ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

+++++แหล่งผลิตเกลือโบราณลุ่มน้ำสงคราม+++++ ----- เกลือ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลายทำให้เกลือกลายเป็นสินค้าที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกเหนือจากการใช้เป็นวัตถุดิบปรุงรสชาติอาหารแล้ว เกลือยังถูกใช้ในการถนอมอาหาร การฟอกหนังสัตว์ เป็นของจำเป็นสำหรับการเดินป่าและการเดินทางไกล เพราะเมื่อขาดเกลือจะทำให้ร่างกายไม่มีแรงและเป็นตะคริวได้ง่าย เกลือจึงเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจมาตั้งแต่สมัยโบราณ ----- แหล่งผลิตเกลือสมัยโบราณที่ใหญ่ที่สุดในแอ่งสกลนคร อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสงคราม บริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม พื้นที่สภาพภูมิประเทศโดยรอบตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำอูนกับลำน้ำยาม ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำสงคราม มีลักษณะเป็นที่ราบกว้าง ปัจจุบันมีหนองน้ำที่เกิดจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ่อตาอาด อ่างเก็บน้ำบ่อกอก และอ่างเก็บน้ำหนองฝายท่าเรือ ซึ่งจะมีลำห้วยไหลไปเชื่อมกับห้วยคอกช้างและห้วยน้ำอูนทางด้านทิศตะวันออก หมวดหินชุดสำคัญในบริเวณลุ่มน้ำสงคราม คือ หมวดหินมหาสารคาม (หมวดหินเกลือ) ซึ่งมีแร่โพแทชและเกลือหิน ในสมัยโบราณมีการขุดบ่อน้ำเค็มจากใต้ดิน ซึ่งชั้นเกลือในบริเวณนี้อยู่ในระดับตื้นจึงสะดวกแก่การผลิตเกลือ ----- แหล่งโบราณคดีที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตเกลือจนมีสภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่ บริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ปัจจุบันพบจำนวน ๙ แห่ง ได้แก่ --- ๑. วัดโพนสวรรค์ (โพนสูง) บ้านเม่นใหญ่ ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร --- ๒. วัดโคกสะอาด (วัดสุวรรณบรรพต หรือ สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรม) บ้านโคกสะอาด หมู่ ๗ ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๓. โพนส้มโฮง บ้านท่าเรือ หมู่ ๒ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๔. โพนกอก บ้านท่าเรือ หมู่ ๘ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๕. โพนตุ่น บ้านบะหว้า หมู่ ๗ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๖. โพนจุลณี (โพนน้ำดับ) บ้านบะหว้า หมู่ ๗ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๗. ที่พักสงฆ์ไตรเทพเนรมิต (โพนแต้) บ้านเสียว หมู่ ๘ ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๘. วัดโพธิ์เครือ บ้านเสียว หมู่ ๑๐ ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม --- ๙. สำนักสงฆ์โพนหัวแข้สันติธรรม (โพนหัวแข้) บ้านเสียว หมู่ ๑๐ ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ----- เมื่อประมาณ ๘๐ ปีมาแล้ว บริเวณพื้นที่ราบรอบๆเนินดินโบราณ เคยเป็นแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่ หนองน้ำที่ปรากฎในปัจจุบันเมื่อก่อนมีสภาพเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงในฤดูฝน เมื่อเข้าฤดูแล้งเวลาน้ำลดจะมีคราบเกลือจับอยู่ตามผิวดิน ชาวบ้านจำนวนมากจะมาทำเกลือในบริเวณนี้ จนกระทั่ง ๕๐ ปีที่แล้ว จึงเลิกทำไป เพราะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้น ปัจจุบันในฤดูแล้งจะมีชาวบ้านประมาณ ๓ - ๔ ราย ที่ยังมาทำเกลือใกล้กับเนินดินวัดโพนสวรรค์ (โพนสูง) โดยการทำเกลือในบริเวณนี้ จะใช้วิธีผสมน้ำเกลือกับดินขี้ทาเพื่อเพิ่มความเค็มของน้ำเกลือให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ได้เม็ดเกลือจากการต้มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ----- เคยมีการศึกษาแหล่งผลิตเกลือโบราณโนนทุ่งผีโพน บ้านงิ้วใหม่ ตำบลบ้านงิ้วเก่า อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในเขตลุ่มน้ำมูลตอนบน โดย Eiji Nitta นักโบราณคดีชาวญี่ปุ่น สามารถสรุปโดยสังเขปได้ว่า โนนทุ่งผีโพน เป็นเนินดินสูงประมาณ ๖ เมตร โดยรอบเป็นทุ่งนา ในช่วงหน้าแล้งจะมีคราบเกลือจับอยู่ตามผิวหน้าดินรอบตัวเนิน ภาชนะดินเผาส่วนมากมีร่องรอยของการกัดกร่อนและเผาไหม้ จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบร่องรอยกิจกรรมการทำเกลือจำนวน ๙ ชั้น และพบหลักฐานเกี่ยวกับการทำเกลือ ได้แก่ บ่อเก็บน้ำ แอ่งกรองน้ำ เตาดิน เศษภาชนะดินเผาที่ใช้ในการต้มเกลือทรงชามครึ่งวงกลม หม้อทรงกลม กระดูกสัตว์ต่างๆ และหลุมเสาที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นเพิงพักอาศัย กำหนดอายุได้ราว ๑,๙๐๐ ปีมาแล้ว หรือประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๒ - ๓ ----- ลักษณะเนินดินขนาดใหญ่ของแหล่งผลิตเกลือโบราณในลุ่มแม่น้ำสงคราม บริเวณเขตรอยต่อระหว่าง จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนมแห่งนี้ น่าจะเป็นเนินขยะที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตเกลือ เช่นเดียวกับแหล่งโนนทุ่งผีโพน เพราะมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นเนินดินขนาดสูงใหญ่ รูปร่างไม่สม่ำเสมอ เนินดินปรากฎชั้นของเศษภาชนะดินเผาจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนหินดุ แสดงให้เห็นถึงการผลิตภาชนะดินเผาในบริเวณเดียวกัน อายุสมัยของแหล่งผลิตเกลือโบราณกลุ่มนี้ ไม่น่าเก่าไปจนถึงช่วงก่อนประวัติศาสตร์ เหมือนที่โนนทุ่งผีโพน เนื่องจากไม่พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้ รวมถึงบริเวณใกล้เคียงโดยรอบก็ยังไม่พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบแต่โบราณวัตถุประเภทกล้องยาสูบ ไหจากแหล่งเตาลุ่มแม่น้ำสงคราม เศษอิฐเก่าและเศษกระเบื้องดินเผาจากแหล่งวัดร้าง ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเสียว เป็นต้น จึงสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าแหล่งผลิตเกลือโบราณกลุ่มนี้ น่าจะอยู่สมัยประวัติศาสตร์ช่วงที่ชุมชนสร้างบ้านเมืองมั่นคง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๓ และอาจร่วมสมัยเดียวกับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มแหล่งเตาลุ่มแม่น้ำสงครามที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก ----- ทั้งนี้ ข้อมูลและข้อสันนิษฐานข้างต้น ยังจะต้องมีการขุดศึกษาทางโบราณคดีเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในค่าอายุของการผลิตเกลือในพื้นที่ รวมทั้งรูปแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ----------------------------------------------------------------------- ++ อ้างอิงจาก ++ --- สุธีร์ วีรวรรณ. (๒๕๓๗). “การศึกษาเปรียบเทียบชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีเกี่ยวกับการทำเกลือโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. --- วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (๒๕๓๙). “แหล่งผลิตเกลือสมัยโบราณลุ่มน้ำสงคราม.” วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ ๒๒, ฉบับที่ ๔ : ตุลาคม - ธันวาคม. --- Nitta,Eiji. (1994). “Iron-smelting and Salt-making Industries in Northeast Thailand.” The 15th IPPA Congress, Chiangmai, Thailand, Jan 1. โดย นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  




กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “อาคารจัดแสดงเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา” วิทยากรโดย นางสาวณัฐพร แก่นสน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และนางสาวศศิธร โตวินัส ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                         สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)      สพ.บ.                           394/7กหมวดหมู่                       พุทธศาสนาภาษา                           บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                   ชาดก                                   เทศน์มหาชาติ                                   คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   38 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          จากเหตุการณ์พายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทั่วประเทศในขณะนี้ อธิบดีกรมศิลปากรได้สั่งการให้สำนักศิลปากรทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แหล่งมรดกโลก ในความดูแลของกรมศิลปากร ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร(สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร) และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง(อุดรธานี)           จากข้อมูลรายงานของกองโบราณคดีและสำนักศิลปากรที่ ๑-๑๒ โบราณสถานส่วนใหญ่ทั่วประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบขั้นวิกฤต ในส่วนของแหล่งมรดกโลก มีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันที่ถูกน้ำท่วมหนักกว่า ๑๒ กิโลเมตร ที่รวมถึงตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและเพิ่งมีการขุดลอกเขื่อนสรีดภงส์จึงสามารถกักเก็บน้ำได้ปริมาณมาก ขณะนี้มีเพียงน้ำท่วมขังรอการระบาย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีน้ำขังเล็กน้อยรอการระบาย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรมีโบราณสถานได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากลมพายุ ทั้งหมดยังอยู่ภายใต้การดูแลจัดการตามปกติของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ส่วนแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ทั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง แหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และแหล่งโบราณคดีบ้านอ้อมแก้ว สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น รายงานว่ายังไม่มีผลกระทบใดๆ           ส่วนในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่มีความเสี่ยงมากกว่าพื้นที่อื่นๆ อธิบดีกรมศิลปากรได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา เร่งเตรียมพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ โบราณสถานสำคัญที่อยู่ในความเสี่ยงได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม ในวันนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับต่ำกว่าสันเขื่อนประมาณ ๔๐ ซม. ขณะนี้ได้ทำการตั้งแผงป้องกันน้ำเรียบร้อยแล้ว ส่วนโบราณสถานอื่นๆ ระดับน้ำยังอยู่ต่ำกว่าสันเขื่อนเฉลี่ย ๕๐-๘๐ ซม. เช่น วัดธรรมมาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ที่กำลังตั้งแผงกันน้ำจะแล้วเสร็จในวันพรุ่งนี้ รวมถึงเร่งดำเนินการตั้งแผงกันน้ำที่หมู่บ้านโปรตุเกสจะแล้วเสร็จในเวลาไล่เลี่ยกัน ส่วนโบราณสถานป้อมเพชรและหมู่บ้านฮอลันดายังอยู่สูงกว่าระดับน้ำประมาณ ๑ เมตร วัดเชิงท่าระดับน้ำในแม่น้ำลพบุรียังมีระดับต่ำกว่าสันเขื่อนประมาณ ๑.๒๐ เมตร          จากสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๒๖ กันยายน ซึ่งทำให้เขื่อนเจ้าพระยาจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนมากขึ้นถึง ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้นจากเดิมอีก ๐.๓-๑ เมตร โดยภายในวันจันทร์ที่ ๒๗ กันยายน นี้ ระดับน้ำจะถึงสันเขื่อนโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม และวันอังคารที่ ๒๘ ระดับน้ำจะถึงสันเขื่อนโบราณสถานวัดธรรมาราม (ซึ่งโบราณสถานทั้ง ๒ แห่งจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้ติดตั้งแผงป้องกันน้ำไว้แล้ว)          ส่วนโบราณสถานแห่งอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ กรมศิลปากรได้เตรียมความพร้อมในการป้องกัน โดยการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและวางแผนจัดลำดับการดำเนินการป้องกันโบราณที่จะได้รับผลกระทบ จัดเตรียมกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์และประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ภายในพื้นที่เพื่อป้องกันอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานภายใต้การดูแลของกรมศิลปากรอย่างเต็มที่




          วันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔ ณ พระอุโบสถ วัดอัมพวัน เจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐิน ให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตามที่ขอพระราชทาน เพื่อน้อมนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้ ได้มีผู้มีจิตกุศลร่วมถวายจตุปัจจัย บำรุงและบูรณะพระอารามหลวง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๖๒๗,๐๙๐ บาท (สองล้านหกแสนสองหมื่นเจ็ดพันเก้าสิบ บาทถ้วน) ในโอกาสนี้ กรมศิลปากรยังได้มอบทุนการศึกษาและหนังสือที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ให้กับโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดอัมพวันเจติยาราม และโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย อีกด้วย           พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นกิจกรรมสำคัญที่กรมศิลปากรปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำ ทุกปี เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา สำหรับประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมชื่อว่า วัดอัมพวา เป็นศาสนสถานสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์และมีความเกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชจักรีวงศ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๓๒๕ เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                 293/10ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          30 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 59.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                          ชาดก                                          เทศนา   บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ทิพฺพภตฺตทานานิสํสกถา (ฉลองข้าวทิพย์) สพ.บ.                                  342/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.162/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 10 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-7ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-38  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.214/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต(มูลมหานิพพาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม