ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ความเชื่อเรื่อง ชุธาตุ ของชาวล้านนา ที่มีความเชื่อว่าก่อนที่มนุษย์จะมาเกิดในครรภ์มารดา ได้เคยสถิตอยู่กับต้นไม้ซึ่งมีภูตผีหรือสัตว์รักษาอยู่ แต่ด้วยความไม่เหมาะสมที่วิญญาณของมนุษย์จะอยู่กับอมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย จึงได้ลาไปจากต้นไม้ดังกล่าว แล้วดวงจิตได้ไปสถิตอยู่ที่พระธาตุ ต่างๆ ก่อนที่จะถือกำ เนิดเชื่อว่าดวงจิตของมนุษย์ก่อนกำเนิดสถิตกับพระธาตุที่ต่างกันตามแต่ละปีนักษัตร การได้สักการะบูชาหรือไปแสวงบุญยังพระธาตุประจำ ปีนักษัตรของตนจึงจะนำ มาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิต สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นปีฉลู หรือปีวัว ภาษาเหนือเรียกว่าปีเป้า
___สำหรับชุธาตุ หรือพระธาตุประจำปีเกิดของปีฉลูนั้น คือพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งวัดพระธาตุลำปางหลวงนั้นเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ตั้งอยู่บนม่อนหรือเนินดินล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองและคูน้ำ ตามตำนานพระธาตุลำปางหลวงกล่าวถึงมหาราชเทวี อันหมายถึงพระราชชนนีของพระยาสามฝั่งแกน ได้เสด็จมายังลัมภกัปปนครได้ทอดพะเนตรเห็นพระธาตุแสดงปาฏิหาริย์จึงเสด็จไปทรงนมัสการพระธาตุแห่งนี้ ต่อมา หมื่นหาญแต่ท้องซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าติโลกราช ได้ขอพระราชานุญาตสร้างวัดแห่งนี้ ทั้งข้อมูลจากหลักฐานประเภทจารึกและเอกสารต่างกล่าวถึงศาสนสถานต่างๆที่สร้างขึ้นในสมัยของหมื่นหาญแต่ท้องตรงกับสมัยพระเจ้าติโลกราชเป็นต้นมา
___พระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส พื้นเป็นลานทราย ล้อมรอบด้วยวิหารและระเบียงคดแสดงถึงคติจักรวาลของล้านนาโดยมีพระธาตุเป็นศูนย์กลาง รูปแบบของเจดีย์นั้น หุ้มด้วยแผ่นโลหะทั้งอค์ เป็นเจดีย์ทรงระฆังในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วยฐานเป็นฐานบัวย่อเก็จ ต่อด้วยชั้นมาลัยเถาบัวถลาซ้อนกัน ๓ ชั้น อันเป็นอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยแพร่หลายขึ้นมายังล้านนาเมื่อคราวพระสุมนเถระขึ้นมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่บัวปากระฆังตกแต่งเป็นลายกลีบบัวมีเกสร ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังประดับด้วยประจำยามรัดอกดุนเป็นลวดลาย เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ต่อด้วยบัวฝาละมีประดับลายฉลุห้อยลงมาคล้ายฉัตรต่อด้วยปล้องไฉน ปลียอดตามลำดับ
___นอกจากพระธาตุลำปางหลวงแล้ว ภายในวัดยังมีปูชนียวัตถุสำคัญคือพระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานภายในโขงทรงปราสาทภายในพระวิหารหลวงที่อยู่ด้านหน้าพระธาตุเพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่นี้อีกด้วย
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๘๙
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
.....วันที่ ๒๐ มกราคม เช้าตื่นขึ้นราว ๐๗.๐๐ น. เศษ หมอกยังลงเต็มเห็นอะไรไม่ถนัด ปรอท ๕๖ องศาฟาเรนไฮต์ รู้สึกหนาวพอทน รับประทานข้าวกันแล้วก็ออกรถไปเมืองน่านระยะทาง ๑๒๐ กิโล ถนนเรียบร้อยวิ่งได้เร็วได้ข้ามห้วยแม่คำมี ซึ่งมีชื่อมาแต่ก่อนว่าต้องข้ามห้วยไม่น้อยกว่า ๓๐ - ๔๐ ครั้งจึงจะถึงเมืองน่าน.....
.....เมื่อผ่านทางอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเรือกสวนไร่นาแล้ว ก็เข้าในเขตเขาซึ่งเรียกว่า เขากึ่ง คือครึ่งทางระหว่างแพร่ - น่าน ถนนราดยางเรียบดีกว่าในกรุงเทพฯ มากมาย เพราะพื้นเป็นตัวเขาอยู่แล้ว ถนนลดเลี้ยวไปตามไหล่เขาตามลำธาร ตามช่องเขา ตามริมแม่น้ำน่าน บางตอนงามจนยากที่จะพรรณนา แม้ไม่ถึงในสวิตเซอร์แลนด์ก็นับเป็นญาติกันได้ ข้าพเจ้าคิดว่างามกว่าทุกสายในเมืองไทยในเวลานี้ เวลาอยู่หว่างเขาเห็นน้ำใสไหลรินอยู่ในลำธาร มีต้นเลาขึ้นอยู่เห็นพงอยู่ตามริมน้ำ ดอกอ่อนสีเขียว ดอกสาวสีม่วง ดอกแก่สีโพลง แลดูราวกับปักขนนกไว้เป็นหมู่ๆ งามอัศจรรย์.....
.....เข้าเมืองน่าน ถึงเวลาเที่ยง ๑๐ นาที ถนนหนทางกว้างใหญ่ บ้านเรือนมีฝารอบขอบชิดเป็นส่วนสัด เห็นได้ว่าเป็นเมืองไม้ทั้งแพร่และน่านเพราะมีเรือนฝากระดานแผ่นไม่ใช่เล็กๆ หลังคาก็ทำด้วยไม้เป็นรูปกระเบื้อง เข้าเมืองไปสัก ๒ - ๓ เลี้ยวก็ถึงคุ้มหลวง (ซึ่งเป็นศาลารัฐบาลบัดนี้) และวัดช้างค้ำ อยู่ตรงหน้าคุ้ม วัดพรหมินทร์ (ภูมินทร์) อยู่ทางขวา วังเจ้านายอยู่ข้างซ้าย เราตรงไปศาลารัฐบาลดูงาช้างดำซึ่งเหลืออยู่ข้างหนึ่งในห้องคลังสีม่วงๆ และเป็นงาตัน ถ้าเอาเทียบกับงาขาวธรรมดาแล้วก็ควรเรียกว่า ดำ.....พวกวิทยาศาสตร์เขาว่าช้างเป็นโรค แล้วแต่ผู้ใดจะเชื่ออย่างไร.....
.....ออกจากศาลารัฐบาลไปเยี่ยมเจ้าราชบุตร์ (เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) ดูท่าทางท่านก็สบายดีแต่คงเปล่าเปลี่ยวเพราะเหลือกันน้อยองค์แล้ว แล้วไปเฝ้าเยี่ยมเจ้าราชวงศ์ซึ่งกำลังประชวรมากอยู่ในเตียง...ท่านชนมายุถึง ๘๐ เศษแล้วและทุกคนเข้าใจว่าประชวรเป็นครั้งสุดท้าย...ท่านบอกว่า ได้นึกถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงอยู่เสมอไม่ลืมได้เลย...เฝ้าอยู่พอไม่ให้ท่านเหนื่อยแล้วก็ทูลลากลับมาขึ้นรถออกไปรับประทานข้าวกลางวันที่พักกรมทางนอกเมือง เจ้าเลี่ยมคำ (เจ้านายเมืองแพร่ในสายสกุล"วังซ้าย") ทำอาหารใส่ปิ่นโตมาในรถด้วยเอร็จอร่อยลำแต๊.....
ส่วนหนึ่งจากเอกสาร "แพร่ - น่าน ๒๔๙๓" นิพนธ์โดย หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ครั้งเสด็จจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ ๘ - ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓
พิมพ์รวมเล่มอยู่ในส่วนภาคผนวกในหนังสือ "อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ถึงปากน้ำโพธิ์"
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร) สพ.บ. 412/3กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.2 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. 371/1ขประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้ทางโบราณคดี เรื่อง เวียงแพร่ : การดำเนินงานทางโบราณคดีและการกำหนดอายุสมัยโดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. เวียงแพร่เป็นชุมชนโบราณที่มีคูคันดินหรือกำแพงเมือคูเมืองล้อมรอบ โดยมีกำแพงเมือง ๑ ชั้น คูเมือง ๑ ชั้น ขุดล้อมเนินดินธรรมชาติอันเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำยมจำนวน ๓ เนิน ตัวเมืองมีความกว้างที่สุด ๘๓๐ เมตร ยาวที่สุด ๑,๔๖๖ เมตร เดิมมีประตูเมือง ๔ ประตู ซึ่งเป็นประตูมาแต่โบราณ ประกอบด้วย ประตูชัย ประตูยั้งม้า ประตูศรีชุม และประตูมาน เวียงแพร่เป็นศูนย์กลางของนครรัฐแพร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.1986 พระเจ้าติโลกราชทรงให้พระมารดายกทัพหลวงมาตีเมืองซึ่งในขณะนั้นมีท้าวแม่นคุณเป็นเจ้าเมือง ต่อมาเมืองแพร่ถูกปกครองโดยอาณาจักรพม่า ก่อนที่พญามังไชยเจ้าเมืองแพร่เข้าสวามิภักดิ์กับพระเจ้ากรุงธนบุรีทำให้เมืองแพร่อยู่ภายใต้การปกครองของสยามในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยเมืองแพร่ในขณะนั้นมีเมืองขึ้น ๒ เมืองคือเมืองสองและเมืองม่าน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองแพร่ถือเป็นหนึ่งใน ๕ หัวเมืองประเทศราชที่สำคัญของสยาม . เวียงแพร่ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองและพื้นที่ใช้งานภายในเมือง จำนวน ๔ ครั้ง ทำให้เราทราบได้ว่าว่าเวียงแพร่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานทางโบราณคดีโดยสรุป ดังนี้ - ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ในบริเวณวัดศรีชุม จากการขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาชนิดเคลือบและไม่เคลือบแบบเชลียงจากแหล่งเตารุ่นเก่าเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียว (Celadon) ผลิตจากแหล่งเตาหลงฉวน มณฑลเจ๋อเจียง สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๓ – ๑๙๑๑) ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเคลือบจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาจากแหล่งเตาพื้นเมืองล้านนา แวดินเผา ร่องรอยหลุมเตาไฟ และเศษถ่านที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ กำหนดอายุชั้นการอยู่อาศัยในระยะแรกนี้อยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ - ครั้งที่ ๒ เป็นการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีหลุมที่ ๑ สรุปการค้นพบหลักฐานได้ว่า “...ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เป็นชิ้นส่วนแตกหักของภาชนะดินประเภทชามหรือจาน ไห ถ้วย โดยในชั้นหลักฐานที่ ๑ ๒ และ ๓ ของหลุมขุดตรวจที่ ๑ พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่งเคลือบสีดำ เคลือบสีเขียวมะกอก เคลือบสีน้ำตาลไหม้ เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาลำปาง เตาบ่อสวก (จังหวัดน่าน) และเตาเมืองพะเยา ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๒ หรือประมาณ ๘๐๐ – ๔๐๐ ปีมาแล้ว ฉะนั้นจึงสามารถกำหนดอายุกำแพงเมืองแพร่ได้ว่าถูกสร้างขึ้นและใช้งาน รวมทั้งพัฒนาขึ้นเป็นกำแพงอิฐตั้งแต่เมื่อประมาณ ๘๐๐ – ๔๐๐ ปีมาแล้ว” อย่างไรก็ตามค่าอายุข้างต้นเป็นการกำหนดอายุเชิงเปรียบเทียบในปัจจุบันมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ในแหล่งเตาบ่อสวก จังหวัดน่านและแหล่งเตาเวียงบัว (แหล่งเตาพะเยา) จังหวัดพะเยา เป็นที่แน่ชัดแล้ว โดยกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ ได้ค่าอายุเตาบ่อสวกอยู่ที่ พ.ศ.๑๘๓๘ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และค่าอายุแหล่งเตาเวียงบัว (แหล่งเตาพะเยา) อยู่ที่ พ.ศ.๑๘๓๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดังนั้นค่าอายุเศษเครื่องถ้วยบ่อสวกและพะเยาที่ขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ สามารถช่วยกำหนดอายุกำแพงเมืองแพร่ว่ามีก่อสร้างขึ้นไม่ควรเกินไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ครั้งที่ ๓ การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีประกอบการบูรณะและพัฒนาเจดีย์วัดหลวง ในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ ๓ โดยดำเนินการขุดค้นบริเวณฐานกำแพงวัดด้านในทางด้านทิศตะวันออกของวัดใกล้ซุ้มประตูโขง จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งลายขูดขีดเป็นเส้นคลื่นสีน้ำตาลมีหูปั้นแปะโดยพบในชั้นความลึก 190 – 220 cm.DT ซึ่งเป็นชั้นดินและชั้นวัฒนธรรมที่ไม่ถูกรบกวน มีลักษณะคล้ายกับเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งสีน้ำตาลลายขูดขีดเส้นคลื่นของแหล่งเตาเมืองเชลียงและมีบางส่วนมีลักษณะคล้ายเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งชนิดเคลือบแหล่งเตาบ่อสวก เศษเครื่องถ้วยที่พบยังมีลักณะเหมือนกับที่ขุดค้นพบที่วัดศรีชุม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ จากข้างต้นจึงสันนิษฐานได้ว่ามีการใช้พื้นที่ภายในเมืองแพร่อย่างน้อยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒ - ครั้งที่ ๔ เป็นการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองบริเวณชุมชนร่องซ้อหรือกำแพงเมืองส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากการขุดค้นชั้นคันดินชั้นแรกสุด ขุดค้นพบเศษภานะดินเผาจากแหล่งเตาสันกำแพง ที่มีแหล่งผลิตบริเวณที่ลาดเชิงเขาแม่น้ำปิง เป็นแหล่งเตาที่มีการผลิตถ้วยชามและจานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างมาก โดยมักพบเศษเครื่องถ้วยในแหล่งโบราณคดีหลายแหล่งทั่วภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะโดยทั่วไปของแหล่งเตาสันกำแพงจะมีเนื้อดินหยาบสีเทาถึงสีเทาดำมีการใช้น้ำดินสีขาวทารองพื้นบริเวณขอบปากและตัวภาชนะด้านในก่อนนำไปตกแต่งลวดลายหรือเคลือบ เครื่องถ้วยสันกำแพงมีทั้งประเภทเคลือบสีเขียวและสีน้ำตาล หรือเขียนลายสีดำ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ สอดคล้องกับค่าชั้นคันดินชั้นแรกที่นำไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (TL Dating) ได้ค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เช่นเดียวกัน --------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง - ก่องแก้ว วีระประจักษ์, สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล. โบราณคดีล้านนา. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์, 2540.ชอว์, จอห์น. เครื่องปั้นดินเผาไทย .กรุงเทพฯ : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2534.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. เครื่องถ้วยศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอสถสภา, 2539.สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. การบูรณะและพัฒนาโบราณสถานเจดีย์วัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. น่าน :สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน, 2555.สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่. สรุปผลการขุดตรวจทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่. เชียงใหม่ : สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่, 2546.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค.วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์มบุคส์, 2547.Praicharnjit, Sayan. Archaeology of Ceramic in LAN NA, Northern Siam. Bangkok : Silpakorn University, 2011.
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น)
สพ.บ. 318/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี