ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,678 รายการ
องค์ความรู้เรื่อง "การสังคายนาสวดมนต์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
นายทัตพล พูลสุวรรณ
นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ
กลุ่มจารีตประเพณี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ค้นคว้าเรียบเรียง
“สามก๊ก”
สามก๊กในงานจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เป็นงานเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊กที่พบมากที่สุดในประเทศไทย งานจิตรกรรมแบ่งการเขียนรูปเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียงเรื่องราวตอนละ ๑ ช่อง ด้วยหมึกจีนสีดำ มีอักษรจีนเขียนกำกับไว้ในภาพทุกภาพ มีทั้งหมด ๓๖๔ ภาพ
งานคัดลอกลายเส้นจิตรกรรมวัดประเสริฐสุทธาวาส เป็นการคัดลอกลายเส้นจากภาพถ่ายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลลายเส้น องค์ประกอบของภาพจิตรกรรมที่ยังคงเหลืออยู่ เป็นขั้นตอนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร งบประมาณประจำปี ๒๕๖๖
ดำเนินงานโดย กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
“วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม”
เพลง “ค่าน้ำนม” คงได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก หลายยุคหลายสมัยยังเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงพระคุณของแม่ ที่มีเนื้อหากินใจว่า “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง แม่เฝ้าหวงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล...” ทำให้เห็นถึงความรักของแม่ที่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก จะไปไหนก็เป็นห่วง รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิรู้วาย
วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่ถือเอาวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นวันแม่แห่งชาติ
แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็นวันแม่แห่งชาติอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา เพราะเห็นว่าเป็นเดือนที่ฝนยังตกไม่ชุกนัก จะมีคนมาร่วมงานได้สะดวก โรงเรียนอยู่ระหว่างการหยุดเทอม นักเรียนว่างพอจะเข้าร่วมงานวันแม่ได้ การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ ให้ถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทย เปรียบเสมือนแม่ของชาติ โดยมติเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ โดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที
การที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม ที่ใช้ได้ตั้งแต่เป็นดอกไม้สด จนกระทั่งแห้งเสมือนดั่งความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย เป็นสัญญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (ครั้งที่๓)
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง เสด็จประพาสต้นเมื่องสุพรรณ ครั้งที่๒ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธรูปปางมารวิชัย
สถานที่ประดิษฐาน พระอุโบสถ วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง) ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ประวัติ เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ถวายเมื่อครั้งฉลองกุฏิใหม่วัดมหาสมณารามฯ ปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ตรงกับหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ว่า “. . . วันที่ ๒๒ มิถุนายน จ.ศ. ๑๒๒๒ แห่พระไปเมืองเพชร . . . วันที่ ๒๘ มิถุนายน เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี เป็นครั้งที่ ๓ การแห่พระนั้น ก็คือ การแห่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จํานวน ๑๐ รูป จากวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งมีพระใบฎีกาเอม ข้าหลวง เดิมในพระองค์เป็นชาวบ้านบางจาน เมืองเพชรบุรี ให้ออกไปครองวัดมหาสมณาราม เป็นที่พระครูมหาสมณวงศ์ กับพระอันดับอีก ๙ รูป พร้อมด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์ในการทําบุญฉลองกุฏิใหม่ และพระสงฆ์ที่ไปครองวัดมหาสมณารามนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรบุรี กรมการเมือง เบิกเงินต่อกรมวังมาจัดของคาว - หวาน ถวายพระสงฆ์ เช้า คาว ๕ หวาน ๕ รวม ๑๐ สํารับ . . .”
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นเพียงการสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เดียวกันกับเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ถวายพระพุทธรูปปางมารวิชัยเมื่อครั้งฉลองกุฏิใหม่ ในปี ๒๔๐๓ โดยสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะอายุสมัยเท่านั้น เนื่องจากไม่พบหลักฐานอื่น ๆ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
แบบศิลปะ : ไทย แบบรัตนโกสินทร์
อายุสมัย : อายุราว พุทธศักราช 2300 - 2400
ประวัติ : วัดเพิ่มประสิทธิผล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi/360/model/08/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi
วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ นายวิเชต ลิ้มภักดี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าตรวจสอบความเรียบร้อยของโบราณสถานกู่ประภาชัย เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นจะมีการจัดพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำไปประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ กู่ประภาชัย ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนน้องๆ อายุ 2 - 8 ปี เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก "Kids Inspiration" ในหัวข้อ "pop & purr" ฟังนิทานจากคุณซาร่า แพทริเซียเคลลี่ (Sara Patricia Kelly) นักเขียนหนังสือเด็กชาวออสเตรเลีย และสนุกกับกิจกรรมทำที่คั่นหนังสือรูปแมว ในวันที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 10.30 - 11.30 น. ณ ห้องหนังสือเด็กและเยาวชน อาคาร 1 ชั้น 2 หอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/sPJdJghiQ2p1uv3bA