ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 31,809 รายการ



กิจกรรมอบรมช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง “ การบำรุงรักษาและการดูแลรักษาโบราณสถาน” ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมโรงแรมอุบลอินเตอร์เนชั่นแนล อำเภอเมืองอุบลราธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยรองอธิบดีกรมศิลปากร  นายบวรเวท รุ่งรุจี เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ เรื่อง “ ภารกิจและหน้าที่ของกรมศิลปากร ” จำนวนช่าง อปท.  เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม จำนวน ๖๐ คน





ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรบุคคลทั่วไป ๑. กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้ (ศก.๖) ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร ไว้ที่ใดโดยละเอียด ๓. ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต ๑ ชุด ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ ๔. ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)  สมาคม   หมายถึง ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา เพื่อศึกษาวิจัย เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้             ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร             ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน             ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)             ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร             ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง   อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ   ภาพถ่ายของวัตถุ               ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐             ระยะเวลาออกใบอนุญาต         ๒   วันทำการ             เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.                                                   บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.   ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓   ขั้นตอนและวิธีการ   การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร   ๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้ ๔.  ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม       ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท ๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต


สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา   ร่วมรับผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นายบวรเวท รุ่งรุจี)   ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์   ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖


วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ คณะครูโรงเรียนตากสินศึกษา นำนักเรียนประถมชั้นปีที่ ๑-๖ จำนวน ๑๕๐ คน เข้าชม และศึกษาหาความรู้ โดยมีเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และนำชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี


          ในสมัยอยุธยามีโรคระบาดที่ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่นาน โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคอะไร จนทำให้เกิดการเรียกโรคแบบนี้ว่า ห่าลง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ก่อนสร้างอยุธยาชาวบ้านล่มตายจากโรคที่มีแผลขนาดเท่าไข่ไก่ หรือผลส้มตรงต่อมน้ำเหลืองต่างๆ จากนั้นจะมีไข้สูง ปวดตามแขนและขา เมื่ออาการหนักจะเจ็บปวดทุกข์ทรมาน กระทั่งเสียชีวิต           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) จึงทรงอพยพโยกย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่หนองโสน เพราะว่าเกิด “โรคห่า” แพร่ระบาดอยู่ในเมืองเก่า สมัยอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) เกิดไข้ทรพิษระบาดครั้งนั้นทำให้ประชาชนทั้งในและนอกพระนครติดไข้ทรพิษล้มตายเป็นจำนวนมาก และการระบาดครั้งที่ใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเพทราชา มีผู้เสียชีวิตถึง ๘๐,๐๐๐ คน ภายหลังเมื่อมีการศึกษาจึงพบว่าโรคห่าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ในประวัติศาสตร์นั้น คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ นั้นเอง ภาพ : วัดพระราม สันนิษฐานว่าเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เรียบเรียงโดย นางสาวดาวิษา สุวรรณศรัย นักวิชาการวัฒนธรรม ที่มาของข้อมูล https://www.facebook.com/306497089699136/posts/1095831584099012/


ห้องที่ 4 : ประวัติศาสตร์แรกเริ่มบนคาบสมุทรสทิงพระ จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ ชุมชนเมืองท่าของสงขลา กระจายอย่างกว้างขวางบนพื้นที่จากอำเภอระโนดไปถึงอำเภอสทิงพระ ตลอดไปจนถึงหัวเขาแดงในอำเภอเมืองสงขลา คาบสมุทรสทิงพระ รับอิทธิพลทางศาสนาและความเชื่อจากการติดต่อกับชุมชนภายนอกมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกภาชนะดินเผาไปขายในชุมชนอื่น ๆ


กรมโลหกิจ. เที่ยวพิมายกับโลหกิจ. พระนคร: กรมโลหกิจ, 2504.915.9332 ล971ท  



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก สุลักษณ์  ศิวรักษ์.  ของดีจากธิเบต : รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสที่ทะไลลามะองค์ที่ ๑๘ เสด็จเยือนประเทศไทย  วันที่ ๑๑-๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐. พระนคร : โรงพิมพ์ ศิวพร, ๒๕๑๐.




          พระศรี-ลักษมี เป็นเทพีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะพระชายาของพระวิษณุ และเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งร่ำรวย โดยมีพื้นฐานความเชื่อมาจากคติการบูชาพระแม่ (Mother Goddess) ในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ          ลักษณะของพระศรี-ลักษมี มักปรากฏในรูปของสตรีสวมศิราภรณ์แบบกษัตริย์ พระหัตถ์ทั้งสองถือดอกบัว นอกจากนี้ยังพบรูปพระศรี-ลักษมี ในอีก 8 ปาง หรือที่เรียกว่า อัษฏลักษมี ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคัมภีร์ โดยหนึ่งปางของพระศรี-ลักษมีที่ปรากฏทุกคัมภีร์และมีความสำคัญยิ่ง คือ คชลักษมี           คชลักษมี หรือ อภิเษกลักษมี เป็นตอนที่พระลักษมีปรากฏขึ้นมาตอนกวนเกษียรสมุทร และได้อัญเชิญพระลักษมีชำระล้างร่างกาย ก่อนที่จะถวายพระองค์แก่พระวิษณุ มักปรากฏการแสดงภาพคชลักษมีด้วยภาพพระลักษมีประทับนั่งตรงกลาง ด้านข้างขนาบด้วยช้างสองเชือกกำลังรดน้ำบนพระเศียร           ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย พบภาพสลักคชลักษมีบนทับหลัง จากบรรณาลัยของอโรคยศาล ปราสาทโคกงิ้ว อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายมาจากปราสาทหลังอื่นในบริเวณใกล้เคียง และรูปคชลักษมีที่สำคัญอีกภาพ ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายได้นำมาจัดแสดงบริเวณอาคารศิลาจำหลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนหน้าบันรูปคชลักษมี พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ปราสาทพะโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา แม้รูปพระลักษมีจะแตกหักหาย แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า หน้าบันนี้คงสลักเป็นภาพคชลักษมี เนื่องจากมีการสลักภาพช้างสองเชือกยืนสองขาเพื่อรดน้ำแก่พระลักษมีตรงกลาง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบโดยทั่วไปของคชลักษมี เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวนัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย