ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 293/9ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 58.1 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง พลสังขยา (พลสังขยา)
สพ.บ. 341/9ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.162/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 9 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.46/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ค/1-37
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.213/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 110 (148-158) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาดกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ทานขันธ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.356/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 137 (397-401) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง พิทยลาภพฤฒิยากร , กรมหมื่น
ชื่อเรื่อง เรื่องเที่ยวอินเดีย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ไทยการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๗๘ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพณิชยสารวิเทศ
ก่อนสมัยที่ชาวอริยลงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในอินเดีย ได้มีคนเดิมพื้นเมืองอยู่แล้วทั่วไป ซึ่งพวกอริยเรียกว่า “ทัสยุ” แต่ ณ บัดนี้อ่อนฝีมือนักรบจึงสู้พวกอริยไม่ได้ต้องถอยลงไปโดยลำดับ ยังกล่าวถึงตำนานการย้ายภูมิลำเนาแห่งชาวอริยในอินเดีย จัดเปนสามตอนตามลำดับคือ (๑) แรกทางแม่น้ำกุภามาตั้งอยู่ในดินแดนแคว้นแม่น้ำสินธุตอนบน เรียกว่า ยุคไตรเพท (๒) สมัยที่มาตั้งบ้านเรือนใหญ่โตเป็นปรึกแผ่นอยู่ในเขตลุ่มน้ำคงคา และยมนา (๓) สมัยที่สามนี้ ความเจริญของพวกอริยแผ่ลงไปทางใต้ในคราบสมุทร์ทักษิณาบท(เดกข่าน)
ชื่อเรื่อง : ปทานุกรมศัพท์การเมือง อังกฤษ - ไทย ชื่อผู้แต่ง : สังข์ พัธโนทัย ปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : ศูนย์การพิมพ์จำนวนหน้า : 866 หน้าสาระสังเขป : หนังสือ ปทานุกรมศัพท์การเมือง อังกฤษ - ไทย เล่มนี้ เป็นการรวบรวมศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เฉพาะกาล หรือใช้เฉพาะประเทศหนึ่ง และอีกประเทศหนึ่งใช้อีกอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เทียบเคียง เพื่อตรวจสอบความหมายและคำอธิบาย รวมถึงคำศัพท์ใหม่ ๆ ด้วย
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน”
วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ
คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา"
คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 28 คน ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่าน มาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 - 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2535 เป็นต้นมา คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดงานใหม่โดยให้มีทิศทางในการจัดงานแน่นอน คือการกำหนดหัวเรื่องของการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทย ปีพุทธศักราช 2536 เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย
การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม
กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์มรดกไทยให้แพร่หลายกว้างขวาง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวในการร่วมกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นกิจกรรมหลักที่กรมศิลปากรและหน่วยงานในสังกัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
โดยเอกสารฉบับนี้ หอสมุดแห่งชาติจัดให้อยู่ในหมวดจดหมายเหตุ เลขที่ ๓๐ ระบุประวัติการรับมอบเอกสารไว้เมื่อ ๑๙/๓/๒๔๕๐ หรือ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๕๐ ส่วนเรื่องราวการค้นพบมีระบุอยู่ในจดหมายเวรของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๘๕ ว่า “...วันหนึ่งไปเห็นยายแก่กำลังรวบเอาสมุดไทยลงใส่กะชุที่บ้านแห่งหนึ่ง ถามว่าจะเอาไปไหน แกบอกว่าจะเอาไปเผาไฟทำสมุกสำหรับลงรัก...พระยาปริยัติฯ เห็นเป็นหนังสือเรื่องพงศาวดารอยู่เล่ม ๑ จึงขอยายแกเอามาส่งให้หม่อมฉันที่หอพระสมุดฯ...มีบานแผนกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตรัสสั่งให้รวบรวมจดหมายเหตุต่างๆ แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนั้น เมื่อวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๐๔๒ (พ.ศ.๒๒๒๓) ...หม่อมฉันจึงให้เรียกว่า “พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ” เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ได้มา...” เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเอกสารฉบับนี้ เป็น “หนังสือสมุดไทยฉบับเก่าที่สุด” เท่าที่พบในปัจจุบัน ซึ่งในปีนี้ (ปีพุทธศักราช.๒๕๖๓) มีอายุครบ ๓๔๐ ปี
คุณูปการของพงศาวดารฉบับนี้ ยังนำมาซึ่งการค้นพบสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังมีเนื้อหาระบุในจดหมายเวรฉบับเดียวกันว่า “...พระเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันอยู่บ้าง... เห็นในฉบับหลวงประเสริฐว่า พระมหาอุปราชมาตั้งประชุมทัพอยู่ที่ตำบลตระพังกรุ แล้วมาชนช้างกับสมเด็จพระนเรศวรที่ตำบลหนองสาหร่าย... สั่งให้ไปสืบดู ว่าตำบลชื่อหนองสาหร่ายในแขวงเมืองสุพรรณยังมีหรือไม่... พอหม่อมฉันเห็นรายงานกับรูปฉายที่พระยาสุพรรณส่งมาก็สิ้นสงสัย รู้แน่ว่าพบพระเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นแน่แล้วมีความยินดีแทบเนื้อเต้น...” โดยจดหมายฉบับนี้ มีเนื้อหาสอดรับกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓ มีนาคม ๒๔๕๖) ใจความระบุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่สุพรรณบุรี รวมถึงมีการค้นพบโบราณวัตถุโดยรอบพระเจดีย์องค์นี้ ๓ รายการ คือ ยอดธงไชยสัมฤทธิ์รูปวชิระ, ลูกตุ้มสัมฤทธิ์ชั่งของ มีรอยอักษรรามัญคล้ายเลข ๓ และปืนใหญ่ ๑ กระบอก
ทั้งนี้ หากทุกท่านมีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” (ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓) ในส่วนของสองสมเด็จกับงานด้านภาษาและหนังสือ จะสังเกตได้ว่าพระราชพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ ถูกจัดแสดงให้อยู่ใกล้กับหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีปอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์ฯ ได้กล่าวถึงพระราชพงศาวดารฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องคติการสร้างเจดีย์ตรงที่สมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะพระมหาอุปราชา มีความคล้ายคลึงกับการสร้างเจดีย์ของพระเจ้าทุฏฐคามินี ซึ่งมีชัยเหนือพระยาเอฬารทมิฬ จนเป็นที่มาของการสร้าง ‘เจดีย์รุวัลเวลิ’ นั่นเอง
(เผยแพร่ข้อมูลโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / ภาพประกอบจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
เวียนบรรจบครบรอบ ๑๓๐ ปี เนื่องในวันคล้ายวันเกิดประติมากรชาวอิตาลีสัญชาติไทย ผู้มีอนุสาวรีย์ตั้งตระหง่านท่ามกลางสถานศึกษา อดีตข้าราชการกรมศิลปากร และปฐมคณบดีคณะจิตรกรรมฯ "ศาตราจารย์ศิลป พีระศรี" อาจารย์ฝรั่งผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัย ครูผู้ปูรากฐานความรู้ด้านศิลปะตะวันตกในไทย ตลอดจนมีความเข้าใจงานศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม ไม่ว่าจะเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และ “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” พระพุทธรูปลีลาที่สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสพุทธศาสนาอายุ ๒,๕๐๐ ปี ซึ่งถือเป็นการผสมผสานเอกลักษณ์ทางศิลปะไทยร่วมกับแนวคิดสัจนิยมของตะวันตกอย่างลงตัว นับจุดเริ่มต้นของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เพจคลังกลางฯ วันนี้ จึงขอทบทวนเส้นทางจากก้าวแรกสู่ความงามที่ตกผลึก อันเป็นแรงบันดาลใจ ก่อนจะมี(พระ)ลีลาอย่าง “ศิลป”
‘พระลีลา’ หรืออิริยาบถลีลาของพระพุทธรูปนั้น ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย มีเพียงหลักฐานการสร้างประติมากรรมพระพุทธรูปยืนตริภังค์ เอียงพระศอ และพระบาทเหลื่อมกันจนเหมือนเคลื่อนไหวคล้ายพระพุทธรูปลีลา ดังตัวอย่างภาพสลักที่ถ้ำอชันตา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย กระทั่งเมื่อเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏการประดิษฐ์อิริยาบถนี้ขึ้นในศิลปะพม่าหลายสมัย มีพัฒนาการจากเหลื่อมพระบาท เขย่งพระบาท จนกลายเป็นอิริยาบถลีลาที่ลงตัวในศิลปะสุโขทัย แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหว ทั้งพระบาทที่ก้าวเดิน ขอบจีวรที่พลิ้วลม รวมถึงลักษณะการทิ้งพระหัตถ์ลง คล้ายอาการแกว่งแขนอย่างมนุษย์ ที่เรียกว่า “โลลมุทรา” โดยนิยมนำมาแสดงประกอบพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ (ดูเพิ่มเติมใน มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู ของศาสตราจารย์ เชษฐ์ ติงสัญชลี) ซึ่งความงามข้างต้นได้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพระพุทธรูปองค์นี้ ดังที่อาจารย์ศิลปอธิบายพุทธลักษณะ อันแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในพุทธศิลป์เป็นอย่างดีว่า
“เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปปางลีลาอันประณีตงดงาม เราจะบังเกิดความรู้สึกเหมือนหนึ่งว่าพระพุทธองค์กำลังเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าอย่างแช่มช้อยพร้อมด้วยพระอาการกรีดของนิ้วพระหัตถ์ ซึ่งแสดงเป็นสัญลักษณ์ของ ‘พระธรรมจักร’ ที่พระบรมศาสดาทรงมุ่งพระทัยประกาศพระธรรมคำสั่งสอน”
อย่างไรก็ดี แม้พระพุทธรูปองค์นี้ถูกออกแบบแล้วเสร็จก่อนปี ๒๕๐๐ แต่งานหล่อปั้นกลับหยุดชะงักลง ตรงกับช่วงเวลาที่อาจารย์ศิลปป่วยและถึงแก่กรรมลงในปี ๒๕๐๕ พระพุทธรูปองค์นี้จึงถูกสร้างขึ้นต่อโดยศิษย์ของท่านแล้วเสร็จทันสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๕) พระลีลา... จึงถือเป็นงานชิ้นส่งท้ายที่ได้ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด อันเป็นผลสำเร็จของการศึกษาศิลปะสุโขทัยอย่างลึกซึ้งของศาตราจารย์ศิลป พีระศรี
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / ภาพโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
“แวดินเผา” อุปกรณ์การทอผ้าของคนก่อนประวัติศาสตร์
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสวมใส่เสื้อผ้านั้นมีประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในทางตรงเสื้อผ้าสามารถปกป้องร่างกายของเราจากอากาศที่ร้อนหรือหนาว ปกป้องจากแมลงและสัตว์ต่างๆ และปกปิดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในทางอ้อมเสื้อผ้าเป็นเครื่องแสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่ แสดงถึงความนิยมในการแต่งกายของคนในแต่ละยุคสมัยและยังสะท้อนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ด้วย เสื้อผ้าจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในทุกยุคสมัย
ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อเสื้อผ้าได้ตามท้องตลาดและเสื้อผ้าก็มีรูปแบบที่หลากหลาย สาเหตุมาจากคนปัจจุบันมีความสามารถในการผลิตสูง สามารถใช้เครื่องจักรผลิตเสื้อผ้าแทนแรงงานคนได้ แต่ในอดีตการถักทอเสื้อผ้าแต่ละชิ้นจะมาจากฝีมือและแรงงานของคนทั้งสิ้น จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่า มนุษย์สามารถผลิตเสื้อผ้าใช้มานานนับพันปีมาแล้ว โดยได้มีการค้นพบชิ้นส่วนผ้าที่ติดอยู่บนขวานสำริด อายุราว ๕,๖๐๐ – ๒,๐๐๐ ปี ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้เรายังพบโบราณวัตถุซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการผลิตเสื้อผ้า คือ แวดินเผา
แว (spindle whorl) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นฝ้ายเพื่อให้เป็นเส้นด้าย แวที่พบจากแหล่งโบราณคดีส่วนใหญ่ทำมาจากดินเผา มีลักษณะครึ่งวงกลมหรือทรงคล้ายกรวยตัดหรือรูปลูกคิด เจาะรูตรงกลางแว เป็นอุปกรณ์สำคัญในการปั่นด้าย โดยจะใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเส้นใย เพราะแวจะมีรูตรงกลางสำหรับเสียบแกน ปลายอีกด้านของแกนจะพันเข้ากับเส้นใย เมื่อปั่นแกนให้เกิดแรงเหวี่ยงหมุนรอบตัว แรงเหวี่ยงกับน้ำหนักถ่วงของแกนจะทำให้เส้นใยบิดเป็นเกลียวสม่ำเสมอกลายเป็นเส้นด้าย แวดินเผาเป็นโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนและกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี, แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จ.ลพบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้ายชัยบาดาล จ.ลพบุรี และแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จ.ชุมพร เป็นต้น
สำหรับที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จ.ชุมพร มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐ หรือเมื่อประมาณ ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว เขาสามแก้วเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีลักษณะเป็นเมืองท่าค้าขายในอดีต ซึ่งพบหลักฐานการติดต่อกับต่างแดนทั้งจากฝั่งตะวันตกและตะวันออก คือ อินเดีย เวียดนาม และจีนตอนใต้ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่แสดงถึงการผลิตลูกปัดหินและแก้ว และพบแวดินเผา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนโบราณเขาสามแก้ว สามารถผลิตเสื้อผ้าใช้ได้เองภายในชุมชนแล้ว ซึ่งวิธีการผลิตนั้นอาจจะมาจากความคิดของคนในชุมชนเอง หรืออาจจะมาจากการติดต่อและรับเอาวิธีการผลิตเสื้อผ้ามาจากต่างแดนก็เป็นได้
อ้างอิง
[1] ศิลปากร, กรม, ศัพทานุกรมโบราณคดี, รุ่งศิลป์การพิมพ์: กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐, หน้า ๔๘๑.
[2] อัญชลี สินธุศร และพรพรรณ หงสไกร, คนก่อนประวัติศาสตร์ บนดินแดนไทย, ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์: กรุงเทพฯ, ๒๕๕๒, หน้า ๙๙.
รูปภาพ
[3]https://upload.wikimedia.org/.../Ancient_Greece_Spinning...
[4]https://nicolarogersarchaeology.com/.../spindle-whorls.../
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการจิตรกรรม “หงส์เหิน” โดย เรืองรอง หงษ์เหิน จัดแสดงผลงานจิตรกรรมที่ถ่ายทอดความงดงาม และความอ่อนช้อย ผ่านทักษะและฝีมือในการใช้สีน้ำ ซึ่งเป็นสีที่ต้องอาศัยกระบวนการใช้งานอย่างถูกต้อง และแม่นยำ ประกอบกับประสบการณ์ที่สั่งสมมาของศิลปิน ผลงานจิตรกรรมสีน้ำที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ มีเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโลกตะวันออก และโลกตะวันตก ซึ่งแสดงออกผ่านเส้น สี และความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน ผสานกับความอ่อนช้อยของศิลปะแบบไทยประเพณี “หงษ์เหิน” อันเป็นชื่อของนิทรรศการ สื่อถึงความผูกพันอันยาวนานระหว่างตัวศิลปินและครอบครัว ซึ่งเป็นทั้งกำลังใจและแรงสนับสนุนส่งเสริมให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำและจัดนิทรรศการแสดงเดี่ยวในครั้งนี้ เรืองรอง หงษ์เหิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2493 จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เกียรตินิยมอันดับ 2) และไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ทางด้านจิตรกรรมที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี มลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็น ศิลปินอิสระ นิทรรศการ “หงส์เหิน” จัดแสดงตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)