ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.47/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 29 (295-307) ผูก 13หัวเรื่อง : มหาวคฺคปาลิ ทีฆนิกาย --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระพุทธรูปอีกลุ่มหนึ่งที่จัดอยู่ในศิลปะแบบหริภุญไชยนอกจากพระพิมพ์ซึ่งทำจากจากดินเผาและโลหะเช่น สำริด แล้ว ยังพบการนำเงิน (Silver) ซึ่งเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่ง นอกจากนำมาทำรูปเคารพแล้ว ยังมีการนำไปทำเครื่องประดับ ภาชนะ หรือใช้ทำเงินตรา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปดุนเงินนี้นอกจากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยแล้ว ยังพบในบริเวณอื่น เช่น เวียงท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับเมืองหริภุญไชย นักวิชาการหลายท่านได้ทำกรศึกษาต่างจัดให้พระพุทธรูปดุนเงินเหล่านี้อยู่ในศิลปะหริภุญไชยตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ดุน จากพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะงานศิลปกรรมประเภทหนึ่ง ทำโดยวิธีรุนให้ลวดลายหรือภาพนูนสูงขึ้นจากพื้นผิว โดยทั่วไปใช้กับโลหะ เช่น ทอง เงิน ทองแดง นอกจากการดุนแล้ว การที่จะให้เกิดลวดลายบนพื้นผิวมีความคมชัดมากขึ้นจำต้องอาศัยการสลักโดยการทำให้ส่วนพื้นลึกต่ำลงควบคู่กับการดุน จะทำให้ลายที่ดุนมาจากด้านหนึ่งเด่นชัดขึ้นมา เรียกว่าการสลักดุน พระพุทธรูปดุนเงินในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย รับมอบจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่วนมากมีสภาพชำรุด พระเศียรและพระวรกายแยกจากกัน มีทั้งที่ครองจีวรและทรงเครื่อง แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแบบเห็นฝ่าพระบาทสองข้างชัดเจน ปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งหมดจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย นิทรรศการถาวร ห้องหริภุญไชย รากฐานล้านนา ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยอ้างอิงศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ---สุรพล ดำริกุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
ชื่อเรื่อง : นิทานโบราณคดี (บางเรื่อง)
ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : พระจันทร์
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4 - ต้นรัชกาลที่ 5)
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 56 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมพระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปีมะโรง จ.ศ.1230 (พ.ศ. 2411 สมัยรัชกาลที่ 4) จนถึงปีมะโรง จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411 ต้นรัชกาลที่ 5) ต้นฉบับแต่เดิมเป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยดินสอขาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจต่างๆ รัฐพิธี การบริหารราชการแผ่นดิน การเมืองการปกครอง ซึ่งมีคุณค่าต่อผู้อ่าน ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคม การเมืองการปกครองในช่วงเวลาดังกล่าว
ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2542
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : คัมปาย อิมเมจจิ้ง
การประชุมหารือการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาครั้งที่ ๑/ปีงบประมาณ ๒๕๕๘วันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ชื่อเรื่อง : เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๓
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : สัตยการพิมพ์
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.ต.อารี กาญจนาภา ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๓
หนังสิอเทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนตืเลี้ยงพระ เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของไทยสมัยโบราณ เช่น การเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ชื่อเรื่อง สวัสดิรักษา และ สุภาษิตสอนสตรีผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ พุทธศาสนาเลขหมู่ 294.313 ส678ยสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 84 หน้า หัวเรื่อง พระสูตร พุทธศาสนา – บทสวดมนต์ พุทธศาสนา – ชาดกภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกสารัตถสมุจจัยเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระปริตร ที่พิมพ์ในคราวนี้ได้พิมพ์เฉพาะบทที่ 18 ว่าด้วยคิริมานนทสูตร ส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในบานแผนก
คู่มือประวัติศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมปีที่ 6 ตอนที่ 1 ประวัติศาสตร์ไทย
การทอเสื่อเป็นอาชีพดั้งเดิมอีกหนึ่งในหลายอาชีพของชาวญวนที่หอบหิ้วมาพร้อมความเชื่อตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องเสื่อของเมืองจันทบูรไว้ว่ามี ๔ ชนิด คือเสื่อคล้า เสื่อกก (ที่ชาวกรุงเทพฯเรียกว่าเสื่อกระจูด) เสื่อดอกอ้อ และเสื่อกกแดงที่ทำโดยคนญวน ...เสื่อกกแดงนั้น มีแต่พวกญวนทำแห่งเดียว วิธีทำนั้นเอาต้นกกมาจักให้เล็ก ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงย้อมสีต่าง ๆ ตามที่จะให้เป็นลาย สีแดงนั้นย้อมด้วยน้ำฝาง สีดำย้อมด้วยหมึก สีเหลืองย้อมด้วยแกแล บางทีย้อมด้วยขมิ้น สีน้ำเงินย้อมด้วยครามแต่ใช้น้อยแล้วเอาเข้าสดึงทอเปนลายต่าง ๆ เปนเสื่อผืน เสื่อลวด บ้างยาวแต่จะต้องการ กว้างเฉภาะชั่วต้นกก เปนสินค้าออกนอกเมือง เสื่อลวดประมาณ ๓๐๐๐ ลวด ราคาลวดละ ๖ สลึง เสื่อผืนนั้นออกน้อย เปนแต่ของกำนันแลของแจกราคาผืนหนึ่งตั้งแต่สลึงจนถึงบาท ตามแต่งามไม่งาม... เสื่อที่ทอด้วยกกแดงจะแตกต่างจากเสื่อของชาวชอง คนพื้นเมืองที่ทำจากต้นคลุ้มและคล้า ที่หาได้จากบนเขาสระบาป ส่วนกกจะอาศัยอยู่ในน้ำกร่อย เราเรียกเสื่อกกแดงว่า เสื่อแม่ชี เสื่ออาราม หรือเสื่อญวนอพยพ จากเอกสารจดหมายเหตุได้ระบุว่าใน พ.ศ.๒๔๖๒ รัฐบาลสยาม ได้ไปร่วมจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ที่เมืองแซนฟรานซิสโก ประเทศอเมริกา ให้จัดส่งสินค้าพื้นเมืองแต่ละเมืองไปร่วมด้วย ในบรรดาสินค้าที่ส่งไปร่วมประกวดหลากหลายชนิดนั้น พระยาตรังคภูมาภิบาล สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ต้องการมีเสื่อกกไปร่วมจัดแสดงและประกวดด้วย จึงสั่งการไปยังซิสเตอร์ที่อารามจัดทำเสื่อกก เสื่อกกที่ส่งไปมี เสื่อกกยกดอกตราอาร์ม เสื่อกกยกดอกหน้าสัตว์ เสื่อกกยกดอกตราครุฑ และเสื่อกกธรรมดา และเสื่อกกที่ส่งไปได้รับเหรียญเกียรติยศพร้อมประกาศนียบัตร ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงมหาดไทย ต้องการร่วมแสดงพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ที่เมืองเรไยนาประเทศแคนาดาอีก จึงให้มณฑลจันทบุรี จัดส่ง “เสื่อ” โดยระบุให้ว่าจ้างช่างที่มีฝีมือดีในสำนักชีของวัดโรมันคาธอลิกจันทบุรี เป็นคนทำ พร้อมระบุขนาดและสีตามบัญชีว่าต้องเป็นลายตาหมากรุก หลวงสาครเชตต์ อดีตนายอำเภอมะขาม ได้เขียนถึงการทำเสื่อของคนญวนในจดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรีว่า ...การทำเสื่อญวนนั้น ตามธรรมดานับว่าคนเชื้อญวนนับว่าเป็นผู้มีความชำนิ ชำนาญ ในการพลิกแพลงจัดทำยิ่งกว่าบุคคลชาติไทยด้วยกัน ยิ่งพวกนางชีแห่งสำนักโรมันคาทอลิกด้วย ก็เกือบจะต้องนับว่ามีความรู้ความชำนาญมากที่สุด ฉะนั้น เสื่อจันทบุรี ที่มีลวดลายลักษณะดอกดวงงดงามหรือจะเป็นภาพสัตว์ต่าง ๆ จนแม้ที่สุดจะประดิษฐ์เป็นตราอาร์มของรัฐบาล ดังเช่น รูปช้าง รูปครุฑ เหล่านี้เขาจะทำได้เป็นอย่างดี...ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารจดหมายเหตุที่ได้กล่าวมาแล้ว ต่อมาเสื่อญวนอพยพได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ พัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการทอเสื่อของซิสเตอร์ที่อารามฟาติมา และต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงงานทอเสื่อขึ้นที่สวนบ้านแก้ว เรียกกันว่า “เสื่อสมเด็จ” เสื่อสมเด็จได้พัฒนารูปแบบจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ...เนื่องจากพระอนุชาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้นำเทคนิคการย้อมโดยใช้สีทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น อีกทั้งได้ออกแบบให้เป็นเครื่องใช้ที่สวยงามน่าใช้มากขึ้น...(สัมภาษณ์ นายเชื้อชาย ทิพยสมบัติ,๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) ปัจจุบันการทอเสื่อกกแบบของญวนได้รับการส่งเสริมจนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอีกทั้งได้มีการพัฒนาต้นกกในน้ำกร่อยให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการในจังหวัดจันทบุรี ----------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ----------------------------------------เอกสารอ้างอิงหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี.(๑๓)มท ๒.๒.๔/๑๖ เอกสารกระทรวงมหาดไทยชุดมณฑลจันทบุรี.เรื่องกระทรวงมหาดไทยสั่งให้จัดทำยานพาหนะต่าง ๆ ส่งเข้าไปกรุงเทพฯ(๑๑ พ.ค.๒๔๕๗-๒ มิ.ย.๒๔๖๒)