ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ



คู่มือพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทบัญญัติของกฎหมายที่กรมศิลปากรใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน การศึกษาและการเผยแพร่ในด้านการปกป้อง คุ้มครองและดูแลรักษามรดกทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 ประกอบด้วย หมวด 1 ว่าด้วยโบราณสถาน หมวด 2 โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หมวด 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หมวด 4 กองทุนโบราณคดี หมวด 4 ทวิ ว่าด้วยการพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต หมวด 5 บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล อัตราค่าธรรมเนียม กรมศิลปากร - Organizational Bodyสำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร - Organizational Bodyเรวดี สกุลพาณิชย์ - Personal Name ครั้งที่จัดทำ พิมพ์ครั้งที่ 10


สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีถวายบังคมพระบรมรูปฯ สมเด็จพระปิยมหาราช เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เวียนมาบรรจบในวันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าที่ว่าการอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา




     วันพุธที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี จัดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖ ณ โรงแรมมณีจันท์รีสอร์ท แอนด์ สปอร์ตคลับ        โดยโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖ ให้หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไปได้รับทราบและปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังกล่าว และมุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บ การทำลาย และการส่งมอบเอกสารราชการที่ครอบครองอยู่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน        โดยเวลา ๐๘.๔๕ น.เริ่มการบรรยายในหัวข้อ "การทำลายเอกสารราชการของหน่วยงานในจังหวัดจันทบุรี" โดย นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ต่อด้วยการบรรยาย "สิ่งที่ควรรู้ของพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ" โดย นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร        จากนั้นมีพิธีเปิดการอบรมอย่างเป็นทางเการในเวลา ๑๓.๓๐ น. โดยนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมทั้งกล่าวบรรยายเรื่องนโยบายของกรมศิลปากรด้านจดหมายเหตุ ต่อด้วยการบรรยายในหัวข้อ "พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติกับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมด้านจดหมายเหตุ" โดย นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ หัวหน้ากลุ่มบริหารเอกสาร จนถึงปิดการอมรมในเวลา ๑๖.๓๐ น.        โดยในช่วงเย็น นายอนันต์ ชูโชติ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี พร้อมรับฟังบรรยายสรุปแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี


          รูปแบบของการจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ที่เรียกว่า “นิทรรศการถาวร” จากอดีตสู่ปัจจุบัน มีพัฒนาการ ดังนี้   พุทธศักราช 2516 ก่อนพุทธศักราช 2539         การจัดแสดงแบ่งได้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 บริเวณอาคารชั้นล่าง และส่วนที่ 3 บริเวณอาคารชั้นบน         ส่วนที่ 1 จัดแสดงเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสดตร์ศิลปะอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในดินแดนประเทศไทย พร้อมตัวอย่างโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตามลำดับ อายุสมัยและรูปแบบศิลปะ ได้แก่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอู่ทอง ศิลปะอยุธยา และศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร         ส่วนที่ 2 เน้นความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะในภาคเหนือ จึงได้แสดงประติมากรรมสกุลช่างภาคเหนือเป็นพิเศษซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปพระพิมพ์และเครื่องพระพุทธบูชา มีทั้งทำด้วยดินเผา สำริด หินและโลหะมีค่า ได้แก่สกุลช่างหริภุญไชย สกุลช่างเชียงแสนหรือล้านนา สกุลช่างพะเยา รวมทั้งงานประณีตศิลป์ เช่น ไม้จำหลัก (ไม้แกะสลักลาย) ตู้พระธรรม รอยพระพุทธบาทประดับมุก เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาโบราณ อาทิ เตาเวียงกาหลง เตาสันกำแพง เตาพาน และเตาวังเหนือ เป็นต้น          ส่วนที่ 3 จัดแสดงศิลปะพื้นบ้านและวัตถุทางชาติพันธุ์วิทยา เช่น ศิลปวัตถุของเจ้านายฝ่ายเหนือ และเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงวัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของคน เมืองเหนือที่เรียกว่า "ไทยวน" และกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม อาทิ เครื่องมือทำนา เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องครัว เครื่องทอผ้า ผ้าและการแต่งกาย เป็นต้น          นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงกลางแจ้งภายนอกอาคาร คือ เตาเผาเครื่องถ้วย แหล่งเตาวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และเตาเผาเครื่องถ้วยแหล่งเตาพาน (โป่งแดง) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย   พุทธศักราช 2542 ถึง ก่อนพุทธศักราช 2556          ช่วงพุทธศักราช 2539 - 2542 การจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้รับการซ่อมแซม ปรับปรุง และเพิ่มเติมเนื้อหาสาระวิชาการให้หลากหลายสาขายิ่งขึ้นในลักษณะของพิพิธภัณฑสถานประจำเมือง / จังหวัด / ภูมิภาค โดยเน้นความสำคัญของอาณาจักรล้านนาและนครเชียงใหม่ รวมทั้งความเป็นเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ อาคารชั้นล่าง จัดแสดงส่วนที่ 1 - 3 และอาคารชั้นบนจัดแสดงส่วนที่ 4 - 6         ส่วนที่ 1 แสดงภูมิหลังแผ่นดินล้านนาเป็นเรื่องราวทางธรณีวิทยา และชีวิตดึกดำบรรพ์ ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมภาคเหนือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องราวของชนเผ่าลัวะ และหริภุญไชย รัฐแรกในภาคเหนือ         ส่วนที่ 2 แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนา เริ่มจากการสถาปนานครเชียงใหม่ ความรุ่งเรืองและความเสื่อมของอาณาจักร         ส่วนที่ 3 แสดงเรื่องราวของนครเชียงใหม่ใต้ร่มอาณาจักรสยามตั้งแต่การกอบกู้เอกราชจากพม่า การตั้งเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่พุทธศักราช 2339 และความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม         ส่วนที่ 4 แสดงเรื่องการค้า และเศรษฐกิจระยะแรก ระหว่างพุทธศักราช 2339 - 2463 และระยะที่สอง ระหว่างพุทธศักราช 2467 - 2482 เมื่อมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ         ส่วนที่ 5 แสดงเรื่องราวการดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม เช่น การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาและการสาธารณสุข         ส่วนที่ 6 แสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนา และศิลปกรรมในประเทศไทย         นอกจากแผนที่ แผนผัง แผนภูมิ ภาพถ่าย ป้ายคำบรรยายและป้ายคำอธิบายวัตถุที่ใช้เป็นสื่อจัดแสดงระหว่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และผู้เข้าชมแล้ว การปรับปรุงนิทรรศการถาวรครั้งนี้ ยังได้เพิ่มเติมและเทคนิคและสื่อการจัดแสดงหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น การจำลองหลุดขุดค้นทางโบราณคดี ภาพเขียนเล่าเรื่อง ภาพเขียนประกอบหุ่นจำลองบุคคลและเหตุการณ์สำคัญพร้อมเสียงบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ตู้จัดแสดงภาพโปร่งแสงขนาดใหญ่ การแสดงเรื่องราวและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนิทรรศการผ่านระบบคอมพิวเตอร์แบบสัมผัสหน้าจอ   พุทธศักราช 2560 ปัจจุบัน         ช่วงพุทธศักราช 2556 - 2559 มีการปรับปรุงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ทั้งหมดอีกครั้งโดยเพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมของล้านนาเพื่อให้สอดคล้องเท่าทันความก้าวหน้าทางวิชาการปัจจุบัน ส่วนจดแสดงเดิมที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา ถูกลดระดับความสำคัญลงไป เนื่องจากมีพิพิธภัณฑสถานเฉพาะสาขาวิชาดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ศูนย์กลางการศึกษา อนุรักษ์ และให้บริการข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือตอนบนอย่างชัดเจน         การปรับปรุงนิทรรศการครั้งใหม่นี้ เน้นความงามของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยให้ความสำคัญกับการออกแบบครุภัณฑ์ เช่น ตู้ ชั้น แท่นฐาน และแผงจัดแสดง การใช้สี การจัดวาง และการจัดแสง และเพิ่มการให้บริการข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑสถาน และข้อมูลรายละเอียดของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงด้วยสื่อมัลติมีเดีย และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย เช่น ระบบ QR/AR CODE ระบบไดโอรามาจำลองภาพสามมิติ พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) นิทรรศการที่ปรับปรุงใหม่ครั้งนี้ ประกอบด้วย ส่วนจัดแสดงทั้งหมด 16 ห้อง         อาคารชั้นบน จำนวน 8 ห้อง จัดแสดงเรื่องราวการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำรวจศึกษาและขุดค้นพบในเขตพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนกว่า 100 แหล่ง ที่สำคัญ อาทิ ในอำเภอแม่ทะ แหล่งประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดเชียงใหม่ บ้านวังไฮ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เป็นต้น         สมัยประวัติศาสตร์ล้านนาเริ่มจากการปรากฏของแคว้นหริภุญไชย ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในแอ่งที่ราบเชียงใหม่ - ลำพูน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 จนกระทั่งพญามังรายแห่งแคว้นโยนกจากแอ่งที่ราบเชียงราย - เชียงแสน ขยายอำนาจมาผนวกเอาพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน แล้วจึงสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือเวียงพิงค์" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา มีกษัตริย์ปกครองรวม 18 พระองค์ (พุทธศักราช 1839 - 2101) ซึ่งการจัดแสดงส่วนนี้เน้นเรื่องคติความเชื่อและความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา จากนั้นได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานกว่า 200 ปี เมื่อนครเชียงใหม่ฟื้นตัวด้วยความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม แม้เป็นเมืองประเทศราชหรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของสยาม แต่มีอิสระในการปกครองโดยมีเจ้าผู้ครองนครจำนวน 9 องค์ เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงมีสถานะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่พุทธศักราช 2476 เป็นต้นมา อนึ่ง ส่วนจัดแสดงภายในอาคารชั้นบนนี้ เป็นการนำผู้เข้าชมย้อนอดีตพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของดินแดนล้านนาจากสมัยรัตนโกสินทร์สมัยล้านนา สมัยหริภุญไชย เข้าไปสู่ยุคก่อนประวัติศาสตร์   ส่วนจัดแสดงชั้นบน จำนวน 8 ห้อง ประกอบด้วย คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา   ล้านนาสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ   อาณาจักรล้านนา   ล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ




***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก หลวงดรุณกิจวิทูร.  แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนกลาง ชั้นประถมปีที่ ๒.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๒๐.


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    16 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


สาระสังเขป  :  ประวัติจากบันทึกส่วนตัวของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)ผู้แต่ง  :  สารประเสริฐ, พระ โรงพิมพ์  :  คุรุสภาปีที่พิมพ์  :  2507 ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.31บ.12743เลขหมู่  :  928.95911              ส669ปส


๑.  ผู้เข้าร่วมประชุม           ชื่อ / นามสกุล             นางสุภาณี  สุขอาบใจ                                                           ตำแหน่งปัจจุบัน           บรรณารักษ์ ระดับชำนาญการพิเศษ                                  หน่วยงาน                  กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ   ๒.  หัวข้อการประชุม           “Adding value through international cooperation”   ๓.  วัตถุประสงค์การประชุม           ๓.๑  เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศและส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย           ๓.๒  เพื่อสนับสนุนห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่มีการพัฒนาน้อย ผ่านความร่วมมือ ๓.๓  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ด้านห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย   ๔. ประโยชน์ที่ได้รับ           ๔.๑  เกิดความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและ โอเชียเนีย            ๔.๒  มีความเข้าใจในศิลปะของการพัฒนาห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย   ๕.  ระยะเวลา    วันที่ ๘ - ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙   ๖.  สถานที่ประชุม           หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์   ๗.  หน่วยงานผู้จัด           หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์   ๘.  จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม           ผู้เข้าประชุม จำนวน ๒๕ คน จาก ๑๗ ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน หมู่เกาะคุก ฟิจิ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ซามัว สิงคโปร์ หมู่เกาะโซโลมอน ไทย ติมอร์-เลสเต้ และ เวียดนาม (สำหรับประเทศสมาชิกที่มีการแจ้งเป็นทางการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ คือ ประเทศบรูไนดารุสซาราม เมียนมาร์ เนปาล ศรีลังกา และตูวาลู) ๙.  กิจกรรม วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น. - งานเลี้ยงต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม ณ หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๘.๒๐ - ๘.๔๐ น.   - ลงทะเบียน เวลา ๘.๔๐ - ๑๐.๐๐ น. - พิธีเปิดการประชุม (Opening Session) กล่าวต้อนรับ (welcome  address) โดย Mr. Hon Peter Dunne, Minister of Internal Affairs                                     - กล่าวเปิดการประชุม (Opening address) โดย Mr. Bill Macnaught ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ ประธานการประชุม เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. รายงานผลการดำเนินงานของ CDNLAO                                                  ๑. การรับรองรายงานการประชุม CDnLAO ครั้งที่ ๒๓ มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม CDNLAO ครั้งที่ ๒๓ ที่ประเทศไทย           ๒. หอสมุดแห่งชาติญี่ปุ่นในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์แจ้งที่ประชุมว่าจะมีการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ หากประเทศสมาชิกใดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น Web Facebook Twitter YouTube Instagram Blogs ขอให้แจ้งหอสมุดแห่งชาติญี่ปุ่นที่ Email: kokusai@ndl.go.jp ๓. การเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม CDNLAO ครั้งต่อไป มติที่ประชุมเห็นชอบให้หอสมุดแห่งชาติ จีน เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติของประเทศแถบเอเชียและโอเชียเนีย (CDNLAO) ครั้งที่ ๒๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐           เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. การเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์             ชั้น ๑  เปิดบริการสำหรับผู้ใช้บริการทุกคนสามารถเข้าใช้ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนแต่สามารถใช้ได้ผ่าน lifeline table ที่อยู่ใกล้ประตูทางเข้าที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการภาพถ่าย บทความในหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนนิวซีแลนด์ เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามมีรูปร่างเหมือนเรือแคนูซึ่งแสดงให้เห็นถึงการออกเดินทางค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการ มีการจัดแผนที่โลกขนาดใหญ่สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมจากทุกมุมโลกจะสามารถทำเครื่องหมายประเทศของตนได้ นอกจากนี้มีพื้นที่สาธารณะเรียกว่า มุม net.work สำหรับผู้ใช้สามารถเข้ามานั่งทำงาน พักผ่อน ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ไว้บริการแต่ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย ตั้งอยู่บริเวณใกล้มุมกาแฟและของที่ระลึกอีกทั้งมีการนำเสนอภาพศิลปะขนาดใหญ่เพื่อแสดงตำนานการสร้างโลกของชาวเมารี เป็นตำนานเทพเจ้าแห่งป่าและนกนำแสงไปทั่วโลก ดังนั้นเพดานของอาคารหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์เป็นสีดำและผนังเป็นสีขาวเฃเสมือนเป็นตัวแทนของความมืดและสว่าง คุณลักษณะของพื้นที่สาธารณะอีกประการหนึ่งคือห้องโถงกับบอร์ดขนาดใหญ่ที่จัดแสดงศิลปะตำนานการสร้างโลกของชาวเมารี ในตำนานเทพเจ้าแห่งป่าและนกนำแสงไปทั่วโลกโดยการแยกพ่อแม่ของพวกเทพเจ้าแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน ดังนั้นเพดานที่หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์เป็นสีดำและผนังเป็นสีขาวจึงเป็นตัวแทนของความมืดและความสว่าง   ชั้น ๒  เป็นห้องบริการหนังสือสำหรับผู้ใช้โดย ประกอบด้วยห้องบริการหนังสือทั่วไปทุดหมวดหมู่วิชาและห้องหนังสือหายากที่มีคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมของชาติหนังสือที่เกี่ยวข้องกับชาวเมารี นอกจากนี้ยังจัดแบ่งหนังสือเป็นคอลเลกชันย่อย ได้แก่ คอลเลกชั่นโอเชียเนีย คอลเลกชั่นภาพ เป็นต้น          ห้องสมุดอเล็กซานเดอร์ (Alexander Turnbull Library) เป็นห้องสมุดย่อยที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น ๒ ของหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ มีการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเกี่ยวกับประเทศนิวซีแลนด์และแปซิฟิกหลายประเภท ได้แก่ หนังสือต้นฉบับ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพพิมพ์ ต้นฉบับเพลง หนังสือพิมพ์เก่า แผนที่ และเทปประวัติบุคคลสำคัญ เป็นต้น วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ การบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดของประเทศต่าง ๆ รวม ๕ ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ คุกไอส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และสาธารณรัฐฟิจิ   Dr. Wonsun Lim, ประธานบริหารหอสมุดแห่งชาติเกาหลี บรรยายเรื่อง “Sending Books to our libraries”           หอสมุดแห่งชาติเกาหลีมีการดำเนินการในเรื่องบริจาคหนังสือและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับทางภาษีของผู้บริจาค เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการบริจาคหนังสือภายในประเทศ มีการกำหนดใช้ใน พรบ.หอสมุดแห่งชาติเกาหลี มาตรา 9 ที่ว่าด้วยเรื่อง Donation of money, etc ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการบริจาคหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ การบริจาคหนังสือ 30 ล้านเล่ม หรือน้อยกว่าจะได้รับยกเว้นภาษี 15% หรือถ้าบริจาคหนังสือมากกว่า 30 ล้านเล่ม ได้รับการยกเว้นภาษี 25% มีการกระจายทรัพยากรสารสนเทศของประเทศอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ และเป็นการกระตุ้นให้บริจาคหนังสืออย่างแพร่หลาย Ms. Ai Cheng Tay รองประธานฝ่ายบริหารคณะกรรมการหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ บรรยายเรื่อง “International collaboration in the region and how to contribute” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้ สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (IFLA) เป็นองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดูแลรักษาผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดทุกภูมิภาคทั่วโลก สำหรับห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียเป็นสมาชิกสหพันธ์ระหว่างประเทศฯ จำนวน ๑๘๒ แห่งใน ๓๔ ประเทศ และห้องสมุดในภูมิภาคโอเชียเนีย จำนวน ๘๒ แห่ง ใน ๕ ประเทศ มีการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนงานห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ดังนี้ ๑)      Signatures for Lyon Declaration (Importance of Libraries in Developing Countries) เป็นการลงนามตามประกาศลียงเกี่ยวกับความสำคัญของห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนา ๒)  การเสนอข้อเปลี่ยนแปลงเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการบริการข้อมูลของห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียในพระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ๓)  การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ๔)  การอภิปรายเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลของตัวแทนห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ๕)  การนำเข้าข้อมูลใน UN 2030 SDGs IFLA toolkit        ๖)  การบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดในประเทศเมียนมาร์ จำนวน ๕๐,๐๐๐ จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศสิงคโปร์ หอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์ และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศเมียนมาร์ ๗. การประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑๙ ของสมาคมเอกสารโบราณว่าด้วยสื่อโสตทัศนวัสดุแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๘. การให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาห้องสมุดในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือเด็ก และ การจัดการอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ประเทศสาธารณรัฐฟิจิ (Ms. Merewalesi Vueti) ประเทศปาปัวนิวกินี (Mr. Kakaito Kasi) ประเทศคุกไอส์แลนด์ (Ms. Odile Urirau) บรรยาย เรื่อง “National Library Services in the South Pacific”   Ms. Merewalesi Vueti ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติฟิจิ บรรยายเรื่อง “School libraries destroyed” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้           ห้องสมุดโรงเรียนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก รวมทั้งห้องสมุดบางแห่งที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงของประเทศ ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากอุทกภัย วาตภัย สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ตามสถิติรายงานพบว่า ห้องสมุดระดับก่อนประถมศึกษาเสียหาย จำนวน ๒๖ แห่ง ห้องสมุดโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๗๑ แห่ง และห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๗ แห่ง ซึ่งทุกแห่งมีความเสียหายประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ Mr. Kakaito Kasi อธิบดีกรมหอสมุดแห่งชาติและเอกสารโบราณปาปัวนิวกินี บรรยายเรื่อง “PNG delivering quality library services to its people through international corporation” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้ ประเทศปาปัวนิวกินีตั้งอยู่ในภูมิภาคแปซิฟิก ด้วยสภาพของประเทศจะเผชิญกับภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้งทำให้ห้องสมุดของประเทศได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมีความเสียหายของทรัพยากร อุปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องสมุดยังไม่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดสรร งบประมาณห้องสมุดเป็นลำดับรอง เมื่อเทียบกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ ดังนั้นรัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดในด้านต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ นโยบายด้านทรัพยากรสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมของห้องสมุดใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น Ms. Odile Urirau รักษาการผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ บรรยายเรื่อง National Library Collaboration with MoCD (MoCD : Ministry of Culture Development) สรุปประเด็นสำคัญดังนี้ หอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ สังกัด กระทรวงพัฒนาวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และเปิดบริการในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ในขณะนั้นมีหนังสือบริการประมาณ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ประกอบด้วย หนังสือวิชาการทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือสำหรับเด็ก หนังสือเกี่ยวกับภูมิภาคแปซิฟิก รายงานประจำปี สิ่งพิมพ์รัฐบาล และหนังสือหายาก           หอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาหอสมุดแห่งชาติไว้ ๒ เรื่อง คือ ๑.  หอสมุดแห่งชาติจะจัดเก็บ รวบรวม รักษาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทเพื่อให้ ประชาชนทุกหมู่เกาะสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน ๒.  จัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติที่รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศไว้อย่างครบถ้วน ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ปัญหาที่พบและความต้องการความช่วยเหลือจากห้องสมุดอื่น ๆ ๑.      สำนักพิมพ์ไม่ส่งสิ่งพิมพ์ตามกฎหมายให้หอสมุดสมุดแห่งชาติ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สำนักพิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ไว้นานเกินไป ๒.      รัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องการปรับแก้กฎหมายการส่งสิ่งพิมพ์ ๓.      หอสมุดแห่งชาติประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้ ทรัพยากรสารสนเทศมีเชื้อราเป็นการเพิ่มภาระงานในการดูแลรักษารวมทั้งขาดงบประมาณในการแก้ปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่ได้รับ/ข้อเสนอแนะ           ได้รับทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านการพัฒนาความก้าวหน้ารวมทั้งปัญหาของหอสมุดแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียด้านต่าง ๆ ได้แก่ การรับทรัพยากรสารสนเทศตามกฎหมาย เครือข่ายความร่วมมือด้านการบริจาค แลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งปัญหาด้านการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศให้คงสภาพ สามารถนำมาเป็นข้อคิดเพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานต่อไป           หอสมุดแห่งชาติสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ในด้านการจัดเก็บรวมรวมและอนุรักษ์หนังสือหายากและเอกสารต้นฉบับในกลุ่มประเทศเอเชียและโอเชียเนีย          


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ก/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 2หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger