เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เครื่องประดับทองคำรูปมกุฎ (มงกุฎ)
เครื่องประดับทองรูปทรงคล้ายมกุฎ ส่วนฐานเป็นวงแหวนซึ่งทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกันไว้ (Granulated gold beads) ส่วนบนทำเป็นทรงกรวยคล้ายเครื่องประดับศีรษะ คือ “มกุฎ” ทอง ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่า หายาก เครื่องประดับทองได้ถูกค้นพบในเมืองท่าโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง แหล่งโบราณคดีคลองท่อมจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีโคกทองจังหวัดสงขลา รูปทรงของเครื่องประดับที่พบมีหลากหลาย เช่นลูกปัดทองแบบรูปไข่ (Oval) ลูกปัดทองแบบกลม (Globular) ลูกปัดทองแบบเม็ดกลมต่อกันเป็นปล้อง ๆ (Segmented bead) ลูกปัดทองแบบวงแหวน (Annular) และแหวนทอง เป็นต้น
สำหรับเครื่องประดับทองคำชิ้นนี้พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าโบราณภูเขาทอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๙ ลักษณะเด่นของโบราณวัตถุชิ้นนี้คือส่วนฐานของเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเป็นการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกัน และยังพบเครื่องประดับที่นำลูกปัดทอง มาใช้ในลักษณะเช่นนี้รูปแบบอื่นๆ ที่ภูเขาทองอีกด้วย ในภาคใต้ยังพบเครื่องประดับทองรูปแบบนี้ที่เมืองท่าโบราณอื่นๆ อาทิ เขาสามแก้วและโคกทอง สำหรับในต่างประเทศพบที่เมืองตักศิลาประเทศอินเดีย และที่ประเทศอิหร่าน
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับทองที่ทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กมาต่อติดกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงท่าการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกิดขึ้นในอดีต และจากรูปแบบของเครื่องประดับทองชิ้นนี้ซึ่งมีความงดงามและละเอียดมาก จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องประดับทองชิ้นนี้คงถูกนำเข้ามาจากต่างแดนมาสู่เมืองท่าโบราณภูเขาทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙
---------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
(จำนวนผู้เข้าชม 2263 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน