ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 138/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สพ.ส.38 ตำราดูฤกษ์ยามประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ตำราดูฤกษ์ยามลักษณะวัสดุ 49; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำราดูฤกษ์ยาม ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 11/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ “ ตอน ตามหาเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์” วิทยากร นางสาวเสริมสุข ประกฤติภูมิ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคู่มือฉบับนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการสรรหาและเลือกสรรโดยวิธีการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งและลักษณะงานเข้ารับราชการได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งคู่มือฉบับนี้มีข้อมูลแนวทางดำเนินการฯ เป็นไปตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.
กรมศิลปากร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และเป็นแนวทางสำหรับการสรรหาและเลือกสรรเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการการอนุมัติคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ แก่บุคลากรกรมศิลปากร ทั้งนี้การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน กรมศิลปากรได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เลขทะเบียน : นพ.บ.503/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167 (205-215) ผูก 10 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สพ.บ.424/3ก พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)
สพ.บ. 424/3ก
ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
เทศน์มหาชาติ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาต ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ที่ของของภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๙/๗๒ เรื่องขอความร่วมมือเผยแพร่วัฒนธรรมในการดูกีฬา (๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๒).
ที่มาของภาพ : กีฬาแหลมทองครั้งที่ ๘ ปี ๒๕๑๘ ณ สนามศุภชลาศัย
ที่มา : https://pantip.com/topic/39443628
พ.ศ.๒๔๘๕ รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง “สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ” ขึ้น โดยมีหน้าที่ดังนี้ ๑) ค้นคว้า ดัดแปลง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติที่มีอยู่ ๒) ค้นคว้า ดัดแปลง และกำหนดวัฒนธรรมที่ควรรับไว้หรือปรับปรุงต่อไป ๓) เผยแพร่วัฒนธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับกาลสมัย ๔) ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งชาติในจิตใจของประชาชนจนเป็นนิสัย ๕) ให้ความเห็น รับปรึกษาและปฏิบัติการตามความมุ่งหมายของรัฐบาลในกิจกรรมอันเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยกำหนดให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ๔ สำนัก คือ สำนักวัฒนธรรมทางจิตใจ สำนักวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี สำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม และสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
จากเอกสารจดหมายเหตุชุดจังหวัดจันทบุรี ปี ๒๔๙๒ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้ขอความร่วมมือคณะกรมการจังหวัดจันทบุรีเผยแพร่เรื่อง “วัฒนธรรมในการดูกีฬา” ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติให้ดียิ่งขึ้น โดยระบุถึงข้อควรปฏิบัติของผู้ดูการเล่นกีฬาไว้ดังนี้
ข้อ ๑. ผู้ดูพึงปรบมือแสดงความยินดีต้อนรับผู้แข่งขันทุกฝ่ายขณะเข้าสู่สนาม และปรบมือให้เกียรติแก่ผู้เล่นดี ไม่ว่าฝ่ายไหนด้วย
ข้อ ๒. ผู้ดูไม่บังควรเย้ยหยันผู้แข่งขันและเจ้าหน้าที่ด้วยประการใดๆ
ข้อ ๓. ผู้ดูไม่บังควรรบกวนผู้แข่งขันหรือเจ้าหน้าที่ และไม่บังควรก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างผู้แข่งขันด้วยกันหรือกับผู้ดู
ข้อ ๔. ผู้ดูพึงยอมรับคำตัดสินของเจ้าหน้าที่อย่างเด็ดขาด และเคารพกฎข้อบังคับและกติกาทั้งปวง
ข้อ ๕. ผู้ดูไม่บังควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นไปในทางที่ผิด
ทั้งนี้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้เหตุผลว่าการเล่นกีฬาเป็นคุณและเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เล่น เพราะก่อให้เกิดพลานามัย และเป็นประโยชน์แก่ชาติทั้งในทางสมรรถภาพและความสามัคคี ถ้าผู้เล่น ผู้ดู รู้ตัวและระลึกอยู่เสมอถึงประโยชน์ดังกล่าว ไม่เผลอตนปล่อยใจให้ตกอยู่ในทางอคติ ก็จะเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนวัฒนธรรมประจำชาติของคนไทยให้สูงยิ่งขึ้น
ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th
-----------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
-----------------------------------------------------------
อ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๙/๗๒ เรื่องขอความร่วมมือเผยแพร่วัฒนธรรมในการดูกีฬา (๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๒).
ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=3092 สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕.
อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในซีเกมส์ ๑๙๕๙-๒๐๑๗. เข้าถึงได้จาก https://pantip.com/topic/39443628 สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕.
---------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูลที่เผยแพร่แล้ว : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02FZ9ExNTN8BcJNagdyXhQvPizad52CjF84KEsJSuPsmn8Dqy9Hi2osoB48vSZ5Vwel&id=100067777894332&mibextid=Nif5oz
----------------------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
โบราณสถานตึกแดง
โบราณสถานตึกแดงตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นอาคารหลังหนึ่งของฐานบัญชาการกองทหารฝรั่งเศสบริเวณปากน้ำแหลมสิงห์ ที่สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อคราวที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกัน (วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒)
ตึกแดงเป็นอาคารที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบตะวันตกและพื้นถิ่นเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของบ้านเมืองในเขตร้อนชื้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียววางตัวอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก ตัวอาคารหันหน้าไปทางด้านตะวันตกออกสู่ปากอ่าวแหลมสิงห์ มีขนาดความกว้างประมาณ ๗ เมตร ยาว ๓๒ เมตร มีประตูและหน้าต่างไม้แบบบานเปิด หลังคาทรงจั่วและมีหลังคากันสาดเป็นระเบียงทางเดินโดยรอบ โครงสร้างหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้องดินเผา บริเวณหน้าบันถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วนด้วยเสา ซึ่งภายในพื้นที่ที่แบ่งนั้น ทำเป็นซุ้มโค้งรูปครึ่งวงกลม โดยภายในซุ้มเจาะเป็นช่องระบายอากาศรูปเครื่องหมายบวก ซุ้มละ ๖ ช่อง ภายในอาคารแบ่งเป็น ๖ ห้อง พื้นเดิมทั้งภายในและระเบียงทางเดินปูด้วยกระเบื้องดินเผา ซึ่งห้องทางด้านตะวันตกปรากฏหลักฐานการเทพื้นปูนซีเมนต์ขัดมันตีเป็นเส้นตารางเลียนแบบกระเบื้องปูพื้น
นอกจากนี้จากการขุดตรวจทางโบราณคดียังพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาที่มีลักษณะเหมือนกันกับกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาประทับตรารูปผึ้งและตัวอักษร MARSEILLE ที่พบอยู่บนพื้นภายในห้องของตึกแดง ซึ่งกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาดังกล่าว เป็นกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาที่ผลิตโดยบริษัท Guichard Carvin et Cie ที่ผลิตขึ้นที่เมือง Marseille ประเทศฝรั่งเศส โดยใช้ตราสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าเป็นตรารูปผึ้ง ทั้งนี้ ยังพบกระเบื้องรูปแบบดังกล่าวที่ค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี อีกด้วย
ภายหลังจากที่กองทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากเมืองจันทบุรีแล้ว ตึกแดงถูกใช้เป็นที่พักตากอากาศสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคณะทูตและชาวฝรั่งเศสจะใช้เป็นที่พักตากอากาศ และสถานที่พักฟื้น หรือที่เรียกว่า “แซนิตอเลียม” (Sanitarium) อีกทั้งต่อมายังมีการใช้เป็นห้องสมุดประชาชนและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตลอดจนเป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี
โบราณสถานตึกแดงได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุด เป็นการบูรณะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร และในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ถ่ายโอนภารกิจการดูแล บำรุงรักษา และบริหารจัดการอาคารโบราณสถานตึกแดงให้แก่เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตึกแดง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๓๑ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๘ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๑๑.๘๗ ตารางวา
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (๒๕๔๒). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการฯ.
ตรี อมาตยกุล. (๒๕๑๔). ประวัติเมืองจันทบุรี. ใน กรมศิลปากร (บ.ก.), ชุมนุมเรื่องจันทบุรี (น.๙ – ๓๘).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี. (๒๕๕๒). รายงานการสำรวจตึกแดง ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. เอกสารอัดสำเนา.
หลวงสาครคชเขตต์. (๒๕๓๙). จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.
เรียบเรียง : นางสาวเลิศลักษณ์ สุริมานนท์ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
ลูกกะทิ หรือน้ำพริกกะทิชอง เป็นเมนูประจำครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ชนพื้นเมืองจังหวัดจันทบุรี พบได้มากในพื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ แต่เดิมชาวชองอาศัยอยู่ในป่า ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ประกอบอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ โดยจะต้องเข้าป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์ครั้งละหลายวัน จึงเกิดเมนูลูกกะทินี้ขึ้น ซึ่งเป็นเมนูหลักที่ชาวชองใช้เป็นเสบียงระหว่างเข้าป่า ด้วยวัตถุดิบหลักที่หาได้ง่าย ไม่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ และใช้ภูมิปัญญาในการเคี่ยวกะทิจนแตกมัน ทำให้น้ำพริกสามารถเก็บไว้ได้นาน และไม่เสียรสชาติ สามารถรับประทานร่วมกับผักที่หาได้ทั่วไปในป่า
ส่วนผสมของลูกกะทิ ประกอบด้วย กะทิ พริกขี้หนูสด กระเทียม หัวหอม ใบมะกรูด กะปิ และเกลือ ต่อมาได้มีการพัฒนาสูตรโดยผสมเนื้อสัตว์ลงไปด้วย เช่น ปลาดุก กุ้งสับ หรือหมูสับ มีรสเค็ม เผ็ดนำ และได้ความมันจากกะทิ นิยมรับประทานกับผักต่าง ๆ เช่น แตงกวา ผักกาด ใบบัวบก ขมิ้นขาว มะเขือ และกล้วยน้ำว้าห่ามต้มพร้อมเปลือก นับว่าเป็นอาหารสุขภาพเมนูหนึ่ง
ปัจจุบันชาวจันท์ส่วนมากอาจจะไม่คุ้นเคยกับเมนูนี้ เนื่องจากหาคนทำได้ยาก และเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เมนู “ลูกกะทิ” ได้รับการคัดเลือกจากกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย Thailand Best Local Food “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปี 2566 จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเมนูอาหารถิ่นทั้งคาวและหวานที่กำลังจะเลือนหาย และหาได้ยาก นำมาสู่การยกระดับพัฒนาสร้างสรรค์เป็นอาหารประจำจังหวัด เพื่อการอนุรักษ์เผยแพร่องค์ความรู้ และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารถิ่นของไทย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
“1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ปี 2566 หลายเมนูชื่อแปลก ต้องลองสักครั้ง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566, จาก: https://www.thaipbs.or.th/news/content/331241
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. น้ำพริกกะทิชอง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566, จาก: http://www.m-culture.in.th/album/197746/น้ำพริกกะทิชอง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. อาหารพื้นถิ่นจันทบูร. จันทบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจันทบุรี, 2564.
สำนักงานสาธารณสุขจันทบุรี. อาหารเป็นยา วิถีคนจันท์. จันทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจันทบุรี, 2565.
ผู้เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน
วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และบรรดาลูกเสือ เนตรนารี บุคลากรทางการลูกเสือ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า คือ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ไขปริศนาภาพจิตรกรรมค้นพบใหม่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ฯ ” วิทยากร ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี, นายเสน่ห์ มหาผล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, นายไอยคุปต์ ธนบัตร นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายรัฐพงศ์ เกตุรวม หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร