ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการขุดลอกบารายเมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาค 2 ระหว่าง พุทธศักราช 2434 ถึง พุทธศักราช 2453
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
จำนวนหน้า : 336 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ ได้ประมวลเอกสารที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่างพุทธศักราช 2434 ถึงพุทธศักราช 2453 เป็นพระราชหัถต์เลขาพระราชทานไปยังเสนาบดี เจ้ากระทรวง ที่กราบบังคมทูลถวายรายงานข้อราชการเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ตั้งแต่ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 110 ถึง วันที่ 5 กรกฎาคม ร.ศ. 129 ประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับชาวจีนในด้านคดีความต่าง ๆ การก่อความวุ่นวายของอั้งยี่ เป็นต้น
ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น แก้อสรพิษ, แก้ริดสีดวง, ยาสุม,ยาคตทะราช, แก้สันนิบาต, ยาแก้หอบ, แก้คอแห้ง, ยาทองเนื้องาม, แก้เลือดตีขึ้น ฯลฯ
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหาร กับตำนานกรมทหารราบที่ 4
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 98 หน้า
สาระสังเขป : เรื่องตำนานการเกณฑ์ทหาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเรียบเรียงขึ้นถวาย จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 4 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ตำนานและต้นเหตุของการเกณฑ์ทหารไทยแต่โบราณ การตั้งทำเนียบศักดินา พงศาวดารว่าด้วยการตั้งกองทหารชาวต่างประเทศ การกำหนดเวลารับราชการ การจัดประเภททหาร เป็นต้น ส่วนตำนานกรมทหารราบที่ 4 นั้น กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงเรียบเรียงขึ้นพิมพ์แจกในงานฉลองธงชัยของกรมทหารราบที่ 4 กล่าวถึงประวัติการจัดตั้งกรมฯ ประวัติผู้บังคับการ ฐานะของกรมฯซึ่งแต่เดิมเป็นกองพลอิสระ และประวัติผลงานทั้งด้านการศึกและการปราบปราม เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง สถาบันรวบรวมเอกสารประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง บันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 3 เรื่องพระราชอาณาจักรสยามในสงครามโลก ครั้งที่ 2
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พิทยาคาร (ในความอุปการะของรัฐบาล)
ปีที่พิมพ์ 2522
จำนวนหน้า 107 หน้า
รายละเอียด
บันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 3 เรื่องพระราชอาณาจักรสยามในสงครามโลก ครั้งที่ 2 กล่าวถึงหนังสือราชการต่างๆ ที่เป็นการติดต่อระหว่างกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นความลับสุดยอดในระหว่างมหาสงครามขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ทราบทัศนคติของรัฐบาลแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงอังกฤษและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่าแตกต่างกันอย่างไรทั้ง 2 ประเทศมีนโยบายทางการเมืองอย่างไร ในขณะที่ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับอภิมหาอำนาจเหล่านั้น อีกทั้งได้สดุดีและชื่นชมวีรชนผู้เสียสละชีวิตเพื่อชาติในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไทยไว้เหนือสิ่งอื่นใด ท้ายเล่มมีเอกสารแนบท้ายประกอบ
เครื่องประดับทองรูปทรงคล้ายมกุฎ ส่วนฐานเป็นวงแหวนซึ่งทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกันไว้ (Granulated gold beads) ส่วนบนทำเป็นทรงกรวยคล้ายเครื่องประดับศีรษะ คือ “มกุฎ” ทอง ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่า หายาก เครื่องประดับทองได้ถูกค้นพบในเมืองท่าโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง แหล่งโบราณคดีคลองท่อมจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีโคกทองจังหวัดสงขลา รูปทรงของเครื่องประดับที่พบมีหลากหลาย เช่นลูกปัดทองแบบรูปไข่ (Oval) ลูกปัดทองแบบกลม (Globular) ลูกปัดทองแบบเม็ดกลมต่อกันเป็นปล้อง ๆ (Segmented bead) ลูกปัดทองแบบวงแหวน (Annular) และแหวนทอง เป็นต้น สำหรับเครื่องประดับทองคำชิ้นนี้พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าโบราณภูเขาทอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๙ ลักษณะเด่นของโบราณวัตถุชิ้นนี้คือส่วนฐานของเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเป็นการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกัน และยังพบเครื่องประดับที่นำลูกปัดทอง มาใช้ในลักษณะเช่นนี้รูปแบบอื่นๆ ที่ภูเขาทองอีกด้วย ในภาคใต้ยังพบเครื่องประดับทองรูปแบบนี้ที่เมืองท่าโบราณอื่นๆ อาทิ เขาสามแก้วและโคกทอง สำหรับในต่างประเทศพบที่เมืองตักศิลาประเทศอินเดีย และที่ประเทศอิหร่าน จากข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับทองที่ทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กมาต่อติดกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงท่าการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกิดขึ้นในอดีต และจากรูปแบบของเครื่องประดับทองชิ้นนี้ซึ่งมีความงดงามและละเอียดมาก จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องประดับทองชิ้นนี้คงถูกนำเข้ามาจากต่างแดนมาสู่เมืองท่าโบราณภูเขาทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ---------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ผู้แต่ง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายศุข นาคสุวรรณ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2508
กิจจานุกิจย์ เป็นเรื่องความรู้รอบตัวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา เรื่องการกำหนด นับ วัน เดือน ปี ดินฟ้าอาอาศ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ เป็นต้น
ปริวรรต/เรียบเรียง : นายณัฐพงค์ มั่นคงห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากร ประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือISBN/ISSN : 978-616-283-526-1ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหมวดหมู่ : พุทธศาสนาปีที่จัดทำ : 2563ลักษณะวัสดุ : 118 หน้า : ภาพประกอบ ; 25.5 ซม. ชื่อชุด : ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหัวเรื่อง : ท้าวก่ำกาดำ--วรรณกรรมชาดกนอกนิบาต การเสวยชาติของพระโพธิสัตว์เป็น ท้าวก่ำกาดำ ท้าวก่ำกาดำ--คัมภีร์ใบลาน วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ : ท้าวก่ำกาดำ ฉบับนี้เป็นการแปลปริวรรตจากเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน ฉบับลานดิบทะเบียนเลขที่ นพ.บ.1653/1 ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จำนวน 1 ผูก 129 ลาน อักษณไทน้อย ภาษาไทยอีสาน สำนวนร้อยกรอง ไม่ระบุนามผู้สร้าง และศักราชที่สร้างแน่ชัด เป็นวรรณกรรมประเภทนิทาน มีลักษณะเป็นชาดกนอกนิบาต คือเป็นวรรณกรรมที่แต่งแลียนแบบวรรณกรรมนิบาตชาดก