ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

THAI CULTURE, NEW SERIES NO. 2 THE ROYAL MONASTERIES AND THEIR SIGNIFICANCEBY LUANG BORIBAL BURIBHAND & A.B. GRISWOLD




          สืบเนื่องจากองค์ความรู้ชุด “วิหารธรรมศาลา : พระวิหารสมัยอยุธยา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช” ซึ่งได้กล่าวถึงจารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลา ๓ แผ่น และข้อสันนิษฐานว่าจารึกแผ่นที่ ๓ อาจสลักขึ้นใหม่ เนื่องจากข้อความในจารึกไม่สอดคล้องกับหลักฐานเอกสาร คือบันทึกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งได้คัดลอกข้อความในจารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลาไว้เมื่อครั้งตรวจราชการเมืองนครศรีธรรมราชใน ร.ศ.๑๒๑ (พุทธศักราช ๒๔๔๕) นั้น           จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว นำมาสู่การค้นพบข้อมูลสำคัญอีกประการหนึ่งว่า แท้จริงแล้ว จารึกทั้ง ๓ แผ่น น่าจะถูกถอดลงเมื่อครั้งบูรณะวิหารธรรมศาลาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ แล้วคัดลอกใหม่ทั้งหมดเพื่อแทนที่ของเดิมที่มีสภาพผุพัง เนื่องจากได้พบ “จารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลา” แผ่นที่ ๑ ซึ่งเป็นจารึกแผ่นเดิมที่สลักขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)           จารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลา ที่กล่าวถึงนี้ เป็นจารึกแผ่นที่ ๑ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนจารึกทั้ง ๓ แผ่น เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ข้อความในจารึกมีจำนวน ๑ ด้าน ๔ บรรทัด ขนาดความสูงของตัวอักษรประมาณ ๕ - ๖ เซนติเมตร สลักบนแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕๒ เซนติเมตร ยาว ๑๓๔ เซนติเมตร หนา ๒.๕ เซนติเมตร มีเนื้อหากล่าวถึงการบูรณะวิหารธรรมศาลาในพุทธศักราช ๒๔๓๗ สันนิษฐานว่าผู้สร้างจารึกหลักนี้คือ พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล (ปาน) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะวิหารธรรมศาลาในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงบันทึกไว้ว่าในครั้งนั้นท่านปานได้ทำการบูรณะหลังคาวิหารธรรมศาลาขึ้นใหม่ แล้วเสร็จจึงสั่งให้สลักจารึกนี้ขึ้นประดับบนหน้าบันแต่นั้นมา คำจารึก ๑. ศุกมัสดุพุทธศกราชล่วงแล้ว ๒. ได้สองพันสี่ร้อยสามสิบเจ็ด ๓. ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ๔. ปีมเมีย ฉศก ได้ยกวิหารนี้ คำอ่าน ๑. ศุภมัสดุพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒. ได้สองพันสี่ร้อยสามสิบเจ็ด ๓. ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ๔. ปีมะเมีย ฉศก ได้ยกวิหารนี้           จารึกแผ่นนี้ปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ในคลังโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการวางแผนเพื่อนำส่งไปอนุรักษ์ที่กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔           จากหลักฐานที่พบ จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าจารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลาทั้ง ๓ แผ่นที่ปรากฏในปัจจุบัน น่าจะเป็นจารึกที่คัดลอกใหม่เพื่อแทนของเดิมที่ผุพังเสียหาย โดยอาจทำขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ ตามศักราชที่ปรากฏในจารึกแผ่นที่ ๓ สำหรับจารึกแผ่นที่ ๑ และแผ่นที่ ๒ นั้น เป็นการคัดลอกข้อความที่ปรากฏบนจารึกเดิม เพียงแต่มีรายละเอียดของรูปอักษรบางตัวและลายเส้นที่ต่างกัน ส่วนจารึกแผ่นที่ ๓ นั้น พบว่าถูกสลักขึ้นใหม่โดยมีข้อความต่างไปจากจารึกแผ่นเดิม คือกล่าวถึงการบูรณะวิหารธรรมศาลาในพุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นปีที่บูรณะแล้วเสร็จในขณะนั้น ----------------------------------------------เรียบเรียง/กราฟิก: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ----------------------------------------------อ้างอิง: นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการ แหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ .กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. //หมายเหตุ: สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับจารึกหน้าบันวิหารธรรมศาลาเพิ่มเติมได้จากองค์ความรู้เรื่อง "วิหารธรรมศาลา : พระวิหารสมัยอยุธยา วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารนครศรีธรรมราช" https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/660893617843556?__tn__=K-R


ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           บรรณานุกรมงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          2511 จำนวนหน้า      98  หน้า รายละเอียด           หนังสือบรรณานุกรมงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในวันเปิดห้องสมุดอนุมานราชธน วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม  2511 เป็นหนังสือที่รวบรวมงานนิพนธ์ของท่านศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนที่ทำเป็นบรรณานิทัศน์โดยจัดเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่ รวมเรื่อง ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี  นอกจากนี้ยังมีคำกราบทูลถวายรายงานการจัดตั้งห้องสมุดอนุมานราชธน พระดำรัสตอบของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ     กรมหมื่นนราธิปพงค์ประพันธ์ คำอธิบายการใช้บรรณานุกรมงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน




องค์ความรู้ เรื่อง "การดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเบื้องต้น (ประเภทไม้)"ค้นคว้า/เรียบเรียง/กราฟิก โดย นางสาวชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


ผู้แต่ง : พระศรีธรรมประสาธน์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ : 2479 หมายเหตุ : พระศรีธรรมประสาธน์ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พิมพ์แจกในคราวกลับจากกรุงเทพฯ พ.ศ. 2479                    รายงานการสร้างวัดเขาน้อย ตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม เจ้าคณะรองหัวหน้าใต้ผู้บังคับบัญชาการคณะมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลภูเก็ต ผู้เป็นเจ้าของวัด ขอให้เจ้าคณะจังหวัด 4 จังหวัดในภาคใต้ แถลงความคิดเห็นของคณะเรื่องการสร้างวัดเขาน้อย


ชื่อเรื่อง                           สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา(เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  108/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 54.8 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                           มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก)สพ.บ.                                  181/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.8 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาบารมี (ปัญญาบารมี)สพ.บ.                                  227/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  160/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์                                           พระอภิธรรม บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ดินเผา  ขนาดสูง ๑๒ ซม. กว้าง ๒๑ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปท่อนล่าง เหลือเพียงพระเพลา(ตัก) อยู่ในท่าขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย มีชายผ้าแผ่ออกมาด้านหน้าระหว่างพระบาท รองรับด้วยฐานบัวคว่ำ บัวหงาย  ___ลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะหริภุญไชยที่แสดงอิทธิพลจากศิลปพุกามอย่างเห็นได้ชัด คือการประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ที่พบในพระพุทธรูปศิลปะพุกามที่รับมาจากศิลปะปาละของอินเดีย แตกต่างจากอิทธิพลพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีที่นั่งขัดสมาธิราบแบบหลวม ในศิลปะพุกามจะนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงฝ่าพระบาททั้งสองข้างอย่างชัดเจน ส่วนลักษณะของชายผ้าที่แผ่ออกมานั้นก็มีความคล้ายคลึงกับศิลปะพุกาม ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำชายผ้าสองแฉกในศิลปะล้านนาต่อไป  ___หลักฐานทางศิลปกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับการพบจารึกอักษรมอญโบราณในจังหวัดลำพูน จำนวน ๘ หลัก กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ นอกจากนี้ตำนานทางพระพุทธศาสนา เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ยังกล่าวถึงการอพยพของชาวหริภุญไชยที่ได้หนีโรคระบาดไปอาศัยยังเมืองสุธรรมวดีและหงสาวดี เมื่อโรคระบาดหายไปแล้วจึงย้ายกับมาที่เดิม การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนนี้ย่อมมีการรับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้จนมาผสมผสานจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบศิลปของหริภุญไชยอันเป็นรากฐานของล้านนาในเวลาต่อมา  อ้างอิง คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานการวิจัยเมืองลำพูนจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปะและเอกสารทางประวัติศาสตร์.(เอกสารอัดสำเนา) สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ: หริภุญไชย - ล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๓๘.



Messenger