ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,568 รายการ
วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายกเทศมนตรีตำบลพิมาย ปลัดอาวุโสอำเภอพิมาย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันปรึกษาหารือเรื่องผลกระทบและการแก้ไขปัญหาการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ๒๕๕๗และแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้นในการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ๒๕๕๘ณ ห้องผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง
ผู้แต่ง : ศิลปากร , กรม
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๖
สถานที่พิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงสภาพทั่วไปของจังหวัดพัทลุง จัดหวัดที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ จังหวัดหนึ่งของภาคใต้ เคยมีความสำคัญด่านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมแต่อดีต จากหลักฐานที่ปรากฏทั้งที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ตำนาน ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อ และวิถีชีวิตของประธานในท้ิงถิ่น
วังเจ้าเมืองพัทลุง เป็นอาคารทรงไทย แบ่งเป็น ๒ กลุ่มอาคาร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน กลุ่มอาคารที่ตั้งอยู่ติดกับถนนราเมศร์อภัยบริรักษ์ เรียกกันว่า "วังเก่า" เป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์(น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ส่วนกลุ่มอาคารที่ตั้งอยู่ริมคลองลำปำ เรียกว่า "วังใหม่" หรือ "วังใหม่ชายคลอง" เป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์(เนตร จันทโรวงศ์) เป็นผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงคนสุดท้าย
ชื่อเรื่อง สวัสดิรักษา และ สุภาษิตสอนสตรีผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ พุทธศาสนาเลขหมู่ 294.313 ท539สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.สำนักพิมพ์ ม.ป.พปีที่พิมพ์ 2538ลักษณะวัสดุ 62 หน้า หัวเรื่อง พระพุทธศาสนาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
องค์ความรู้ เรื่อง การจัดสร้างตะเกียงโรมัน (จำลอง) จัดทำข้อมูลโดยสำนักช่างสิบหมู่
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 13. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2479.บันทึกพระราชกรณียกิจประจำวัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช 1844 (วันที่ 1 มกราคม 2425) ถึง วันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช 1244 (วันที่ 7 เมษายน 2426) พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา วันที่ 27 มกราคม 2479959.3057จ657ว
พระวิษณุและกลุ่มเทวรูปบริวาร จากเขาพระนารายณ์ ได้ถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ ของพระบรมโอรสาธิราช (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) ถึงเรื่องการเคลื่อนย้ายจากยอดเขาเวียง มาอยู่บริเวณที่พระนารายณ์ (โคนต้นตะแบก) ว่า "...เทวรูปนี้เดิมอยู่บนเขาเวียง บนนั้นยังมีฐานก่อด้วยอิฐปรากฎอยู่ ครั้นพม่ามาตีเมืองไทย ได้ลงมาที่เขาเวียง ยกเทวรูปลงมาได้ถึงที่เนินนี้ ตั้งใจจะไปทางแม่น้ำ เผอิญเกิดฝนตกห่าใหญ่ พม่าจึงต้องทิ้งเทวรูปไว้ หนีเอาตัวรอด ... "
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๙ จากการสร้างทางหลวงสาย ๔๐๑ สุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า ทำให้มีคนร้ายเข้ามาทุบสกัดพระพักตร์ฤาษีมารกัณเฑยะ และพระนางภูเทวีไป โดยนำส่วนพระองค์ของนางภูเทวีไปทิ้งในหนองน้ำ (ชาวบ้านได้มาพบส่วนพระองค์ของนางภูเทวีช่วงหน้าแล้งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้นำไปไว้ที่วัดนารายณิการาม) จากเหตุการณ์นี้ทำให้หน่วยศิลปากรที่ ๘ นครศรีธรรมราช ได้นำเทวรูปพระวิษณุ ฤาษีมารกัณเฑยะ และจารึกเมืองตะกั่วป่า (จารึกหลักที่ ๒๖) ไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
ในปีพ.ศ. ๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้รับการติดต่อจากร้านขายของเก่าในประเทศอังกฤษ ว่าต้องการส่งมอบคืนพระพักตร์นางภูเทวีซึ่งทราบว่าเป็นของที่ถูกโจรกรรมมา
สำหรับระบบบริวารของพระวิษณุตามคัมภีร์ไวขณสมาคม รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ข้อมูลไว้ ดังนี้
ที่มาข้อมูล
เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระวิษณุจากตะกั่วป่า. สไลด์ประกอบการบรรยายวิชาการ เรื่อง พระวิษณุบนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓.
บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์, ๒๕๕๒.
ชื่อเรื่อง ประวัติพระแท่นศิลาอาสน์ และ ประวัติเมืองทุ่งยั้ง, เวียงท้าวสามล เวียงเจ้าเงาะ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้แต่ง สงัด รอดมัน เปรียญประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3135 ส148ปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงปีที่พิมพ์ 2479ลักษณะวัสดุ 52 หน้า หัวเรื่อง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ -- ประวัติศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยประวัติพระแท่นศิลาอาสน์ และ ประวัติเมืองทุ่งยั้ง, เวียงท้าวสามล เวียงเจ้าเงาะ ในจังหวัดอุตรดิตถ์
สรีดภงส์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างไปประมาณ ๒.๓ กิโลเมตร บริเวณส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาประทักษ์อันเป็นแหล่งที่อุดมด้วยพืชพรรณไม้ต่าง ๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร และเป็นพื้นที่เปรียบเสมือนหลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย
.
จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีตจึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างหุบเขากิ่วอ้ายมาถึงเขาพระบาทใหญ่อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่าง ๆ ตามบริเวณเขาถึง ๑๗ โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่าคือ สรีดภงส์ ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกที่ ๑ น้ำจาก สรีดภงส์จะถูกระบายไปตามคลองเสาหอ เพื่อเข้าไปใช้อุปโภคบริโภคภายในเมือง โดยระบายเข้าสู่เมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้
.
สรีดภงส์ในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยกรมชลประทานร่วมกับกรมศิลปากร ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง ๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร