ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,264 รายการ

          กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง “แม่ในนวนิยายไทย” เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องวชิรญาณ ๒ – ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ          นวนิยายไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เริ่มมี การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เนื่องด้วยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกและกลุ่มบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ มีการนํารูปแบบการเขียนนวนิยายในต่างประเทศเข้ามาเผยแพร่ ระยะแรกจึงเป็นนวนิยายแปลและดัดแปลงจากนวนิยายต่างประเทศ เนื้อหาแนวอาชญากรรม สืบสวน ผจญภัย เรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความรัก และอิงประวัติศาสตร์ โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ นวนิยายแปลเป็นภาษาไทยเรื่องแรก คือ ความพยาบาท แปลโดย แม่วัน (พระยาสุรินทราชา) จากนั้นนวนิยายจึงแพร่หลายมากขึ้นจนถึงปัจจุบันภาพ : นวนิยายแปลเป็นภาษาไทยเรื่องแรกคือ ความพยาบาทภาพ : นวนิยายเลียนแบบเรื่องความพยาบาท คือ ความไม่พยาบาท          นิทรรศการ เรื่อง “แม่ในนวนิยายไทย” นำเสนอความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของนวนิยายไทยและ ถ่ายทอดบทบาทของความเป็นแม่ในนวนิยายเรื่องต่างๆ เนื้อหานิทรรศการแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ได้แก่ส่วนที่ ๑ “๙๐ พรรษา แม่ของแผ่นดิน” เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ส่วนที่ ๒ “วิวัฒน์ นวนิยายไทย” นำเสนอประวัติความเป็นมาของนวนิยายเล่มแรกของไทย จัดแสดงหนังสือนวนิยายไทยที่จัดพิมพ์ในรัชสมัยต่าง ๆ ส่วนที่ ๓ “บทบาทของความเป็นแม่ในนวนิยายไทย” นำเสนอ นวนิยายเรื่องต่าง ๆ กว่า ๕๐ เรื่อง พร้อมทั้งเนื้อเรื่องย่อ รวมทั้งนวนิยายไทยที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ กว่า ๒๐ เรื่อง ส่วนที่ ๔ “จากนวนิยายสู่บทโทรทัศน์” นำเสนอบทละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของแม่ที่สร้างจาก นวนิยาย เช่น ทองเนื้อเก้า คู่กรรม สี่แผ่นดิน ส่วนที่ ๕ “เกร็ดความรู้จากนวนิยาย” นำข้อมูลที่ปรากฏในนวนิยาย เช่น สถานที่ วัฒนธรรม ประเพณี มาอธิบายเพิ่มเติมเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม เช่น สถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนวนิยายเรื่อง “คู่กรรม” ทุ่งวัวแล่น จากนวนิยาย “แผ่นดินของเรา” ตลาด ๑๐๐ ปีชุมแสง จากนวนิยาย “กรงกรรม”          ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “แม่ในนวนิยายไทย” ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ จันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. เสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์) ณ ห้องวชิรญาณ ๒ – ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ


14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ในปี พ.ศ. 2565 วันเข้าพรรษา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับพระสงฆ์ไว้ว่า ในฤดูฝนให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ 3 เดือน เรียกว่า จำพรรษา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยพุทธกาลตอนต้น พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดให้พระสาวกจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงเดินทางเที่ยวจาริกไปทุกฤดู แม้ในฤดูฝนที่ชาวบ้านทำไร่ทำนากัน จึงเหยียบย่ำข้าวกล้าและสัตว์เล็กๆนานาชนิด เช่น มด ปลวก ชาวบ้านจึงพากันตำหนิติเตียน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสในที่ประชุมสงฆ์ บัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์จำพรรษาตลอด 3 เดือนในฤดูฝน การเข้าพรรษา แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ เข้าพรรษาแรกเรียกว่า “ปุริมพรรษา” เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงกลางเดือน 11 ถ้าเข้าพรรษาแรกไม่ทันก็เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า “ปัจฉิมพรรษา” เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงกลางเดือน 12 แต่เข้าพรรษาหลังจะรับกฐินไม่ทันเพราะหมดเวลาทอดกฐิน ปีใดมีเดือน 8 สองหน (ปี 2564) ปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง เป็นวันเข้าพรรษาแรก ช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น ก่อนวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนจะนำเทียนเข้าพรรษาและหลอดไฟฟ้าไปถวายพระ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้แสงสว่างตลอดเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานิยมไปทำบุญที่วัด ถวายผ้าอาบน้ำฝนและช้าวของเครื่องใช้ตามแต่จะมีจิตศรัทธาถวาย เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำตาล ไม้ขีด ร่ม พุ่มเทียน ในตอนเช้าของวันเข้าพรรษาก็จะมีการทำบุญตักบาตรทั่วไป


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “คุณค่าและการอนุรักษ์อิสริยพัสตราภูษาภัณฑ์” วิทยากรโดย นางพวงพร ศรีสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ทาง Youtube Live : กรมศิลปากร


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ “Bridge of Colors” สะพานแห่งสีสัน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบวันชาติของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครบรอบ ๗๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และเป็นสะพานเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินโดนีเซียเข้าไว้ด้วยกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม             นิทรรศการในครั้งนี้ถ่ายทอดความหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ผ่านภาพวาดที่หลากหลายทั้งทางด้านสุนทรียศาสตร์ การใช้สีสัน แนวความคิดการถ่ายทอดภาพและเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างกันของศิลปินชาวอินโดนีเซีย ๑๑ ท่าน     ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นับตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลา ๗๒ ปีแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน ได้มีการแลกเปลี่ยน การส่งเสริม และการสานสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมนั้น ทั้งสองประเทศต่างมีวัฒนธรรมร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากศิลปะ วรรณกรรม นาฏยศิลป์ แตกต่างเพียงบริบทแวดล้อมทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเท่านั้น การสร้างความรับรู้และเข้าใจในความหลากหลายผ่านผลงานศิลปะ นับเป็นวิธีการสื่อสารทางการทูตรูปแบบหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของชาติ โลกศิลปะที่ไร้พรมแดนสามารถหล่อหลอมให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรับรู้ร่วมกันได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และตกผลึกกลายเป็นความตระหนักรู้ถึงคุณค่า และ “อัตลักษณ์” แห่งวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องที่ สร้างพลังแห่งศรัทธาและสายสัมพันธ์ที่เชื่อมผู้คนเข้าไว้ด้วยกันผ่านงานศิลปะ     ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ “Bridge of Colors” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์และอังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท   


       พระพิมพ์ปางสมาธิ ขนาบข้างด้วยพระโพธิ์สัตว์        ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)        ได้มาจากถ้ำเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        พระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กึ่งกลางแสดงพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิ บนฐานบัว พระพุทธรูปมีอุณีษะนูน พระเกศาเรียบ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ครองจีวรห่มเฉียง ทรงประทับใต้ฉัตร ขนาบทั้งสองข้างด้วยบริวาร (ซึ่งอาจหมายถึงพระโพธิ์สัตว์) ในท่ายืนตริภังค์บนฐานบัว ถือดอกบัวก้านยาวเหนือเกสรดอกบัวมีพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ พระเศียรของบริวารมีศิรประภาล้อมรอบ ท่อนล่างแสดงการนุ่งผ้ายาวเกือบถึงข้อพระบาท ระหว่างพระพุทธรูปกับพระสาวกคั่นด้วยสถูปทั้งสองข้าง ส่วนซี่ฉัตรมีก้านยื่นออกเป็นดอกไม้รองรับพระพุทธรูปปางสมาธิข้างละหนึ่งองค์ และด้านบนฉัตรยังปรากฏพระพุทธรูปปางสมาธิอีกสององค์ ขอบพระพิมพ์ทั้งสองด้านมีสถูปรูปทรงคล้ายหม้อน้ำ ส่วนยอดสถูปยืดสูง        พระพิมพ์ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในบรรดาพระพิมพ์ที่พบในพื้นที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ซึ่งปรากฏแหล่งที่พบพระพิมพ์จำนวนมาก โดยเฉพาะที่ถ้ำเขาสายและถ้ำวัดคีรีวิหาร (วัดหาร) อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และแสดงถึงการนับถือพุทธศาสนามหายานอย่างชัดเจน เนื่องจากพระพิมพ์ที่พบนั้น บางชิ้นเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กรและพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๑๒ กร อีกทั้งยังพบพระพิมพ์รูปแบบเดียวกันนี้ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง* ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแพร่กระจายตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร ดังนั้นการนับถือพุทธศาสนามหายานจึงปรากฏทั้งในพื้นที่ชุมชนฝั่งอ่าวไทยและอันดามันในสมัยศรีวิชัย โดยมีปัจจัยสำคัญคือการค้าข้ามคาบสมุทร        นอกจากนี้ในเอกสารตรวจราชการของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ และจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๒ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖* ยังกล่าวถึงพระพิมพ์ในพื้นที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังไว้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำวัดคีรีวิหารนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพรรนาถึงพระพิมพ์แบบหนึ่งไว้ความว่า “..รูปแผ่นอิฐอย่างหนึ่ง มีรูปพระสองกรอยู่กลาง (ที่พุทธรูป) มีสาวกฤๅเทวดาสองข้าง...” สันนิษฐานว่าอาจหมายถึงพระพิมพ์รูปแบบเดียวกันนี้        *ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา       **เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร     อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           31/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               30 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           45/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง           บันทึก ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ระหว่าง พ.ศ.2491 – 2499 ชื่อผู้แต่ง         กรมศิลปากร กองจดหมายเหตุแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       ศิวพร ปีที่พิมพ์          2500 จำนวนหน้า      3๕๒  หน้า รายละเอียด บันทึก ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ระหว่าง พ.ศ.2491 – 2499  พิมพ์ในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิดครบ 5 รอบ ของ พณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 14 กรกฎาคม 2500  ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการงานของกระทรวง ทบวง กรม และองค์การต่างๆ เมื่อครั้งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยแบ่งหัวข้อเรื่องไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ และได้กล่าวถึงเกี่ยวกับ คณะรัฐบาล ชุดที่ ๑ ถึงชุดที่ ๖ คำแถลงนโยบายของรัฐบาล กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ฯลฯ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ญ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                    1มัดที่1 เวทมนต์คาถาป้องกันอันตรารายภูตผีปีศาจต่างๆแทรกด้วยตำรายาแก้โรคต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ตำราไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              158; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง                     ตำราไสยศาสตร์    ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติ  นายวีระศักดิ์ เข็มเงิน มอบให้หอสมุดสุพรรณฯ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           13/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              24 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.513/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172  (248-253) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองอาราม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม