ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง พงศาวดารของพวนและประวัติบ้านมะขามล้ม ผู้แต่ง กังวาฬ วงษ์พันธ์ ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ก379พสถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.สำนักพิมพ์ ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ 52 หน้า ; 30 ซม.หัวเรื่อง ไทยพวน - - ความเป็นอยู่ปละประเพณี บ้านมะขามล้ม - - ประวัติภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาประกอบด้วยพงศาวดารของไทยพวนและประวัติบ้านมะขามล้ม ผู้ที่อพยพมาอยู่โดยผ่านจากเรื่องเล่าต่างๆว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร
พระพิมพ์รูปพระโพธิ์สัตว์ (นางตารา)
สมัยพุกาม พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙
กองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่า ส่งมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
-----------------------------------------------
ดินเผากลมรูปพระโพธิสัตว์ทรงยืนตริภังค์* แสดงวรทมุทรา (ปางประทานพร) พระเกศารวบขึ้นเป็นพระเมาลี รอบพระเศียรแสดงศิรประภา หรือรัศมี (สื่อถึงเป็นผู้มีพระธรรมเป็นแสงสว่าง) พระพรหาขวาแนบพระวรกาย ยกพระกรหันฝ่าพระหัตถ์ขวาออก พระหัตถ์ซ้ายทรงก้านดอกบัวอุตปละ (utpala) หรือ บัวสาย พระวรกายท่อนล่างแสดงการทรงพระภูษายาวจรดข้อพระบาท ด้านข้างของพระโพธิ์สัตว์มีจารึกอักษรเทวนาครี และสถูป
พระพิมพ์ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในรายการพระพิมพ์ที่กองแผนกตรวจรักษาของโบราณประเทศพม่าส่งมาแลกเปลี่ยนกับราชบัณฑิตยสภาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยส่งพระพิมพ์มาแลกเปลี่ยนทั้งหมด ๑๖ รายการ (ประกอบด้วยพระพิมพ์ที่พบจากเมือง PAGAN จำนวน ๔ รายการ และพระพิมพ์ที่พบจากเมือง HMAWZA จำนวน ๑๒ รายการ) ทั้งนี้ราชบัณฑิตยสภาได้ส่งพระพิมพ์ไปยังประเทศพม่า จำนวน ๒๗ รายการ
สำหรับพระพิมพ์ชิ้นนี้ Charles Duroiselle ระบุว่าเป็นพระพิมพ์ที่ขุดค้นพบในบริเวณเมือง HMAWZA (ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีอาณาจักรศรีเกษตร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยตีความว่าเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์ตาราซึ่งสอดคล้องกับแสดงการถือดอกบัวอุตปละ และจารึกที่ปรากฏคือจารึกคาถา “เยธฺมา เหตุปฺปภวา” และกำหนดอายุไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ จากรูปแบบของพระพิมพ์ชิ้นนี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียเหนือ (แบบปาละ) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยพุกาม (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) เช่น การยืนตริภังค์ การแสดงพระกรสองข้างตรงข้ามกัน เป็นต้น
พระโพธิ์สัตว์ตาราเป็นพระโพธิ์สัตว์เพศหญิง เป็นเทพีองค์สำคัญในพุทธศาสนามหายาน กล่าวคือ เป็นเทพีแห่งความกรุณา และเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่มนุษย์ โดยพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นศักติของพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภาคปรากฏของพระนางตารานั้น มีหลายวรรณะและหลายลักษณะ (บางตำรากล่าวว่ามีทั้งหมด ๒๑ วรรณะ) แต่ที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ ตาราวรรณขาว (สิตตารา) และตาราวรรณเขียว (ศยามตารา)
*ตริภังค์ หมายถึง ท่ายืนเอียงกายสามส่วน อันได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเอียงจากเท้าถึงสะโพก ส่วนที่สองเอียงจากสะโพกถึงไหล่ ส่วนที่สามเอียงจากไหล่ถึงศีรษะส่วนใหญ่พบในศิลปะอินเดีย (อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐ หน้า๒๐๐)
------------------------------------------------
อ้างอิง :
กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียม เพรส, ๒๕๖๕.
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ ๒.๑.๑/๑๘๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. เรื่อง แลกเปลี่ยน พระพิมพ์ดินเผาระหว่างกองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่ากับราชบัณฑิตยสภา (๒๒ เมษายน ๒๔๗๔-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕).
H. Hargreaves, editor. Annual Report of the Archaeological Survey of India for the year 1927-1928. Calcutta: Government of India Central Publication Branch, 1931.
------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สัตตภัณฑ์ เจ้าแม่รถแก้ว มารดาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐ ถวายวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ย้ายมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ขนาด สูง ๑๗๙ ซม. ยาว ๑๘๒ ซม. กว้าง ๒๗.๕ ซม. สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียนสำหรับบูชาพระประธานในวิหารหรือพระธาตุสำคัญ เป็นเครื่องสักการะสำคัญอย่างหนึ่งในคติทางศาสนาของล้านนา ทำจากไม้ รูปครึ่งวงกลม แกะสลักและประดับด้วยรักสมุกปั้นปิดทองประดับด้วยกระจกสีทำเป็นรูปนาคเกี้ยวกันจำนวนทั้งสิ้น ๒๘ เศียร ด้านบนเป็นรูปหน้ายักษ์คายนาค มีเสาสำหรับเสียบเทียนจำนวน ๗ ต้น ฐานด้านล่าง มีรักสมุกปั้นเป็นอักษรธรรมล้านนา อ่านโดย ภูเดช แสนสา ตีพิมพ์ในหนังสือเจ้าหลวงลำพูน โดยมูลนิธินงราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ และมูลนิธิเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ความว่า "สุทินฺนํวตฺเมทานํ อโหวตฺตเมทานํ ผล...นิสเย เมตฺเตยฺยสนฺตเก พุทธสาสเนทานํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พุทธสักกราช ๑๒๗๙ ตัว ปีเมืองใส้ มหามูลสัทธาหมายมีแม่เจ้ารสแก้ว เปนเค้า พร้อมกับด้วยปุตตาปุตตีซุ่คน ก็ได้ส้างยังสัตตภัณฑาถวาย... พระแก้วเจ้า ๓ ประการในวัดพระมหาชินธาตุเจ้า เมื่อเดือนวิสาขะเพงเมงวัน ๗ ไทเมืองใส้ ภ.ส. ๒๔๖๐" แม่เจ้ารถแก้ว (ชายาในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๙, พระมารดาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐) พร้อมด้วยโอรสธิดา ได้สร้างสัตตภัณฑ์ถวายพระรัตนตรัยในวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อเดือนวิสาขะ (เดือนแปดเหนือ หรือเดือนหกตามปฏิทินภาคกลาง) ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สัตตภัณฑ์นี้ ปัจจุบันจัดแสดงห้องนิทรรศการ ศิลปกรรมเมืองลำพูน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ -๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร และหยุดนักขัตฤกษ์ อ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘. พิเชษฐ ตันตินามชัย,ภูเดช แสนสา. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่:วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.
