ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 43,473 รายการ

ชื่อเรื่อง : UTTARAKURU อุตตรกุรุ ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยจำนวนหน้า : 58 หน้า สาระสังเขป : อุตตรกุรุ ดินแดนอัศจาย์ของเอเชีย ในทวีปเอเชียเราได้ผู้เขียนเรื่องเกี่ยวกับดินแดน อุตตรกุรุ ณ ดินแดนที่มีลักษณะที่เจ้าของเรื่องยกย่องไม่น้อยไปกว่ายูโทเบียของมอร์ ส่วนเรื่องดินแดนน่าพิศวงในหนังสือไทยโบราณที่มีชื่อว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือพระกลายๆ ว่าด้วยภูมิทั้ง 3


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖  ประเภทผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” และผู้ขับร้อง   “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” facebook.com/pechtnaipleng           การประกวดเพลง “เพชรในเพลง” ในปีนี้นับเป็นปีที่ ๒๐ แบ่งการประกวดออกเป็น รางวัลผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี ๒ ประเภท ได้แก่ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล และผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง และรางวัลผู้ขับร้องเพลง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย และผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง โดยคุณสมบัติของเพลงที่ส่งเข้าประกวด ประเภทการประพันธ์คำร้องต้องเป็นเพลงที่ประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่ และเผยแพร่สู่สาธารณชน ภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๔ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ส่วนประเภทผู้ขับร้อง ต้องเป็นเพลงที่เผยแพร่สู่สาธารณชนภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๔ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๖ เช่นกัน ซึ่งผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภท จะได้รับพระคเณศของกรมศิลปากร พร้อมเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลชนะเลิศ และ ๑๐,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖           ผู้สนใจสามารถส่งผลงานด้วยตนเอง หรือไปรษณีย์ลงทะเบียน ระบุชื่อผู้ส่งผลงาน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน ได้ที่ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (การประกวดเพชรในเพลง) ชั้น ๖ อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เลขที่ ๘๑ /๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ หรือส่งผลงานทางอีเมล finearts.thai@gmail.com ติดตามรายละเอียดหลักเกณฑ์และการส่งผลงานเพลงเข้าการประกวดได้ในประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ดาวน์โหลดได้ที่ shorturl.at/iGMPT กำหนดส่งผลงานเพลงเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่   ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๖๐๗๖ หรือทาง อีเมล finearts.thai@gmail.com และเฟซบุ๊ก เพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” facebook.com/pechtnaiplengภาพ : พิธีมอบรางวัลการประกวดเพลง "เพชรในเพลง" ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕


อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ชื่อผู้แต่ง           อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ไทยเขษม ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๒ จำนวนหน้า       ๑๐๒ หน้า : ภาพประกอบ หมายเหตุ         อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ต.จ.ว.,ต.ม., จ.ช.                      ณ เมรุวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร  วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒           ท่านเจ้าคุณอนุสาสน์พณิชยการ ป่วยและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาแล้ว ๒ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ และ ๒๕๑๘ หลังจากนั้นสุภาพของท่านยังไม่ดีขึ้น ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๑


ชื่อเรื่อง : ไทยรบพม่าชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์ จำนวนหน้า : 884 หน้า สาระสังเขป : ไทยรบพม่า เป็นการรวมเรื่องไทยรบกับพม่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีสงครามเกิดขึ้น ๒๔ ครั้ง ครั้งสมัยกรุงธนบุรี ๑๐ ครั้ง และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐ ครั้ง หนังสือเรื่องนี้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรกข้าพเจ้าทราบว่าผู้ที่ชอบอ่านมักเป็นทหารมากกว่าพลเรือน บางทีจะเป็นเพราะพวกพลเรือนเห็นชื่อเรื่องก็เข้าใจเสียว่า เป็นหนังสือแสดงแต่การรบพุ่งอันเป็นประโยชน์ในทางความรู้ของผู้เป็นทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแจ้งความให้ทราบในที่นี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งใจแต่งหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางความรู้พงศาวดารเป็นสำคัญ ในหนังสือนี้มีคติทางการเมืองฝ่ายพลเรือนอยู่แต่ต้นจนปลาย ใครอ่านถึงจะเป็นทหารหรือพลเรือนก็คงจะได้ความรู้เรื่องพงศาวดารสยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏในหนังสือเรื่องอื่นมีอยู่มาก


         พระคเณศ ๔ กร          ศิลปะชวา พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖          กรมวังนอก กระทรวงวังส่งมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๔          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระคเณศ ๔ กร พระเกศาทรงชฎามงกุฎ มีลักษณะสำคัญคือรวบพระเกศาขึ้นเป็นมวย ปลายตกลงมาเป็นวงโค้ง กึ่งกลางเกี้ยวประดับเป็นตาบสามเหลี่ยมหนึ่งตาบ* อุณหิส (กระบังหน้า) ประดับตาบสามเหลี่ยม ๓ ตาบ** คั่นด้วยลายดอกไม้ขนาดเล็ก พระเนตรเปิดมองตรง งวงพาดไปยังพระหัตถ์ซ้ายล่าง พระพาหาทรงพาหุรัด และทองพระกร พระวรกายทรงครองสายธุรำ ส่วนปลายเป็นศีรษะงู พระกรขวาล่างถืองาช้างที่หัก พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามใส่ขนมโมทกะ หัก พระหัตถ์ขวาบนและพระหัตถ์ซ้ายบนไม่ปรากฏวัตถุที่ทรง เนื่องจากชำรุดหักหายไป นั่งแยกพระชงฆ์ ฝ่าพระบาททั้งสองข้างประกบกันบนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย          ลักษณะเด่นของพระคเณศองค์นี้คือพระเศียรยังแสดงการทรงชฎามงกุฎ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเป็นนักบวช สอดคล้องกับประวัติของพระคเณศ เป็นบุตรของพระศิวะซึ่งเป็นมหาฤๅษี โดยลักษณะทางประติมานวิทยาพระศิวะจะเกล้าพระเกศาทรงชฎามงกุฏเช่นกัน นอกจากนี้ลักษณะการประดับตาบสามเหลี่ยม การทรงพาหุรัด และท่านั่งแยกพระชงฆ์ และฝ่าพระบาทชิดกันดังกล่าวก็เป็นรูปลักษณะที่ปรากฏมาก่อนในประติมากรรมพระคเณศศิลปะอินเดีย อย่างไรก็ตามการซ้อนตาบกลางบนพระเศียรนั้นเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะชวา ซึ่งต่างไปจากศิลปะอินเดีย   *ชำรุดหักหายไป **คำว่า “ตาบ” ในที่นี้หมายถึง แผ่นรูปสามเหลี่ยมที่ประดับศิราภรณ์   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. อุไรศรี วรศะริน และคณะ. พระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญรับฟังการบรรเลงและขับร้อง วงออเคสตราเพลงไทยและสากล ในงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปีกรุงรัตนโกสินทร์  วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. ณ เวทีใหญ่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีศิลปินรับเชิญ ดังนี้           - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู ฟรุตตี้)           - กัณพล ปรีดามาโนช (ปิง ฟรุตตี้)           - กิตติธัช แก้วอุทัย (ธัช)           - เฉลิมรัฐ จุลโลบล (แบงค์)           - ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ) อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต   * ชมฟรี *สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อเรื่อง                              มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ.                                 423/10ประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม.  ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                               พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                              ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


เมืองโบราณยะรัง EP.3 : การดำเนินงานทางโบราณคดี   องค์ความรู้ตอนที่ 3 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางโบราณคดี”   การสำรวจ   การสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร พ.ศ.2505 นายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในสมัยนั้น เริ่มเข้าสำรวจร่องรอยของโคกเนินต่างๆที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถาน โดยมีผู้ช่วย 2 คนคือนายเจิม ชูมณี และนายพรหม ทุเรศพล “...ขณะนั้นยังสังเกตเห็นแนวกำแพงเมืองเป็นเนินดินสูง 2-3 เมตร ขนานไปกับคูน้ำ กำแพงชั้นในวัดขนาดได้ 590 เมตร ชั้นนอก 860 เมตร มีป้อมตรงมุมทั้งสี่ ซากโบราณสถานมีกระจายไปทั่วอยู่ในเขตที่ทำกินของราษฎร...”  นายพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้สัมภาษณ์นายอนันต์ วัฒนานิกร ในระหว่างพ.ศ.2525-2528 และได้จดบันทึกเรื่องตำแหน่งของโบราณสถานจากการสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร ระหว่างพ.ศ.2505-2516 ซึ่งได้กำหนดที่ตั้งของโบราณสถานไว้เป็นหมายเลขจำนวน 31 แห่ง การสำรวจของ Stewart Wavell ในช่วงฤดูร้อนของพ.ศ.2505 Stewart Wavell นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังซึ่งปรากฎข้อมูลว่ามีผู้ร้ายทำการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุตามเนินโบราณสถาน โดยในขณะที่เขาอยู่ในเมืองปัตตานีได้มีผู้นำเทวรูปพระวิษณุสำริดซึ่งอ้างว่าขุดได้จากเนินโบราณสถานในเมืองโบราณยะรังมาให้ชม และต่อมาเขาได้เดินทางไปยังเมืองยะรัง การสำรวจของนายมานิต วัลภิโภดม และนายจำรัส เกียรติก้อง พ.ศ.2507 นายมานิต วัลภิโภดม นายจำรัส เกียรติก้อง และคณะสำรวจจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการสำรวจและจัดทำแผนผังเมืองโบราณยะรังในบริเวณบ้านประแว โดยแผนผังที่เขียนขึ้นแสดงภาพของเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 300 เมตร ยาว 340 เมตร มีกำแพงดินและคูน้ำล้อมรอบสามชั้น และในแผนผังยังแสดงตำแหน่งของ “ซากเจดีย์” ซึ่งปรากฏกระจายอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านประแว และกระจุกตัวหนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณบ้านวัด  การสำรวจของ H.G.Quaritch Wales ในพ.ศ.2517 H.G.Quaritch Wales ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” โดยกล่าวว่าเขาและภรรยา ได้เดินทางมายังเมืองโบราณยะรัง พร้อมกับนายบันเทิง พูลศิลป์ เจ้าหน้าที่จากหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กรมศิลปากร โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในขณะนั้นเป็นผู้นำทาง การสำรวจของชูสิริ จามรมาน นางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ได้ทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 โดยทำการสำรวจใน 2 ช่วงเวลา ดังนี้ การสำรวจระยะที่ 1 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2521 โดยร่วมสำรวจกับเจ้าหน้าที่กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากร ได้ทำการสำรวจที่บ้านปาละแว และบ้านวัด เพื่อเลือกจุดที่จะตรวจสอบหลักฐานบนดินและใต้ดินด้านการเจาะสำรวจ และได้เดินทางไปกิ่งอำเภอไม้แก่น เพื่อเลือกจุดสำรวจและเจาะสำรวจในบริเวณที่มีโคกดินลักษณะคล้ายๆกันกับที่อำเภอยะรัง  การสำรวจระยะที่ 2 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2523 เป็นการเดินสำรวจอย่างละเอียดด้วยการเดินทั้งในและนอกบริเวณที่มีคันดินซึ่งเคยเป็นกำแพงเมืองโบราณ จากนั้นจึงทำการสำรวจในบริเวณนอกเมืองโบราณที่บ้านปาละแว การสำรวจของนายศรีศักร วัลลิโภดม เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2521 นายศรีศักร วัลลิโภดม เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังบริเวณบ้านประแว โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร เป็นผู้นำทางไปยังตำแหน่งโบราณสถานต่างๆทั้งในและนอกเมือง “...ก็พบความจริงอย่างหนึ่งว่าเมืองประแวที่ทางกรมศิลปากรเคยสำรวจไว้ว่าเป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบสามชั้นนั้น เป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เมืองนี้ตัวเมืองมีขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงและคูน้ำชั้นเดียว ไม่มีล้อมรอบสามชั้นแต่อย่างใด แต่เผอิญทางด้านทิศใต้นั้นเกิดมีคันดินสองเส้นตัดผ่านจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก ขวางหน้าก่อนที่จะเข้าไปถึงกำแพงเมือง คันดินสองสายนี้ดูเชื่อมกับลำน้ำเขาที่ไหลเลียบตัวเมืองลงมาทางตะวันตก เพื่อระบายน้ำผ่านไปลงที่ลุ่มต่ำทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ทางกรมศิลปากรเดินสำรวจเพียงด้านเดียวคือด้านใต้จึงมองเห็นเป็นว่าเมืองนี้มีคันกำแพงดินล้อมรอบสามชั้นไป…” “...ข้าพเจ้าจัดกลุ่มโบราณสถานที่พบในเขตอำเภอยะรังนี้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่อยู่ในเขตบ้านประแว หรือที่เรียกว่าเมืองประแวนั่นเอง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือเขตบ้านวัด ซึ่งห่างจากกลุ่มแรกไปประมาณ 3-4 ก.ม....” การสำรวจของโครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจพื้นที่เมืองโบราณยะรังในพ.ศ.2528 โดยใช้วิธีเดินสำรวจภาคพื้นดิน ประกอบกับแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ และจัดทำแผนผังโดยใช้กล้องธีโอโดไลห์ ผลการดำเนินงานได้กำหนดตำแหน่งที่ตั้งพร้อมระบุเลขประจำเนินโบราณสถานจำนวน 30 แห่ง “...ลักษณะของเมืองโบราณนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หันไปตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนาดกว้าง 550 เมตร ยาว 710 เมตร กำแพงเมืองชั้นเดียวทำด้วยดินและมีคูน้ำล้อมรอบ ที่มุมทั้ง 4 มีป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในเมืองยังมีแนวกำแพงและคูน้ำ จากแนวกำแพงเมืองทางด้านตะวันตกและทางทิศใต้ไปบรรจบกันภายในเมืองอีกด้วย ทางด้านทิศใต้เป็นแนวคันดินและคูภายในเมืองเชื่อมต่อกับทางน้ำเก่า ซึ่งปัจจุบันปรากฏเพียงด้านเดียวเท่านั้น ส่วนด้านอื่นๆมีทางน้ำเก่าและได้ถูกปรับพื้นที่เป็นที่นาเสียส่วนใหญ่ คันดินนี้นี่เองทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมืองโบราณยะรังเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีกำแพงและคูเมือง 3 ชั้น ระหว่างคันดินกำแพงเมืองมีหนองน้ำขนาดใหญ่และโบราณสถานอยู่ 2 แห่ง ส่วนภายในเมืองนั้นมีบ้านราษฎรอยู่ประมาณ 40 หลังคาเรือน มีบ่อน้ำโบราณอยู่ 7 แห่ง ทางด้านทิศใต้นอกกำแพงเมืองมีสระน้ำขนาดใหญ่จำนวน 1 สระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว 70 เมตร สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเมืองโบราณยะรังนั้น เป็นที่ทำสวนเสียส่วนมาก โดยเฉพาะสวนยาง สวนส้ม สวนเงาะ สวนทุเรียน และสวนกล้วย เป็นต้น โบราณสถานบริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียงนั้นมีด้วยกัน 29 แห่ง อยู่ในเขตบ้านประแว 11 แห่ง เขตตำบลวัด 11 แห่ง และเขตตำบลปิตูมุดี 7 แห่ง...”  การสำรวจของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1 โครงการสำรวจนี้เป็นการดำเนินการภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ตประเทศไทย จำกัด ดำเนินการสำรวจโดยสว่าง เลิศฤทธิ์ นายเดวิด เจ เวลซ์ นางจูดิท มิกนีลล์ และนางสาวนันทิยา หนูสอน David J. Welch ระหว่างเดือนเมษายน 2529 ถึงเดือนเมษายน 2530 โดยทำการสำรวจด้วยกล้องธีโอโดไลท์และเทปวัดระยะในพื้นที่บ้านประแวและบ้านวัด การสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งขึ้นในพ.ศ.2531 เป็นโครงการในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กองโบราณคดี กรมศิลปากร การสำรวจโดยโครงการฯได้ดำเนินการสำรวจโดยการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและดำเนินการสำรวจภาคพื้นดิน ในระหว่างพ.ศ.2531-2532 และในพ.ศ.2535 ได้จัดพิมพ์หนังสือ “การสำรวจโบราณสถานเมืองยะรัง” นำเสนอผลการสำรวจและรายละเอียดของโบราณสถานที่สำรวจพบทุกแหล่ง ทั้งในเขตบ้านประแว บ้านจาเละ และบ้านวัด  เนินโบราณสถานจากการสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง (พ.ศ.2531-2532) โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ดำเนินการสำรวจเมืองโบราณ ยะรังอีกครั้งในระหว่างพ.ศ.2531 – 2532 ในครั้งนี้ได้กำหนดการเรียกชื่อเนินโบราณสถานใหม่ โดยจำแนกเนินโบราณสถานออกเป็น 3 กลุ่มตามตำแหน่งที่ตั้ง คือ กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ และกลุ่มโบราณสถานบ้านประแว กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 20 แห่ง กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ ใช้อักษรย่อว่า จล.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 11 แห่ง กลุ่มโบราณสถานบ้านประแว ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 2 แห่ง การขุดค้นทางโบราณคดี ----------------------------------- พื้นที่เมืองโบราณยะรัง ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากนักวิชาการชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยในระยะแรกการขุดค้นมักอยู่ในลักษณะของการขุดตรวจหรือขุดทดสอบ รวมถึงการขุดสำรวจโดยใช้เครื่องมือเจาะดินที่เรียกว่าออเกอร์  ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณที่เป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่นั้น เริ่มดำเนินการในพ.ศ.2531 โดยโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ของกรมศิลปากร โดยเริ่มทำการขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 เป็นแห่งแรกในพ.ศ.2531 ขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 2 และหมายเลข 8 ในพ.ศ.2535 และขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านวัดหมายเลข 9 ในพ.ศ.2546 การขุดค้นของ H.G.Quaritch Wales ในพ.ศ.2517 บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” ของ H.G.Quaritch Wales กล่าวถึงการขุดค้นทางโบราณคดีในลักษณะของหลุมยาว (Trench) จำนวน 2 หลุม ในพื้นที่ภายในเมืองประแวด้านทิศใต้ ผลการขุดค้นไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ การขุดค้นของชูสิริ จามรมานและคณะ เป็นการดำเนินการของนางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 และการวิจัยเรื่อง “สมัยศิลปะที่ยะรัง เมืองโบราณในจังหวัดปัตตานี” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2523-2524 การขุดค้นของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1 การขุดค้นทางโบราณคดีในระหว่างพ.ศ.2529 – 2530 นี้เป็นการดำเนินการในโครงการโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานีฯ ภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีนายสว่าง เลิศฤทธิ์ Dr.David J. Welch และ Ms.Judith R.Mcniell เป็นผู้ดำเนินโครงการ สรุปผลการศึกษา 1.บ้านประแว ผลการการขุดค้นและขุดตรวจด้วยออเกอร์แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุไม่มากนักดังที่ศรีศักร วัลลิโภดม เคยกล่าวไว้ โบราณวัตถุที่พอจะกำหนดอายุได้ก็มีเศษเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงและเศษเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินที่มีลวดลายประดับสมัยอยุธยา หลังจากส่งตัวอย่างถ่านไปหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพบว่าโบราณวัตถุในชั้นดินที่ 2 มีอายุประมาณ 300 ปี ชั้นดินที่ 3 มีอายุประมาณ 500 ปี ในขณะที่ชั้นดินที่ 4 ซึ่งอยู่ล่างสุดพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินสีเทาดังเช่นที่พบที่สทิงพระ แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุเก่าสุดอยู่ที่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 จึงสรุปได้ว่าเมืองแห่งนี้เป็นเมืองขนาดเล็ก ไม่มีฐานะหรือบทบาทสำคัญนัก โดยมีกลุ่มชนเข้ามาอยู่อาศัยครั้งแรกประมาณสมัยศรีวิชัยตอนปลาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างป้อมที่มุมเมือง ซึ่งหลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นถูกสร้างขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ราวปี 1790-1791 ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ระบุว่าปัตตานีมีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่บ้านประแวในสมัยรัชกาลที่ 1 2.บ้านวัด จากการศึกษาพบว่าเมืองแห่งนี้มีขนาดใหญ่ (อย่างน้อย 60 ตารางเมตร) และมีคูเมืองซับซ้อนมาก มีเนินเจดีย์ 16 แห่ง มีเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 แห่ง ผลการขุดค้นของนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรได้พบโบราณวัตถุหนาแน่นกว่าที่บ้านประแว จากการขุดค้นยังทำให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีผ่านการใช้งานมาอย่างน้อย 2 ช่วง เพราะชั้นดินทางโบราณคดีจะเห็นถึงความแตกต่างได้ชัด โบราณวัตถุที่พบก็ต่างสมัยกันด้วย โบราณวัตถุในชั้นดินล่างสุดอาจจะเป็นของสมัยทวารวดีส่วนโบราณวัตถุในชั้นดินบนอยู่ในสมัยหลังก็เป็นได้ และการขุดค้นที่หลุมขุดค้นแห่งหนึ่งบนเนินดินชั้นในพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผา ชั้นดินชั้นล่างสุดที่ทำการขุดค้นอาจจะเป็นฐานเจดีย์เพราะพบแนวอิฐและก้อนอิฐมีรู โบราณวัตถุที่พบร่วมกับแนวอิฐคือเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง? อย่างไรก็ตามเมื่อผลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายออกมา ก็คงจะทราบอายุของโครงสร้างแนวอิฐนี้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมีอายุอย่างน้อย 1,000 ปี มาแล้ว  การขุดค้นของโครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณ (The old settlement of The Pattani Region) โครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา กับสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ(Ecole Francaise d’Etreme-Orient) และสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยกำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ปี โดยเริ่มต้นโครงการในพ.ศ.2540 สำหรับการศึกษาในพ.ศ. 2541 เป็นการดำเนินการในปีที่ 2 ของโครงการ ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณบ้านประแว โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงความต่อเนื่องของการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณบ้านประแวกับชุมชนโบราณบ้านกรือเซะว่ามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหรือไม่อย่างไร ตามสมมุติฐานที่เชื่อว่ากลุ่มชนบริเวณบ้านกรือเซะนั้นย้ายมาจากบ้านประแว  สรุปผลการขุดค้น ผลของการขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.2541 ทำให้เห็นถึงพื้นดินที่ถูกรบกวนในทุกๆหลุมขุดค้น ยกเว้นในหลุมขุดค้น PW.3 ซึ่งพบเศษภาชนะดินเผาซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเศษภาชนะดินเผาที่พบในหลุมขุดค้นอื่นๆ ซึ่งก็เป็นได้ว่าอาจเป็นเพราะเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มาจากช่วงเวลาที่ต่างกัน และการวิเคราะห์โดย Mrs.M.F.Dupoizat พบว่า เศษภาชนะดินเผาที่พบเกือบทั้งหมดนี้กำหนดอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 . . . ในส่วนของ Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ โปรดติดตามในตอนต่อไป.. --------------------------- Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790 Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี -------------------- เอกสารอ้างอิง หน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา, ความเป็นมาของเมืองโบราณยะรังโดยสังเขป, 2531 หน้า 7 (อัดสำเนา) เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, (สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2528), 9-10 (เอกสารอัดสำเนา) ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528), 6 ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, “บันทึกเรื่องเมืองโบราณที่อำเภอยะรัง” ใน แลหลังเมืองตานี, (ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528), 18 Stewart Wavell, “The Lady from Langkasuka” in The Naga King’s Daughter, (London : George Allen & Unwin Ltd., 1964), 15 Ibid, 158  ศรีศักร วัลลิโภดม, “ชุมชนโบราณในสี่จังหวัดภาคใต้”, เมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม2521-มกราคม2522) หน้า 49 เรื่องเดียวกัน, 48



หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการจัดกิจกรรม “๑๒๑ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่” ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ประจำปี ๒๕๖๖  ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม รับจำนวน ๕๐ คน  (นั่งรถราง)  ** สิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม พิจารณาตามลำดับการลงทะเบียน **


แนะนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” เหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดินเหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดิน ชนิดราคา ๑ บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๑ เซนติเมตร สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ พระครูวาปีปทุมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบเหรียญมีพระปรมาภิไธยว่า “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลังเป็นตราแผ่นดิน ซึ่งด้านบนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ เปล่งรัศมีครอบพระแสงจักรและพระแสงตรี ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรแห่งราชวงศ์จักรี ถัดลงมาเป็นรูปอาร์ม แบ่งออกเป็น ๓ ช่อง ช่องบนเป็นรูปช้างสามเศียร ช่องล่างซ้ายเป็นรูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ช่องล่างขวาเป็นรูปกริชไขว้ มีคชสีห์และราชสีห์ถือฉัตรกระหนาบสองข้าง ใต้รูปอาร์มมีพระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ เบื้องหลังเป็นเครื่องราชูปโภค มีฉลองพระองค์ครุยเป็นพื้นอย่างม่าน ธารพระกรและพระแส้อยู่ด้านซ้าย ฉลองพระบาทอยู่ริมฐานฉัตร ริมขอบซ้ายมีคำว่า “กรุงสยาม” ริมขอบขวามีคำว่า “รัชกาลที่ ๕” ริมขอบล่างมีข้อความบอกราคา “บาทหนึ่ง” บนเหรียญไม่ระบุศักราช ซึ่งเริ่มผลิตครั้งแรก ร.ศ. ๙๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๙ นับเป็นครั้งแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ประทับบนหน้าเหรียญ


          วันอังคารที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนร่วมแสดงความยินดีกับ นางทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ครบรอบ ๓๕ ปี โอกาสนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร มอบหนังสือที่ระลึกร่วมแสดงความยินดี ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ


ชื่อเรื่อง: การสร้างพระพุทธรูป พระบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่อง ผู้แต่ง: คณะกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๙สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: ประชาช่าง จำนวนหน้า: ๒๖ หน้า เนื้อหา: การสร้างพระพุทธรูป พระบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่องของคณะกรรมการสร้างพระพุทธรูปของคณะ กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระพุทธศาสนายุกาลครบ ๒๕๐๐ ปี โดยคณะกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกอบพิธีสร้างพระพุทธรูปบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่องหลายชนิด โดยจัดพิธีการสร้างอย่างถูกต้องครบถ้วนตามตำรา เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งปีอันสำคัญของพระพุทธศาสนา กล่าวถึงวัตถุประสงค์ พิธีกรรม รายละเอียดการดำเนินงานสร้าง ประเภทพระพุทธรูปที่จะสร้าง พิธีพุทธาภิเษกการฉลอง และการบริจาคโลหะเพื่อสร้างพระพุทธรูป พร้อมภาพประกอบหุ่นพระพุทธรูปบูชาซึ่งจะจำลองสร้างในครั้งนี้ด้วยเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๔๐๘เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๙หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


ใบเสมาที่พบที่บ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีทั้งใบเสมาที่สลักลวดลายที่ไม่ใช่ภาพเล่าเรื่อง เช่น ลวดลายรูปสถูป ใบเสมาที่สลักลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่องในชาดกทางพุทธศาสนา และใบเสมาที่ไม่มีการสลักลวดลายใดๆ ใบเสมาที่สำคัญที่บ้านกุดโง้ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของใบเสมาที่มีการสลักลวดลายประดับเป็นภาพพระพุทธเจ้า ได้แก่ ภาพพระพุทธเจ้าหรือพระศรีศากยมุนี ภาพพระศรีอริยเมตไตย และภาพเล่าเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา