ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,688 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 160/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
อธิบดีกรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาปรับปรุงคลังเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนา ปรับปรุงคลังเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จำนวน ๒ หลัง คือ อาคาร หลังที่ ๓ และหลังที่ ๔ ของหมู่ตึกพระประเทียบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานงวดสุดท้าย นอกจากนี้ ยังได้ ตรวจติดตามการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งตั้งอยู่ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่ง องค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑ ส่วนด้านหลังของพระที่นั่งเป็นที่ประทับของข้าราชบริพารฝ่ายใน ซึ่งบริเวณด้านหลังพระที่นั่งมีสภาพป่ารกร้างมานาน จนได้รับการพัฒนาพื้นที่และพบหลักฐานแนวอาคารเก่าที่สร้างซ้อนทับกันถึง ๒ สมัย คือ แนวอาคารเดิมสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นแนวเดียวกันกับอาคาร ด้านหน้าของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จำนวนกว่า ๒๐ หลัง ที่มีลักษณะเด่น คือ กลุ่มอาคาร ๔ หลัง ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน และแนวอาคารที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนจำประจำจังหวัดขึ้น ก่อนย้ายออกไปยังพื้นที่ปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จากการขุดแต่งพบหลักฐานต่าง ๆ เช่น กระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม กระเบื้องเชิงชายลายพันธุ์พฤกษา การวางแนวท่อน้ำดินเผาภายในอาคารที่สลับซับซ้อน แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ทางด้านระบบประปาในสมัยอยุธยา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า พื้นที่ดังกล่าวนี้หากได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา ในอนาคตจะ เป็นพื้นที่แหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวใหม่ของประชาชนชาวลพบุรีและประชาชนทั่วไป เพราะนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์แล้วยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่มากกว่า ๒๐ ชนิด และหลายชนิดอยู่ในตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับจังหวัดได้เป็นอย่างดีภาพ : หมู่ตึกพระประเทียบ
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๘๕
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.29/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 สิงหาคม พระพุทธศักราช 2458. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2560. เอกสารประวัติศาสตร์ เรื่อง “จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 สิงหาคม พระพุทธศักราช 2458” เป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ นับแต่เมืองนราธิวาส ปัตตานี สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ รวม 62 วัน ซึ่งผู้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน คือ มหาเสวกโท พระยาศรีวรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมุรธาธร โดยใช้นามแฝงว่า “สักขี”
ของเก่าเล่าใหม่
นิทรรศการ ประวัติและเครื่องใช้ของรองอำมาตย์เอก เจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย มหายศนันทน์) ซึ่งถูกนำกลับมาจัดแสดงใหม่อีกครั้ง
วันนี้แอดมินจึงนำภาพมาให้ชมกัน สำหรับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสมาชมด้วยตนเอง ส่วนท่านที่สนใจเข้าชมด้วยตนเอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ : วันวิสาขบูชา
“วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ล้วนเกิดขึ้นตรงกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วันวิสาขบูชา” ซึ่งย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือนแปดสองหน ก็จะเลื่อนไปเป็นกลางเดือนเจ็ด) ซึ่งในปีนี้วันวิสาขบูชาตรงกับวันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔
วันนี้จึงยกเอาหลักธรรม “เย ธมฺมาฯ” หรือที่มักเรียกว่า “คาถาเย ธมฺมาฯ” ที่ปรากฏอยู่บนผนังอุโบสถวัดสามแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร มานำเสนอ ซึ่งคาถาเย ธมฺมา ดังกล่าวนี้ เขียนอยู่บนผนังหลังพระประธาน ภายในกรอบด้านล่างของจิตรกรรมภาพเทพชุมนุม ความว่า “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต อาหเตสญฺจ โย นิโรโธจ เอวํ วาที มหาสมโณ” ซึ่งมีความหมายว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้” พระคาถาเย ธมฺมา ภายในอุโบสถวัดสามแก้วดังกล่าวมานี้ เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยช่างหลวงคนสำคัญ คือพระยาอนุศาสน์จิตรกร โดยเขียนร่วมกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประกอบด้วยภาพเทพชุมนุม เทพเจ้าเนื่องในศาสนาพราหมณ์ พระฤาษี และโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ส่วนผนังส่วนล่างระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ
คาถาเย ธมฺมา เป็นคาถาคัดมาจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา ซึ่งมีใจความกล่าวถึง พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม เนื่องจากได้ฟัง “พระคาถาเย ธมฺมา” จากพระอัสสชิ ดังความว่า “สมัยนั้น สัญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน และสมัยนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง สารีบุตรปริพาชกได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อ ๆ ให้ฟังว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น” สารีบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพาชก ๒๕๐ คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ สัญชัยขอให้อยู่กันบริหารหมู่คณะถึง ๓ ครั้ง แต่สาริบุตรกับโมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพาชก อีก ๒๕๐ คน สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต เมื่อปริพาชกทั้งหลาย ได้ไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา”
ด้วยความสำคัญของ พระคาถา เย ธมฺมาฯ ซึ่งสามารถยังบุคคลให้เข้าถึงธรรม แม้เพียงกล่าวธรรมโดยย่อ จึงมักปรากฏพระคาถา เย ธมฺมา ในงานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยพบมากในเมืองโบราณสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในภาคกลางและภาคใต้ของไทย เช่น จารึกเยธมฺมาฯ ๒ (บนสถูปศิลา) พบที่วัดพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๒) จารึกเยธมฺมาฯ บนพระพุทธรูปศิลา พบที่วัดเพลง (ร้าง) ตำบลหลุมดิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๒) และจารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปพิมพ์ดินดิบ พบที่เมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี (อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ด้วยเหตุนี้ "คาถา เย ธมฺมา" จึงนับเป็นหนึ่งหลักธรรมสำคัญ ซึ่งถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
เรียบเรียง/ภาพ: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒนภักดี (ตา เจริญยิ่ง) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงสนพระทัยต่อเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่รับอิทธิพลมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาในช่วงเวลานั้น เทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกประการในสมัยนั้น คือ ระบบประปา โดยมีหลักฐานว่าระบบการส่งน้ำประปาที่ทันสมัยเกิดจากที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้วิศวกรชาวฝรั่งเศส เปอร์เซีย และอิตาลี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ มีการวางท่อประปาที่ใช้ท่อดินเผาซึ่งมีลักษณะเป็นท่อวงกลมทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งมีขนาดที่เล็กกว่าปลายอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สวมกันเป็นท่อยาวในการลำเลียงน้ำเข้ามาใช้ในพระราชวังหรือสถานที่สำคัญ ดังเช่นหลักฐานที่พบในพระราชวังทั้งในเมืองละโว้และกรุงศรีอยุธยา โดยเมืองละโว้ หรือลพบุรี พบหลักฐานว่ามีการนำน้ำใช้ในพระราชวังจาก 2 แหล่ง คือ - น้ำจากทะเลชุบศร นำเข้ามาโดยใช้วิธีการต่อท่อผ่านประตูน้ำปากจั่นไหลลงมาสระแก้ว (อยู่ในบริเวณสวนสัตว์ลพบุรี) และต่อมายังอ่างแก้ว จากนั้นมีการวางท่อต่อตรงเข้าสู่เมืองลพบุรี - น้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็นน้ำสะอาดเกิดจากแรงธรรมชาติไหลลงมาจากซอกเขาที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงเข้ามาใช้ในเมือง เนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลจึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็กยาวทอดจนมาถึงบริเวณท่าศาลา ช่วงที่สองตั้งแต่ท่าศาลาจนถึงตัวเมืองลพบุรี โดยวิธีการฝังท่อดินเผาลงดิน ระหว่างเส้นทางแนวท่อน้ำเข้าสู่เมืองลพบุรี มีการสร้างท่อ (ปล่อง) ระบายความดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ ระบบประปาเมืองลพบุรีใช้หลักการถ่ายเทน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ จากหลักฐานอ่างเก็บน้ำและแนวท่อน้ำพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับแนวกำแพงและกลุ่มอาคารพระที่นั่งต่างๆ โดยเฉพาะตึกที่ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงต้อนรับทูตต่างประเทศในช่วงเวลานั้น ส่วนกรุงศรีอยุธยาพบมีการกล่าวถึงระบบประปาในพระราชพงศาวดารว่า มีระหัดสำหรับวิดน้ำตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระราชวังริมแม่น้ำลพบุรี จากการขุดแต่งพระราชวังโบราณเมื่อ พ.ศ. 2527 พบแนวท่อน้ำประปาดินเผาจากบริเวณเป็นที่ตั้งของระหัดน้ำ วางทะลุกำแพงเข้ามาในเขตพระราชฐาน โดยระบบประปาใช้หลักการ คือ การยกระดับน้ำขึ้นมาเก็บไว้ยังถังน้ำประปาในที่สูงเพื่อการแจกจ่ายตามท่อน้ำประปาดินเผาไปใช้ในที่ต่างๆ และจากการขุดแต่งทางโบราณคดีพระราชวังโบราณเมื่อ พ.ศ. 2560 พบร่องรอยของระบบประปา บริเวณทางทิศเหนือของพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ โดยพบเป็นแนวท่อประปาดินเผา 2 แนว สันนิษฐานว่าแนวหนึ่งใช้สำหรับนำน้ำเข้ามาใช้และอีกแนวใช้สำหรับปล่อยน้ำทิ้งเนื่องจากพบร่องรอยที่สันนิษฐานว่าเป็นปล่องระบายความดัน นอกจากนี้บนท่อประปาบางชิ้นยังพบจารึกอักษรไทย ภาษาไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย อ่านได้เบื้องต้นความว่า “หามรุก” และ “ยกามํเสั้ายม” จากภาพรวมของหลักฐานสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ท่อประปาคงทำขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช /---------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาววีณา บุญเชิญ ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา---------------------------------------------------------------
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนา ประจำปี 2564 ครั้งที่ 5 “ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร จากหลักฐานโบราณคดีและเอกสารโบราณ” เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live : Office of National Museums, Thailandการบรรยายพิเศษหัวข้อ : "ลพบุรีศรีรามเทพนคร"
โดย ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม
หัวข้อ : "ศรีรามเทพนคร - นครพระราม จากหลักฐานเอกสารโบราณ"
โดย รองศาสตราจารย์ศานติ ภักดีคำ
ดำเนินรายการ โดย
นางสาวศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
#MuseumTalk #พิพิธภัณฑ์เสวนา #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่Facebook Page : Office of National Museums, ThailandYouTube : Office of National Museums, Thailand
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า เมืองอู่ทองนี้เองเป็นเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงครองอยู่ก่อนที่จะอพยพผู้คนหนีโรคห่าไปสร้างกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ต่อมาได้มีการค้นพบจารึกหลักที่ ๔๘ จารึกลานทอง จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๑ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช (พ.ศ.๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าสามีหรพงศ์ เป็นผู้สร้างจารึกแผ่นทองคำ ลักษณะเหมือนลาน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมเรียกว่า จารึกลานทองวัดส่องคบ จารึกแผ่นนี้พระครูบริรักษ์บรมธาตุขุดพบในเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำบริเวณสบกันของแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มอบให้อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ในคราวเดินทางไปตรวจโบราณสถานจังหวัดชัยนาท เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องจากจารึกแผ่นนี้เส้นอักษรบางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายเห็นเส้นอักษรไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าเวลาทำงานจะมีจำกัดก็ตาม และในการคัดจำลองเส้นอักษรนั้น ใคร่ขอบอกไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า อาจจะมีส่วนเส้นที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิมได้บ้างไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน จารึกเป็นอักษรขอมภาษาไทย บนลานทอง จำนวน ๒ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๙ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๖ บรรทัด มีข้อความระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ไว้ ๒ ครั้ง ข้อความในจารึกนี้ทำให้ทราบว่าเมืองสุพรรณภูมิที่ปรากฏชื่อในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ยังคงพัฒนาสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา มิได้ร้างไป และน่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นมิใช่น้อย การอ้างถึงการทำบุญกุศลก่อนที่จะมาทำบุญที่อยุธยา เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุพรรณภูมิและอยุธยาได้ว่าผู้กระทำบุญนั้นเคยอยู่ที่สุพรรณภูมิมาก่อน กล่าวได้ว่าสุพรรณภูมิอาจเป็นเมืองที่เป็นฐานอำนาจของอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย หากผู้กระทำบุญนั้นมีฐานะเป็นเจ้านาย จารึกลานทอง ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร-----------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ-----------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย, 2544. เลขหมู่ 959.373 ว394 สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลี, สันสกฤต. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีสำนักนายกรัฐมนตรี, 2508. เลขหมู่ 417.7 ศ537ป
องค์ความรู้เรื่อง : แกะรอยชาวโยนจากตำนานล้านนาโดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. แอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเมืองพื้นราบ ที่เรียกตนเองและถูกเรียกว่า ชาวโยน หรือชาวยวน ในตำนานของล้านนาเล่าถึงการตั้งถิ่นฐานพื้นที่นี้มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน. ตำนานสิงหนวัติเล่าถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากนครไทยเทศ ตั้งแต่ราว 18 ปีก่อนพุทธกาล สิงหนวัติกุมารได้สร้างเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครใกล้กับแม่น้ำโขง เมืองโยนกฯและราชวงศ์สิงหนวัติดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวพ.ศ. 1003 เมืองได้ล่มลง เพราะชาวบ้านจับปลาไหลเผือกมากิน เมื่อเมืองโยนกฯ ล่มสลายลง ชาวเมืองรอบๆเมืองโยนกได้ตั้งขุนลังขึ้นปกครอง สร้างเวียงแห่งหนึ่งริมแม่น้ำโขง ทางตะวันออกของเวียงโยนกชื่อเวียงปรึกษา มีขุนปกครองมาอีก 16 คน จนถึงพ.ศ.1118 พระอินทร์ได้ให้ลวจังกราชโอปปาติกะมาเป็นเจ้าเมืองเงินยาง ในราวพ.ศ.1182 เริ่มต้นราชวงศ์ลวจังกราช ในราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง 25 พระองค์ (เจ้าเมืองที่มีชื่อเสียง คือ ขุนเจืองหรือพญาเจือง) ในสมัยราชวงศ์นี้ ตั้งแต่ขุนชื่นและขุนจอมธรรม แสดงให้เห็นว่าแอ่งที่ราบลุ่มเชียงรายและพะเยาเริ่มก่อร่างสร้างอาณาจักรแยกจากกัน. จนกระทั่งถึงสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ได้รวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆขึ้น สถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมา และได้ย้ายเมืองหลวงจากแอ่งที่ราบเชียงราย มายังแอ่งที่ราบเชียงใหม่ โดยน่าจะมีประสงค์เพื่อขยายอาณาจักรต่อไป และถึงแม้จะเป็นพระสหายและเป็นพระญาติกับพญางำเมืองแห่งพะเยา แต่กษัตริย์ราชวงศ์มังรายองค์ต่อๆมา ก็ยังพยายามที่จะยึดอาณาจักรของพญางำเมือง ----- จากตำนานเหล่านี้ แสดงให้เราเห็นว่า -----. ชาวโยนเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เป็นชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นราบใกล้กับแม่น้ำ แต่ในพื้นที่ก็มีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่ามิลักขุ ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง แต่ชนทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดเรื่อง. ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประชากรของกลุ่มชาวโยนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบ้านเมือง แต่ละเมืองเริ่มมีความขัดแย้งจนสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงทรัพยากร เมื่อรวบรวมตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งมีความมั่งคั่ง ชาวมิลักขุน่าจะมีบทบาทน้อยลง ดังที่ไม่ค่อยปรากฏในตำนานอย่างที่เคยเป็นมา. ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายพบหลักฐานสมัยก่อนล้านนา ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ขวานหินกะเทาะและขวานหินขัด ทั้งในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.ป่าแดด อ.เวียงชัย อ.พาน. นอกจากนี้ เราพบเมืองโบราณกระจายตัวอยู่ตามลำน้ำสายสำคัญตลอดลำน้ำ คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 เมือง