ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันลอยกระทง”
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566
ลอยกระทง หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำตรงกับคืนวันเพ็ญ เดือน 12 มีการจุดธูปเทียนปักลงบนสิ่งที่ไม่จมน้ำที่ประดิษฐ์เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ
ประเพณีลอยกระทงมีมานานตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณ พ.ศ. 1800 นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้
การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยสุโขทัย กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลากพอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ใบตอง กาบกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ ประดับด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียนปักที่กระทง แล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปในแม่น้ำลำคลอง ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ตำนานพระอารามหลวง. พระนคร : กรมศิลปากร, 2515. ตำนานพระอารามหลวง เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ประวัติความเป็นมาโดยย่อของพระอารามหลวง ทั้งที่ตั้งอยู่ในพระนครและตามหัวเมือง
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองชากังราวในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับพระราชหัตถเลขา...เมืองชากังราว เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏชื่อในกฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. 1899 รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง) และศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ (พ.ศ. 1911 รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)) นอกจากนี้ยังพบชื่อเมืองชากังราวในพระราชพงศาวดาร ได้แก่ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา.พระราชพงศาวดารเป็นหลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ (secondary source) หมายถึงหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ไม่ได้เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ..พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกไว้ว่าพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เป็นหนังสือพงศาวดารที่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ เปรียญ) ได้มาจากบ้านราษฎรแห่งหนึ่ง เอามาให้แก่หอสมุดวชิรญาณเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) ลายมือเขียนหนังสือลักษณะคล้ายสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือต้นรัตนโกสินทร์ โดยปรากฏบานแผนกกล่าวถึงการเรียบเรียงพระราชพงศาวดารฉบับนี้เมื่อ จ.ศ. 1042 (พ.ศ. 2223) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2231) ความว่า.“ศุภมัศดุ 1042 ศก (พ.ศ. 2223) วอกนักษัตร ณ วันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงษาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชมาคุงเท่าบัดนี้” .พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีข้อความกล่าวถึงเมืองชากังราว จำนวน 5 ครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 โดยปรากฏในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) (ครองราชย์ พ.ศ. 1913 - 1925) จำนวน 4 ครั้ง และในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991 - 2031) จำนวน 1 ครั้ง ดังนี้.ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 1916 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จไปตีเมืองชากังราว ในครั้งนั้นมีพญาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราว.“...ศักราช 735 ฉลูศก (พ.ศ.1916) เสด็จไปเมืองชากัง (ราวแลพระญา) ใสแก้วแลพระญาคำแหงเจ้าเมืองชากังราว ออกต่อรบท่าน ๆ (ได้ฆ่าพระญา) ใสแก้วตาย แลพระญาคำแหงแลพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพ (หลวง) เสด็จกลับคืนมา...”.ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จไปตีเมืองชากังราว (ครั้งที่ 2).“...ศักราช 738 มโรงศก (พ.ศ.1919) เสด็จไปเอาเมือง (ชากังราว) เล่า ครั้งนั้นพระญาคำแหงแลท้าวผ่าคอง คิดด้วยกันว่าจะยอทัพ (หลวง แลจะ) ทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี แลจึงเสด็จยกทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพระญาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน...”.ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 1921 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จไปตีเมืองชากังราว (ครั้งที่ 3) ในครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม สันนิษฐานว่ามหาธรรมราชาที่กล่าวถึงในข้อความ คือ พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไทย) (ครองราชย์ พ.ศ. 1911 - 1952).“...ศักราช (740) มะเมียศก (พ.ศ.1921) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเปนสามารถ แลเห็นว่าจะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม...”.ครั้งที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จไปตีเมืองชากังราว (ครั้งที่ 4) แต่พระองค์ทรงพระประชวรจึงยกทัพกลับ และเสด็จสวรรคตระหว่างทาง .“...ศักราช 750 มะโรงศก (พ.ศ.1931) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แลเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทางสมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน...”.ครั้งที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 1994 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏข้อความว่ามหาราชเสด็จมาตีเมืองชากังราวได้ จากนั้นไปตีเมืองสุโขทัย แต่ไม่สำเร็จจึงยกทัพกลับ สันนิษฐานว่ามหาราชที่กล่าวถึงคือพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) .“...ศักราช 813 มะแมศก (พ.ศ.1994) ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขไทย เข้าปล้นเมืองมีได้ก็เลิกทัพกลับคืน...”..พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) มีบานแผนกกล่าวถึงการชำระพระราชพงศาวดารในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ตรงกับ พ.ศ. 2338 ความว่า.“...ศุภมัศดุศักราช 1157 (พ.ศ. 2338) ปีเถาะสัปตศก สมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลราชณกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาเถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร... ” .พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงเมืองชากังราว ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาตีเมืองชากังราว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้.“...ศักราช 735 ปีฉลูเบญจศก (พ.ศ.1916) เสด็จไปเอาเมืองชากังราว และพระยาไซ้แก้ว พระยากำแหง เจ้าเมืองออกต่อรบท่าน ๆ ได้ตัวพระยาไซ้แก้วตาย แต่พระยากำแหงและไพร่พลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็เสด็จกลับคืนมาพระนคร...” .“...ศักราช 738 ปีมะโรงอัฐศก (พ.ศ.1919) เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ได้พระยากำแหง และท้าวผากองคิดกันว่าจะยอทัพหลวง ทำมิได้ ท้าวผากองเลิกทัพหนี เสด็จยกทัพหลวงตามตีทัพท้าวผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วทัพหลวงเสด็จกลับคืน...” .“...ศักราช 740 ปีมะเมียสัมฤทธิ์ศก (พ.ศ.1921) ไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม...”..พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกไว้ว่า พระราชพงศาวดารฉบับนี้ เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411) โปรดให้ชำระขึ้นใหม่ เมื่อชำระแล้วนำต้นฉบับขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายฉบับ 1 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรวจเห็นว่าไม่เรียบร้อยดี ทรงแก้ไข จึงปรากฏพระราชหัตถเลขาอยู่ในต้นฉบับ กรรมการหอพระสมุดจึงเห็นควรเรียกว่า “พระราชพงษาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา” .พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงเมืองชากังราว ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาตีเมืองชากังราว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้.“...ศักราช 735 ปีฉลู เบญจศก (พ.ศ.1916) เสด็จไปเอาเมืองชากังราว และพระยาชัยแก้ว พระยากำแหง เจ้าเมืองออกต่อรบท่าน ๆ ได้พระยาชัยแก้วตาย แต่พระยากำแหงและไพร่พลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็เสด็จกลับคืนมาพระนคร...” .“...ศักราช 738 ปีมะโรง อัฐศก (พ.ศ.1919) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวได้ พระยากำแหง และท้าวผากองคิดกันว่า จะยอทัพหลวงทำมิได้ ท้าวผากองเลิกทัพหนี เสด็จยกตามตีทัพท้าวผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วทัพหลวงเสด็จกลับคืน...” .“...ศักราช 740 ปีมะเมีย สัมฤทธิศก (พ.ศ.1921) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาเมืองพระพิษณุโลกออกมาถวายบังคม...”..บานแผนกที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทั้งสามจัดเรียงตามลำดับได้ดังนี้ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (พ.ศ. 2223) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (พ.ศ. 2338) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (พ.ศ. 2394 – 2411) ซึ่งมีข้อความคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการยกทัพมาตีเมืองชากังราวครั้งที่ 1 – 3 ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ปรากฏข้อความเพิ่มขึ้นในครั้งที่ 4 และ 5 โดยเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองชากังราวในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) แสดงถึงการเป็นเมืองสำคัญทางใดทางหนึ่งอันเป็นเหตุให้พระองค์ต้องขึ้นไปตีเมืองชากังราวถึง 4 ครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ส่วนครั้งที่ 5 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าติโลกราชเสด็จมาตีเมืองชากังราวก่อนมายังเมืองสุโขทัย ทั้งนี้ไม่ว่าจากเอกสารกฎหมายตราสามดวง ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ หรือพระราชพงศาวดารทั้งสามฉบับดังกล่าว ล้วนแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชากังราวได้ เพียงอนุมานได้ว่าเมืองชากังราวนั้นเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยเท่านั้น...เอกสารอ้างอิง : กรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (2450). พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. โรงพิมพ์ไทย.กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2542). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรมศิลปากร.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. (2559). ศรีปัญญา.ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2559). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง.มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.หอพระสมุดวชิรญาณ. (2455). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. ม.ป.พ.
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ราชวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังรหัสเอกสาร ฉ/ร ๒๒๙๐
ชื่อเรื่อง : คืนรากแก้วสู่ดิน เล่ม 2 : รากแก้วคุ้ม ตาน้ำคืน ผืนดินคง
คำค้น : น้ำในการเกษตร, การพัฒนาการเกษตร, เศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด : หนังสือชุด คืนรากแก้วสู่ดิน หนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รณรงค์สร้างจิตสำนึกปลูกรากแก้วคืนวงจรน้ำสู่ผืนดินจันทบุรี
ผู้แต่ง : พัศพงศ์ ชินอุดมพงศ์
แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : จังหวัดจันทบุรี, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2, สมาคมคืนรากแก้วสู่ดิน
วันที่ : 2549
วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567
ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : -
ลิขสิทธิ์ : -
รูปแบบ : PDF.
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
ตัวบ่งชี้ : 974-477-694-3
รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำในการเกษตร โดยวิธีการฟื้นฟูตาน้ำใต้ดิน ด้วยวิธีการปลูกไม้ยืนต้นแซมลงในสวนผลไม้และพื้นที่ว่างเปล่า เสมือนเป็นการคืนรากแก้วสู่ดินลงในสวน เป็นการเพิ่มช่องทางของการได้น้ำเพื่อการบริโภคและเพื่อการเกษตรอีกทางหนึ่ง
เลขทะเบียน : น 49 บ. 60564 จบ. (ร)
เลขหมู่ : 333.7816 พ586ค
วันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นประธานในการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ในพิธีฉลองอุโบสถวัดโพธิ์ศรี อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ และลงพื้นพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ตรวจโบราณสถานวัดราษี,วัดโนนบ้านเก่า อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ และวัดศรีสุภณ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา