ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ


...วันนั้น (๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๓) บรรยากาศเงียบเหงามาก บนพระที่นั่งก็สงัด โดยปกติเวลาใกล้เที่ยงจะมีผู้คนเดินขวักไขว่ เพราะพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้ว.....แต่วันนี้ไม่มีเสียงอะไรเลยแม้แต่เสียงพูดกัน ผู้เขียนได้แต่สันนิษฐานว่าคงทรงประชวรหนัก... ...ขอทวนกล่าวถึงฝ่ายผู้เขียนว่า ในระยะนั้นต้องนอนพักในเวลากลางวันเพื่อรับเวรในเวลากลางคืน เฉพาะในวันนี้หลับไม่ลงเพราะใจเป็นห่วงและทุกคนก็นั่งจับเจ่าเหงาหงอยตาจ้องไปทางชั้น ๓ ของพระที่นั่งอัมพรสถาน... ...จนพลบค่ำจึงจำเป็นต้องบังคับตัวเองให้นอน เพราะอีกไม่ช้าก็ต้องไปรับเวร ในที่สุดก็หลับไป มาตกใจตื่นเพราะมีตัวอะไรมากัดหัวแม่เท้าจนเลือดไหล พร้อมกันก็ได้ยินเสียงหนูประมาณว่าหลายสิบตัวยกขบวนกันวิ่งไปวิ่งมาเหนือฝ้าเพดานในอาคารที่ผู้เขียนอยู่.....พวกหนูยังส่งเสียงร้องกุกๆๆ ตลอดเวลา ผู้เขียนเคยได้ยินผู้ใหญ่เล่ากันว่าเมื่อหนูร้องกุกๆ จะมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น... ...ขณะนั้นเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา เห็นจะได้ บรรยากาศเงียบสงัด.....แต่เมื่อมองไปยังพระที่นั่งอัมพรฯ ซึ่งมองเห็นพระบัญชรชั้น ๓ ถนัด ทันใดนั้นผู้เขียนก็เห็นดวงดาวหนึ่งส่องแสงสว่างลอยอยู่ในระดับเดียวกับพระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนคะเนได้เพราะเคยขึ้นเฝ้าเวลาเสวยเนืองๆ ดาวนี้มีแสงสว่างมากยิ่งกว่าดาวใดๆ ที่ผู้เขียนเคยเห็นและมีหางพาดยาวไปทางพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายแสงไฟฉายใหญ่ๆ จึงทราบว่าเป็นดาวหางเฮลี่ (Haileys Comet) ที่โจษจันกันในขณะนั้น ผู้เขียนยืนพิงประตูไม่อาจเคลื่อนไหวได้อยู่พักหนึ่ง จึงได้สติว่าต้องไปเปลี่ยนเวร... ...ชั้น ๓ เงียบกริบ ได้ยินแต่เสียงคล้ายเสียงกรนมาจากห้องพระบรรทม.....เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยเห็นอาการเจ็บในขณะหนัก ซึ่งภาษาสมัยใหม่เรียกว่าเข้าขั้นโคม่า ดังนั้นเมื่อได้ยินเสียงคล้ายเสียงกรนจึงนึกว่าในหลวงทรงสบายขึ้นแล้ว และกำลังบรรทมหลับสนิท จึงดีใจเป็นอันมากนึกว่าจะนอนให้สบายเสียที และได้ล้มตัวลงนอนที่ปลายพระบาทสมเด็จ.....มารู้ตัวตกใจตื่นเมื่อได้ยินเสียงร้องเซ็งแซ่.....เห็นคนจำนวนมากมายกำลังหมอบซบกับพื้นเป็นกองๆ ไม่ทราบว่าใครเป็นใคร.....เมื่อผู้เขียนทราบว่าเสียงเซ็งแซ่ข้างต้นเป็นเสียงร้องไห้ของคนจำนวนมากพร้อมๆ กัน จึงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ...ต่อมาผู้เขียนได้รับหมายให้ไปเป็นนางร้องไห้ ให้ไปตั้งแต่ ๘ โมงเช้าในวันนั้น โดยแต่งชุดขาวทั้งชุด.....ผู้เขียนได้ไปนั่งร้องไห้อยู่ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การร้องไห้นั้นแท้จริงเป็นการร้องเพลงอย่างเศร้าที่สุด เกิดมาผู้เขียนก็เพิ่งเคยได้ยิน ขณะนั้นผู้เขียนอายุในราว ๑๙ - ๒๐ และรู้สึกว่าเพลงร้องไห้นี้ช่างเศร้าเสียนี่กระไร... เนื้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร (สำนักพิมพ์สารคดี)





ชื่อเรื่อง                                อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร) สพ.บ.                                  371/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


จารึกอักษรขอมจำนวน ๔ บรรทัด คำอ่าน-แปล พิมพ์เผยแพร่ในสาส์นสมเด็จ ฉบับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา (ภาค ๑) พ.ศ. ๒๕๑๐           ประวัติการพบปรากฏในบันทึกเรื่องการซ่อมรักษาวัดพระศรีสรรเพชญ ในพระราชวังโบราณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕–๒๔๗๖ (เอกสารกองโบราณคดี) ความว่า “มูลเหตุที่จะซ่อมรักษา (พระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์) คราวนี้ เกิดขึ้นจากมีผู้ร้ายลอบขุดพระสถูปองค์กลางขึ้นก่อน ได้ของไปมาก จับตัวหัวหน้าผู้ร้ายได้ รับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี หัวหน้าผู้ร้ายนี้เองเป็นผู้ยืนยันว่า องค์ข้างด้านตะวันออก ยังมีของบรรจุไว้ข้างในอีกมาก ทางเทศาภิบาลจึงขอให้ทางราชบัณฑิตสภาขุดค้นเสีย โดยชี้แจงว่า ถ้าทิ้งไว้ก็จะเป็นเหตุให้มีการลักขุดกันไม่หยุดหย่อน” ในการขุดค้นได้พบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระพิมพ์และวัตถุ อื่น ๆ จำนวนมาก ส่วนเจดีย์องค์กลางที่คนร้ายลักลอบขุดได้ของสำคัญ คือ จารึกลานทอง ที่คนร้ายทำตกทิ้งไว้ ความว่า          “ในองค์กลางที่ผู้ร้ายลักขุดนั้น มีสถูปศิลาเช่นเดียวกัน สิ่งของที่มีราคาผู้ร้ายเอาไปหมด ทิ้งไว้แต่สถูปหินชั้นนอกเท่านั้น แต่ผู้ร้ายได้ทิ้งของสำคัญไว้อย่าง ๑ คือ ลานทองจารึกหนังสือขอม เป็นสุพรรณบัฏทรงตั้งมเหสีองค์ ๑ เป็นมงคลเทวีศรีวรแก้ว ศักราช ใช้มหาศักราช ตรงในแผ่นดินพระรามาธิบดีที่ ๒”           ปัจจุบันจารึกลานทองดังกล่าว เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)  ชบ.บ.52/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                ตำราโหราศาสตร์ (เล็กเจ็ดตัว) สพ.บ.                                  316/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 29.6 ซม.หัวเรื่อง                                 โหราศาสตร์                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.265/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 ลาน2  (226-231) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปญญาปารมี(ปัญญาบารมี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




บทความทางวิชาการ " การบูรณะวิหารพระนาก วัดจักรวรรดิ์" วิหารพระนาก วัดจักรวรรดิ์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๒๓๗๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เดิมเป็นวิหารหรือหอพระที่ประดิษฐานพระบางเมื่อครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้อัญเชิญมาจากนครหลวงเวียงจันทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานพระบางกลับไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนาก จากหอพระในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกันมาประดิษฐานไว้ในวิหารแทน จึงเรียกวิหารหลังนี้ว่า วิหารพระนาก วิหารพระนากมีความพิเศษหลายประการที่พบไม่บ่อยนักในอาคารในรุ่นราวคราวเดียวกัน อาทิเช่น การตกแต่งผนังภายนอกด้วยงานจิตรกรรมลายแผงหรือลายแย่งแบบราชวัตร (ลายตาราง) ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกพุดตานก้านแย่งจากดอกตูมออกไปทั้งสี่ทิศ ตัวลายสีเหลืองถมพื้นดำ คล้ายกับทำให้ดูเหมือนเป็นการตกแต่งด้วยลายทอง อย่างไรก็ตามการตกแต่งผนังภายนอกดังกล่าวนี้เป็นงานที่เขียนขึ้นใหม่ในยุคหลัง แต่ยังคงรูปแบบลวดลายตามอย่างของเดิม ซุ้มประตู-หน้าต่าง ปั้นปูนเป็นลายดอกพุดตานปิดทอง ตัวบานเขียนด้วยลายทองสอดสีรูปมังกร สิงโต และสัญลักษณ์มงคลในวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญของวิหารแห่งนี้ การตกแต่งหน้าบันด้วยลายปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบลายคราม แสดงเรื่องราวของแม่กาเผือกซึ่งเป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัลป์ และยังเป็นตำนานที่มีอิทธิพลมากในแถบล้านช้างและล้านนา การทำช่องซุ้มประดับประทีป ซึ่งอาจพบเจอได้บ้างในวิหารที่อื่นๆ เช่น วัดไพชยนต์พลเสพย์ เป็นต้น แต่ช่องซุ้มประดับประทีปที่วิหารพระนากนี้ หากนับดูจะได้เท่ากับ ๒๔ ช่อง ซึ่งทำให้นึกไปถึงอดีตพุทธทั้ง ๒๔ พระองค์ การตกแต่งพนักบันไดด้านหน้าด้วยลายปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบลายคราม เป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของพุทธประวัติตอนมารผจญ ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่ปรากฏการการนำเรื่องราวดังกล่าวมาแสดงภายนอกอาคาร นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการเขียนลายทองรูปดอกไม้ที่กรอบช่องเปิดพาไล (กรอบหน้าต่างแนวผนังรอบนอก) ซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ที่สำคัญคาดว่าวิหารพระนาก หรือวิหารพระบางหรือหอพระบางเดิม อาจมีหน้าต่างตรงกรอบช่องเปิดพาไล (กรอบหน้าต่างแนวผนังรอบนอก) เนื่องจากพบว่าไม้กรอบพาไลบางส่วนมีร่องเดือย และร่องรางรับบาน อ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม 4 : วัดสาคัญกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525). 217-218 ปฐมพงษ์ สุขเล็ก. “พระบาง” จากลาวสู่สยาม มาเพราะ “การเมือง” ส่งกลับเพราะ “ความเชื่อ”, ใน ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับมกราคม 2556. อมรรัตน์ จริงวาจา. จิตรกรรมลายแผงสมัยรัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 4 : วิเคราะห์ที่มารูปแบบและพัฒนาการ, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560. http://gis.finearts.go.th/fineart/ วัดจักรวรรดิราชาวาส เรียบเรียง ธีระยุทธ์ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี เอื้อเฟื้อข้อมูล พงศธร เหียงแก้ว ศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์ เรียบเรียง ธีระยุทธ์ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี





Messenger