ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

โบราณคดีอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ตอนที่ 2 : ที่ราบ ลำน้ำ และเกลือสินเธาว์ "ต้นทุนทางธรรมชาติ ที่ดึงดูดให้มนุษย์โบราณเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในเขตพื้นที่อำเภอสีดา"   เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/4หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


        พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรองที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช  ๒๕๖๒         เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร         ศิลปิน : นางสาวนิธีราฤดี ภาตะนันท์  นายช่างศิลปกรรมอาสุโส         กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร         ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ #เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)         การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนตาลปัตร  พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรอง  ที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  เป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในการเริ่มพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ  จิตรกรเขียนภาพจิตรกรรมด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามผสมดินสอพอง  โดยศูนย์ศิลปะและการช่างไทยได้บันทึกรวบรวมขั้นตอน  เรียบเรียงจัดทำเป็นวีดีทัศน์องค์ความรู้  สำหรับสืบทอดกระบวนการงานช่างแบบโบราณของกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่างค่ะ https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26  


           สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗“เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” ทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ ๑๔ มกราคม - ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ประกอบด้วยการแสดงที่หลากหลาย ทั้งการแสดงโขน ละคร การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล ทั้งนี้ได้นำเสนอ การแสดงสำคัญชุดหนึ่งของกรมศิลปากร คือ การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง ซึ่งกล่าวถึงการอวตารของพระนารายณ์ในปางต่าง ๆ เพื่อปราบยุคเข็ญของชาวโลก นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑ ๑. ปางวราหะวตาร ๒. ปางมัจฉาวตาร ๓. ปางมหิงสาวตาร ๔. ปางทุลกีวตาร ๕. ปางทวิชาวตาร ๖. ปางนรสิงหาวตาร ๗. ปางสมณาวตาร ๘. ปางมหัลลกอสุรวตาร ๙. ปางอัปสราวตาร ๑๐. ปางรามาวตาร 


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.55 คาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              21; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คาถาอาคม                 ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


          สีฝัดหรือเครื่องฝัดข้าว ใช้แยกเมล็ดข้าวที่ไม่มีเนื้อหรือขี้ลีบให้ออกจากเมล็ดข้าวดี มีรูปทรงคล้ายกล่องมีขา 4 ขา ทำด้วยไม้ ด้านหนึ่งลักษณะกลมมน อีกด้านหนึ่งโปร่งด้านบนทำเป็นช่องสำหรับใส่ข้าวเปลือกเพื่อให้ไหลลงสู่ตะแกรงเหล็ก ส่วนที่มีลักษณะกลมมนภายในมีใบพัดที่สามารถหมุนด้วยมือ เพื่อพัดขี้ลีบให้ให้ปลิวออกไป ข้าวที่มีน้ำหนักดีจะตกลงสู่รางที่รองอยู่ด้านล่าง          เมื่อนวดข้าวเปลือกให้หลุดออกจากรวงแล้ว มักมีเศษฟาง ขี้ลีบหรือเมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์ รวมทั้งฝุ่นละอองและสิ่งอื่นๆ เจือปนอยู่ด้วย จำเป็นต้องฝัดข้าวเปลือกเพื่อนำสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากเมล็ดข้าวดี ดังนั้น สีฝัดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งที่ใช้ในการทำนาในบริเวณภาคกลาง         สีฝัด เป็นเครื่องใช้พื้นบ้านที่ทำขึ้นจากความคิดและใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน แต่สามารถอำนวยประโยชน์ต่อการใช้สอยได้เป็นอย่างดี   อ้างอิง วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2532.             Significant Object of the Thai Farmers National Museum, Suphan Buri Province         Rice-Winnowing Machine         The rice-winnowing machine is used for separated the atrophy rice grains (incomplete seeds) from the perfect grains. It made into a wooden box with four legs, one side with oval edge, another without, on the top a tray leading to the siever where a fan operated manually in blowing away all the unwanted particles such as dirt, empty grain and hay, leaving only the perfect grains which gradually fall through the siever into the waiting container below, then accumulate at the front of the winnower.         A rice winnower is local creative device with uncomplicated structure and easy implementation, yielding the best results.  



***บรรณานุกรม***  กรมศิลปากร ประชุมพระราชปุจฉา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ถวาย สมเด็จพระญานสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในการฉลองชนมายุครบ 60 ทัศ วันที่ 3 ตุลาคมพุทธศักราช 2516 กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช 2516



  วิธีการปลูกดอกดาวเรือง แนะนำชาวชัยนาทที่ต้องการจะปลูกดอกดาวเรือง เพื่อให้ออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งตรงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่าขอให้เริ่มปลูกช่วงกลางเดือนสิงหาคม โดยเริ่มจากการไถหน้าดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปประมาณ 1 ตันต่อไร่ ยกร่องแปลง รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะห่างแถวละ 30 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุมแล้วเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง แล้วนำต้นกล้าอายุประมาณ 7-10 วัน (นับจากวันเพาะเมล็ด) โดยให้ต้นมีวัสดุเพาะหรือดินหุ้มรากติดมาด้วย นำลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นรดน้ำเช้าเย็น 7 วัน เมื่อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงให้น้ำวันละ 1 ครั้งในตอนเช้าเมื่อต้นกล้าอายุ 15 และ 25 วัน ก็ให้ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนต่อต้น เมื่ออายุ 35 วัน และ 45 วัน เติมปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน โดยฝังลงในหลุ่มตื้นๆ ห่างจากโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย และช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วันต้น จะมีใบใหญ่ประมาณ 4-5 ใบ และส่วนดอกมีใบเล็ก 1-2 คู่ ต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้างจากนั้นอีก 5-7 วัน ในแต่ละกิ่งจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง และเมื่ออายุ 40-45วัน แต่ละกิ่งจะมีตายอดขนาดเมล็ดข้าวโพด ดอกข้างมีขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่และออกดอกสวยงามในเดือนตุลาคมพอดีส่วนผู้ที่ต้องการเพาะเมล็ด ควรเพาะเมล็ดลงกระบะก่อน 7-10 วัน หลังจากเมล็ดงอกแล้วให้ย้ายลงถุงดำ ก่อนที่จะนำไปปลูกลงดิน หากต้องการคำปรึกษา หรือขอรับเชื้อไตรโคเดอร์มา สามารถสอบถามไปได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง




อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2556   ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด   สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222


Messenger