ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.356/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 137  (397-401) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อผู้แต่ง             วิวัฒนไชย , พระองค์เจ้า ชื่อเรื่อง               กฎหมายการคลัง ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร ปีที่พิมพ์              ๒๕๐๔ จำนวนหน้า          ๑๑๒  หน้า หมายเหตุ            คณะองคมนตรีพิมพ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จฯงานพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย                          กฎหมายการคลัง คำว่าคลัง ตามความเข้าใจของคนธรรมดูเหมือนจะเข้าใจกันว่า การคลังคือ การเงินๆ ทองๆ หรือการทำเลขมีบัญชีเล่มโตๆ คนคลังก็คือคนที่นั่งนับเงินและลงบัญชี เพื่อสะดวกในการศึกษาต่อไป ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า การคลังหมายถึงการจัดให้ได้เงินมา การเก็บรักษาเงินที่ได้มานั้น และการจ่ายเงิน วิชาการคลังโดยปกติแบ่งออกเป็นสี่แผนกคือ รายจ่ายสาธารณะ รายได้สาธารณะ หนี้สาธารณะ และลักษณะปกครองการคลัง  


ชื่อเรื่อง : พจนานุกรมเยอรมัน – ไทย ชื่อผู้แต่ง : มานิจ ชุมฉาย ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : เฉลิมนิจการพิมพ์ จำนวนหน้า : 508 หน้าสาระสังเขป : เป็นหนังสือพจนานุกรมภาษาไทยเยอรมัน และภาษาไทย ที่รวบรวมโดย ม.ล. มานิจ ชุมสาย อดีตผู้เชี่ยวชาญการตำรา องค์การศึกษาฯ สหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ องค์การตำราจสากล


          พิมาย เป็นดินแดนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บริเวณเมืองพิมายในอดีตสันนิษฐานว่าครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในปัจจุบันคือ อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย บางส่วนของอำเภอประทาย บางส่วนอำเภอโนนแดง บางส่วนอำเภอโนนสูง และบางส่วนอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์          เมืองพิมาย ปรากฏร่องรอยของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการมาตามลำดับ จนเจริญสูงสุดในสมัยวัฒนธรรมเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ มีการขยายเมือง วางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีศาสนสถานอยู่กลางเมือง มีบารายนอกเมืองตามแบบเมืองในวัฒนธรรมเขมรทั่วไป และปรากฏชื่อ “วิมาย”ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำเดียวกับพิมายอย่างชัดเจนในช่วงเวลานี้ ในจารึกที่พบที่พิมายและที่พบในประเทศกัมพูชา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิมายและอาณาจักรเขมร ซึ่งมีหลักฐานต่อเนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมเขมรช่วงสุดท้ายที่ปรากฏที่เมืองพิมาย          เมื่ออาณาจักอยุธยาสถาปนาขึ้นในบริเวณภาคกลางเมืองพ.ศ. ๑๘๙๓ อำนาจทางการเมืองของอยุธยายังไม่เข้าครอบคลุมดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรอยู่ แม้ว่าจำนวนประชากรจะเบาบางลงและอาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงมากแล้วก็ตาม การที่เมืองพิมาย เคยเป็นเมืองสำคัญระดับศูนย์กลางอำนาจในภูมิภาคแถบนี้มาก่อน จึงมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการเมืองและเครือญาติกับบรรดาหัวเมืองของเขมรในภาคอีสานและศูนย์กลางที่เมืองพระนคร โดยยังคงความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เมื่ออยุธยาพยายามขยายอำนาจมาทางตะวันออก จะต้องเข้าควบคุมดินแดนในบริเวณต้นแม่น้ำมูลก่อน