ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง : สุภาษิตสอนสตรี
ผู้แต่ง : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรุงเทพการพิมพ์
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ในงานบำเพ็ญกุศล ประชุมเพลิงศพ พระอธิการทอง ธมฺมโชโต ณ เมรุวัดเลียบ (ท่าออก) ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ วัฒนกิจพาณิช
ปีที่พิมพ์ 2519
จำนวนหน้า 59 หน้า
รายละเอียด
อนุสรณ์ในงานบำเพ็ญกุศล ประชุมเพลิงศพ พระอธิการทอง ธมฺมโชโต ณ เมรุวัดเลียบ (ท่าออก) ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติโดยสังเขปของพระอธิการทอง ธมฺมโชโต ศาสนพิธีสำหรับชาวบ้าน ได้แก่ กุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธีและปกิณกะ นอกจากนี้ยังมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศพ ประวัติสังเขปของวัดเจ้ามูลฯ ต.วัดท่าพระ อ.บางกอกใหญ่ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ท้ายเล่มมีคติธรรม คติพจน์และคติเตือนใจ ประกอบ
ธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์, เจ้าฟ้า, 2258-2298. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง และเสภาของสุนทรภู่ แต่ง 2 เรื่อง: เสภา เรื่องพระราชพงศาวดาร และเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิด พลายงาม. ลพบุรี: โรงพิมพ์ศูนย์การทหารปืนใหญ่, 2498. อธิบายตำนานเห่เรือ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้า ธรรมธิเบศร์ เสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร สุนทรภู่ แต่ง ตอนที่ 1 เรื่องตีเมืองขอม และเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม สุนทรภู่ แต่ง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายแดง ศิลปสุขุม วันที่ 30 ตุลาคม 2498895.91108 พ717ด
ภาชนะแบบมีปุ่มแหลม(Knobbed ware) เป็นภาชนะที่นำเข้าจากต่างประเทศ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตภาชนะรูปแบบนี้มีทั้งหิน โลหะ และดินเผา ซึ่งมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ทรงจานก้นโค้งและจานก้นแบน เป็นต้น แต่มีลักษณะเด่นที่เหมือนกัน คือมีปุ่มแหลมตรงกลางด้านในของภาชนะ ภาชนะบางใบอาจมีร่องวงกลมล้อมรอบนักวิชาการได้ให้ความคิดเห็นว่าภาชนะแบบมีปุ่มแหลม ไม่ใช่ภาชนะที่ใช้สำหรับหุงต้มในชีวิตประจำวัน โดยเอียน โกลเวอร์ (Ian Glover) นักโบราณคดีผู้ทำการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ให้ความคิดเห็นว่าภาชนะรูปแบบนี้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ การฝังศพ และยังได้ตีความว่า ปุ่มแหลมของภาชนะ หมายถึง เขาพระสุเมรุ ในต่างประเทศได้พบภาชนะแบบมีปุ่มแหลมที่แหล่งโบราณคดี Wari-Bateshwar ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๘ในบริเวณอ่าวเบงกอลและพบในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังพบภาชนะแบบมีปุ่มแหลมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศเวียดนาม จังหวัดธันฮัว(Than Hoa) และในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยพบในภาคกลางที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี ที่ภาคใต้พบในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๙ นอกจากนี้ยังพบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือและแหล่งโบราณคดีหาดปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง ภาชนะแบบมีปุ่มแหลมใบนี้จึงเป็นตัวแทนของวัตถุที่ถูกนำเขามาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ เป็นโบราณวัตถุชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ...............................................................ข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2505
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505
พระยาตรังได้รวบรวมบทประพันธ์ที่กวีสมัยโบราณ เช่น พระพระยาเยาวราช พระเทวีสุโขทัย ศรีธนญชัย พญาตรัง เป็นต้น ได้แต่งไว้ได้นำถวายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เมื่อเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ คำประพันธ์ทั้งหมดแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ โคลงเบ็ดเตล็ด โคลงกลบทกับโคลงกระทู้ โคลงนิราศของกวีสมัยอยุธยาตอนปลาย และบทประพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 127 บท
Title
จันท์ยิ้ม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน 2561
Subject
จันทบุรี
Description
วารสารประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารเมืองจันทบุรี ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี
Rights
องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี
Format
PDF
Language
ภาษาไทย
Type
สื่อสิ่งพิมพ์
๐ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เข้าสู่ 'ประเพณียี่เป็ง' ของล้านนาแล้วค่ะ (ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของภาคกลาง) สังเกตได้จากการประดับประดาโคม การจุดผางประทีป ตามวัดและบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นภาพงดงามซึ่งจะมีโอกาสได้เห็นกันในช่วงประเพณีนี้นั่นเองค่ะ
๐ ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีเดือนยี่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยคำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา
๐ ตำนานที่กล่าวถึงที่มาของประเพณียี่เป็งมีอยู่หลายตำนาน เช่น หนังสือตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า ประเพณีลอยโขมด หรือลอยไฟ เป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว การลอยโขมด เกิดขึ้นที่อาณาจักรหริภุญไชย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๙๐ มีกลุ่มคนมอญหรือเม็งที่อาศัยอยู่ในเมืองหริภุญไชยได้อพยพหนีอหิวาตกโรคที่เกิดขึ้นในเมืองไปอยู่ที่เมืองสะเทิม ต่อมาเมื่ออหิวาตกโรคในหริภุญชัยได้สงบลงแล้ว จึงเดินทางกลับหริภุญไชย เมื่อถึงวันครบรอบปีที่ได้จากพี่น้องที่เมืองสะเทิม จึงจัดดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะ พร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ใส่ลงใน สะเปา ลักษณะคล้ายเรือ หรือใส่ในสะตวงหรือกระทงลอยลงน้ำแม่ปิง น้ำแม่กวง แม่ทา เพื่อส่งความระลึกถึงญาติพี่น้องที่ยังอยู่เมืองหงสาวดี จึงเป็นมูลเหตุของการลอยสะเปาหรือลอยโขมด หรือลอยกระทงนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน
๐ งานประเพณีจะมีทั้งหมด 3 วัน คือ
- วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ ชาวพื้นถิ่นเรียกว่า ‘วันดา’ จะเป็นวันสำหรับการซื้อของตระเตรียมสิ่งต่างๆ ไปทำบุญที่วัด (ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๙ ต.ค. ๒๕๖๓)
- วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน (ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๓๐ ต.ค. ๒๕๖๓)
- วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ (ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๕๖๓)
๐ กิจกรรมที่ชาวล้านนานิยมกระทำในประเพณียี่เป็ง คือ การจุดผางประทีปและโคมไฟบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ การปล่อยว่าว จุดบอกไฟชนิดต่างๆ วัด การไปทำบุญที่วัดในวันยี่เป็ง การฟังเทศน์ใหญ่ ที่เรียกว่า เทศมหาชาติ และการทำซุ้มประตูป่า
๐ โดยชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ฯลฯ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมากอีกด้วยค่ะ
๐ เอกสารอ้างอิง :
มณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา(เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 108/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง กฐินทานานิสํสกถา (อานิสงส์กฐิน)สพ.บ. 183/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 54.4 ซ.ม. หัวเรื่อง อานิสงส์กฐินบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ. 127/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 160/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี