ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,618 รายการ
คำถามยอดฮิตของเพื่อนและคนที่รู้จักเมื่อยามเจอหน้า ที่เปิดร้านขาย"กาแฟ"ในเมืองจันทบุรี ว่า "มีเรื่องกาแฟบ้างเปล่า เค้าอยากรู้ประวัติกาแฟบ้านเราจัง เผื่อทำเป็นเรื่องราวให้ลูกค้าที่มานั่งดื่มกาแฟได้อ่านกัน" ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่หลงไหลในกาแฟ ความสงสัยเช่นกันว่า เส้นทางของกาแฟเมืองจันทบุรีในอดีตเป็นอย่างไร และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี จะมีเอกสารชั้นต้นหรือชั้นรองมารองรับเรื่องนี้บ้างไหม จากการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ พบว่าใน พ.ศ.2457 ได้มีการระบุว่า...เมืองจันทบุรี โดยเฉพาะท้องที่อำเภอพลอยแหวน(ภายหลังคืออำเภอท่าใหม่) มีราษฎร"ทำสวนกาแฟ"ได้ผลประโยชน์ ซื้อขายกันมากกว่าที่แห่งอื่น ๆ และเป็นกาแฟที่ดี...แต่ยังไม่มีเอกสารระบุว่าเป็นพันธุ์ใด (ผู้เขียน) ...ราคาซื้อขายกาแฟในช่วงนั้น อยู่ที่ชั่งละ 70 สตางค์ ส่วนเอกสารชั้นรองที่ผู้เขียนได้อ่านเจอ ระบุว่า...จันทบุรีมีการปลูกกาแฟมาก่อนแล้ว จากบันทึก"เล่าเรื่องกรุงสยาม"เขียนโดย มงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์ สังฆนายกคณะมิซซังโรมันคาทอลิกประจำประเทศสยาม ได้กล่าวถึง"กาแฟ"ของเมืองจันทบุรี เมื่อคราวเดินทางมาชายทะเลตะวันออก ใน พ.ศ.2381 (สมัยรัชกาลที่ 3) ว่า...ราษฎรชาวจังหวัดจันทบุรีทั้งหมดแทบจะกล่าวได้ว่าประกอบการกสิกรรมอย่างเดียว... กาแฟ...รับสั่งให้ปลูกโดยพระเจ้าแผ่นดิน และก็ได้รับผลดี ข้าพเจ้าได้ดื่มกาแฟรสดีที่จวนท่านเจ้าเมือง...กาแฟในช่วงนั้น เป็นสินค้าออกของสยามส่งได้ปีละ 12,000 หาบ ราคาซื้อขายหาบละ 16 บาท ... และจากหนังสืออ้างอิงอีกฉบับกล่าวถึง"กาแฟ"ว่า...แต่เมื่อถึง พ.ศ.2469 การเพาะปลูกได้ลดน้อยลง มีปลูกที่สงขลาแห่งเดียว จนกระทั่ง พ.ศ.2491-2495 กรมกสิกรรม ได้ค้นคว้าทดลองนำกาแฟที่ดีและเหมาะกับดินฟ้าอากาศของประเทศไทยมาปลูก คือพันธุ์โรบัสต้า และพันธุ์อาราบิคา และจัดตั้งสถานีทดลองขึ้นตามจังหวัดที่เคยปลูกกาแฟได้ผลดีมาก่อนแล้ว คือ จันทบุรี ยะลา ตรัง สงขลา และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ทดลองปลูกทั้งหมด 1,034 ไร่ และในพ.ศ.2501 มีระบุว่า มีการปลูกกาแฟกันราว 40 จังหวัด และใน พ.ศ.2502 เพิ่มเป็น 50 จังหวัด มีผู้ปลูกถึง 8,826 ราย จำนวนที่ดิน 5,227 ไร่ นอกจากนี้ยังพบหนังสือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ได้รายงานว่า...ในจังหวัดจันทบุรี(พ.ศ.2522) มีพื้นที่ปลูกกาแฟ (ซึ่งน่าจะเป็นพันธุ์โรบัสต้า เนื่องจากสามารถขึ้นได้ดีในไทย อีกทั้งให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่น : ผู้เขียน) จำนวน 1,700 ไร่ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอท่าใหม่ ผลผลิตที่ได้ในช่วง พ.ศ.2522-2523 รวม 240-240.9 ตัน มูลค่า 14.5-16.8 ล้านบาท ส่วนการเลิกปลูกกาแฟของจันทบุรีนั้นผู้เขียนไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แต่ที่อ่านพบว่ามีโรคที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับพันธุ์กาแฟคือ "โรครัสท์"เกิดจากเห็ดราจำพวก Rust fungi ชื่อHemileia Vastatrix B.and Br. ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้จันทบุรีเลิกปลูกกาแฟกัน ---------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ---------------------------------------------------------อ้างอิงมงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์. 2549. เล่าเรื่องกรุงสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. มหาดไทย, กระทรวง. (2503). คำแนะนำการปลูกกาแฟ. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 2.2.4/16 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องกระทรวงมหาดไทย สั่งให้จัดทำยานพาหนะต่างๆ ส่งเข้าไปกรุงเทพฯ (11 พฤษภาคม 2457 – 2 มิถุนายน 2462) อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี, สำนักงาน. (ม.ป.ป.). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงงานกาแฟผงสำเร็จรูป. ม.ป.ท.
อาคารเก่าเล่าเรื่องเมืองหว้านใหญ่
อำเภอหว้านใหญ่แต่เดิมอยู่ในเขตเมืองพาลุกากรภูมิ ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ขึ้นเมืองมุกดาหาร เขตเมืองพาลุกากรภูมิ ทางเหนือตั้งแต่ลำน้ำก่ำ ทางใต้ถึงห้วยบางทราย เมืองพาลุกากรภูมิถูกยุบเป็นหมู่บ้าน ขึ้นกับตำบลบ้านหว้าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ขึ้นกับท้องที่อำเภอมุกดาหาร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ยกฐานะเป็นอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖
อำเภอหว้านใหญ่มีวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณวัดมีกำแพงล้อมรอบพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ และมีสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ก็คือ อาคารที่ว่าราชการหว้านใหญ่ (เดิม)
อาคารหลังนี้ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๐ โดยช่างญวนชื่อ แก้วบุญสี (ศรี) แต่บ้างระบุว่าชื่อ หัสดี จากฝั่งประเทศลาวซึ่งมาบวชที่วัดแห่งนี้ แรกสร้างเชื่อว่าน่าจะใช้เป็นที่ว่าราชการหว้านใหญ่ในขณะนั้น เนื่องจากบริเวณหน้าจั่วอาคารด้านหน้าประดับรูปครุฑอย่างที่นิยมสร้างเป็นสถานที่ราชการในช่วงเวลานั้น จากนั้นเมื่อย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ออกไป ทางวัดน่าจะใช้เป็นกุฎิสงฆ์และใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในเวลาต่อมา
ลักษณะตัวอาคารเป็นทรงตึกฝรั่ง ๒ ชั้น มีแผนผังเป็นรูปตัวที (T) ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออกทำเป็นมุกยื่นออกมา ชั้นล่างยกพื้นเตี้ย ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและทั้งสองปีกซ้ายขวา ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง ชั้นที่ ๒ มีรูปแบบเช่นเดียวกับชั้นล่าง คือ ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสากั้นด้วยราวระเบียง ส่วนหัวเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง หลังคาส่วนหน้าทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา หลังคาส่วนหลังทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา
อาคารหลังนี้นับเป็นอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่นิยมสร้างในสมัยนั้น และเป็นอาคารที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ง พื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๕.๗๙ ตารางวา
ข้อมูล: เมริกา สงวนวงษ์
อ้างอิง: -กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี.๒๕๕๖.รายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ในจังหวัดมุกดาหาร .กรุงเทพฯ :เดือนตุลา.
-คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดมุกดาหาร.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๓ โดยการริเริ่มของกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งมีแนวคิดว่าจะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อระลึกถึงพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ไว้ด้านหน้าอาคารคุ้มหลวงซึ่งหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.๒๔๗๕ ได้ถูกปรับใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัด และบริเวณโดยรอบได้ใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น อำเภอเมืองน่าน ที่ดินจังหวัด สำนักงานของกาชาดจังหวัด เป็นต้น
ต่อมาเมื่อมีการสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดขึ้นบนพื้นที่ระหว่างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและวัดกู่คำกรมศิลปากรจึงได้รับมอบพื้นที่เพื่อนำมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน โดยในปีพ.ศ.๒๕๒๓ นั้นศาลากลางจังหวัดได้ย้ายออกไปทำงานที่ศาลากลางใหม่ในขณะนั้นแล้วส่วนพิพิธภัณฑ์ยังไม่เปิดให้บริการ
การสร้างอนุสาวรีย์ใช้ภาพต้นแบบที่ได้จากเจ้านิรมิต สิริสุขะ โดยได้ช่างจากโรงหล่อที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ปั้นโดยใช้ขนาดสูงเท่าครึ่งขององค์จริง ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ บริเวณด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยหล่อแยกเป็น ๒ ชิ้นแล้วนำไปประกอบที่กรุงเทพฯ จากนั้นเชิญมาประดิษฐานด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นวันกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน สำหรับผู้ออกแบบฐานอนุสาวรีย์เป็นบุคลากรจากรพช.
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คุณอุดม เกสโรทยาน อดีตสมาชิกสภาจังหวัด และประธานชมรมลูกเสือชาวบ้าน เรื่องการสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
ปราสาทบ้านโคกปราสาท ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น จากร่องรอยที่ปรากฏ สันนิษฐานองค์ประกอบได้ดังนี้ 1. ปราสาท บริเวณปราสาท ปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร บนเนินปรากฏแท่งหินทรายและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งเนิน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า โบราณสถานหลังนี้ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและรื้อย้ายชิ้นส่วนต่าง ๆ หลายครั้ง ทำให้ปราสาทพังทลาย และชิ้นส่วนประกอบอาคารอยู่ในลักษณะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป การดำเนินงานขุดลอกบารายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีการนำดินมาถมบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏคูน้ำโดยรอบปราสาทที่ชัดเจน แต่จากร่องรอยของพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำที่เหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมมีคูน้ำล้อมรอบปราสาทอยู่ด้วย คูน้ำมีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร บริเวณเนินดินปรากฏแท่งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ที่ส่วนกรอบหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกชี้ลงด้านล่าง ชิ้นส่วนกรอบประตู กรอบหน้าต่าง บัวเชิงผนัง บัวเชิงชายหลังคา ส่วนผนังอาคาร เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม โบราณวัตถุส่วนหนึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นชิ้นส่วนปลายกรอบหน้าบันสลักลายนาคห้าเศียร นาคหัวโล้นไม่มีกระบังหน้า ซึ่งเป็นลักษณะนาคในศิลปะเขมรแบบบาปวน เสาประดับผนัง บัวเชิงผนังสลักลายกลีบบัว บัวยอดปราสาท 2. บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีบารายตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 270 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 2-3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบ้านเก่า หรืออ่างเก็บน้ำโคกปราสาท ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในพื้นที่บางส่วน บารายนี้สร้างคร่อมห้วยบ้านเก่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย โดยการสร้างคร่อมลำน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการขุดลอกบารายไปแล้วเมื่อปี 2543 โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ก่อสร้างโดยใช้ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ และมีบารายตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก-----------------------------------------------------------//ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
เลขทะเบียน: กจ.บ.5/1-7:1ก-7กชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมสงฺคิณีปริเฉท พระมหาปฏฺฐานปกรณมาติกาข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูกจำนวนหน้า: 442
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 415/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
โคมป่อง ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ขนาด: สูง ๓๔ ซม. ฐานกว้าง ๑๕ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โคมป่อง ใช้สำหรับจุดไฟประทีปเพื่อบูชาพระบรมธาตุ ทรงสี่เหลี่ยม มีร่องรอยการปิดทองล่องชาด ตัวโคมหล่อโปร่งเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา หลังคาเป้นลักษณะของหลังคาลาดซ้อนกัน ๒ ชั้น ที่มุมทั้ง ๔ ของหลังคา มรกระหนกตัวเหงา ยอดเป็นทรงบัวตูมระหว่างหลังคาทั้ง ๒ ชั้น คั่นด้วยท้องไม้เจาะเป็นลายลูกฟัก คล้ายกับช่องใต้ฐานหน้ากระดานของโคมป่องพระรัตนปัญญาเถระ ที่มีจารึกระบุ พ.ศ. ๒๐๕๑ และพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่ร่วมสมัยกัน
เลขทะเบียน : นพ.บ.178/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปพฺพชฺชานิสํสกถา (ปพฺพชฺชานิสํสงฺข)
ชบ.บ.53/1-1ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)