ถึงแม้ว่าอยุธยาจะสามารถทำลายศูนย์กลางอำนาจของเขมรได้สำเร็จและได้ดินแดนบางส่วนมาอยู่ในความควบคุม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมดินแดนแถบนี้ได้อย่างเรียบร้อย เนื่องจากอยู่ไกลและการคมนาคมไม่สะดวก และหัวเมืองเขมรในอีสานก็อาจจะเข้ามากับเขมรเมื่อต้องทำศึกกับอยุธยา          ด้วยเหตุนี้ ทำให้ราชสำนักอยุธยาต้องเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสถานภาพของเมืองใหม่เพื่อควบคุมสถานการณ์ และเป็นตัวแทนของราชสำนักในบริเวณนี้แทนที่เมืองพิมาย นอกจากจะเป็นการตัดกำลังของเขมรแล้ว ยัง สามารถใช้เป็นฐานกำลังของตนในการขยายอำนาจ โดยเพิ่มความสำคัญทางการเมืองให้กับเมืองนครราชสีมา ขึ้นเป็นศูนย์อำนาจในระดับภูมิภาคแทน ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนัก เมืองนครราชสีมาได้กลายเป็นฐานกำลังของราชสำนักอยุธยาในภูมิภาคนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของราชสำนักในการควบคุมปกครองหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำเร็จ และผลักดันเมืองศูนย์กลางเดิมให้มีฐานะเป็นเมืองขึ้น          ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกในทำเนียบหัวเมือง ตามกฎหมายตราสามดวงบทพระอัยการนายทหารหัวเมืองที่ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นเมืองเดียวที่ปรากฏในทำเนียบเมืองสมัยอยุธยาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของเมืองพิมายน่าจะคงอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา แต่เป็นเมืองขึ้นที่มีประชากรหนาแน่น พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและคมนาคมจากเมืองนครราชสีมาไปสู่อาณาจักรเขมร และเจ้าเมืองพิมายน่าจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดหรือเป็นที่ไว้ใจพิมายน่าจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดหรือเป็นที่ไว้ใจของเจ้าของเจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มเมืองนครราชสีมา –พิมาย เข้ามาใกล้ชิดศูนย์กลางอำนาจในส่วนกลางมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มห่างไกลจากเขมรมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถพัฒนาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนโดยเฉพาะด้านภาษาพูด แต่ในช่วงเวลานี้อำนาจของอยุธยายังคงครอบคลุมอยู่เพียงตอนต้นของแม่น้ำมูล          ในรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๒๐๐) ได้ทรงส่งช่าวชาวฝรั่งเศสมาออกแบบผังเมืองและสร้างป้อมกำแพงเมืองนครราชสีมาใหม่ ก็ปรากฏชื่อของเมืองพิมายเป็นเมืองหน้าด่านของนครราชสีมาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ในระยะเวลาก่อนหน้านี้ เมืองพิมายได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยาอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของราชสีมา          เมื่อสมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไว้วางพระทัยอีกคนหนึ่งไม่ยอมอ่อนน้อมราชสำนักอยุธยาต้องใช้เวลาปราบกบฏกว่า ๓ ปี เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว เมืองนครราชสีมาได้ถูกลดบทบาทลง โดยให้หัวเมืองที่ขึ้นกับนครราชสีมาเพิ่มบทบาททางการเมืองของตนให้มากขึ้น เป็นการถ่วงดุลมิให้มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงเมืองเดียว ทำให้เมืองนครราชสีมาอ่อนแอลง เพราะเกิดกบฏบุญกว้างซึ่งเป็นลาว สามารถยึดนครราชสีมาได้และยกลงมาจนถึงลพบุรี จากนโยบายนี้และการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งของชาวกุยในเขตควบคุมของเมืองพิมายในปลายสมัยอยุธยาทำให้ฐานะของเมืองพิมายเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง          ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๒๖๐ ชาวกุยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์แถบเมืองอัดปือแสงปางได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่า เขมรป่าดง (ปัจจุบันคือพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ) เข้ามาตั้งชุมชนกระจัดกระขายอยู่ทั่วไป การเข้ามาของชาวกุยทำให้เมืองพิมายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะดินแดนเขมรป่าดงอยู่ในเขตปกครองเมืองพิมาย ซึ่งครอบคลุมไปถึงเขตแดนต่อกับเมืองจำปาศักดิ์ (บริเวณห้วยขยุงในเขตจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) ดังนั้นเมืองพิมายซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเมืองขึ้นของนครราชสีมาจึงเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นเพื่อควบคุมชาวกุยเหล่านี้ ในช่วง ๑๐ ปี สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนัก เมืองพิมายมีอิทธิพลและอำนาจทางการเมืองพอๆกับนครราชสีมา เนื่องจากต้องการให้มีความเข้มแข็งสามารถควบคุมชาวกุยที่อพยพเข้ามาตั้งชุมชนใหม่ๆ ได้          ปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ทรงตั้งผู้นำชาวกุย ๕ คน ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ทำราชการควบคุมชาวกุยในเขตชุมชนของตนโดยให้ขึ้นกับเมืองพิมาย เป็นการตอบแทนที่ช่วยจับช้างเผือกกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองพิมายได้เข้ามาควบคุมปกครองชาวกุยอย่างจริงจัง โดยตั้งชาวกุยออกเป็นชุมชน เป็นบ้านต่างๆ จากการปฏิบัติราชการของเจ้าเมืองพิมายยังความพอพระทัยให้กับพระเจ้าเอกทัศน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากส่วยของป่าที่มีค่าของชาวกุยได้ถูกลำเลียงไปสู่ราชสำนัก เป็นสินค้าที่มีค่าสูงในระบบการค้าต่างประเทศของอยุธยาอย่างมากมาย เช่น ช้าง แก่นสน ปีกนก นอแรด งาช้าง          ต่อมาให้ยกชุมชนชาวกุยจากบ้านขึ้นเป็นเมือง คือเมืองขุขันธ์ เมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) เมืองสังขะ และเมืองรัตนบุรี เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเหล่านี้จากหลวงขึ้นเป็นพระ โดยให้ขึ้นกับเมืองพิมาย ทำให้เมืองพิมายมีอำนาจและบารมีเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งมีความมั่นใจที่ทำให้เมืองพิมายเป็นศูนย์กลางอำนาจท้องถิ่นแทนเมืองนครราชสีมา และประสบความสำเร็จในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๑๑          การที่พม่ามุ่งเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาทำให้หัวเมืองตะวันออกอยู่นอกเขตการรบ จึงยังคงมีกำลังทรัพย์และกำลังคนที่อุดมสมบูรณ์อยู่ เหมาะกับการที่จะใช้เป็นที่ตั้งฐานกำลังเพื่อขยายอำนาจทางการเมือง กรมหมื่นเทพพิพิธและพรรคพวกจึงยึดครองเมืองนครราชสีมาไว้ แต่ก็ถูกตีโต้จากขุนนางท้องถิ่นของเมืองพิมายจนประสบความพ่ายแพ้          เจ้าเมืองพิมายต้องการให้กรมหมื่นเทพพิพิธประทับอยู่ที่เมืองพิมายจนมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมืองนครราชสีมา สถาปนากรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้ารวมทั้งจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลโดยมีเขตแดนตั้งแต่หัวเมืองตะวันออกฝั่งดอนไปจรดเขตแดนของหัวเมืองลาว ใช้ชื่อว่าชุมนุมเจ้าพิมายและย้ายศูนย์กลางอำนาจจากนครราชสีมา มาอยู่ ณ เมืองพิมาย คงทิ้งกำลังทหารจำนวนหนึ่งไว้นอกเมืองนครราชสีมาเพื่อรักษาเมืองเท่านั้น พร้อมทั้งสถาปนาขุนนางน้อยใหญ่ตามแบบราชสำนักโดยให้พระพิมายเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการ ตั้งบุตรพระพิมายเป็นพระยามหามนตรีและพระยาวรวงศาธิราช มีข้าราชการและผู้มีที่หนีมาจากกรุงศรีอยุธยาเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ปรากฏมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายทีเมืองพิมายหลายแห่ง เช่น เมรุน้อยและโบสถ์เจ้าพิมาย ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว เมรุพรหมทัตและพระพุทธรูปขนาดใหญ่อีก ๒ องค์ ปัจจุบันอยู่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย เข้าใจว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ แต่อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงได้ตกอยู่กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และพรรคพวก          เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชขับไล่ข้าศึกที่ยึดครองอยู่บริเวณภาคกลางของไทยไปแล้ว จึงเริ่มนโยบายรวมชาติ โดยเข้าโจมตีชุมชนเจ้าพิมายในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ ชุมนุมพิมายได้จัดทัพรับแต่ก็พ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มขุนนางที่เข้าร่วมกับชุมนุมเจ้าพิมายหนีหายไป เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระยามหามนตรี และตัวกรมหมื่นเทพพิพิธถูกประหารชีวิต เป็นอันสิ้นสุดสภาพรัฐอิสระของพิมายอย่างเด็ดขาด          พระเจ้าตากสินฯ ทรงจัดการปกครองหัวเมืองแถบนี้เสียใหม่ โดยให้นครราชสีมาเป็นเมืองเอกเมืองเดียวในภูมิภาคอีสีสาน แต่ก็ยังทรงทำอะไรไม่ได้มากนัก เนื่องจากยังมีสงครามติดกันอยู่ และราชสำนักเอง ก็ขาดแคลนกำลังคนในการจัดการปกครองในภูมิภาค จึงต้องใช้ขุนนางในพื้นที่ แต่การแต่งตั้งเจ้าเมืองนครราชสีมาและเมืองพิมาย ทรงกระทำด้วยความรอบครอบเพราะต้องการคนที่ไว้วางพระทัย เนื่องจากหัวเมืองแถบนี้มีกำลังคนมากและเคยจัดจั้งชุมนุมเป็นรัฐอิสระมาแล้ว          จะด้วยเหตุใดก็ตาม ทรงแต่งตั้งให้ขุนขนะ (ต้นสกุล กาญจนาคม) ขุนนางท้องถิ่นในนครราชสีมา ที่มีความดีความชอบในการจับกรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาผู้นี้ เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินฯอีกผู้หนึ่งในช่วงจลาจลในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ส่วนเจ้าเมืองพิมายเมืองขึ้นของนครราชสีมาจะเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ แต่มีชื่อของยกกระบัตรเมืองพิมาย (ปิ่น ต้นสกุล ณ ราชสีมา) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองพิมายและนครราชสีมาในโอกาสต่อไป-----------------------------------------------------------ข้อมูลและเรียบเรียงนำเสนอ โดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี-----------------------------------------------------------บรรณานุกรม ขจีรัตน์ ไอราวัณวัฒน์. ความสำคัญทางการเมืองของเมืองนคราชสีมา : บทบาทของเจ้าเมืองตระกูล ณ ราชสีมา ระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๘๘ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๓๒ คุรุสภา ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ กรุงเทพฯ:คุรุสภา ,๒๕๐๖ ---------.ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๐ กรุงเทพฯ:คุรุสภา ,๒๕๒๘ ดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยา .จดหมายเหตุเสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และ มณฑลอุดรอีสาน ร.ศ. ๑๒๕ พ.ศ.๒๔๔๙ .กรุงเทพฯ:มูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและ หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล และพะราชธิดา,๒๕๗๘ เติม วิภาคย์พจนกิจ.ประวัติศาสตร์อิสาน.พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์๒๕๓๐ ธิดา สาระยา เมืองประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ ๒๕๓๘ มานิต วัลลิโภดม นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา,พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพขุนคงฤทธิ์,กรุงเทพฯ:คุรุสภา ๒๕๑๓ ศรีศักดิ์ วัลลิโภคมโบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา.กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ ๒๕๒๕ ศิลปากร,กรม พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ กรุงเทพฯ ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย ๒๕๓๔๐ -----------. พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาน พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางโสฬสนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์,๒๕๓๙ ----------. เรื่องกฎหมายตราสามดวง กรุงเทพฯ:อุดมศึกษา,๒๕๒๐ สุรัตน์ วรางครัตน์ การค้าต่างแดนของอิสานในอดีต ,วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๑๐ เล่มที่ ๒ ๒๕๒๗ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา,นครราชสีมา :นิวส มบูรณ์การพิมพ์ ,๒๕๒๖ ----------. หมู่พงศาวดารชื่อพงศาวดารเมืองประทายสมันต์ เลขที่ ๐๐๑,๓


การเก็บข้อมูลในงานโบราณคดีใต้น้ำในปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนาการขึ้นจากในอดีตค่อนข้างมาก ในอดีตนั้นการเก็บข้อมูลนั้นนะทำด้วยมือเป็นหลัก กล่าวคือจะใช้การวัดขนาดและวาดภาพในการเก็บข้อมูลลายละเอียดของแหล่งเรือจม หรือโบราณวัตถุ หรือนิเวศวัตถุที่ได้จากการสำรวจใต้น้ำ แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่จะทำให้นักโบราณคดีนั้นสามารถเก็บข้อมูลแหล่งโบราณคดี หรือโบราณวัตถุได้ละเอียด แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องแสกนระบบสามมิติ เครื่องแสกนระบบสามมิติ นั้นมีด้วยกันหลายประเภทแต่ระบบที่กองโบราณคดีใต้น้ำใช้ในการเก็บข้อมูล จะเรียกว่าแขนแสกนระบบสามมิติ (3D scanning arms) ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถแสกนเก็บข้อมูลโบราณวัตถุได้ด้วยความละเอียดไม่น้อยกว่า 0.03 ไมครอน ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่มีความแม่นยำสูงมาก ซึ่งเครื่องแสกนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกใช้งานในด้านงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ในส่วนของงานโบราณคดีนั้นกองโบราณคดีใต้น้ำได้ทำการจัดหาและนำมาประยุกต์ใช้กับการเก็บข้อมูลแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้งานด้านโบราณคดีใต้น้ำสามารถบรรลุเป้าหมายของงานโบราณคดีใต้ง่ายยิ่งขึ้น คือการสร้างภาพค้นคืนในอดีต (Reconstruction) โดยเครื่องแสกนนั้นจะมีซอร์ฟแวร์สำหรับการทำวิศวกรรมย้อนกลับหรือ Reverse Engineering ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างโมเดลสามมิติของเรือ หรือ การนำข้อมูลที่ได้จากการแสกนไปทำการพิมพ์ระบบสามมิติ เพื่อใช้ในการจัดแสดงต่อไปได้


        เล่าเรื่องขณะที่สุนทร(ภู่) “...อาศรัยเพื่อนไปเที่ยว...” ดังมีการกล่าวถึงในคำนำ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้วยวันนี้ (๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓) เป็นวันที่ระลึกการประสูติของเจ้าชายสิทธัตธะ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และการเสด็จดับขันธปรินิพาน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก หรือ “วันวิสาขบูชา” เพจคลังกลางฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้ ควบคู่กับวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในโอกาสดังกล่าว           โดยหลักฐานในพุทธประวัติจากคัมภีร์ต่าง ๆ กอปรกับการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ใน “ป่ารุมมินเดอี” (น่าจะเพี้ยนจากคำว่า “ลุมพินี”) บริเวณ “เมืองติลอรโกฏ” (เมืองกบิลพัสดุ์ หรือ “บุรินกระบิลพัสดุ์” ในนิราศ) ทางใต้ของประเทศเนปาลปัจจุบัน ส่วนสถานที่ตรัสรู้ คือ “โพธคยา” และสถานที่ปรินิพพานคือ “กุสินารา” ในประเทศอินเดีย ซึ่งพุทธประวัติระบุว่าทรงเสด็จดับขันธ์ ณ สาลวโนทยาน (หรือ “ป่าสาลวัน” ในนิราศ) โดยปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว ถือเป็นสังเวชนียสถานสำคัญที่ผู้คนต่างเดินทางมาแสวงบุญเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ           อนึ่ง เมื่อกล่าวถึง “พระแท่นดงรัง” จ.กาญจนบุรีแล้ว จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวเมื่อคราวสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมายังสถานที่แห่งนี้ มีระบุใน “สาส์นสมเด็จ” ฉ.ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๒ ความว่า “...พระแท่นดงรัง หม่อมฉันเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวพระแท่นเท่ากับผ้าเหลืองที่เขาเอาซ้อนกองไว้บนพระแท่นเป็นรูปคล้ายกับศพคลุมผ้านอนอยู่บนนั้น ... ครั้นไปถึงแต่พอโผล่ประตูวิหารเข้าไปเห็นรูปกองผ้าเหลืองเหมือนอย่าง “พระพุทธศพ” วางบนพระแท่นก่อนสิ่งอื่นก็จับใจในทันที...” แสดงให้เห็นว่า สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญ ๓ ประการ คือ เป็นสถานที่สมมติการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในประเทศไทย สถานที่สำคัญที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๓ และสถานที่ที่อยู่ในเรื่องเล่าระหว่างกันของสองสมเด็จด้วย           (ภาพประกอบนำเสนอผ่านองค์ประกอบหลักของ “ผ้าปักรูปพุทธประวัติตอนประสูติ ศิลปะพม่า คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” แสดงรูปพระกุมารแรกประสูติ ทำท่าชี้ดัชนีขึ้นบนฟ้าเพื่อสื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในจักรวาล ฉากหลังแสดงภาพ “พระจันทร์” หน้าบันทิศตะวันตกของพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม)





         ในวาระพุทธศักราช ๒๕๖๕ “จารึกพระศรีสูริยลักษมี” หนึ่งในจารึกหลักสำคัญที่เก็บรักษาอยู่ในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีเนื้อหาระบุถึงช่วงเวลาครบรอบสหัสวรรษในปีนี้นั้น วันนี้ เพจคลังกลางฯ ใคร่ขอหยิบยกจารึกหลักนี้ขึ้นมากล่าวถึง โดยจารึกหลักนี้ ลักษณะคล้ายใบเสมา สลักจากหินทราย ใช้อักษรขอมโบราณจารไว้ ๔ ด้าน ซึ่งในส่วนของด้าน ๓ มีการจารถึงช่วงเวลาไว้ความว่า “ศก ๙๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เสวยฤกษ์กฤตติกา วันพุธ” นำไปสู่การตีความว่าคือช่วงเวลา “มหาศักราช ๙๔๔” ตรงกับ “พุทธศักราช ๑๕๖๕” หรือกว่า ๑๐๐๐ ปีมาแล้ว         โดยจากการตรวจสอบช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ จารึกหลักนี้คงถูกจารขึ้นในรัชกาลพระเจ้าสูริยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๕๔๕ - ๑๕๙๓) สอดรับกับเนื้อหาในจารึกที่ได้ออกนามพระองค์ไว้หลายครั้ง ดังความในจารึกด้าน ๑ มีข้อความกล่าวสรรเสริญพระศรีสูรยวรมเทวะ ระบุว่า “...ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พระศรีสูรยวรมเทวะ ผู้ครองราชสมบัติด้วยอำนาจอันเข้มแข็ง ... พระศรีสูรยวรมเทวะ ผู้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่...” และปรากฏอีกครั้งในเนื้อหาหลักว่า “เมื่อมีการแบ่งราชสมบัติของพระศรีสูรยวรมัน พระนางผู้เป็นเทวีได้รับมรดกในราชสมบัติ” อีกด้วย          จึงอาจตีความได้ว่าจารึกหลักนี้ เป็นจารึกเฉลิมพระเกียรติเจ้านางสตรีผู้มีนามว่า “กัมรเตงอัญเทวี ศรีสูรยลักษมี” ด้วยเนื้อหามีการกล่าวถึงพระราชกิจสำคัญ เช่น ทรงกัลปนาทรัพย์สินและบริวารถวายแด่พระแห่งสิงหล (ลังกา) โดยประวัติระบุว่าพระนางเป็นธิดาของพราหมณ์ผู้แตกฉานในฤคเวท มีพระอนุชานามว่าศิวาสบท ผู้เป็นขุนนางสำคัญในราชสำนัก ทั้งนี้ บทบาทสำคัญของพระนาง ยังระบุในจารึกว่า “...พระเทวีพร้อมด้วยคณะ ผู้มุ่งหน้าต่อบาทของพระศิวะ ได้ประดิษฐานรูปพระปฏิมาของพระวิษณุและพระหริเทพผู้ทำลาย ศิวลึงค์ พร้อมกับดินแดนตำแหน่งที่ตั้ง ให้วางชิดกันในถ้ำอันเป็นแหล่งน้ำแห่งลูกศร ไว้ให้เป็นที่บูชาในหมู่บ้าน ในกาลนั้น พระนางได้สร้างพระศิวลึงค์ยอดทองคำไว้ในเมืองที่กลุ่มบัณฑิตชนจำนวนมากซื้อไว้ ชื่อว่า สกันทวารนา ให้เป็นที่กล่าวถึงความสำเร็จ และชัยชนะของพระองค์” แสดงให้เห็นว่าพระนางมีบทบาทเรื่องการบำรุงศาสนา มีการสร้างศาสนวัตถุประดิษฐานบูชา แม้จะไม่ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของหมู่บ้านที่ทรงมากัลปนา หรือถ้ำที่ทรงกล่าวถึงในจารึกก็ตาม แต่ก็สามารถอธิบายได้ถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่วัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลงในพื้นที่ภาคกลาง          นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับจารึกหลักสำคัญ คือ จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นจารึกเฉลิมพระเกียรติ “พระบาทกัมรเตง กำตวน อัญศรีสุริยวรรมเทวะ” พระราชสวามีของพระนาง ทั้งยังสอดรับกับช่วงเวลา “ศักราช ๙๔๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ วันอาทิตย์” อันเป็นปีบรรจบครบ ๑๐๐๐ ปีเช่นเดียวกัน (ปัจจุบันจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)            เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และวริยา โปษณเจริญ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


เอกสารขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจําแห่งโลกของประเทศไทย มี 5 รายการ ได้แก่ 1. ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1      (The King Ram Khamhaeng Inscription) 2. จารึกวัดโพธิ์       Epigraphic Archives of Wat Pho 3. เอกสารการปฏิรูปราชการแผ่นดินในรัชสมัย     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     (เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ 5)     (พ.ศ. 2411 – 2453) 4. บันทึกการประชุมของคณะกรรมการสยามสมาคม     ในพระบรมราชชูปถัมภ์ ในรอบ 100 ปี    (The Minute Books of the Council of The       Siam Society 100 years of recording        international of knowledge     in the arts and sciences) 5. ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณ     (The Royal Photographic Glass Plate Negatives     and Original Prints Collection)ศึกษาเพิ่มเติม : https://www.nat.go.th/mow   


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การดำเนินงานทางโบราณคดี ณ เมืองศรีเทพ” วิทยากรโดย นางสาวธนัชญา เทียนดี นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/prfinearts


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           29/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


แนะนำ E-book หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  เรื่องนารายณ์ทรงครุฑ. พระนคร: โรงพิมพ์มหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2506.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           30/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา