ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์
(หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
ชื่อผู้แต่ง อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรไทย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๘
จำนวนหน้า ๑๗๔ หน้า : ภาพประกอบ.
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศฺรินทราวาส
วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘
เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติของคุณหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ ตั้งแต่วัยเยาว์ จนกระทั่งท่านถึงแก่อนิจกรรม รวมอายุได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ท่านเป็นคนชอบสงบรักบ้าน ท่านจะมีความสุขเมื่อลูกหลานอยู่พร้อมกัน
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่า พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพิมล บุญอาภา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2511ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา จำนวนหน้า : 246 หน้า สาระสังเขป : เรื่องที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 นี่ คือ 1. เรื่องแก้คดีพระเจ้าปราสาททอง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) แก้ถวายตามความคิดเห็น 2. เรื่องตำนานกรุงเก่า ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีรัชมงคล เมื่อ ร.ศ.123 (พ.ศ.2450) 3. เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 4. พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ชื่อผู้แต่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.ชื่อเรื่อง วิศวกรรมสาร (ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐)ครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐จำนวนหน้า ๕๖ หน้ารายละเอียด
วิศวกรรมสาร เป็นวารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฉบับที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ นี้ มีบทความให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบางประการของไซโคลนขนาดเล็ก โดย เรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ น้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม โดย DUTCH CONE PENETRATION TEST โดย เรืองวิทย์ โชติวิทยธานินทร์ : อดุลย์ รื่นใจชน : เดชา สิงห์ชินสุข เป็นต้น
ต้นแบบพระบรมรูป รัชกาลที่ 6
ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย
พ.ศ. 2482 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีดำริให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ณ สวนลุมพินี เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้พระราชทานที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ณ ตำบลศาลาแดง จํานวน 360 ไร่ เพื่อเป็น “วนสาธารณ์” หรือสวนสาธารณะให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ซึ่งมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบและปั้นหล่อพระบรมรูป
ศาสตราจารย์ศิลป์ปั้นต้นแบบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรูปแบบเหมือนจริงอย่างศิลปะตะวันตกตามหลักวิชาการ (Western Academic Art) ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างสรรค์งานประติมากรรมที่ท่านถนัดและมีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งอาศัยความรู้และความแม่นยำในเรื่องกายวิภาค ประกอบกับฝีไม้ลายมือทางด้านศิลปะในการขึ้นรูปดินเหนียวให้เป็นรูปมนุษย์ได้อย่างสมจริงประหนึ่งบุคคลต้นแบบ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้แสดงฝีมือจนเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว จากผลงานการปั้นพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ปั้นพระบรมรูปจากพระองค์จริงเมื่อ พ.ศ. 2468
‘ต้นแบบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ที่จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ฉลองพระองค์ชุดนายพลเสือป่าพรานหลวง ประทับยืนพักพระชานุขวาบนฐานประดับตราพระครุฑพ่าห์ น่าจะเป็นหนึ่งในต้นแบบพระบรมรูปที่ศาสตราจารย์ศิลป์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่น่าเสียดายว่าต้นแบบนี้มิได้นำไปสร้างจริง เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับข้อคิดเห็นของคณะกรรมการฯ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างแล้วเสร็จในปี 2485 และยังประดิษฐานเป็นศูนย์กลางของสวนลุมพินีจนถึงปัจจุบัน
นิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” จัดแสดงระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เลขทะเบียน : นพ.บ.397/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145 (48-57) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : มไลยโจท--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.531/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178 (281-290) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : ธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้เรื่อง "การสังคายนาสวดมนต์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
นายทัตพล พูลสุวรรณ
นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ
กลุ่มจารีตประเพณี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ค้นคว้าเรียบเรียง
“สามก๊ก”
สามก๊กในงานจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เป็นงานเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊กที่พบมากที่สุดในประเทศไทย งานจิตรกรรมแบ่งการเขียนรูปเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียงเรื่องราวตอนละ ๑ ช่อง ด้วยหมึกจีนสีดำ มีอักษรจีนเขียนกำกับไว้ในภาพทุกภาพ มีทั้งหมด ๓๖๔ ภาพ
งานคัดลอกลายเส้นจิตรกรรมวัดประเสริฐสุทธาวาส เป็นการคัดลอกลายเส้นจากภาพถ่ายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลลายเส้น องค์ประกอบของภาพจิตรกรรมที่ยังคงเหลืออยู่ เป็นขั้นตอนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร งบประมาณประจำปี ๒๕๖๖
ดำเนินงานโดย กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
“วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม”
เพลง “ค่าน้ำนม” คงได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก หลายยุคหลายสมัยยังเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงพระคุณของแม่ ที่มีเนื้อหากินใจว่า “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง แม่เฝ้าหวงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล...” ทำให้เห็นถึงความรักของแม่ที่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก จะไปไหนก็เป็นห่วง รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิรู้วาย
วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่ถือเอาวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นวันแม่แห่งชาติ
แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็นวันแม่แห่งชาติอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา เพราะเห็นว่าเป็นเดือนที่ฝนยังตกไม่ชุกนัก จะมีคนมาร่วมงานได้สะดวก โรงเรียนอยู่ระหว่างการหยุดเทอม นักเรียนว่างพอจะเข้าร่วมงานวันแม่ได้ การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ ให้ถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทย เปรียบเสมือนแม่ของชาติ โดยมติเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ โดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที
การที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม ที่ใช้ได้ตั้งแต่เป็นดอกไม้สด จนกระทั่งแห้งเสมือนดั่งความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย เป็นสัญญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (ครั้งที่๓)
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง เสด็จประพาสต้นเมื่องสุพรรณ ครั้งที่๒ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธรูปปางมารวิชัย
สถานที่ประดิษฐาน พระอุโบสถ วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง) ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ประวัติ เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ถวายเมื่อครั้งฉลองกุฏิใหม่วัดมหาสมณารามฯ ปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ตรงกับหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ว่า “. . . วันที่ ๒๒ มิถุนายน จ.ศ. ๑๒๒๒ แห่พระไปเมืองเพชร . . . วันที่ ๒๘ มิถุนายน เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี เป็นครั้งที่ ๓ การแห่พระนั้น ก็คือ การแห่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จํานวน ๑๐ รูป จากวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งมีพระใบฎีกาเอม ข้าหลวง เดิมในพระองค์เป็นชาวบ้านบางจาน เมืองเพชรบุรี ให้ออกไปครองวัดมหาสมณาราม เป็นที่พระครูมหาสมณวงศ์ กับพระอันดับอีก ๙ รูป พร้อมด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์ในการทําบุญฉลองกุฏิใหม่ และพระสงฆ์ที่ไปครองวัดมหาสมณารามนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรบุรี กรมการเมือง เบิกเงินต่อกรมวังมาจัดของคาว - หวาน ถวายพระสงฆ์ เช้า คาว ๕ หวาน ๕ รวม ๑๐ สํารับ . . .”
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นเพียงการสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เดียวกันกับเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ถวายพระพุทธรูปปางมารวิชัยเมื่อครั้งฉลองกุฏิใหม่ ในปี ๒๔๐๓ โดยสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะอายุสมัยเท่านั้น เนื่องจากไม่พบหลักฐานอื่น ๆ