ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,575 รายการ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           29/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               50 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม” วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ทรงแก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 3. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 4. รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไป จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติของคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, พันเอก พระยาทรงสุรเดช และพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นหัวหน้า วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคล เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้ 1. พระมหากษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร 4. ศาล ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี #องค์ความรู้ #วันรัฐธรรมนูญ #คณะราษฎร์ #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี #กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


          เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมพิเศษ สักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “มงคลพุทธคุณ” โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์  เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปประจำวันอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๘ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จำนวน ๑ องค์ ซึ่งล้วนมีประวัติความเป็นมายาวนาน และกอปรด้วยพุทธศิลป์อันงดงาม มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา  เพื่อความเป็นสิริมคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยได้ขยายเวลาเปิดให้ไหว้สักการะจนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.  ทั้งนี้ พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย            ๑. พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย - ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑             ๒. พระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔            ๓. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒            ๔. พระพุทธรูปไสยาสน์ พระพุทธรูปประจำวันอังคาร ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐            ๕. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระพุทธรูปประจำวันพุธ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒            ๖. พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ พระพุทธรูปประจำวันพุธ กลางคืน (พระพุทธรูปบูชาแทนพระราหู) ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔           ๗. พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ปางสมาธิ) พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕           ๘. พระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑           ๙. พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔           ๑๐. พระหายโศกปางสมาธิเพชร (พระพุทธรูปบูชาแทนพระเกตุ) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑             ผู้สนใจสามารถเดินทางไปไหว้สักการะพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และพระพุทธรูปมงคลโบราณปางประจำวัน ๙ องค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๖ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.            ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 137/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/1กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.35 จันทรคาธประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              27; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                   วรรณคดี           ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           11/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ดำรง หรือ รงค์ วงศ์อุปราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดเชียงราย เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2505 ได้รับทุนการศึกษาจากบริติช เคานซิล ให้ไปศึกษาต่อที่ Slade School of Fine Arts กรุงลอนดอน ต่อมาในปี 2511 ได้รับทุนจอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์ ที่ 3 เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา และในปี 2512 ไปศึกษาเพิ่มเติมทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ก หลังจากสำเร็จการศึกษา ดำรงได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และร่วมก่อตั้งหมวดวิชาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2519 ได้รับทุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่นและเป็นศิลปินในพำนัก ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2539 เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดำรงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะ จากการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ครั้งที่ 7 – 15 (พ.ศ. 2499 – 2507) ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 1 ครั้ง รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 4 ครั้ง และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง 3 ครั้ง ผลงานที่สร้างชื่อให้แก่ดำรงคือ ภาพ “หมู่บ้านชาวประมง” เขียนด้วยสีฝุ่นบนผ้า ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ดำรงเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ผลงานในระยะแรกนำเสนอภาพวิถีชีวิตและทิวทัศน์ชนบทของไทยที่ถ่ายทอดด้วยแนวทางของศิลปะสมัยใหม่ ดำรงใช้สีฝุ่นและเฉดสีที่สมดุลในการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนี้ ยังใช้เส้นสีดำคมชัดในการตัดขอบองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ บรรยากาศของผลงานดูสงบ สะท้อนถึงความเรียบง่ายของวิถีชีวิตคนไทยในชนบท ผลงานในระยะแรกนับเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับดำรงเป็นอย่างมาก ผลงานชิ้นสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาพเขียนสีฝุ่นและสีน้ำมันที่ถ่ายทอดทิวทัศน์บ้านเรือนของชาวไร่ชาวนา และภาพวิถีชีวิตของชาวประมงหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลอง ผลงาน “หมู่บ้านชาวประมง” ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลงานที่ควบคุมสีภายในภาพด้วยสีเหลืองและสีน้ำตาลเฉดต่างๆ อย่างสมดุล แต่งแต้มด้วยสีแดงและสีขาวบางส่วนเพื่อทำให้เกิดจุดนำสายตาและลดทอนความราบเรียบของผลงาน นอกจากภาพเขียนสีฝุ่นและสีน้ำมันแล้ว ดำรงยังสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบเดียวกันด้วยเทคนิคต่างๆ บนวัสดุอันหลากหลาย ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้บันทึกเกี่ยวกับดำรงและผลงานในระยะแรกไว้ว่า “...นายดำรง วงศ์อุปราช เป็นช่างเขียนหนุ่ม ซึ่งจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากความเป็นไทย... ดำรงเขียนภาพให้มีส่วนละเอียดได้อย่างถูกต้องเหมือนอย่างศิลปินโบราณทีเดียว... เรารู้สึกสบายใจและมีความใฝ่ฝันที่จะไปอยู่ในดินแดนเช่นนั้นกับบุคคลเหล่านั้น ขอย้ำว่าเราได้กล่าวถึงภาพเขียนเหล่านี้เมื่อปีที่แล้วว่า ช่างเขียนมิได้เขียนภาพคนแต่ถ้าว่าเรามีความรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งในอันที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวชนบทที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง เมื่อได้เห็นภาพของชนบทเช่นนั้น...” ดำรงเป็นศิลปินที่มีประสบการณ์จากการเดินทางไปศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านศิลปะในหลายประเทศ รูปแบบของผลงานจึงแปรเปลี่ยนไปตามประสบการณ์และความสนใจของศิลปินในแต่ละช่วงเวลา ราวปี 2504 ดำรงเริ่มเขียนภาพแนวคิวบิสม์มากขึ้น จนกระทั่งคลี่คลายจากรูปแบบเหมือนจริงที่นิยมเขียนในระยะแรกไปสู่แนวนามธรรมและเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ในช่วงปลายทศวรรษเป็นต้นไป ผลงานในระยะนี้มีรูปทรงอิสระ แสดงออกด้วยฝีแปรงที่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรง สีสันสดใส แตกต่างจากผลงานในระยะแรกอย่างชัดเจน ผลงานบางชิ้นยังแสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตและเรื่องราวในชนบทของไทย ผ่านวัตถุซึ่งถูกลดทอนรายละเอียดให้เหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิต ในระหว่างที่เป็นศิลปินในพำนัก ณ เมืองเกียวโต ดำรงเริ่มกลับมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยรูปแบบเหมือนจริงกึ่งนามธรรมอีกครั้ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเสาโทริหรือซุ้มประตูสีแดงขนาดใหญ่ของวัดในศาสนาชินโต เมื่อกลับมาพำนักที่ประเทศไทย ดำรงได้สร้างสรรค์ผลงานชุดใหม่ด้วยแรงบันดาลใจจากวิถีความเป็นอยู่ในชนบทและทิวทัศน์บ้านเรือนของชาวนาไทยอีกครั้ง รูปแบบการเขียนภาพมีความคล้ายคลึงกับผลงานในระยะแรก แต่แสดงให้เห็นถึงภูมิทัศน์ชนบทที่สงบ เรียบง่าย ในมุมมองที่กว้างไกลและลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม โดยปราศจากรูปคน ดำรงเป็นทั้งศิลปิน ครูสอนศิลปะ นักวิชาการ ควบคู่ไปกับการเป็นภัณฑารักษ์และบริหารจัดการหอศิลป์ ในปี 2542 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในฐานะศิลปินที่สร้างคุณูปการต่อวงการศิลปะไทยตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี แม้ว่าจะเริ่มต้นชีวิตการเป็นศิลปินตั้งแต่วัยหนุ่ม ผ่านพ้นวันวานแห่งความรุ่งโรจน์ แต่ยังคงทำงานศิลปะจวบจนปีสุดท้ายของชีวิต ดำรง วงศ์อุปราช ถึงแก่กรรมในปี 2545 สิริอายุ 66 ปี #ดำรงวงศ์อุปราช #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. หนังสือ “ดำรง วงศ์อุปราช: ทัศนศิลป์แห่งชีวิต” โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่มาภาพ 1. www.monwic.com


          วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ และร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวรายงาน ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนเข้าร่วมงาน           รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐา   ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ปลุกจิตสำนึกให้หวงแหนรักษาและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ในวันที่ ๒ เมษายน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติทั่วประเทศ รวมถึงจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประกอบด้วย            - การเสวนาทางวิชาการงานมรดกศิลปวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่วัฒนธรรมเสมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เอกสารจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : มรดกความทรงจำแห่งโลก, การค้าทางทะเลและเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยในช่วงต้นประวัติศาสตร์, ประจวบคีรีขันธ์ : ร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และภาพเขียนสีในพื้นที่เขาสามร้อยยอด และข้อมูลใหม่ทางโบราณคดีที่บ้านหลวงรับราชทูต เมืองลพบุรี           - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง บริเวณสนามหญ้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงละคร เรื่องพระลอ ตอน เสี่ยงน้ำ – ตามไก่ – เข้าสวน – เข้าห้อง ระบำไดโนเสาร์ การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ละครนิทานพื้นบ้าน เรื่อง เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ละคร เรื่อง ไกรทอง       นอกจากนี้ ยังได้จัดการแสดงคอนเสิร์ต ๒ ทศวรรษ เพชรในเพลง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ            ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๖ หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร 


เลขทะเบียน : นพ.บ.503/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167  (205-215) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




กระทรวงวัฒนธรรม เผยแพร่หนังสือประวัติศาสตร์ฉบับการ์ตูน "สุโขทัย เมืองมรดกโลก" บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านลายเส้นการ์ตูน สีสันสดใส เพื่อจูงใจให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ตระหนักรู้และเห็นความสำคัญประวัติศาสตร์ชาติไทยที่สืบทอดมั่นคงมาอย่างยาวนาน สร้างจิตสำนึกรักชาติ ความภาคภูมิใจในความเป็นเอกราชของชาติไทย จัดทำในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สามารถอ่านได้ที่ https://www2.m-culture.go.th/adminli/ebook/B0201/#p=12


องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง "นามสถานในกาลเวลาแห่งนครศรีธรรมราช"ค้นคว้า/เรียบเรียง/กราฟิก : นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