ชื่อผู้แต่ง คณะศิษยานุศิษย์
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺทสิริเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนรัก และเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่ - สะเดา - รัตภูมิ - สตูล
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรุงธน
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๙
จำนวนหน้า ๑๑๗ หน้า
รายละเอียด
หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺทสิริเถร)อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนรัก และเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่ - สะเดา - รัตภูมิ – สตูล ผู้ที่อนุญาตให้ใช้ที่ดินของ
วัดดอนรักที่ว่างอยู่สร้างหอสมุดแห่งชาติสาขาวัดดอนรัก สงขลา เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ธรรมจริยา เล่ม ๔ภาคต้นและภาคสอง รวมทั้งสิ้น ๑๔ บท เช่น คนเราจะอยู่ในโลกแต่ลำพังไม่ได้, สัมพันธวงศ์แห่งมนุษย์, ความรู้จักผิดชอบสอนให้รู้จักรักความจริง ฯลฯ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง บรรณานุกรมของศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เล่ม ๑ พร้อมด้วยพระประวัติและผลงานของศาตราจารย์
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๔๓๘ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่รวบรวมพระประวัติ รายชื่อหนังสือภาษาไทยที่ได้รับจากห้องสมุดส่วนพระองค์ของศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และผู้บริจาครายย่อย ประกอบด้วย คำนำ คำอนุโมทนา พระประวัติของศาตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ รายละเอียดการจัดหมวดหมู่บรรณานุกรม นอกจากนี้ยังมีดรรชนีผู้แต่งและดรรชนีชื่อเรื่องประกอบไว้ท้ายเล่มอีกด้วย
ชื่อเรื่อง : สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร, กรม ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 224 หน้า สาระสังเขป : นำเสนอรายละเอียดการขุดค้นโบราณวัตถุสถานในบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล โดยเริ่มสำรวจและขุดค้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และได้ไปสำรวจและขุดค้นตั้งแต่อำเภอฮอด ในจังหวัดเชียงใหม่เรื่อยลงมาตามลำน้ำแม่ปิง จนถึงบริเวณที่สร้างเขื่อนในอำเภอสามเงา มีการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุได้กว่า 500 ชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่ขุดได้จากบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล พระแก้วกรุเจดีย์ศรีโขง พระบฏในกรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน ตุง กลองสะบัดชัย ของเบ็ดเตล็ดจากกรุฮอด และเครื่องถ้วยจีน
ผู้แต่ง ปวงคำ ตุ้ยเขียว.
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดป่าแดงมหาวิหารครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐สถานที่พิมพ์ เชียงใหม่สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระสิงห์การพิมพ์จำนวนหน้า ๗๓ หน้ารายละเอียด
หนังสือ ประวัติวัดป่าแดงมหาวิหาร นี้ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นหนังสือแจก แก่ผู้มาร่วมงาน ทอดกฐิน ที่วัดป่าแดงในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้เขียนได้รวบรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับประวัดิวัดป่าแดงมหาวิหาร ตำนานเมืองเหนือ เรื่องพระพุทธรูปแก่นจันทร์ รวมทั้งรายนามเจ้าอาวาส ในอดีต ถึงปัจจุบัน
ภาพ ‘ชีวิตประจำวัน’ ของ มานิตย์ ภู่อารีย์
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย
ในกลุ่มลูกศิษย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มานิตย์ ภู่อารีย์ (พ.ศ. 2478 - 2551) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ. 2542 คือหนึ่งในลูกศิษย์ที่มีผลงานโดดเด่น โดยเฉพาะงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์แกะไม้ที่ถ่ายทอดความประทับใจในวิถีชีวิตแบบไทย มานิตย์นำเอาศิลปะแบบไทยประเพณีมาผสมผสานกับความเป็นสากลในงานศิลปะแบบสมัยใหม่ พร้อมกับศิลปินในช่วงเวลานั้น เช่น เขียน ยิ้มศิริ ประสงค์ ปัทมานุช ประพัฒน์ โยธาประเสริฐ ชลูด นิ่มเสมอ ประหยัด พงษ์ดำ และประพันธ์ ศรีสุตา เป็นต้น ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานแนวผสมผสาน จนเกิดเป็นกระแสเคียงคู่กับงานศิลปะสมัยใหม่แบบตะวันตกที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนั้น (ราว พ.ศ. 2500 - 2510)
มานิตย์เป็นชาวธนบุเรียน เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง แผนกวิจิตรศิลป์ จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต (เกียรตินิยม) เมื่อ พ.ศ. 2502 ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้มอบหมายให้มานิตย์ช่วยสอนในวิชา Research of Old Thai Art ที่คณะจิตรกรรมฯ พ.ศ. 2505 มานิตย์ได้รับทุนการศึกษาเพื่อไปศึกษาต่อเฉพาะทางในวิชาจิตรกรรมที่สถาบันศิลปะแห่งกรุงโรม (L’Accademia di Belle Arti di Roma) ประเทศอิตาลี
“นายๆ นายสร้าง Compose ใหม่ที่นายรู้สึกนะ
ทำอย่างที่เป็นตัวนาย สภาพแวดล้อมของนายน่ะ
นายไม่ต้องไปลอกฝรั่ง มันเป็นขโมย
นายอย่าไปทำอย่างนั้นเหมือนคนอื่นไม่เอา”
ด้วยคำแนะนำของศาสตราจารย์ศิลป์ ทำให้มานิตย์ซึ่งเติบโตมาในบ้านที่อยู่ท่ามกลางท้องร่องสวนฝั่งธนบุรี สร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตของชาวสวนตาล พ.ศ. 2502 มานิตย์ เขียนภาพ ‘น้ำตาลสด’ ด้วยสีฝุ่นบนแผ่นกระดานอัด (Masonite Board) แสดงภาพชาวบ้านกำลังหามกระบอกน้ำตาลสด และส่งเข้าร่วมการประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2502) โดยได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม ภาพ ‘ชีวิตประจำวัน (ชาวสวน)’ (ภาพที่ 1 - 2) และภาพ ‘ชีวิตประจำวัน’ (ภาพที่ 3 - 4) ซึ่งจัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” น่าจะเป็นภาพในชุดเดียวกันกับ ‘น้ำตาลสด’ ภาพชุดนี้ของมานิตย์เขียนขึ้นจากความผูกผันและความประทับใจในวิถีชีวิตแบบไทย เป็นการหยิบยกเรื่องราวแสนธรรมดาในชีวิตประจำวันมานำเสนอในบรรยากาศแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณี การเขียนภาพบุคคลยังคงลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์แบบไทยโบราณ เช่น การเขียนเค้าโครงใบหน้า และการแสดงท่าทางอย่างนาฏลักษณ์ (ท่ารำ) ผสมผสานกับการวางโครงภาพแบบงานศิลปะตะวันตก
นอกจากผลงานทั้ง 2 ชิ้นที่จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ยังมีผลงานชิ้นอื่นๆ ของมานิตย์อีก เช่น ภาพลายเส้นเอกรงค์เขียนด้วยถ่าน ‘สามพี่น้อง’ (พ.ศ. 2502) และภาพ ‘แม่ค้า’ (พ.ศ. 2505) (ภาพอยู่ในคอมเมนต์) ซึ่งมีรูปแบบเดียวกันกับภาพ ‘ชีวิตประจำวัน’ นอกจากนี้ ในนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 9” นิทรรศการส่วนต่อขยายที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับงานศิลปะสมัยใหม่ของไทยที่ตั้งอยู่ติดกันนั้น ยังมีผลงานชิ้นสำคัญของมานิตย์จัดแสดงอยู่อีก เช่น ‘ตะกร้อ’ (พ.ศ. 2504) (ภาพอยู่ในคอมเมนต์) ภาพพิมพ์แกะไม้ที่ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2504) ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ได้วิจารณ์ผลงานชิ้นนี้ไว้ว่า “...ภาพพิมพ์ตะกร้อของเขานั้น ทั้งชวนให้ขบขันและขณะเดียวกันก็แสดงคุณค่าในทางศิลปะไปด้วย...” และ ‘แย่งอาหาร’ (พ.ศ. 2505) (ภาพอยู่ในคอมเมนต์) ภาพพิมพ์แกะไม้ที่รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2505) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ครั้งที่ 3 และทำให้มานิตย์ได้รับเกียรติยกย่องเป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” ประเภทภาพพิมพ์ ในปีนั้น
นิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มานิตย์ ภู่อารีย์ ได้ที่
https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2481030625361612
อ้างอิงจาก
1. หนังสือ “5 ทศวรรษ ศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 - 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. หนังสือ “6 ทศวรรษ ศิลปกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย” โดย ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี
3. หนังสือ “ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9” โดย ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี และรองศาสตราจารย์ สุธี คุณาวิชยานนท์
เลขทะเบียน : นพ.บ.398/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145 (48-57) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.532/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178 (281-290) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : บรรพชาวินิจฉัย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ๙๙ รูป เนื่องในงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปี กรุงรัตนโกสินทร์“ พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ภาครัฐ องค์กรภาคีวัฒนธรรม ร่วมในพิธี ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม