิราชผู้ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล มีเนื้อความกล่าวไว้ในไตรภูมิ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ได้นำมากล่าวโดยย่อในหนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ บทมนุษภูมิเกี่ยวกับพระยาจักรพรรดิราช ไว้ว่า “...เมื่อชาติก่อนเป็นคนกระทำบุญไว้มาก ครั้นตายก็ไปเกิดในสวรรค์ แต่ลางคราวก็มาเกิดเป็นท้าวเป็นพระยา มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล ผู้มาเกิดเป็นท้าวพระยานี้ได้พระนามว่า พระยาจักรวรรดิราช ทรงพระคุณธรรมทุกประการ มีสมทานศีล ๕ (ปัญจศีล)ทุกวันและศีล ๘ (อัฐศีล)ทุกวันทุกโอสถ มิขาด...ถ้าอายุของโลก(ในช่วงเวลา)กัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกโพธิ กัลป์นั้นก็มีพระยาจักรพรรดิราชแทน... พระยาจักรพรรดิราชจะเสด็จปราบทุกข์เข็ญในทวีปทั้ง ๔ ...ประทานโอวาทให้ชาวทวีปเหล่านั้นประพฤติและตั้งอยู่แต่คุณงามความดี...” พระองค์มีของคู่พระบารมี คือ จักรรัตน์ ประดับด้วยแก้วมณี ๗ ประการ หรือที่เรียกว่า สัปตรัตน์ (จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ดวงแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว) คำว่า จักร ซึ่งเป็นหนึ่งในแก้ว ๗ ประการของพระองค์ นอกจากจะเป็นอาวุธแล้วยังหมายถึง กงล้อแห่งธรรม เพราะพระองค์ทรงปราบทุกข์เข็ญในโลกมนุษย์โดยการเผยแพร่ธรรม โดยมีม้าแก้ว (อาจหมายรวมถึง ช้างแก้ว)ที่เหาะได้เป็นพาหนะสามารถเสด็จไปยังขอบจักรวาล และดินแดนต่างๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังที่กล่าวไว้ว่า “...ถ้าอายุของโลกกัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกโพธิ กัลป์นั้นก็มีพระยาจักรพรรดิราชแทน...” และปรางค์ทิศทั้ง ๔ ถือเป็นตัวแทน ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีปของมนุษยภูมิ นั่นเองผู้เขียน : นางระวีวรรณ แสงวัณณ์ นักโบราณคดี ชำนาญการ กองโบราณคดี บรรณนุกรมกรมศิลปากร , กองโบราณคดี. ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.โครงการสำรวจ ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีของชาติ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,๒๕๓๕ ระวีวรรณ แสงวัณณ์ ปรางค์บริวาร และรูปบุคคลที่ซุ้มปรางค์บริวาร พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร. เอกสารทางวิชาการ(อัดสำเนา) ประกอบการปรับระดับ, ๒๕๔๓ สมภพ ภิรมย์, นอ.ร.น. นารายณ์สิบปาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๓๔ สัจจาภิรมย์ , พระยา. ตำราเทวดากำเนิด. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, ๒๔๙๑ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, ดร. น้ำ บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช , ๒๕๒๙ อนุมานราชธน, ศจ. พระยา . เล่าเรื่องในไตรภูมิ. เรื่องลัทธิความเชื่อ ภาคที่ ๑, งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน หมวด ศาสนา-ความเชื่อ เล่ม ๒-๓ กรมศิลปากร องค์การค้าคุรุสภา และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคประทีป พิมพ์เผยแพร่ เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ พระยา อนุมานราชธน และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศเกียรติคุณเป็น “บุคคลที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก” วันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๓๓
เลขทะเบียน : นพ.บ.47/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 29 (295-307) ผูก 12หัวเรื่อง : มหาวคฺคปาลิ ทีฆนิกาย --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 1
ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา
จำนวนหน้า : 420 หน้า
สาระสังเขป พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 1 เริ่มจากตอน ภาพหิรันตยักษ์รบพระวราหะ พระนารายณ์ปราบหิรันตยักษ์ เกิดทศกัณฐ์ กุมภกรรณ เกิดหนุมาน จนถึงตอนทศรถยกทัพมาโรมพัต
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ และนครเชียงใหม่ พ.ศ.2469
ชื่อผู้แต่ง : ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 112 หน้า
สาระสังเขป : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ และนครเชียงใหม่เล่มนี้ เป็นบันทึกว่าด้วยพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 นอกจากบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆแล้ว ยังมีการบันทึกเหตุการณ์ คำกราบบังคมทูล พระราชดำรัสต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการเสด็จฯในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต สภาพเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนแง่มุมในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีคุณค่าต่อผู้อ่าน ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปะและวัฒนธรรมในช่วงเวลาดังกล่าว
ชื่อเรื่อง : พลิกประวัติศาสตร์พระธาตุดอยตุง
ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : นุชาการพิมพ์