ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2499 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยารัตนพิมพาภิบาล (หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ อิศรางกูร) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2499                     เป็นโคลงภาพเขียนพระราชพงศาวดารไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้แบ่งเป็นตอน จำนวน 92 รูป โคลงที่แต่งมี จำนวน 376 บท แล้วเขียนบรรจุบานกระจกประดับในคราวงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีชัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง และพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ เมื่อ พ.ศ.243


พระเจดีย์หลวงเขาตังกวนและหน้าบันที่สาบสูญ                                                      สืบเนื่องจากเทศบาลนครสงขลา มีความประสงค์จะบูรณะพระเจดีย์หลวงและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวบนยอดเขาตังกวน จึงได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์มายังสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ให้พิจารณาแนวทางซ่อมแซมพร้อมทั้งจัดทำรูปแบบและประมาณราคา           ทั้งนี้ ทางสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ทำการศึกษารูปแบบและสืบค้นภาพถ่ายเก่า พบว่าหน้าบันคฤห์ของพระเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวนมีลวดลายปูนปั้นปรากฏอยู่ แต่จากภาพถ่ายเก่าที่เห็นลวดลายที่ไม่ชัดเจน ทางสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา จึงได้ทำรูปแบบสันนิษฐานหน้าบันคฤห์ด้านทิศเหนือไว้ 3 แบบ และด้านทิศใต้ไว้ 3 แบบ จึงใคร่ขอข้อมูลภาพถ่ายรวมถึงคำบอกเล่าเพื่อใช้ในการออกแบบบูรณะเพื่อให้ย้อนคืนสู่สภาพเดิมในสมัย ร.4 ที่สมบูรณ์ตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องต่อไป




ชื่อเรื่อง                           มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก)สพ.บ.                                  180/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                ธุดงควัตร (ธุดงควัตร)สพ.บ.                                  226/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระไตรปิฎก                                           พระวินัยปิฏก บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  160/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์                                           พระอภิธรรม บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๘๖ จ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.29/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


         แผนที่เมืองนครเชียงใหม่งานเขียนของ อาจารย์วรชาติ มีชูบท ที่ได้ทำการศึกษาเเผนที่ฉบับนี้ได้สรุปว่า ในการจัดทำเเผนที่ได้ถูกสำรวจเเละรังวัดที่ดิน ในราวปีพ.ศ. ๒๔๒๘  - ๒๔๒๙ เเล้วส่งข้อมูล เพื่อมาจัดทำเเละตีพิมพ์ในปีพ.ศ. ๒๔๓๐ เเละมีการเเก้ไขปรับปรุงในส่วนที่สำคัญอีกครั้ง ในปีพ.ศ. ๒๔๓๖ ในงานเขียนของอาจารย์วรชาติ จึงได้กำหนดชื่อของเเผนที่ฉบับนี้ว่า"เเผนที่เมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๓๖" เเผนที่ฉบับนี้เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ ต่อมามีการทำสำเนาออกมาเพื่อทำการศึกษาของเดิมเป็นเเต่เพียงภาพลายเส้น เเสดงรายละเอียดการถือครองที่ดิน สำเนาฉบับนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณราเชนทร์ อินทวงศ์ เเละลงสีเพิ่มเติมโดย Cm Craft Studio เพื่อให้เห็นขอบเขตของสิ่งที่ปรากฏในเเผนที่อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงสี เพิ่มเติมลงไปนั้น  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสวยงาม ดังนั้นไม่ควรใช้เเผนที่ฉบับที่ทำการลงสีนี้ไปอ้างอิงในงานวิชาการใดๆ ผู้ที่สนใจ สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่  https://drive.google.com/drive/folders/1GwJKIhev7ns5jmqLAJw1Q7mdhr-qfVCr?usp=sharing



ใครเป็นใครในภาพนี้ ? หลายท่านมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน แล้วพบกับภาพถ่ายเก่านี้ก็มักสงสัยว่าบุคคลในภาพเป็นใครกันบ้าง ดังนั้นเราจะขอไล่เรียงกันไปดังนี้ครับ แถวนั่ง ไล่เรียงจากทางด้านซ้ายมือ ๑. เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน เป็นราชโอรสองค์ที่ ๒ ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับแม่เจ้าจันทา เป็นพระอนุชาร่วมเจ้ามารดาของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช) ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๓. หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล (เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา) ๔. เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครน่าน ๕. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแช่ม ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ ขณะนั้น ภายหลังเป็นมหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี) ๖. พระยาสุนทรนุรักษ์ (ข้าหลวงรักษาราชการนครเมืองน่าน) แถวยืน ไล่เรียงจากทางด้านซ้ายมือ ๗. เจ้าราชบุตร (น้อยรัตนรังสี ภายหลังเป็นเจ้าราชวงศ์) เสนาตำแหน่งทหาร ๘. เจ้าราชวงศ์ (มหาพรหม ณ น่าน ภายหลังเป็นเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย) เสนาตำแหน่งมหาดไทย อย่างไรก็ตาม ที่แอดมินได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเนื่องจากว่าวันนี้ (๑ ธันวาคม) นอกจากจะเป็นวันแห่งความหวังว่าจะเป็นเศรษฐีของใครหลายคนแล้ว ยังเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ (๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ สิริพระชันษา ๘๑ ปี) *สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงฉายเมื่อคราวเสด็จตรวจราชการเมืองน่าน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑)



Messenger