ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง “มัจฉชาดก : ที่มาของพิธีฟังธรรมพระยาปลาช่อนเพื่อขอฝน” โดย ดร.วกุล มิตรพระพันธ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์



๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖วันพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย ตาแหลว (ตำแหลว)ตาแหลว ตะแหลว หรือตตาเหลว ตรงกับเฉลวของไทยภาคกลางเป็นเครื่องจักสานทำด้วยตอกเส้นเล็กขัดกัน ให้ส่วนกลางเป็นตา ๖ เหลี่ยม ปล่อยชายตอกออกไปคล้ายกับรัศมีแสงอาทิตย์มีลักษณะเป็นแผ่นแบนขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบ ตาแหลวนี้จะใช้เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมมีลักษณะใช้เป็นเครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม เช่น ใช้เสียบไม้ปักไว้ในบริเวณปลูกข้าวแรกนา ใช้ติดหน้าบ้านของคนที่ตายอย่างผิดปกติหลังพิธีศพหรือใช้แขวนกับสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นไว้กลางประตูเมืองหลังพิธีสืบชาตาเมืองเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร เป็นต้นในตำนานเชียงแสนในส่วนที่กล่าวถึงขุนทึงนั้น ก็ได้มีการระบุว่า ใช้ตาแหลวเป็นเครื่องบอกขอบเขตและกรรมสิทธิ์ในการปลูกข้าวด้วยตาแหลวแรกนา (อ่าน "ตำแหลวแฮกนา") ตาแหลวแรกนา ซึ่งบางท่านเรียกว่า ตาแหลวหลวงตาแหลวเมือง หรือตาแสง มีลักษณะเป็นเฉลวพิเศษที่ใช้ในพิธีการแรกนา โดยเฉพาะตาแหลวชนิดนี้ทำขึ้นให้มีลักษณะคล้ายว่าวใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ติดอยู่กับไม้ไผ่ซึ่งดัดมาใช้ทั้งลำ เพียงแต่เลาะกิ่งก้านออกให้เหลือแต่ส่วนยอด และมีไม้ว้องหรือโช่ทำด้วยห่วงตอกสองสายห้อยลงมาจากส่วนไหล่ของตาแหลวแรกนาที่ปลายสาย ไม้วั้อง นั้นมีรูปปลาติดอยู่ ซึ่งปลานั้นอาจทำด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่สานก็ได้ตาแหลวแรกนาดังกล่าวนี้ เจ้าของนาจะติดตั้งขึ้นเป็นพิเศษในพิธีการแรกนา โดยการกันเอาที่หัวมุมคันนาด้านหัวนาเป็นปริมณฑลสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วกั้นรั้วราชวัติกว้างและยาวประมาณ ๑ เมตร ล้อมรอบอยู่ ๓ ด้าน ที่มุมทั้งสี่จะมีตาแหลวขนาดปกติติดตั้งอยู่พร้อมกับมี ส้อหล้อ สำหรับใส่เครื่องบัตรพลีไว้ด้วย ที่โคนเสาซึ่งคิดตั้งตาแหลวแรกนานั้นจะมีแท่นเครื่องบัตรพลีซึ่งโดยมากมักจะใช้แท่นไม้สำหรับเป็นที่ตอกกล้ามาจัดเป็นที่วางเครื่องบัตรพลี บางท่านกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องทำรั้วราชวัติก็ได้ เพียงแต่ให้ปักส้อหล้อ บรรจุเครื่องบัตรพลี ๕ ชุด เป็นปริมณฑลรอบแท่นบัตรพลีแทน และบางท่านกล่าวว่า ในการเตรียมมณฑลพิธีแรกนานี้ให้จัดทำแท่นบูชาท้าวในการทำพิธีแรกนานั้น เจ้าของนาหรือผู้จะทำนาพร้อมด้วยบุตรภรรยาจะนำเครื่องบัตรพลีมาใส่ลงใน ส้อหล้อ และวางลงบนตั้งแรกนาซึ่งทำเป็นแท่น แล้วกล่าวคำบวงสรวงแม่โพสพและแม่ธรณี หากพ่อนาผู้นั้นไม่สามารถกล่าวคำดำเนินพิธีได้ ก็อาจขอให้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมมาทำพิธีให้ก็ได้การกล่าวคำบวงสรวงนั้น จะเริ่มกล่าวคำสั่งเวยท้าวจตุโลกบาลเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะกล่าวสังเวยแม่โพสพตามลำดับ "ตาแหลว (เฉลว)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2376-2377. "ตาแหลวแรกนา." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2377-2378.


ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เทคนิค : สีฝุ่นบนสมุดข่อย ศิลปิน : นายวิสูตร ศรีนุกูล ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร ยาว ๑๒๐ เซนติเมตร ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อยชิ้นนี้ จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ กองทัพเรือเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก ออกจากอู่หมายเลข ๑ อู่ทหารเรือ ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ไปจอดเทียบท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพื่อเป็นการถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี ได้มีการสันนิษฐานว่าบุษบกของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นคราวเดียวกับการสร้างเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกอันเป็นเรือพระที่นั่งทรง ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการฟื้นฟูและสืบสานพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติให้ดำรงอยู่ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศและประชาชนชาวไทย พร้อมทั้งยังช่วยบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจแก่คนไทย ที่สำคัญเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกได้ถูกใช้ในวาระสำคัญต่าง ๆ กระทั่งหลังจากปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงว่างเว้นจากการใช้งานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก แต่ได้เชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญาเป็นเรือพระที่นั่งทรง ในการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลวาระต่าง ๆ เรื่อยมาจนตลอดรัชกาล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดโบราณราชประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระราชยานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบก เทียบท่าราชวรดิฐ อ้างอิง ------------ กระทรวงวัฒนธรรม, ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, (นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒. ณัฏฐภัทร จันทวิช, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงวัฒนธรรม, นิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒. ---------- ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนสมุดข่อย ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26


          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


"ธรรมาสน์งาม"  ธรรมาสน์บุษบกยอดปราสาท จำหลักไม้เขียนสีเป็นลวดลายพรรณพฤกษาและสัตว์มงคลจีน ศิลปกรรมร่วมไทย-จีน ภายในหอสวดมนต์ วัดสำเร็จ ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ธานี ธรรมาสน์บุษบกยอดปราสาท ส่วนฐานเป็นรูปเท้าสิงห์ ฐานรูปเท้าสิงห์เหยียบลูกแก้ว หอสวดมนต์


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/5หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


พระคเณศเป็นเทพเจ้าสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีผู้เคารพศรัทธาและนับถืออย่างแพร่หลายในหมู่คนหลายชาติหลายภาษา และทุกชนชั้น พระองค์เป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ประทานความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ทรงปกป้องคุ้มครองจากเคราะห์ร้าย และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พระคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาด สติปัญญา ความรู้ การเรียน ความมั่งคั่ง สัมฤทธิผล ความสำเร็จ และการบรรลุซึ่งความปรารถนาทั้งปวง “คเณศ” มาจากคำว่า “คณะ” รวมกับ “อีศะ” หมายถึง เจ้าแห่งคณะ ทั้งนี้ในทางปรัชญา อักษร “ค” แปลว่า ชญาณ ส่วนอักษร “ณ” แปลว่า ทางหลุดพ้น ขณะที่ “อีศะ” แปลว่า เจ้า เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง ผู้เป็นเจ้าทั้งชญาณและทางหลุดพ้น พระคเณศ เป็นเทพเจ้าที่ปรากฏพระนามถึง ๑๐๘ พระนาม โดยบางพระนามเหล่านี้บ่งบอกให้ทราบถึงการกำเนิด การปรากฏขึ้นของพระองค์ รูปลักษณ์ และบุคลิกภาพของพระองค์ เช่น “เอกทันตะ” หรือ “เอกศฤงคะ” แปลว่า เจ้าผู้มีงาข้างเดียว ตำนานเกี่ยวกับพระผู้มีงาเพียงข้างเดียว มีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน เช่น ๑. ถูกปรศุราม (อวตารของพระวิษณุเทพในปางที่ ๖) ใช้ขวานจาม เนื่องจากปรศุรามจะเข้าเฝ้าพระอิศวรที่เขาไกรลาส แต่พระคเณศซึ่งเฝ้าอยู่ไม่ให้ใครเข้ามารบกวนขณะที่พระอิศวรกำลังบรรทม จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น ปรศุรามไม่สามารถเอาชนะพระคเณศได้ จึงใช้ขวานที่พระอิศวรประทานให้เป็นอาวุธจามลงบนเศียรพระคเณศ พระคเณศเห็นขวานนั้นก็จำได้ว่าเป็นของพระบิดาก็ไม่กล้าตอบโต้ด้วย จึงเบี่ยงเศียรเอางาข้างหนึ่งรับไว้ (บางทีก็ว่าเป็นข้างซ้ายและบางครั้งก็พบเห็นในภาพเป็นงาข้างขวา)งานั้นก็ถูกคมขวานขาดสะบั้นลง พระคเณศจึงเก็บเอางาข้างที่ขาดถือกำไว้ในมือ ต่อมางาข้างที่ขาดนั้นก็ถือว่าเป็นอาวุธวิเศษ ใช้ปราบพวกมารขององค์พระคเณศ ๒. เมื่อครั้งพระอิศวรและพระอุมา จะจัดให้มีพิธีโสกันต์ (โกนจุก) ให้กับพระคเณศในวันอังคาร จึงได้เชิญทวยเทพและพระวิษณุมาร่วมอำนวยพรและเป็นสักขีพยาน แต่เนื่องด้วยพระวิษณุทรงบรรทมหลับสนิทอยู่เมื่อถูกปลุกให้ตื่นจากการบรรทมจึงพลั้งพระโอษฐ์ออกไปว่า “ไอ้ลูกหัวหายจะนอนให้สบายก็ไม่ได้” ด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์แห่งพระวิษณุที่ตรัสออกมานั้น จึงทำให้พระเศียรของพระโอรสขาดหายไป เหล่าบรรดาทวยเทพต่างก็ประหลาดใจจึงลงความเห็นว่าวันนี้เป็นวันฤกษ์ไม่ดีห้ามทำการมงคลในวันอังคาร และเรียกวันนี้ว่า “วันโลกาวินาศ”จากนั้นพระอิศวรจึงมีบัญชาให้พระวิษณุไปหาเศียรของมนุษย์ที่เสียชีวิตแล้วมาต่อให้พระคเณศ แต่ปรากฏว่าในวันนั้นซึ่งเป็นวันอังคารไม่มีมนุษย์คนใดถึงฆาต จะมีก็เพียงช้างพลายที่มีงาเพียงข้างเดียวนอนตายหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จึงตัดเอาเศียรนั้นมาต่อให้กับพระคเณศ กำเนิดเป็นองค์พระคเณศผู้มีเศียรเป็นช้างและมีงาเพียงข้างเดียว ๓. ถูกพระอิศวรใช้ขวานจาม เมื่อครั้งพระอุมามีรับสั่งให้พระคเณศเฝ้าประตูทางเข้าห้องสรงน้ำ พระอิศวรต้องการเข้าพบพระอุมา แต่พระคเณศไม่ยอมให้เข้าพบ ตอนนั้นพระอิศวรยังไม่รู้ว่าพระคเณศเป็นลูกที่เกิดจากพระอุมาจึงเกิดการต่อสู้กัน พระอิศวรจึงใช้ขวานจามลงไปถูกงาของพระคเณศขาดสะบั้นลงเสียข้างหนึ่ง ๔. พระคเณศสามารถถอดงาออกได้เองตามธรรมชาติ เมื่อคราวต่อสู้กับอสูรอสุรภัค พระคเณศได้ถอดเอางาข้างหนึ่งของตัวเองใช้เป็นอาวุธขว้างไปที่อสูรอสุรภัค จากการที่พระคเณศทรงมีเศียรเป็นช้างและมีงาเพียงข้างเดียว (แม้เป็นภาวะที่ไม่สมบูรณ์หรือพิการ) แสดงให้เห็นว่า พระองค์อุทิศอวัยวะของพระองค์เองเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีและเชิดชูการเรียนรู้ และงาที่หักไปนั้นชี้ให้เห็นว่า คนเราต้องปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากอหังการ (ความรู้สึกว่ามีตัวเอง) และ มมังการ (ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เพื่อโฆกษะ คือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด บรรณานุกรม กรมศิลปากร. พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร = Ganesha: Lord of Fine Arts.กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔. เจริญ มาบุตร. การวาดภาพพระพิฆเณศวร. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์, ๒๕๕๓. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. คเณชา. ปทุมธานี: เวิร์คพอยท์, ๒๕๕๔. ศุภลักษณ์ หัตถพนม. การศึกษาวิเคราะห์การเคารพบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘. เรียบเรียงโดย: นางสาวอรวรรณ เจริญกูลบรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


ขอเชิญร่วมงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ในงาน “แอ่วกุมกามยามแลง” "Lanna Ancient Night@Kum Kam Town" ณ เวียงกุมกาม          กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ณ เวียงกุมกาม “แอ่วกุมกามยามแลง” “Lanna Ancient Night@Kum Kam Town”         ลงทะเบียนล่วงหน้าหรือหน้างาน รับเหรียญที่ระลึก มกรคายมังกรจีน หนึ่งเดียวในล้านนา พร้อมถุงผ้า ฟรี!!กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย           - เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญ อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาสมัยพญามังราย อายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี และไหว้พระธาตุขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์          - ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ทูษณ์-ขร-ตรีเศียร - ยกรบ โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร          - เที่ยว ชิม ช็อป “กาดกุมกาม@Night” อาหารและสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง          - กิจกรรมวาดภาพสีน้ำ โดย ชมรมสล่าแต้มงาม เชียงใหม่ และสาธิตการทำโคมล้านนา           วันศุกร์ที่ ๑ และ วันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.  ณ ลานกิจกรรม วัดอีก้าง - วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ https://g.co/kgs/zLVkt3  สอบถามเพิ่มเติมที่: สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่  Tel  ๐ ๕๓๒๒ ๒๒๖๒            Ministry of Culture, The Fine Arts Department, The 7th Office of the Fine Arts Department, Chiangmai represent “Lanna Ancient Night @Kum Kam Town” Activities:          - Visit the 700 years old of historical settlement and archaeological site, the old capital of Chiang Mai that was built by King Mengrai.          - Enjoy traditional and cultural performances “Khon” the Masked Dance Drama in Thailand          - Taste and shopping at night market of “Kad Kum Kam@Night”          - Watercolor painting and demonstration of Lanna lantern making           Friday 1 and Saturday 2, December 2023 Time 16.00-21.00 hrs. at Wat E-Kang and Wat Nan Chang, Kum Kam Town, Tha Wang Tan, Saraphi, Chiang Mai Thailand https://g.co/kgs/zLVkt3 More information please contact 053-222-262


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


         ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธรูปแทนตน ดุ๊กโยฮัน อัลเบรกต์ (Duke John Albert)          สถานที่ประดิษฐาน ธรรมาสน์ยอดบุษบก ศาลาการเปรียญ วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี (เดิมประดิษฐานภายในถ้ำเขาบันไดอิฐ)          ประวัติ พระพุทธรูปแทนตน ดุ๊กโยฮัน อัลเบรกต์ (Duke John Albert) เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ดุ๊กโยฮัน อัลเบรกต์ ผู้สําเร็จราชการแห่งเมืองบรันชวิก ประเทศเยอรมัน เสด็จประพาสประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ในคราวนั้นรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ ดุ๊กโยฮัน และพระชายา เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม ถึง ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๒ รวม ๕ วัน ขณะที่ประทับอยู่เมืองเพชร ดุ๊กโยฮัน และพระชายา เสด็จประพาสถ้ำเขาบันไดอิฐ ได้โปรดและมีพระประสงค์จะตั้งพระพุทธรูปแทนตนไว้เป็นที่ระลึก ทรงให้กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ซึ่งเวลานั้นดํารงตําแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้ทรงช่วยจัดหาพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยเชียงแสน ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว ไปตั้งไว้ที่ซอกหินบนผนังถ้ำภายในเขาบันไดอิฐ สูงจากพื้นดินประมาณ ๔ เมตร ตามประสงค์ของ ดุ๊กโยฮัน อัลเบรกต์          ฐานชั้นล่างสุด มีข้อความจารึกอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยฐานเขียงด้านหน้ามีข้อความเป็นอักษรขอม ซึ่งมีคำแปลในบรรทัดถัดมาว่า “ไม่มีสุขแก่ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ” ฐานเขียงด้านหลังองค์พระพุทธรูป จารึกข้อความไว้ว่า          “. . . พระพุทธปฏิมากรพระองค์นี้ ดุ๊กโยฮัน อัลเบรชต์ เมืองเม็กเลนเบิค เจ้าผู้สําเร็จราชการเมืองบรันสวิกสร้างประดิษฐานไว้ในถ้ำเขาบันไดอิฐ เป็นที่รฤกที่ได้เสด็จมาเมืองเพ็ชร์บูรี เมื่อ พ.ศ.....๒๕ ครั้งหนึ่ง แลได้เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ อีกครั้งหนึ่ง วันเหมือนกัน . . . พระ เพื่อให้เป็น . . . ประโยชน์ แด่บรรดาผู้ที่จะได้มาพบเห็นพระพุทธปฏิมากรนี้ด้วย . . .” ต่อมาในสมัย พระครูโสภณพัฒนกิจ (หลวงพ่อบุญส่ง) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ ได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้บนธรรมาสน์ยอดภายในศาลาการเปรียญวัดเขาบันไดอิฐ  


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส 54 อักษรสยามสนธิกับปถมะกัณฑ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  อักษรศาสตร์ลักษณะวัสดุ              84; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    อักษรสยามสนธิกับปถมะกัณฑ์                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


กิจกรรมอ่านหนังสือเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม  เรื่อง "บุญ-บาปมีจริงไหม?  กิจกรรมอื่นๆ ในห้องเช่นอ่านนิทาน   , ทายคำศัพท์ ,ต่อภาพจิ๊กซอ ,ตัวต่อพลาสติก , หมากฮอต  ค่ะ


         กระโถน          ชนิด : ดินเผาเคลือบ          ขนาด : ศูนย์กลางปาก 12.7 เซนติเมตร ศูนย์กลางกว้าง 9.5 เซนติเมตร สูง 13.7 เซนติเมตร          ลักษณะ : ดินเผาเคลือบ เขียนสี          สภาพ : สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง          สถานที่จัดแสดง : ห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi/360/model/21/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi


โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จ.ชลบุรี  (เวลา 10.00 น.) จำนวน 70 คนวันศุกร์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. พร้อมทั้งคณะครูจำนวน ๗๐ คน จากโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จ.นครนายก เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


Messenger