ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,264 รายการ


 ชื่อผู้แต่ง        พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวชื่อเรื่อง          โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งที่พิมพ์       -สถานที่พิมพ์    พระนครสำนักพิมพ์      ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวกรปีที่พิมพ์          ๒๕๑๑จำนวนหน้า      ๗๒ หน้าหมายเหตุ       จัดพิมพ์ในงานฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี ในพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย                     โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต้นฉบับบเป็นสมุดไทยเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙


1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้ทาปาก, ยารุเลือด เน่า, เสลดเน่า, ยานัดแก้ลม, ยาแก้กระไสเลือดกระไสลม, ยาแก้สารพัดโรค, ยาแก้ไข้จับ, ยากวาดละออง, ยาบำรุงไฟ, ยามหานิน ฯลฯ


ชื่อผู้แต่ง         -         ชื่อเรื่อง          พระคัมภีร์ทีปวงศ์พิมพ์ครั้งที่      -สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๖         จำนวนหน้า     ๑o๘   หน้าหมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ                                  พระครูธรรโมภาษผดุงกิจ                        เนื่องด้วยพระคัมภีร์ทีปวงศ์นี้ เป็นตำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป  ต้นฉบับเดิมแต่งเป็นคาถาภาษาบาลี  อักษรสิงหล ๑๕๒๘  คาถา  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีผู้ถ่านทอดจากอักษรสิงหลเป็นอักษรขอม ลักษณะเนื้อเรื่องคล้ายกับหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา แต่มีความพิสดารน้อยกว่า จึงนำจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานงานฌาปนกิจศพ พระครูธรรโมภาษผดุงกิจ


ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 76 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 ประกอบด้วยพระราชนิพนธ์เรื่องทั่วไป 18 เรื่อง โดยกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ได้ตรวจสอบและคัดจากสมุดไทยดำ แถลงการณ์คณะสงฆ์ และหนังสือพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาประกอบด้วย ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเมืองไชยนาท จ.ศ.1222 ประกาศเรื่องเจดีย์ที่ถ้ำประทุน การเปลี่ยนชื่อวัดตะเคียนเป็นวัดมหาพฤฒาราม พระราชหัตถเลขาเรื่องครัวลาว เป็นต้น เรื่องราวเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และกิจการบ้านเมืองตลอดจนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




          อปัสมารปุรุษ ร่างเป็นภูติคนแคระ (ยักษ์ค่อม) ตัวแทนของโง่เขลา ภาษาทมิฬเรียกว่า มูยฬกะ (Mūyaḷaka) หรือ มูยฬกัน (Mūyaḷakan) พระศิวะในปางนาฏราช (Nāṭarāja-ผู้เป็นเจ้าแห่งการเต้นรำ) ทรงเหยียบพระบาทขวาอยู่เหนืออปัสมารปุรุษ เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างโลก การขับเคลื่อนธาตุแห่งชีวิตให้เป็นไปตามวัฏจักร พระบาทอีกข้างหนึ่งซึ่งยกขึ้นมีความหมายถึงการปลดปล่อย ดังนั้นพระบาททั้ง 2 ข้างของพระองค์ จึงแสดงถึงวงวัฏจักรที่ต่อเนื่องของภาวะจิตที่เข้าสู่และออกจากความโง่เขลา มุทราของอปัสมารปุรุษ คือ อัญชลีมุทรา (Añjalinudrā-ท่าแสดงความเคารพ) บางครั้งพบอยู่ร่วมกับพระศิวะในปางจันทรเศขรมูรติ (Candraśekharamūrti) และตริปุรานตกะมูรติ (Tripurāntakamūrti) เมื่อปรากฏอยู่ใต้พระบาทพระศิวะในปางวยาขยานทักษิณามูรติ (Vyākhyānadakṣiṇāmūrti) มือขวาของอปัสมารอยู่ในท่า สรรป (Sarpa) หรือ ท่า“งู” และถืองูเห่าอยู่ในมือ ภาพ 1. พระศิวะปาง ชญาน-ทักษิณามูรติ (Jñāna-dakṣiṇāmūrti) ในฐานะครูแห่งจักรวาลผู้ประทานความรู้สูงสุด แก่เหล่ามุนีและโยคีผู้แสวงหาทางพ้นไปจากความทุกข์ในโลก พระนามหมายถึงผู้หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นทิศของวิชาความรู้ พระบาทขวาเหยียบอยู่บนอปัสมารปุรุษ บุคคลาธิษฐานแห่งอวิชา ภาพจาก Asian Art Museum ภาพ 2. อปัสมารปุรุษ รูปร่างเป็นภูติคนแคระ ภาพจาก Asian Art Museum -------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ -------------------------------------------อ้างอิงจาก 1. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985.


ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2474 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2474             ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา นี้ ในตอนต้นกล่าวถึงตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีทั้งกระบวนเสด็จโดยทางชลมารคและกระบวนเสด็จทางสถลมารค สำหรับกระบวนเสด็จทางสถลมารคนั้นประกอบไปด้วยกระบวนราบ กระบวนช้าง และกระบวนม้า กล่าวถึงกระบวนเสด็จพระพุทธบาท และการรักษาพระนครเวลาเสด็จไม่อยู่ และในตอนปลายกล่าวถึงตำราหน้าที่มหาดเล็ก ตำราหน้าที่ชาวที่ ตำราหน้าที่ตำรวจ ตำราหน้าที่กรมวัง ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา ตำราอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต และพระตำราทรงเครื่องต้น


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ชื่อผู้แต่ง : ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ : 2504 สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : -จำนวนหน้า : 216 หน้าสาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เล่มนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 และพระราชประวัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2382-2394





          ประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์ สภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนใบหน้า มีตาโปน คิ้วหยักเป็นเส้นต่อกัน จมูกใหญ่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น มีร่องรอยของการปั้นแผงคอรอบใบหน้า ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะใช้สำหรับประดับส่วนฐานของศาสนสถาน เนื่องจากพบว่าส่วนฐานของโบราณสถานที่พบประติมากรรมชิ้นนี้ทำเป็นช่อง ซึ่งจากตัวอย่างสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมทวารวดีส่วนฐานที่เจาะเป็นช่องนี้มักประดับด้วยประติมากรรม ทั้งที่เป็นดินเผา หรือปูนปั้น บางครั้งปั้นเป็นเรื่องชาดก รูปคนแคระแบก หรือรูปสัตว์ เป็นต้น             ประติมากรรมรูปสัตว์ที่ช่างสมัยทวารวดีนิยมสร้างเพื่อประดับส่วนฐานของศาสนสถาน มักทำเป็นรูปช้างหรือสิงห์ เพราะเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง หมายถึงผู้พิทักษ์ ปกปักรักษา และค้ำจุนศาสนสถานแห่งนั้น ซึ่งมีต้นแบบและคติการสร้างมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ ทั้งนี้มีการพบหลักฐานประติมากรรมรูปสิงห์ประดับศาสนสถานในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีหลายแห่งในภาคกลางของประเทศไทย เช่น เมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองนครปฐมโบราณ เป็นต้น ที่มีรูปแบบศิลปะแตกต่างกันไป น่าจะเกิดจากการผสมผสานศิลปะอินเดียซึ่งเป็นต้นแบบเข้ากับงานช่างท้องถิ่นแต่ละที่ จึงสามารถกำหนดอายุประติมากรรมสิงห์นี้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ซึ่งเป็นช่วงที่ศิลปะทวารวดีเริ่มมีพัฒนาเป็นรูปแบบการทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่แตกต่างจากศิลปะอินเดียแล้ว           การพบประติมากรรมรูปสิงห์ ซึ่งไม่ใช่สัตว์ประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าเมืองในวัฒนธรรมทวารดี ติดต่อกับอารยธรรมภายนอก ที่สำคัญคืออินเดีย ในช่วงก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔   บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒.  ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ., ศิลปะขอม.  กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.


ชื่อเรื่อง                           อรรถกถาอภิธรรมเจ็ด (วิภังค์-ยมก)สพ.บ.                                  190/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.3 ซ.ม. ยาว 56.6 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี