การเก็บข้อมูลในงานโบราณคดีใต้น้ำในปัจจุบัน
การเก็บข้อมูลในงานโบราณคดีใต้น้ำในปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนาการขึ้นจากในอดีตค่อนข้างมาก
ในอดีตนั้นการเก็บข้อมูลนั้นนะทำด้วยมือเป็นหลัก กล่าวคือจะใช้การวัดขนาดและวาดภาพในการเก็บข้อมูลลายละเอียดของแหล่งเรือจม หรือโบราณวัตถุ หรือนิเวศวัตถุที่ได้จากการสำรวจใต้น้ำ
แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่จะทำให้นักโบราณคดีนั้นสามารถเก็บข้อมูลแหล่งโบราณคดี หรือโบราณวัตถุได้ละเอียด แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องแสกนระบบสามมิติ
เครื่องแสกนระบบสามมิติ นั้นมีด้วยกันหลายประเภทแต่ระบบที่กองโบราณคดีใต้น้ำใช้ในการเก็บข้อมูล จะเรียกว่าแขนแสกนระบบสามมิติ (3D scanning arms) ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถแสกนเก็บข้อมูลโบราณวัตถุได้ด้วยความละเอียดไม่น้อยกว่า 0.03 ไมครอน ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่มีความแม่นยำสูงมาก ซึ่งเครื่องแสกนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกใช้งานในด้านงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก
ในส่วนของงานโบราณคดีนั้นกองโบราณคดีใต้น้ำได้ทำการจัดหาและนำมาประยุกต์ใช้กับการเก็บข้อมูลแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้งานด้านโบราณคดีใต้น้ำสามารถบรรลุเป้าหมายของงานโบราณคดีใต้ง่ายยิ่งขึ้น คือการสร้างภาพค้นคืนในอดีต (Reconstruction) โดยเครื่องแสกนนั้นจะมีซอร์ฟแวร์สำหรับการทำวิศวกรรมย้อนกลับหรือ Reverse Engineering ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างโมเดลสามมิติของเรือ หรือ การนำข้อมูลที่ได้จากการแสกนไปทำการพิมพ์ระบบสามมิติ เพื่อใช้ในการจัดแสดงต่อไปได้
(จำนวนผู้เข้าชม 519 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน