ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,660 รายการ

          นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า อิโคโมสไทย กำหนดจัดงาน 2022 ICOMOS Advisory Committee, Scientific Symposium and Annual General Assembly การประชุมใหญ่สามัญของสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) และการประชุมวิชาการนานาชาติ ประจำปี ๒๐๒๒ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ            อิโคโมส คือองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านการอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรม ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ปรึกษาของยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก ประเทศไทย โดยกรมศิลปากร ได้สมัครเป็นสมาชิกองค์กรอิโคโมสมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ อิโคโมสไทย และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของอิโคโมส เพื่อให้นักวิชาการผู้ที่มีภารกิจและความเชี่ยวชาญทางด้านการอนุรักษ์และจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม สมาชิกขององค์กรอิโคโมส ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับทราบความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง           กิจกรรมในครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ การประชุมใหญ่สามัญของอิโคโมส ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกอิโคโมสสากลเท่านั้น โดยวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ ห้องประชุม หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพฯ และการบรรยายพิเศษ โดยนายสีหศักดิ์ กองเกตุแก้ว หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในคณะกรรมการมรดกโลก (กิจกรรมนี้จำกัดเฉพาะสมาชิกอิโคโมสสากลและผู้ที่ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรและสมาคมอิโคโมสไทย) และการประชุมเฉพาะสมาชิกอิโคโมส ในวันที่ ๒๖ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕            สำหรับวันที่ ๒๙ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปี เปิดให้บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมเข้ารับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งในปีนี้เป็นการเสนอในหัวข้อ มรดกศาสนสถาน (Religious Heritage) นำเสนอผลงานวิชาการของสมาชิก  อิโคโมสที่ผ่านการคัดเลือกกว่า ๖๐ เรื่อง จาก ๓๒ ประเทศทั่วโลก โดยนำเสนอในระบบ hybrid แบ่งออกเป็น ๓ ห้อง จากหัวข้อย่อย ๕ เรื่อง ประกอบด้วย ๑. คุณค่าความสำคัญของศาสนสถานและสถานที่ประกอบพิธีกรรม ๒. อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีต่อการอนุรักษ์ การปกป้อง การจัดการมรดกศาสนสถาน ๓. การเปลี่ยนแปลงการใช้สอยและการรับรู้ของศาสนสถานและสถานที่ประกอบพิธีกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ๔. กิจกรรมจาริกแสวงบุญในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 และ ๕. การนำมรดกศาสนสถานกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการจัดการประชุมวิชาการนี้ อยู่ในการดูแลของคณะกรรมการวิชาการนานาชาติของอิโคโมสว่าด้วยเรื่องศาสนสถานและสถานที่ประกอบพิธีกรรม ที่มีชื่อย่อว่า PRERICO (เปร ริ โก) บุคคลทั่วไปสามารถเข้าฟังและแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://icomosthai.org





ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           47/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 151/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1ชเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


หนังสือ สายรากภาคใต้ : ภูมิลักษณ์ รูปลักษณ์ จิตลักษณ์ เป็นผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้จากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นประวัติความเป็นมาของภาคใต้ตามลำดับกาลตั้งแต่ 650 ล้านปี จนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 25


ชื่อผู้แต่ง         อบ ไชยวสุ.ชื่อเรื่อง           สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๖สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯสำนักพิมพ์       สำนักงาน หอสมุดกลาง๐๙ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๒จำนวนหน้า      ๖๗๙ หน้ารายละเอียด สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำศัพท์เฉพาะที่สะกดยาก ชวนให้ไขว้เขวผิดได้ง่าย พร้อมทั้งให้ความหมายตามแบบพจนานุกรม มีคำที่มักสะกดผิด ซึ่งประมวลจากบัญชีที่สถาบันการศึกษาต่างๆรวบรวมขึ้นไว้ คำพ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ และที่มีความหมายคล้ายกัน และการใช้วรรณยุกต์ตรีทับศัพท์คำต่างประเทศ


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเรื่อง "อาณาจักรหลักคำ" กฎหมายเมืองน่านการผลิตสื่อเพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรมจัดทำโดย นางสาวเมธินี จิตระตรีนิสิตฝึกสหกิจ คณะสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


เลขทะเบียน : นพ.บ.409/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ทสชาติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.538/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180  (292-302) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : ตำนานพระธาตุตะโก้ง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีเถาะ จุลศักราช 1241 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เจ้าภาพตีพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย เลขยานนท์) ณ เมรุวัดธาตุทอง วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : แสงทองการพิมพ์ จำนวนหน้า : 234 หน้า สาระสังเขป : เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้รวมรวม พระราชกรณียกิจประจำวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันอาทิตย์ ขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 ปีเถาะ ยังเป็นสัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 (วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2421) ถึงวันพุธ แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1241 (วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2422 ) เป็นฉบับที่ขาดไป ซึ่งทางหอสมุดแห่งชาติมีการจัดพิมพ์ไปแล้ว 24 ภาคนั้น ได้ขาดปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1241 และท้ายเล่มได้รวบรวมประวัติของพระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย เลขยานนท์) ตำแหน่งที่ได้รับ ราชการพิเศษ ยศและบรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิศริยาภรณ์ รวมทั้งคำไว้อาลัย




Messenger