ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
คัมภีร์โรคนิทาน ชบ.ส. ๘๗
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.จอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
๐๑ โครงสร้าง
๐๒ ข้อมูลผู้บริหาร
๐๓ อำนาจหน้าที่
๐๔ แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
๐๕ ข้อมูลการติดต่อ
๐๖ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๐๗ ข่าวประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2564
๐๘ Q&A
๐๙ Social Network
๐๑๐ แผนดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2564
๐๑๑ รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน ในปี พ.ศ. 2564
๐๑๒ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2563
๐๑๓ คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
๐๑๔ คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
๐๑๕ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ 6 เดือนแรก ของปี พ.ศ. 2564
๐๑๖ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ปี พ.ศ. 2563
๐๑๗ E-Service
๐๑๘ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564
๐๑๙ รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือนแรก ของปี พ.ศ. 2564
๐๒๐ รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2563
๐๒๑ แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ ปี พ.ศ. 2564
๐๒๒ ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ ปี พ.ศ. 2564
๐๒๓ สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน (6 เดือนแรก) ของปี พ.ศ. 2564
๐๒๔ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี ปี พ.ศ. 2563
๐๒๕ นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. 2564
๐๒๖ การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. 2564
๐๒๗ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. 2564
๐๒๗-๑ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ข้อ๑ และ ๒ และ ๓
๐๒๗-๒ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ข้อ๑ และ ๔
๐๒๗-๓ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ข้อ๑ และ ๕ และ ๖
๐๒๘ รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี ปี พ.ศ. 2563
๐๒๙ แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๐๓๐ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๐๓๑ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ (6 เดือนแรก) ของปี พ.ศ. 2564
๐๓๒ ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
๐๓๓ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ปี พ.ศ. 2564
๐๓๔ เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
๐๓๕ การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ปี พ.ศ. 2564
๐๓๖ การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี ปี พ.ศ. 2564
๐๓๗ การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ปี พ.ศ. 2564
๐๓๘ การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ปี พ.ศ. 2564
๐๓๙ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ปี พ.ศ. 2564
๐๔๐ รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต ประจำปี รอบ 6 เดือน
๐๔๑ รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี พ.ศ. 2563
๐๔๒ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
๐๔๓ การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปี พ.ศ. 2564
ว่าด้วยผีในอาณาจักรหลักคำ (กฎหมายเมืองน่าน)
การฆ่าควายเลี้ยงผีให้แจ้งทางการก่อน
,,,,,อันหนึ่ง ด้วยการอันจักพลีกรรมผีเทพดาอารักษ์นั้น
คันว่า (หากว่า) ราชสำนักในเวียงหื้อไหว้สาก่อน คันเป็นหน้าบ้านให้มาปฏิบัติเถิงสนาม (เค้าสนามหลวง, ที่ว่าราชการเมือง) ก่อน คันเป็นหัวเมืองนอกหื้อบอกเถิงพ่อเมืองหื้อรู้ก่อน คันบ่บอกหื้อรู้ก่อนทือว่าเป็นโจรลักกินควาย คันว่าได้รู้แล้วจักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตร (คุก, เขตกำหนด) ไว้ คันว่าเป็นเจ้านาย หื้อคาระวะอาชญายากต่อเกิ่ง คันเป็นท้าวขุนหื้อใส่สินคาคอ ๔๔๐ ดอก คันเป็นไพร่หื้อใส่สินคาคอ ๓๓๐ ดอกยากต่อเกิ่ง
ห้ามบนบานจะฆ่าควายเลี้ยงผี
,,,,,อันหนึ่ง ห้ามอย่าหื้อเจ้านาย ท้าวขุน ไพร่ทังหลายบนผีหนั้งภะกรรม(หนังปะกำ/เชือกจับช้าง) และผีพระเจ้า หาดเชี่ยวว่าจักกินควายนั้น อย่าหื้อได้กระทำเปนอันขาด คันบุคคละผู้ใดยังกระทำ จักเอาตัวใส่ราชวัตรไว้ คันเป็นเจ้านายหื้อคาระวะอาชญายากต่อเกิ่ง คันเป็นท้าวขุนหื้อใส่สินคาคอ ๔๔๐ ดอกยากต่อเกิ่ง คันเป็นไพร่หื้อใส่สินคาคอ ๓๓๐ ดอกยากต่อเกิ่ง
*เงินดอก นวรัตน์ เลขะกุล ให้ความเห็นว่าเป็นเงินตราของพม่า ใช้ปนกับเงินธ็อก
**สรัสวดี อ๋องสกุล เห็นว่า แม้ในสมัยนั้นควายเมืองน่านน่าจะมีมาก แต่คดีลักขโมยควายไปกินก็คงมีมากเช่นกัน จึงมีการกำหนดกฏหมายในเรื่องของการฆ่าควายเลี้ยงผี อีกทั้งชนชั้นสูงจะเสียค่าปรับมากกว่าเพราะถือว่ามีหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่า
ผิดผี เลี้ยงผี
,,,,,อันหนึ่ง ด้วยร้าง (พ่อหม้าย) บ่าว (ชายโสด) ทังหลายอันเป็นลูกเจ้านาย ลูกท้าว หลานขุน ไพร่ไท ตังหลายแอ่วต้าน (เกี้ยวพาราศี) ร้างจาสาว (แม่หม้ายและสาวโสด) ได้ไปมาหาสู่กับด้วยกัน แล้วพายลูนผู้ชายพ้อยบ่เอา คันว่าผู้หญิงเป็นลูกหลานไพร่ไท บ้านเมืองและข้าเจ้าคนนาย ข้าท้าว คนขุนก็ดี น้ำเงิน (ทาสประเภทหนึ่ง) ในเรือนก็ดี หื้อแปลงพ่อแม่ผู้หญิง ๕๒ น้ำผ่า (ฉบับ อ.สรัสวดี เป็น ๕๐ เฟื้องน้ำผ่า) ยากต่อเกิ่ง
,,,,,คันว่า ผู้หญิงเป็นลูกหลานเจ้านายในราชขกูล (ราชตระกูล) ก็ดี นอกราชขกูลก็ดี เป็นลูกหลานท้าวพระยาก็ดี เสนาอำมาตย์และขุนแสนหมื่น ท้าวหาญทังหลายก็ดี บุคคละผู้ใดไปเล่นเปิ้น (ได้เสียกัน) แล้วพ้อยบ่เอาก็ดี หื้อคาระวะพ่อแม่ผู้หญิงตามประดายศ (ประดา, พดา = ทั้งหมดทั้งปวง) ขุนกินยากต่อเกิ่งแล้วหื้อแปลงผี (เลี้ยงผีบรรพบุรุษ) ฝ่ายผู้หญิงตามขกูลผี คันว่าผีขกูลกินควายหื้อแปลง ๒๕๐๐ ธ๊อก คันว่าผีขกูลกินหมูหื้อแปลง ๑๒๕๐ ธ๊อก คันว่าผีขกูลกินไก่หื้อแปลง ๖๕๐ ธ๊อก ขุนกินยากต่อเกิ่ง ตันว่าในราชขกูลเจ้าในผีหอหลวงซ้ำ หื้อได้แปลงผีหลวงแถม ๒๒๐๐ ธ๊อก (ฉบับ อ.สรัสวดี เป็น ๑๕๐๐ ธ๊อก) ขุนกินยากต่อเกิ่ง
,,,,,อันหนึ่ง ด้วยหลาน เหลน พี่น้อย เจ้านาย ท้าวขุนทังหลายอันอยู่ต่างเรือน อยู่ที่อื่นก็ดี คันว่าผู้ชายใดไปกระทำผิด หื้อแปลงพ่อแม่เจ้าเรือนที่นั้นตามยศ คันว่าผู้หญิงมาน (ตั้งครรภ์) แล้วพ้อยบ่เอาหื้อแปลงค่าเดือนไฟ (อยู่ไฟหลังคลอด) ๗๒ น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง คันว่าออกดีเป็นแล้ว (มีชีวิต) ออกบ่ดีตายหื้อเสียค่าเฝ้า (ค่าดูแลระหว่างตั้งครรภ์) ๓๓๐ น้ำผ่ายากต่อเกิ่ง
,,,,,ในเนื้อความทังหลายฝูงนั้น คันได้ชำระกันเถิงกว้าน (ศาล) หื้อขุนกินยากต่อเกิ่ง คันบ่ได้ชำระ หากยอมกันนอกกว้าน ด้วยดี หื้อเอาเกิ่งยากด้วยลายแปลงผีนั้น
,,,,,คันว่าขกูลผีกินควายก็มี ผีกินหมูก็มี ผีกินไก่ก็มี ก็หื้อแปลงผีกินควายตัวเดียวเป็นแล้ว คันว่าผีขกูลกินหมูก็ดี ผีกินไก่ก็ดี หื้อแปลงผีกินหมูตัวเดียวเป็นแล้ว
ที่มาเรื่อง
- สรัสวดี อ๋องสกุล. พินิจหลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559.
- สิงฆะ วรรณสัย และพจน์ วุฒิปัญญา ปริวรรต. กฎหมายพระเจ้าน่าน ตำนานพระเจ้าไห้. เชียงใหม่ : ศูนย์ส่งเสริมและศึกษาวัฒนธรรมลานนาไทย วิทยาลัยครูเชียงใหม่, 2523.
ที่มาภาพ
- จักรพงษ์ คำบุญเรือง. พิธีฆ่าควายเลี้ยงผี ประเพณีเลี้ยงดง. www.chiangmainews.co.th/page/archives/602364
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ ตึกกรมศิลปากร (สนามหลวง) นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาและกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ จากนั้นผู้ร่วมพิธียืนสงบนิ่งน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นเวลา ๘๙ วินาที โดยมีหัวหน้าส่วนข้าราชการ เข้าร่วมพิธี ทั้งนี้ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยในรัชสมัยที่ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม พระองค์บำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากมาย ทรงตรากตรำพระวรกายอย่างไม่รู้จัก เหน็ดเหนื่อย เหน็ดเหนื่อย ทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. 371/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ผีปู่แสะย่าแสะ กับ แหล่งทำเหล็ก ในมิติของการทับซ้อนพื้นที่ทางวัฒนธรรม**เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา.- พื้นที่ทางด้านทิศใต้ของดอยสุเทพ มีภูเขาศักดิ์สิทธิ์นามว่า "ดอยคำ" สันนิษฐานว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนรับพุทธศาสนาเข้ามา ดังสะท้อนผ่านตำนานเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับผีบรรพชนดั้งเดิมอย่าง "ปู่แสะย่าแสะ".- ตำนานพระธาตุดอยคำ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของปู่แสะย่าแสะ ว่าเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สามตน (ปู่แสะ ย่าแสะ และบุตร) ยังชีพด้วยการกินเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์ ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงยักษ์ทั้งสามตนได้ฟังเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส พระพุทธองค์ขอให้เหล่ายักษ์รักษาศีล เลิกกินเนื้อมนุษย์ จนเกิดการต่อรอง สุดท้ายจบลงด้วยการไปขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครให้กินควายได้ปีละ 1 ครั้ง .- จากเรื่องราวข้างต้น เป็นที่มาของประเพณีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่มีการกระทำพิธีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะมีการสังเวยควายให้แก่ผีปู่แสะย่าแสะในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ทป.4 (แม่เหียะ) ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.- พื้นที่บริเวณดังกล่าวนอกจากจะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีกรรมเลี้ยงดงผีปู่แสะย่าแสะแล้ว ใต้พื้นดินลงไปยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับแหล่งถลุงเหล็กโบราณที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นับเป็นแหล่งทำเหล็กโบราณตั้งอยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบในปัจจุบัน.- การศึกษาโดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ทำให้พบว่าร่องรอยแหล่งถลุงเหล็กโบราณแห่งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ราว 15,000 ตารางเมตร ปรากฏหลักฐานเป็นเนินตะกรันจากการถลุงเหล็ก (Slag), ตะกรันจากเตาตีเหล็ก, ท่อเติมอากาศ (Tuyere), ก้อนแร่เหล็ก (Iron Ore) และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนาจำนวนมาก.- การวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่า เดิมพื้นที่บริเวณนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของชุมชน ที่มีกิจกรรมการถลุงเหล็กด้วยกรรมวิธีทางตรง และมีเตาตีเครื่องมือเหล็กอยู่ภายในชุมชน นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ่อสวก แหล่งเตาพาน แหล่งเตาสันกำแพง และแหล่งเตาเวียงกาหลง ปะปนอยู่ในชั้นกิจกรรมการถลุงเหล็ก ซึ่งสอดคล้องกับค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ (AMS) ที่มีอายุกิจกรรมอยู่ในราว พ.ศ. 2080 จึงสามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่า ชุมชนทำเหล็กแห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ร่วมสมัยกับช่วงราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่.- นอกจากนี้หากวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานจะพบว่าแหล่งถลุงเหล็กที่แม่เหียะแห่งนี้ มีรูปแบบเตา เทคนิค และกรรมวิธีที่เหมือนกับแหล่งถลุงเหล็กโบราณแม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชนกลุ่มลัวะเป็นเจ้าของ จึงทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่ากลุ่มชนดั้งเดิมที่เคยตั้งชุมชนถลุงเหล็กอยู่ในพื้นที่แม่เหียะแห่งนี้น่าจะเป็นกลุ่มชาวลัวะด้วยเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับความทรงจำในท้องถิ่นที่ระบุว่าเคยมีชุมชนลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงแถบนี้ ก่อนที่จะคลี่คลายไปเป็นชุมชนเมืองดังเช่นปัจจุบัน.- ท้ายที่สุดนี้ ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดว่า การจัดพิธีกรรมเลี้ยงดงผีปู่แสะย่าแสะบนพื้นที่ร่องรอยชุมชนถลุงเหล็กโบราณจะมีนัยยะที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจที่มรดกวัฒนธรรมทั้งประเภท Tangible และ Intangible ของกลุ่มชนดั้งเดิมยังคงอยู่ร่วมกันในพื้นที่ป่าใกล้เมืองแห่งนี้ คู่เมืองเชียงใหม่สืบไป
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง นิสัยโพธิสัตว์ (นิไสโพธิสัด)
สพ.บ. 315/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า กว้าง 5.4 ซม. ยาว 39.6 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี