ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,571 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.119/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.3 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 67 (214-219) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม ๒
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๕
จำนวนหน้า ๓๓๙ หน้า
หมายเหตุ -
นนทุกปกรณัมนี้มีมาในภาษาไทยช้านานแล้ว เป็นหนังสือที่มีผู้นำเนื้อเรื่องมาจากอินเดีย และที่มาก็คือปัญจตันกระแทบทั้งนั้น ส่วนปัญจตันตระนั้นก็มาจากชาดกโดยมากชาดกเป็นหนังสือรุ่นเก่ากว่า และที่เกิดปัญจตันตระขึ้นก็เพราะผู้เรียบเรียงเห็นประโยชน์ในการสั่งสอนคนโดยวิธีเล่านิทานตามแบบชาดกนั่นเอง
เลขทะเบียน : นพ.บ.129/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.8 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 75 (275-287) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : ธฺมมปทวณฺณนา ธฺมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺกนิกายฎฺฐกถา (ธมฺมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๗
เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.18/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2ชื่อผู้แต่ง : ดิเรก ชัยนาม ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : แพร่พิทยา จำนวนหน้า : 644 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยถูกเหตุการณ์ต่างๆ บังคับให้เข้าไปพัวพันด้วย โดยผู้เขียนได้อยู่ในยุคสมัยนั้น และมีความเกี่ยวข้องในนโยบายต่างประเทศช่วงสงครามโลกด้วย โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคแรกเป็นเรื่องตั้งแต่เริ่มสงครามด้านยุโรปจนถึงสงครามด้านเอเซีย ภาคสองเป็นเรื่องระหว่างสงครามด้านเอเซียจนเสร็จสงคราม และภาคสามเป็นเรื่องภายหลังสงคราม
พระพุทธรูปสำคัญองค์แรกประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระพุทธสุวรรณเขต” (จำลอง) เป็นพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่ ที่ฐานด้านหน้ามีจารึกข้อความ “พระพุทธสุวรรณเขต” ซึ่งทางจังหวัดเพชรบุรี ได้มอบให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ เป็นปีเดียวกับที่มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี โดยพระพุทธสุวรรณเขต (จำลอง) แต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาด้านข้างพระปรางค์แดง ปัจจุบันย้ายมาประดิษฐาน ณ หอพิมานเพชรมเหศวร์ ด้านหลังพระพุทธรูปศิลปะล้านนา (จำลอง) ณ หอพิมานเพชรมเหศวร์ (อาคารหลังกลาง) ซึ่งเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงใช้บรรทมในวันธรรมสวนะ ซึ่งทรงถืออุโบสถศีลเช่นเดียวกับหอเสถียรธรรมปริตในพระบรมมหาราชวัง สำหรับพระสุวรรณเขตองค์จริงนั้นปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ด้านหลังพระพุทธชินสีห์ ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประวัติพระสุวรรณเขต แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีชื่อว่า “พระศรีสรรเพชญสัตตพันพาน” เป็นพระประธานประดิษฐาน ณ วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว ตำนานปรัมปราเล่าสืบต่อกันว่า ในอดีตการแปรสภาพพระพุทธรูปโลหะให้กลายเป็นพระพุทธรูปทองคำ นั้นสามารถทำได้โดยการฝังแร่กายสิทธิ์ที่ชื่อ สุวรรณเขต หรือ สุวรรณขีด ลงไปในเม็ดพระศก (ผม) ขององค์พระพุทธรูป จะทำให้โลหะนั้นกลายเป็นทองคำทันที และเชื่อกันว่าน่าจะมีแร่สุวรรณเขตอยู่ในเม็ดพระศกของพระศรีสรรเพชรสัตตพันพาน และพระพุทธรูปองค์นี้ได้อยู่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรีมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศักราช ๒๓๖๗(ตรงกับรัชกาลที่ ๓) กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ได้ทรงอัญเชิญ โดยชะลอจากวัดสระตะพาน เมืองเพชรบุรี มาเป็นพระประธานในอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (การเคลื่อนย้ายครั้งนั้นได้รื้อออกเป็นท่อนๆแล้วนำมาประกอบที่กรุงเทพฯ) และมีชื่อเรียกต่อมากันว่า “พระสุวรรณเขต” หรือ “หลวงพ่อโตวัดบวร” หรือที่เป็นรู้จักกันว่า “หลวงพ่อเพชร” อันเนื่องจากเคยเป็นพระพุทธรูปที่มาจากเมืองเพชรบุรี เมื่อพระพุทธรูปองค์นี้มาเป็นพระประธาน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีความนิยมทำเม็ดพระศกพระพุทธรูปขนาดเล็ก ดังนั้นพระยาชำนิหัตถการช่างวังหน้าของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ จึงได้ทำพระศกพระสุวรรณเขตเสียใหม่ กล่าวคือจากเดิมที่มีพระศกขนาดใหญ่ (เช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์) กลายเป็นมีพระศกขนาดเล็กแทนตามความนิยมในช่วงเวลานั้น วิธีการทำพระศกคือการทำด้วยดินเผาและลงรักปิดทอง อย่างไรก็ตามยังคงเห็นเค้าลางของรูปแบบศิลปกรรมเดิมที่สะท้อนให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีความเก่าแก่ อาทิ ขอบไรพระศก และ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม เป็นต้น พระพุทธรูปสำคัญองค์ที่สองประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระไพรีพินาศ” (จำลอง) ประดิษฐาน ณ พระปรางค์แดง พระนครคีรี เมืองเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม หน้าตักกว้าง ๓๓ ซม. และมีความสูงถึงปลายรัศมี ๕๓ ซม. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า “พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ นั่งประทานอภัย กล่าวคือ มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น” เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช มีเรื่องเล่าปรากฏในเอกสารต่าง ๆ ว่ามีผู้ไม่หวังดีกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา โดยเจตนาจะไม่ให้ได้รับราชสมบัติ ที่เห็นชัดก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใกล้จะเสด็จสวรรคตมีผู้ไปทูลอ้างรับสั่งให้ไปเฝ้า เมื่อเสด็จไปก็ถูกกักบริเวณให้อยู่ใน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๗ วัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนวางแผน ก็คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งแสดงตนเป็นหัวเรือใหญ่ กีดกันไม่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้ราชสมบัติ ท่านผู้นี้เคยแกล้ง พระธรรมยุติที่เข้าไปรับบาตรในวัง โดยแกล้งเอาข้าวต้มร้อน ๆ ใส่บาตร บาตรเหล็กถูกของร้อนก็ร้อน ไปด้วยพระทนความร้อนไม่ได้ก็ต้องโยนบาตรทิ้ง และกรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง จนถึงคิดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเองถ้ารัชกาลที่ ๓ สวรรคต ทั้งยังเคยเจรจามั่นหมายไว้ว่า ถ้ามีวาสนาใหญ่โตจะมีสิทธิ์ขาดในแผ่นดินแล้ว ก็จะทำลายล้างสิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทำไว้จนหมดสิ้น เผอิญมีผู้ทำฎีกากล่าวโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยข้อหาร้ายแรงหลายเรื่อง โปรดให้ชำระมีความผิดฉกรรจ์ จึงโปรดให้ลงพระราชอาญาแล้วให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๓๙๑ กล่าวกันว่าในเวลาใกล้เคียงกับที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกสำเร็จโทษนั้นมีคนอัญเชิญพระพุทธรูปศิลาแบบมหายาน ปางนั่งประทานอภัย มาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตหมายว่าหมดศัตรูแล้ว ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี คือ พุทธศักราช ๒๓๙๖ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เนื่องจากทรงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรูเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับถือกันว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อาจบันดาลให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด ซึ่งพระนามของพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ว่า “พระไพรีพินาศ” มีหลักฐานเป็นกระดาษซึ่งพบในพระไพรีพินาศเจดีย์ มีอักษรเขียนว่า “พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ” และอีกด้านเขียนว่า “เพราะตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ” หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซม พระเจดีย์ ๙๖ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธรูปสำคัญองค์สุดท้ายประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระนิรันตราย” (จำลอง) ประดิษฐาน ณ วิหารวัดพระแก้วน้อย พระนครคีรี เมืองเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิ หล่อด้วยทองคำ เบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ มีอักษรขอมจำหลักลงในวงกลีบบัวเบื้องหน้า ๙ เบื้องหลัง ๙ ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่างรองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตรซึ่งเป็นโคตมะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริแบบสร้างขึ้น จากเหตุการณ์เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนัก ๘ ตำลึง ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรีห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้ จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานที่หอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยซึ่งตั้งอยู่กับพระทองคำองค์นี้ไป แต่พระทองคำองค์นี้ผู้ร้ายควรที่จะลักไปด้วย ก็เผอิญแคล้วคลาด เรื่องทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” แล้วทรงพระราชดำริแบบให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามพุทธลักษณะ ครอบพระพุทธรูปองค์เดิมมาจนถึงทุกวันนี้---------------------------------------------------สามารถอ่านต่อเพิ่มเติมได้จาก พนมกร นวเสลา. พระพุทธรูปจำลองบนพระนครคีรี . ใน www.phranakhonkhiri.com หัวข้อ คลังความรู้---------------------------------------------------ข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี---------------------------------------------------อ้างอิง : กรมศิลปากร. พระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2545. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และ ขจร สุขพานิช. พระเกียรติประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547. ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ.กรมศิลปากร,2496. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสิทร์ รัชกาลที่ ๔. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2558.
โบราณสถานวัดธาตุประสิทธิ์
วัดธาตุประสิทธิ์ อยู่ที่ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ภายในวัดมีพระธาตุสำคัญ คือ พระธาตประสิทธิ์ ตามประวัติกล่าวว่า เป็นเจดีย์เก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ก่อนการปฏิสังขรณ์เคยชำรุดทรุดโทรมมีเถาวัลย์ปกคลุม ภายในพระธาตุมีอุโมงค์ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ ผู้ค้นพบได้แก่ชนเผ่าญ้อซึ่งหนีภัยสงครามการรบพุ่งระหว่างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์กับพม่าและอาณาจักรเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ซึ่งพระองค์ได้ทรงบูรณะพระธาตุองค์นี้ด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ ๒๒๘๓ เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร พระนามว่าพระเจ้าขัติยวงศาราชบุตรี มหาฤาไชยไตรทศฤาดิเดช เชษฐบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้บูรณะเสริมยอดสูงประมาณ ๓๐ เมตร พ.ศ ๒๔๓๖ พระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมมาก จนยอดเจดีย์หักลงมาต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๔ พระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเลียนแบบพระธาตุพนมบางส่วน สวดสายต่าง ๆ จะเป็นลวดลายใหม่ ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๗.๒๐ เมตร วัดโดยรอบฐาน ๒๔.๕๐ เมตร สูง ๒๔.๕๒ เมตร มีประตูเปิด-ปิด สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และได้ตั้งชื่อพระธาตุองค์นี้ใหม่ว่า “พระธาตุประสิทธิ์” ตามนามของพระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสผู้ก่อสร้าง
นอกจากนี้ ภายในวัดมีศาลาการเปรียญหลังเก่าซึ่งอยู่ด้านข้างองค์พระธาตุประสิทธิ์มีรูปทรงสวยงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ด้านในศาลาปรากฏภาพเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติตรัสรู้และปรินิพพานโดยแบ่งเป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ ตอนประสูติ ตอนลองศร ตอนอภิเษก ตอนออกชมสวน ตอนเสด็จออกบรรพชา ตอนตัดพระโมฬี ตอนบำเพ็ญทุกรกิริยา ตอนถวายข้าวมธุปายาต ตอนมารผจญ-ตรัสรู้ ตอนโปรดปัญจวัคคีย์ ตอนเสด็จเยี่ยมพระนางพิมพา และตอนเสด็จปรินิพพาน
ภาพพุทธประวัติทั้ง ๑๒ ภาพ โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง น้ำตาล ดำ ซึ่งเป็นสีฝุ่น ที่ภาพแรกปรากฏชื่อว่าเป็นฝีมือของหม่อมหลวงมรกต บรรจงราชฯ มีนายสิงห์ วะชุม เป็นผู้ช่วย ภาพเขียนคงจะวาดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ส่วนเสาของศาลาการเปรียญเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ แต่ละด้านของเสามีภาพสาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ทุกเสา องค์สาวกห่มจีวรสีเหลืองสดใส มีพื้นหลังเป็นสีฟ้าครามทุกภาพ ด้านบนถึงด้านล่างองค์สาวกประดิษฐ์ลวดลายไทยด้วยสีน้ำตาล เหลือง พื้นสีฟ้าคราม แต่ละภาพไม่ปรากฏนามผู้วาด แต่จากลักษณะภาพเปรียบเทียบกับภาพที่ผนัง ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติแล้วคนวาดน่าจะเป็นคนละคนกันและต่างสมัยกันด้วย เพราะลักษณะของลายเส้นและการใช้สีต่างกัน
ศาลาการเปรียญแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ (พระกฐินต้น) ณ วัดธาตุประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕ อีกด้วย
ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์
อ้างอิง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
ฉวีงาม มาเจริญ. พระบรมธาตุไชยา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525. พระบรมธาตุไชยา จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสประกอบพิธียกฉัตรพระบรมธาตุไชยา เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา และพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับพระบรมธาตุไชยา การดำเนินการซ่อม และพิธีที่เกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุ
โบราณสถานวัดกรุสี่ห้องตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชรหรือเขตอรัญญิก โบราณสถานที่พบในส่วนใหญ่วางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และสร้างจากศิลาแลงที่เป็นทรัพยากรสำคัญที่พบได้ในพื้นที่ โดยกลุ่มโบราณสถานแบ่งได้ ๒ ส่วน คือ ๑. เขตพุทธาวาส พบโบราณสถานหลัก ได้แก่ วิหารโถงขนาด ๗ ห้อง อยู่บริเวณกึ่งกลางของวัด ตั้งอยู่บนฐานสูง มีลักษณะพิเศษคือการพบร่องรอยการใช้แผ่นหินชนวนปูบนพื้นของวิหาร ด้านทิศตะวันออกของวิหารพบกลุ่มเจดีย์จำนวน ๗ องค์ เรียงตัวกันในแนวทิศตะวันออก–ตะวันตก ซึ่งกลุ่มเจดีย์ดังกล่าวมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและขนาดของฐานเจดีย์มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์ เจดีย์บางองค์สามารถสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าเป็นเจดีย์ที่มีชุดรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยมที่จัดว่าเป็นรูปแบบสกุลช่างกำแพงเพชรที่ปรากฏในเมืองกำแพงเพชร เช่น เจดีย์ประธานวัดพระนอน เจดีย์ประธานวัดพระธาตุ เจดีย์ประธานวัดป่าแฝก โดยโบราณสถานหลักทั้งสองมีกำแพงแก้วล้อมรอบแสดงเขตพุทธาวาสอย่างชัดเจน แต่แนวกำแพงแก้วที่พบได้แบ่งโบราณสถานทั้งสองออกจากกัน ไม่ได้ล้อมรอบวิหารและกลุ่มเจดีย์ให้เป็นพื้นที่หนึ่งเดียวกัน ซึ่งลักษณะการวางแผนผังที่วัดกรุสี่ห้องมีความแตกต่างจากโบราณสถานทั่วไปในเมืองกำแพงเพชร ๒. เขตสังฆาวาส ส่วนสิ่งก่อสร้างในเขตสังฆาวาสตั้งกระจายตัวอยู่ทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกหรือบริเวณโดยรอบของโบราณสถานหลักทั้งสอง ประกอบด้วย กุฏิและศาลารวม ๑๐ หลัง วัจจกุฎีหรือห้องส้วม (นับรวมที่พบภายในกุฏิ) จำนวน ๑๐ แห่ง บ่อน้ำ ๔ แห่ง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดยังร่องรอยการตัดศิลาแลง เพื่อนำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างวัด ในบริเวณเดียวกันนี้ยังพบบ่อน้ำขนาดใหญ่รูปแบบเดียวกับบ่อน้ำหน้าวัดอาวาสใหญ่แต่มีขนาดเล็กกว่า ในท้องถิ่นเรียกบ่อน้ำดังกล่าวว่า “บ่อสามหมื่น” เป็นการขุดตัดลงไปในชั้นศิลาแลงที่มีความลึกถึง ๕.๕ เมตร มีความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๑ เมตร และด้านทิศตะวันออกสุดของวัดปรากฏเจดีย์รายจำนวน ๒ องค์ พร้อมกำแพงแก้ว จากการขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ พบโบราณวัตถุสำคัญหลายประการ เช่น เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมจากเครื่องสังคโลก เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑–๒๑๘๗) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบพระพุทธรูปสำริด ที่มีพุทธลักษณะตามแบบศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑) แสดงอิริยาบถลีลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย โดยเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปในอิริยาบถลีลาน่าจะมีที่มาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังที่พบหลักฐานเป็นงานปูนปั้นที่วัดตระพังทองหลาง เมืองสุโขทัย และปรากฏบนศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ เมืองสุโขทัย (พ.ศ.๑๙๖๐) ที่มีข้อความเกี่ยวกับการสร้าง “พระเจ้าหย่อนตีน” น่าจะสอดคล้องกับภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ปรากฏบนอีกด้านของจารึก--------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร--------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. ม.ป.ม.: รุ่งศิลป์การพิมพ์,2557. บริษัทปรียะธุรกิจ จำกัด. รายงานงานบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง. โครงการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์แหล่งโบราณคดีจังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนงานเงินกู้เพื่อการท่องเที่ยวและส่งเสริมการสร้างงานภายใต้โครงการ SIP พ.ศ.๒๕๔๓, ม.ป.ป. (อัดสำเนา) ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการขุดแต่งวัดกรุสี่ห้อง ในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. โครงการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์แหล่งโบราณคดีจังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนงานเงินกู้เพื่อการท่องเที่ยวและส่งเสริมการสร้างงานภายใต้โครงการ SIP พ.ศ.๒๕๔๒, มกราคม ๒๕๔๓. (อัดสำเนา)
ตุ้มหูทองคำ
พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
ตุ้มหูทองคำ นายเนรมิต อ่ำพุทรา เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พบบริเวณริมสระน้ำภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ตุ้มหูทองคำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๘ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นห่วงกลม ส่วนบนเรียวเล็ก ส่วนล่างใหญ่และหนา สามารถถอดแยกออกจากกันได้เป็นสองส่วนเพื่อให้สะดวกต่อการสวมใส่ โดยประกอบยึดติดกันด้วยเดือยทรงกระบอกกลมบริเวณส่วนบน และสลักทรงสี่เหลี่ยมที่อยู่บริเวณส่วนล่าง
ตุ้มหูรูปทรงเดียวกันนี้ แต่ทำจากตะกั่วหรือดีบุก พบเป็นจำนวนมากบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มักหล่อขึ้นรูปจากแม่พิมพ์เป็นชิ้นเดียวไม่สามารถถอดแยกออกจากกันได้ มีการตกแต่งที่หลากหลาย ทั้งแบบเรียบ ฉลุลายโปร่ง ประดับด้วยปุ่มแหลม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบตุ้มหูรูปแบบนี้ตามแหล่งโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น ทั้งนี้มีการค้นพบแม่พิมพ์ตุ้มหูรูปทรงนี้ที่เมืองโบราณอู่ทอง และเมืองโบราณจันเสนด้วย
หลักฐานการสวมใส่ตุ้มหูรูปแบบนี้ปรากฏในงานศิลปกรรมประเภทดินเผาและปูนปั้น ทั้งที่เป็นประติมากรรมบุคคลและภาพเล่าเรื่อง เช่น ประติมากรรมดินเผารูปสตรีประดับศาสนสถานและแผ่นดินเผาภาพบุคคลฟ้อนรำ จากเมืองโบราณอู่ทอง ภาพปูนปั้นรูปสตรีและนักดนตรีจากเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นต้น จากหลักฐานดังกล่าว สันนิษฐานว่า ผู้ที่สวมใส่ตุ้มหูรูปแบบนี้น่าจะเป็นบุคคลชั้นสูง เมื่อสวมใส่ทำให้ใบหูยาวลงจรดบ่าหรือไหปลาร้า เนื่องจากน้ำหนักของตุ้มหู
ตุ้มหูทองคำชิ้นนี้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว เป็นโบราณวัตถุชิ้นพิเศษที่มีความโดดเด่นเนื่องจากผลิตด้วยทองคำซึ่งถือเป็นโลหะมีค่า แสดงถึง เทคนิคการผลิตที่ประณีตกว่าตุ้มหูรูปแบบเดียวกันชิ้นอื่น ๆ อันบ่งบอกถึงฝีมือและภูมิปัญญาของช่างทองสมัยทวารวดี นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเมืองโบราณอู่ทองในช่วงเวลาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
ศรีศักร วัลลิโภดม. “จันเสนเมืองแรกเริ่มในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก”. ใน สังคมและวัฒนธรรมจันเสนเมืองแรกเริ่มในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๙.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ, ๒๕๖๒.
แหล่งโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่พบแผ่นหินรูปคล้ายใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า “ใบเสมา” ได้แก่ ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดิน เป็นส่วนหนึ่งของเขต ทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งอยู่ห่างจากลำน้ำมูลเพียง ๕ กิโลเมตร เท่านั้น ภายในชุมชนโบราณ พบกลุ่มใบเสมา ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑. โนนสิมมาใหญ่ ๒. โนนสิมมาน้อย ซึ่งรูปแบบใบเสมาที่พบ สามารถกำหนดอายุสมัยอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ. 394/6หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี