ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,640 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           45/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานการสัมมนา "วิจัย วิจักขณ์"  นำเสนอผลงานวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๕ วันที่ ๓๐ - ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมใหญ่และห้องดอกไม้สด หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนา โดยสแกนคิวร์อาร์โค้ดในภาพ หรือกดลิ้ง https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfrqrsF0rLazO16UmTXBiWcXBA4wGAKFTgEDiBcGfs8Fg9Jog/viewformโดยมีผลงานวิชาการของกรมศิลปากรที่น่าสนใจหลากหลายเรื่อง ดังนี้


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ง เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


  ชื่อผู้แต่ง          แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา ชื่อเรื่อง           วารสารสุขภาพ ( ปีที่ ๑ เล่มที่ ๘  พฤษภาคม   ๒๕๑๖) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อุดมศึกษา ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๑๓๑  หน้า รายละเอียด                    วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน เป็นวารสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บและเพื่อเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับการแพทย์รวมทั้งตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เนื้อหาประกอบด้วยบทความเรื่องบ้านเมืองสะอาด ประชาชาติสมบูรณ์  โรคหัวใจ – ไขมันหรือคอเลสเตอรอล เป็นต้น โดยได้อธิบายถึงสาเหตุการเกิดโรคพร้อมวิธีป้องกันอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีรายการแสงธรรม ถาม – ตอบและ   รายชื่อสมาชิกวารสารเพิ่มเติม  


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.508/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171  (243-247) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์รักษาสีน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



         ตามประทีปโคมไฟ งานที่จัดขึ้นเนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี นี้นั้น นับว่าเป็นงานที่จะร่วมกันสร้างมหาบุญกุศลร่วมกันของคนในจังหวัดเพชรบุรี และผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน อีกทั้งเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสืบสานประเพณีการทำโคมตราตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้มีขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในวัน วิสาขบูชา และเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำโคมและเครื่องแขวน           นอกจากเป็นวันสำคัญและเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างเนิ่นนานควบคู่วันวิสาขบูชาแล้วนั้น งาน “ตามประทีปโคมไฟ” ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงคติ ความเชื่อ ความศรัทธาเกี่ยวกับพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้เข้าไปมีบทบาทกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และได้ถูกนำมาเป็นนัยสำคัญที่แสดงถึงสภาพการปกครอง และสังคมในยุคสมัยนั้นด้วย           “. . . เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาดประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็ทรงศีลและทรงทำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน . . .” ข้อความในหนังสือเรื่อง “#นางนพมาศ” หรือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปรากฏของงาน “ตามประทีปโคมไฟ” ครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย          ซึ่งจากข้อความดังกล่าวข้างต้น การประกอบพิธีในงาน “ตามประทีปโคมไฟ” มีมาเนิ่นนาน และเป็นงานที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชา          “วิสาขปุรณมีบูชา” หรือก็คือ #วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยถือว่าเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 และเป็นประเพณีของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง “นางนพมาศ”          สมัยสุโขทัย ในหนังสือเรื่อง นางนพมาศ ได้กล่าวไว้ว่า “. . . ครั้นถึงวันวิสาขบูชาพุทธศาสน์ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชบริรักษ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน ทั้งอาณาประชาราษฎรทั่วนิคมคามชนบท ก็ประดับพระนครและพระราชวังข้างหน้าข้างใน จวนตำแหน่งท้าวพระยาพระหลวงและเศรษฐีชีพราหมณ์ บ้านเรือนโรงร้านพ่วงแพชนประชาชายหญิง ล้วนแต่แขวนโคมประทีปชวาลาสว่างไสว ห้อยย้อยพวงบุปผาชาติประพรมเครื่องสุคันธรส . . .” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การจัดพิธีที่ยิ่งใหญ่และครึกครื้นไปทั่วทั้งราชธานี แสดงถึงความมั่งคง มั่งคั่ง ทางด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรมมในพุทธศาสนา          นอกจากนั้นก็เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน ได้ร่วมกระทำอันเป็นบุญกุศลร่วมกัน อย่างที่ปรากฏในหนังสือ นางนพมาศ ว่า          “. . . มหาชนชักชวนกันรักษาพระอุโบสถศีล สดับฟังพระสัทธรรมเทศนาบูชาธรรม บ้างก็ถวายสลากภัตตาหารสังฆทานข้าวบิณฑ์ บ้างก็ยกขึ้นซึ่งธงผ้าบูชาพระสถูปเจดีย์ บ้างก็บริจาคทรัพย์จำแนกแจกทานแก่ยาจกทลิททกคนกำพร้าอนาถาชราพิการ บ้างก็ซื้อถ่ายชีวิตสัตว์จัตุบาททวิบาทชาติต่าง ๆ ปลดปล่อยให้ได้ความสุขสบาย อันว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชตระกูลก็ทรงศีลบำเพ็ญการพระราชกุศลต่าง ๆ ในวันวิสาขบูชาพุทธศาสน์เป็นอันมาก  . . .”          ทว่าประเพณีดังกล่าวนี้มิได้กล่าวถึงอีกในสมัย #อยุธยา จนถึงสมัย #รัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่มีการปรากฏหลักฐานใน “กาพย์แห่เรือ ” ว่ามีการประกอบพิธี “ตามโคมประทีป” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ไม่ได้เถลิงสิริราชสมบัติ แต่ไม่ได้ปรากฏในแบบแผนพิธีวิสาขบูชาในขณะนั้น โดยมีความว่า                                      คำนึงถึงเดือนหก            ทั่วทายกตามโคมเคย                                งามสุดนุชพี่เอย                  ได้เห็นกันวันบูชา                                                                         (ประชุมกาพย์เห่เรือ, 2503 : 22)            ต่อมาช่วงรัชสมัย #พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๓๖๐ มีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล โปรดเกล้าฯ ให้จัดตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา โคมเทียน และเทียนต้นประดับดอกไม้สด ตั้งและแขวนรายรอบศาลา ระเบียงและกำแพงแก้วพระอุโบสถ โดยให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ           ในรัชสมัย #พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเพิ่มการเทศน์ปฐมสมโพธิกถา (พระพุทธประวัติ) ในวันวิสาขบูชานี้ จนมาใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่งาน “ตามประทีปโคมไฟ” ปรากฏหลักฐานที่แสดงความเป็นลักษณะการจัดการที่นำมาใช้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน           โดยในรัชสมัยของ #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการตั้งโต๊ะเครื่องบูชารอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏหลักฐานว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการจุดดอกไม้เพลิงถวายเป็นพุทธบูชา และให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายใน และหน่วยราชการต่าง ๆ เดินเวียนเทียน จัดโคมประทีป และสวดมนต์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ดังในเอกสารเรื่อง “ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 7 : หมายรับสั่ง แลบาญชีโคมตรา ในการพระราชพิธีวิสาขบูชา ในรัชกาลที่4” ให้ความว่า          “. . . แลในวันเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่ง เพลาค่ำ มิพระธรรมเทศนาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง 3 คืนเหมือนอย่างทุกปี . . . อนึ่งให้พันจันทนุมาศ จัดดอกไม้เพลิงไปบั่กนอกพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านตะวันออก . . . นิมนต์พระสงฆ์ที่ทรงธรรมกถึกให้สำแดงธรรมเทศนา . . . ครั้นเพลาค่ำตามโคมประทีปทุกน่าบ้าน ทุกร้าน ทุกเรือน ทุกแพ จงทุกแห่ง . . . แล้วให้หมายบอกข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทำโคมรูปตราสำหรับตำแหน่งที่ผู้กินเข้ามาแขวน ณวันเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่ง เพลาค่ำทั้ง 3 คืน  . . .”          “#โคมตรา” เอกลักษณ์และธรรมเนียมที่สำคัญของงาน “ตามประทีปโคมไฟ” พิจารณาตามความหมายเมื่อแยกออกจากกัน “โคม” หมายถึง เครื่องตามไฟหรือเครื่องให้แสงสว่าง ส่วน “ตรา”  เครื่องหมายที่ทำขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อแสดงสัญลักษณ์แทนบุคคลหรือองค์กร ตราในที่นี้ก็ คือ เหล่าหน่วยงานราชการ องค์กร และพุทธบริษัท รวมไปถึงโคมตราจากสถาบันกษัตริย์ และเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งจากเอกสารที่ปรากฏ ไม่ว่า “จดหมายเหตุ” หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอธิบายว่า ธรรมเนียมนี้ที่ปรากฏในวันวิสาขบูชา เพื่อให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมจัดทำโคมไฟหรือเทียนมาถวายเป็นพุทธบูชาโดยเสด็จพระราชกุศล ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ก็จะสื่อความหมายว่า “บุคคลหรือองค์กรที่จะนำทางไปสู่สิ่งที่ดีสิ่งที่งาม โดยนำหลักแห่งธรรมนำทาง”           ในสมัยรัชกาลที่ 4 การถวายโคมตรา เป็นส่วนหนึ่งในพิธีอันเป็นกุศลในวันวิสาขบูชา ซึ่งนอกจากเป็นธรรมเนียมเพื่อการกุศลแล้ว ภายในงานก็ได้มีการจัดแข่งขันโคมตราขึ้นมาและมีรางวัลพระราชทาน อนึ่งว่าเป็นการกระตุ้นและเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานที่มาเข้าร่วม โดยโคมตราแต่ละลวดลายในสมัยก่อนนั้น ก็มาเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงมหาดไทย ในอดีตโคมตราเป็นรูปราชสีห์ ปัจจุบันก็ยังเป็นราชสีห์ หรือกระทรวงกลาโหม ในอดีตโคมตราเป็นรูปคชสีห์ ปัจจุบันก็ยังคงใช้คชสีห์เช่นเดิม          ในรัชกาลที่ 5 รัชสมัยของ #พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีและธรรมเนียมยังคงเป็นเช่นเดิมเหมือนแต่โบราณ ตามที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง “นางนพมาศ” หรือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” แม้พระองค์จะทรงเชื่อว่า “นางนพมาศ” จะถูกแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก็ทรงเห็นด้วยว่า          “. . . หนังสือเรื่องนี้ ของเดิมเขาน่าจะมีจริง เพราะลักษณะพิธีของพราหมณ์ที่กล่าวไว้ในหนังสือเรื่องนี้ โดยมาเป็นตำราพิธีจริงและเป็นพิธีอย่างเก่า อาจจะใช้เป็นแบบแผนก่อนครั้งกรุงศรีอยุธยา . . .”          ต่อมาในรัชสมัย #พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ช่วงสมัยที่โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนปีจากรัตนโกสินทร์ศก เป็นปีพระพุทธศักราช เนื่องจากทรงถือความสำคัญของพระพุทธศักราช ที่เริ่มนับตั้งแต่วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ทำบัตรอวยพรในวันวิสาขบูชา          ปัจจุบันแม้ “ตามประทีปโคมไฟ” จะยังคงสืบสานประเพณีและพิธีการอันเป็นกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชาเหมือนอย่างเดิม แต่อาจจะไม่ใช่ประเพณีที่มีความดั่งเดิมเหมือนแต่โบราณ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการตามยุคตามสมัย หรือไม่เป็นดั่งเฉกเช่นพิธีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มีพระราชดำริให้มีขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเนื่องในวันวิสาขบูชา ถึงกระนั้นเป้าหมายและการให้ความสำคัญในคุณงามความดีอันเป็นกุศลก็ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง     อ้างอิง       กรมศิลปากร. เรื่อง นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์, พิมพ์ครั้งที่ 23 โรงพิมพ์ ภักดีประดิษฐ์. เอกสารเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม (29 มีนาคม 2508)       ธีระวัฒน์ ชะอุ่ม.  (2554).  การจัดการความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรม : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม.  กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.       กรมศิลปากร. ประชุมกาพย์เห่เรือ. พระนคร : รุ่งเรืองธรรม, 2503. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม) วันที่ 5 มิถุนายน 2503.       หอพระสมุดวชิรญาณ. เรื่อง ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 7 : หมายรับสั่ง แลบาญชีโคมตรา ในการพระราชพิธีวิสาขบูชา ในรัชกาลที่4, โรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร. เอกสารเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ (2463).



“วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม” เพลง “ค่าน้ำนม” คงได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก หลายยุคหลายสมัยยังเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงพระคุณของแม่ ที่มีเนื้อหากินใจว่า “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง แม่เฝ้าหวงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล...” ทำให้เห็นถึงความรักของแม่ที่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก จะไปไหนก็เป็นห่วง รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิรู้วาย วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่ถือเอาวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นวันแม่แห่งชาติ แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็นวันแม่แห่งชาติอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา เพราะเห็นว่าเป็นเดือนที่ฝนยังตกไม่ชุกนัก จะมีคนมาร่วมงานได้สะดวก โรงเรียนอยู่ระหว่างการหยุดเทอม นักเรียนว่างพอจะเข้าร่วมงานวันแม่ได้ การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น ต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ ให้ถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทย เปรียบเสมือนแม่ของชาติ โดยมติเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ โดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที การที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม ที่ใช้ได้ตั้งแต่เป็นดอกไม้สด จนกระทั่งแห้งเสมือนดั่งความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย เป็นสัญญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา





-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ระเบิดหินสร้างทางรถไฟ -- ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทางรถไฟนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ต้องบุกเบิกขนอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคมประเภทอื่นที่เหมาะสมนอกจากทางน้ำ ดังตัวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่บริเวณเมืองพิจิตร ที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ดังนี้. เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (พระยศและตำแหน่งในขณะนั้น – สะกดตามต้นฉบับ) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า ทรงได้รับรายงานจากเจ้ากรมรถไฟว่า การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือซึ่งต้องขนส่งเครื่องเหล็กก่อสร้างไปทางเรือนั้นไม่สะดวก เนื่องจากติดแก่งสะพานหิน 2 แห่ง บริเวณใต้เมืองพิจิตรลงมา เจ้ากรมรถไฟเสนอให้ระเบิดศิลาใต้น้ำเป็นช่องเล็กๆ พอให้เรือสามารถแล่นผ่านไปได้ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งกรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ทรงเห็นว่าการระเบิดศิลานี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะการก่อสร้างทางรถไฟเท่านั้น หากจะเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของประชาชนด้วย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น กรมรถไฟจะออกแต่ค่าแรง ส่วนค่าสิ่งของจะขอให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติโอนเงินเหลือจ่ายในกระทรวงโยธาธิการไปจ่าย เนื่องจากการบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองเป็นหน้าที่ของกระทรวงโยธาธิการที่ต้องทำอยู่แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับว่า ทรงทราบเรื่องแล้ว และทรงเห็นว่าเป็นการดีควรจะระเบิด. หากพูดถึงการระเบิดหินในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อาจมีข้อสงสัยว่าจะระเบิดกันอย่างไร ใช้ระเบิดประเภทไหน แม้ว่าในเอกสารเรื่องนี้จะไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการระเบิดหินหลังจากที่มีพระราชหัตถเลขาแล้ว แต่ในเอกสารเรื่องเดียวกันนี้ได้ปรากฏหลักฐานการขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดของกรมรถไฟเพื่อใช้ในการสร้างรถไฟสายเหนือเมื่อเดือนสิงหาคม ร.ศ. 122 (ก่อนมีลายพระหัตถ์เรื่องขอระเบิดศิลาราว 2 เดือน) เครื่องระเบิดนี้ประกอบด้วย แก๊บดีโตเนเตอร์ (Blasting cap / Detonator) 25 หีบ หีบละ 10,000 ดอก ดินนาไมต์ (Dynamite) 200 หีบ หีบละ 50 ปอนด์ และฝักแค 50 ถัง ถังละ 250 ขด ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดจำนวนมากเช่นนี้ นอกเหนือจากการระเบิดหินเพื่อประโยชน์ในการวางรางรถไฟแล้ว เครื่องระเบิดส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ระเบิดหินในแม่น้ำด้วยผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ร.5 ยธ. 5.9/17 เรื่อง ระเบิดแก่งสพานหินใต้เมืองพิจิตรเพื่อการรถไฟสายเหนือ [ 5 ส.ค. – 31 ต.ค. 122 ].      #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


Messenger