ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,402 รายการ

เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เริมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๑.๑/๑๐๒ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


         กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดทำบอร์ดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อพสกนิกรชาวไทยจะได้น้อมรำลึกและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการสร้างสรรค์ และธำรงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนสืบไป


            เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทย ที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดมาอย่างยาวนานผ่านขบวนเรือพระราชพิธีอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเรือพระราชพิธี การฝึกซ้อมฝีพาย ระเบียบแบบแผนการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน บุคลากรจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จะดำเนินการซ่อมแซมงานประดับตกแต่งเรือพระราชพิธีที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี การปิดทองประดับกระจก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ การเขียนลายรดน้ำเรือพระราชพิธี จำนวน 4 ลำ ตามแบบลวดลายเดิม ได้แก่ เรืออสุรวายุภักษ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือเอกไชยเหินหาว เพื่อให้เรือพระราชพิธีมีความสมบูรณ์ สวยงามสมพระเกียรติ และพร้อมสำหรับการพระราชพิธีสำคัญ ก่อนจะเชิญเรือพระราชพิธีลงน้ำในเดือนกรกฎาคม 2567 และเข้าร่วมฝึกซ้อมการจัดริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2567 ต่อไป             หลังจากชมเรือพระราชพิธีแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนปากคลองบางกอกน้อย เพียงเดินลัดเลาะหลังรั้วของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ผ่านชุมชน ช่วงเที่ยงๆ จะได้ยินเสียงละหมาดแว่วมาจากมัสยิดหลวงบางกอกน้อย ไม่ไกลจากมัสยิดมีร้านอาหารมุสลิมที่มีเมนูหลากหลายให้ได้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหมกสามสี ข้าวหมกอินเดีย ข้าวซอย โรตีแกงเขียวหวาน ยาสุม ซาโมซา และชาอินเดีย หากชอบอาหารรสจัด ก็มีร้านอาหารใต้ ต้นตำรับนครศรีธรรมราช ที่มีหลากหลายเมนูให้เลือกทานเช่นกัน หรือเดินต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับร้านอาหารในบรรยากาศสงบๆ ของปากคลองบางกอกน้อย แวะนั่งพักจิบชา กาแฟ และลิ้มรสอาหารที่การันตีโดย Michelin Guide              และที่พิเศษกว่าทุกวัน หากมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ในวันศุกร์ ยังสามารถแวะไปอุดหนุนอาหารและขนมฮาลาลขนานแท้ อบสดใหม่หอมกรุ่นจากเตาได้ที่มัสยิดหลวงบางกอกน้อย เพราะที่นี่เป็นสถานที่ทำพิธีละหมาดหมู่ในวันศุกร์ ชาวมุสลิมบางกอกน้อยและที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง จะพร้อมเพียงกันมาที่มัสยิดแห่งนี้ เพื่อขอพรในศาสนาอิสลาม จึงมีการทำอาหารจำหน่ายเป็นพิเศษ             เมื่ออิ่มอร่อยกับอาหารเลิศรสแล้ว ออกเดินต่อไปอีกไม่ไกล ไปชมศาลเรือโบราณในวัดดุสิตาราม ที่นั่นมีโกลนเรือขุดซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงขั้นตอนการสร้างเรือขุดโบราณ ลักษณะเป็นท่อนซุงต้นใหญ่ที่ขุดด้านบนให้เป็นราง แต่ยังไม่ได้ถากหัวและท้ายให้เรียวขึ้น ซึ่งหากโกลนเหล่านี้ได้รับการขุดจนสมบูรณ์ จะต้องถูกเบิกเรือด้วยการดัด ขยายปากเรือให้กว้างออกตามความกว้างของเรือ ปัจจุบันการทำเรือขุดแบบโบราณนั้นหาดูได้ยาก โกลนเรือขุดที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเที่ยวชมเรือพระราชพิธี และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากชมโกลนเรือขุดแล้ว เดินทะลุเขตสังฆาวาสไปที่วัดภุมรินทร์ราชปักษี ชมงานจิตรกรรมฝีมือช่างโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่หาชมได้ยาก เรียกได้ว่าทริปนี้ ครบถ้วนทั้งสาระความรู้และอาหารอร่อย


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอนนอก เรื่องสังข์ทอง ตอน เลือกคู่และหาปลา.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๗.



ชื่อเรื่อง : เชียงใหม่ ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โสมนิมิตต์       เชียงใหม่คือจังหวัดปลายสุดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่รองจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวยงามด้วยผู้คน ภูเขา ดินฟ้าอากาศ และทัศนียภาพอื่น ๆ เชียงใหม่เคยเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์มาแต่โบราณมีปูชนียสถาน โบราณวัตถุและขนบธรรมเนียมเก่าๆ เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่านและผู้ที่ต้องการจะศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม หนังสือเชียงใหม่ได้หาภาพถ่ายสีธรรมชาติของที่สำคัญๆ และของดีมีค่าของไทยภายในหนังสือเชียงใหม่


     ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พบที่เตาบ้านเกาะน้อย นอกเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย     สังคโลกรูปบุคคลนั่งแบกเด็กไว้บนบ่าซ้ายติดอยู่กับชามลายกลีบดอกไม้เคลือบสีเขียวอ่อน บริเวณบนศีรษะรูปบุคคลมีลักษณะเป็นรู อาจใช้สำหรับใส่ของเหลว ซึ่งการที่รูปคนอุ้มเด็กติดอยู่ภายในชาม คงเกิดจากความผิดพลาดระหว่างกรรมวิธีการเผา      สังคโลกชนิดเคลือบสีเขียว เป็นเครื่องสังคโลกที่ได้รับการพัฒนาในระดับสูงสุดในด้านของวัตถุดิบ เทคโนโลยีและความชำนาญในเชิงช่างของชาวศรีสัชนาลัย ที่รู้จักกันดีในนามเครื่องเคลือบแบบเซลาดอน และมีแหล่งผลิตที่สำคัญบริเวณแหล่วเตาบ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย โดยได้รับการพัฒนาในระดับที่สามารถส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศได้



  จัดเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ สวนหย่อมบริเวณด้านหน้าของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๓๐๐ คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับอนุบาลประถมศึกษาและประชาชนทั่วไปภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้        ๑. งานช่างศิลปกรรม"การลงยันต์สีเหรียญพระพิฆเนศ"        ๒. ตอบคำถามภาษาอังกฤษ“English is fun”        ๓. แจกหนังสือ"หนังสือในสวน"        ๔. การจารใบลาน        ๕. แข่งขันเปิดพจนานุกรม        ๖. การแสดงดนตรีและขับร้องเพลงจากสำนักการสังคีต        ๗. รถพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


หจช.ตรัง เชิญชวนประชาชน 5 จังหวัดอันดามัน ส่งภาพบันทึกเหตุการณ์สำคัญ "ตรัง" ในร่มพระบารมี




วัสดุ สำริด แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 สถานที่พบ นายพรหม จตุเทพ ขุดพบที่ ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ต่อมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด รับโอนมาเมื่อ 19 กันยายน 2540 ปากกว้างผายออก ขอบปากตกแต่งด้วยลายใบไม้หรืออาจเป็นลายกลีบบัวขนาดเล็กโดยรอบ ลำตัวสอบเข้า มีขาตั้ง 3 ขา ตกแต่งขาทั้งสามเป็นรูปพญานาคขาละ 1 เศียร รอบเศียรนาคมีลายกระหนก


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์   จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี  อนุสรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2527 ซึ่งตรงกับวาระวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี โดยฯพณฯ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นให้เกียรติมาเป็นประธาน  จากนั้นจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและบริหารจัดการ จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เมื่อพ.ศ.2530 ปัจจุบัน สังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป    ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ห้องชั้นนอก (บริเวณประตูทางเข้า) จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด  เช่น นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นายประยูร อุลุชาฎะ นายชลูด นิ่มเสมอ นายจำรัส เกียรติก้อง นายเขียน ยิ้มศิริ นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายทวี นันทขว้าง เป็นต้น ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมในยุคเริ่มแรกของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชาการที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางรากฐาน              ส่วนที่สอง ห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งประกอบไปด้วย โต๊ะทำงาน เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำลองบรรยากาศโต๊ะทำงานดั้งเดิมเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดจนแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญ เช่น แบบร่างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 แบบร่างพระศรีศากยทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑล และต้นแบบพระเศียรรัชกาลที่ 8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก ให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมภายในห้องจัดแสดง  


วันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ โรงเรียนเทศบาล ๑ "สุรินทร์วิทยาคม" ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๑๗๐ คน คุณครูจำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และร่วมกิจกรรมทำใบความรู้ของทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม และพนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชมให้ความรู้