เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระพุทธรูปดุนเงินในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย
พระพุทธรูปอีกลุ่มหนึ่งที่จัดอยู่ในศิลปะแบบหริภุญไชยนอกจากพระพิมพ์ซึ่งทำจากจากดินเผาและโลหะเช่น สำริด แล้ว ยังพบการนำเงิน (Silver) ซึ่งเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่ง นอกจากนำมาทำรูปเคารพแล้ว ยังมีการนำไปทำเครื่องประดับ ภาชนะ หรือใช้ทำเงินตรา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปดุนเงินนี้นอกจากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยแล้ว ยังพบในบริเวณอื่น เช่น เวียงท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับเมืองหริภุญไชย นักวิชาการหลายท่านได้ทำกรศึกษาต่างจัดให้พระพุทธรูปดุนเงินเหล่านี้อยู่ในศิลปะหริภุญไชยตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
ดุน จากพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะงานศิลปกรรมประเภทหนึ่ง ทำโดยวิธีรุนให้ลวดลายหรือภาพนูนสูงขึ้นจากพื้นผิว โดยทั่วไปใช้กับโลหะ เช่น ทอง เงิน ทองแดง นอกจากการดุนแล้ว การที่จะให้เกิดลวดลายบนพื้นผิวมีความคมชัดมากขึ้นจำต้องอาศัยการสลักโดยการทำให้ส่วนพื้นลึกต่ำลงควบคู่กับการดุน จะทำให้ลายที่ดุนมาจากด้านหนึ่งเด่นชัดขึ้นมา เรียกว่าการสลักดุน
พระพุทธรูปดุนเงินในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย รับมอบจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่วนมากมีสภาพชำรุด พระเศียรและพระวรกายแยกจากกัน มีทั้งที่ครองจีวรและทรงเครื่อง แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแบบเห็นฝ่าพระบาทสองข้างชัดเจน ปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งหมดจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย นิทรรศการถาวร ห้องหริภุญไชย รากฐานล้านนา
ที่มาของข้อมูล :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
อ้างอิง
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ---สุรพล ดำริกุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 1217 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน