ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,408 รายการ

กำไลสำริด แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบหลุมฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยฝังศพในท่านอนเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบสิ่งของที่บรรจุอยู่ข้างลำตัว เช่นเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัดหินสี ตุ้มหู และภาชนะดินเผา ชุมชนโบราณบ้านวังไฮกำหนดอายุในยุคโลหะ ซึ่งใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ และใช้สำริดเป็นเครื่องประดับ ประมาณ ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว กำไลสำริด พบจากการขุดค้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๓๐ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่) และโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) ในหลุมทดสอบที่ ๒ พบเพียงส่วนกระดูกปลายแขนด้านขวาอยู่ในสภาผุกร่อน และกำไลสำริดทรงกระบอก ๔ ข้อต่อกัน วางอยู่ใต้ภาชนะดินเผา ๒ ใบ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาทาสีแดง ก้นกลม ลายหยาบ กำไลสำริด เป็นกำไลปลอกแขน มี ๔ ข้อต่อกัน สนิมจับจนเขียว แต่ละข้อตรงกลางคอดเล็กน้อย ขอบทั้งสองข้างตกแต่งด้วยลายเส้นเล็กๆ โดยรอบ ๒ เส้น ขอบมุมหนาเป็นสัน ผิวตรงกลางเรียบไม่มีลวดลาย อยู่ในสภาพสวมอยู่ที่กระดูกต้นแขนซ้าย แต่ไม่สามารถระบุเพศผู้สวมใส่ได้ เนื่องจากพบเพียงชิ้นส่วนแขนเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นกลุ่มชนชั้นสูงทางสังคมในชุมชนบ้านวังไฮแห่งนี้  การพบเครื่องประดับในแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทหลุมฝังศพนี้ มักพบสิ่งของอุทิศชนิดต่างๆ ที่ฝังลงไปพร้อมกับผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่มีทั้งที่เป็นลูกปัดหินสี แก้ว หรือเป็นโลหะ เช่น สำริด รวมถึงอาวุธและเครื่องใช้ในชนิดต่างๆ ที่ทำจากสำริดและเหล็ก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ อาจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ แสดงสถานะทางสังคมแตกต่างไปตามจำนวนและชนิดของสิ่งที่อุทิศลงไปในหลุมฝังศพนั้น นอกจากการฝังเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ยังพบการฝังเครื่องประดับพร้อมภาชนะดินเผาในลักษณะเดียวกันที่แหล่งโบราณคดี บ้านสันป่าค่า บ้านยางทองใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำกวงที่ร่วมสมัยกัน เป็นชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์สมัยหริภุญไชยในที่สุดอ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.ศิลปากร, กรม. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์. ๒๕๓๒.


ครุฑสมัยอยุธยาครุฑสมัยอยุธยา นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เมื่อมีการยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นดั่งองค์พระนารายณ์อวตารมาเป็นพระราม กษัตริย์แห่งสูรยวงศ์ผู้ครองเมืองอโยธยาในคัมภีร์มหากาพย์รามายณะ ดังนั้นครุฑในฐานะสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลายด้าน และปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รวมถึงครุฑโขนเรือพระที่นั่งด้วยงานศิลปกรรมที่สะท้อนคติเรื่องครุฑในสังคมสมัยอยุธยานั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานสถาปัตยกรรมประติมากรรม จิตรกรรม รวมถึงประณีตศิลป์ ซึ่งนอกจากครุฑที่เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีครุฑตามความเชื่อทางพุทธศาสนาด้วย การนำรูปครุฑมาตกแต่งศาสนสถาน เพื่อสื่อความหมายว่าครุฑคือผู้พิทักษ์ ศาสนสถานยังสืบทอดต่อมา งานสถาปัตยกรรมจึงปรากฏรูปครุฑอยู่หลายส่วน เช่น ครุฑปูนปั้นประดับเจดีย์ทรงปรางค์ ที่ชั้นเชิงบาตรครุฑแบกพระมหาธาตุเจดีย์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครุฑที่หน้าบันอุโบสถ วิหาร มีทั้งงานจำหลักไม้ งานปูนปั้น ทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หรือรูปครุฑอย่างเดียวก็มี เช่น พระนารายณ์ทรงครุฑ หน้าบันจำหลักไม้ วัดแม่นางปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครุฑปูนปั้นหน้าบันอุโบสถ วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ทรงครุฑปูนปั้น หน้าบันอุโบสถ วัดไผ่ล้อม จังหวัดเพชรบุรี ครุฑแบกปูนปั้นประดับฐานเสมาวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรีครุฑในงานจิตรกรรมมักอยู่ในภาพเทพชุมชุม เช่น ครุฑชุมชุม จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี ครุฑในภาพเทพชุมชุม จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ครุฑประดับเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา อาทิ ครุฑประดับธรรมมาสน์ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ครุฑในตู้พระธรรมลายรดน้ำ หีบพระธรรม เช่น พญาครุฑบนบานประตูตู้พระธรรม ฝีมือช่างครูวัดเชิงหวาย ครุฑในงานประณีตศิลป์ เช่น ครุฑทองคำประดับพระปรางค์จำลองครุฑทองคำเหยียบนาค พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาIn Ayutthaya period, Garuda was adopted as a symbol that referred to Thai kings who were worshipped as an avatar of Narayana, King Rama of Suryavamsha dynasty ruling Ayodhya city in the epic Ramayana. Thus, Garuda, as a symbolic image of Narayana, became the symbol representing the kings of the Ayutthaya Kingdom for various affairs which appeared in many designs, especially royal seals, Phra Ratcha Lanchakon including royal barge bows .The artworks reflecting the beliefs on Garuda in the Ayutthaya period were found in a diversity of arts, such as architecture, sculptures, paintings and fine arts. Apart from being a symbol referring to kings, Garuda is also related to Buddhist beliefs. For example, Garuda image is used to decorate religious places signifying that he is the guardian. Also, Garuda served as architectural ornaments are found in many artworks, for instance, Garuda stucco decoration on the Prang of Wat Ratchaburana, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, Vishnu riding Garuda depicted on the carved wooden gable at Wat Mae Nang Pluem, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, Garuda stucco on the gable of the chapel in Wat Khao Bandai It, Phetchaburi Province, Vishnu riding Garuda stucco on the gable of the ordination hall of Wat Phai Lom, Phetchaburi Province, Garuda stucco in carrying posture decorated at the base of sima boundary stone at Wat Sa Bua, Phetchaburi Province, etc.Garuda in paintings is usually depicted in an assembly of divinities, such as mural paintings on the chapel of Wat Ko, Phetchaburi Province, mural paintings at Wat Yai Suwannaram, Phetchaburi Province. Garuda decoration is also presented in Buddhist temple furniture, such as Garuda decoration on the sermon throne at Wat Maha That, Phitsanulok Province, and Garuda decoration on lacquer and gilt scripture cabinet and scripture box.A notable work of such decoration is Garuda on doors of a cabinet created by artisans of Wat Choeng Wai. Furthermore, Garuda is presented in fine arts, such as golden Garuda decoration on the miniature Prang, golden Garuda standing on Naga found at the crypt inside the Prang of Wat Ratchaburana, Pra Nakhon Si Ayutthaya Province, etc.ภาพ: หน้าบันปูนปั้นรูปครุฑยุดลายกนกศิลปะอยุธยาตอนปลาย อุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรีข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


เลขทะเบียน : นพ.บ.418/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 78 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 148  (81-85) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : ปิฎก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.553/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อุณหิสสวิไช--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2515สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โพธิ์สามต้นการพิมพ์จำนวนหน้า : 670 หน้าสาระสังเขป : "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน" เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ จ.ศ.712 (พ.ศ.1893) จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อ จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310) ถือเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยหนึ่งของพัฒนาการสู่สังคมไทยในปัจจุบัน




องค์ความรู้ทางวิชาการเรื่อง "ตรียัมปวาย – ตรีปวาย:  พิธีพราหมณ์ที่ปรากฏในเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยา"     “พิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย” เป็นพิธีกรรมสำคัญในศาสนาพราหมณ์ ตามความเชื่อว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้ง เป็นเวลา ๑๐ วัน และเมื่อพระอิศวรเสด็จกลับแล้ว ก็ถึงช่วงเวลาที่พระนารายณ์เสด็จลงมาบนโลกมนุษย์ เป็นเวลา ๕ วัน ด้วยเหตุนี้ พิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย จึงจัดเป็นพิธีต่อเนื่องกัน ๒ พิธี คือ “พิธีตรียัมปวาย” หรือพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นพิธีต้อนรับพระอิศวร และ “พิธีตรีปวาย” ซึ่งเป็นพิธีต้อนรับพระนารายณ์ โดยแบ่งการพระราชพิธีแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือพิธีตอนแรก เป็น “พิธีเปิดประตูศิวาลัยไกรลาส” ซึ่งเป็นการอัญเชิญเทพเจ้าลงสู่โลกมนุษย์ จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน เพื่อหยั่งความมั่นคงของโลก พิธีตอนที่สอง เป็นพิธีที่เรียกว่า “ประสาท” เป็นการกล่าวสรรเสริญเทพเจ้า ถวายเครื่องบูชาแก่เทพเจ้า และนำไปแจกแก่มวลมนุษย์เพื่อเป็นความสิริมงคล พิธีตอนที่สาม เรียกว่าพิธี “กล่อมหงส์” หรือ “ช้าหงส์” เป็นพิธีทรงน้ำเทพเจ้า เสร็จแล้วจึงอัญเชิญขึ้นสู่หงส์ ซึ่งเป็นพาหนะนำองค์เทพเจ้ากลับสู่วิมาน จึงเป็นการเสร็จสิ้นพิธี   สำหรับพิธีโล้ชิงช้าซึ่งถือเป็นพิธีกรรมตอนหนึ่งที่มีความสำคัญในพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย มีการสันนิษฐานถึงตำนานที่มาของการประกอบพิธีกรรมไว้หลายแนวทาง แต่ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าตำนานที่ได้รับการยอมรับจากพราหมณ์ในราชสำนักผู้ทำหน้าที่ประกอบพระราชพิธีนี้คือตำนานที่เกี่ยวข้องกับคติการสร้างโลกและการทดสอบความแข็งแรงของโลก ได้แก่ ตำนานตอนหนึ่งของพระอิศวร ครั้งเมื่อพระพรหมทรงสร้างโลกแล้ว พระอิศวรทรงทดสอบความแข็งแรงของโลกด้วยการเหยียบโลกด้วยพระบาทข้างเดียว เพราะเกรงว่าถ้าลงมาทั้งสองข้างโลกจะแตก และให้พญานาคมาโล้ยื้อยุดระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของมหาสมุทร ก็ปรากฏว่าแผ่นดินของโลกยังแข็งแรงดีอยู่ พญานาคทั้งหลายก็โสมนัสยินดี ลงเล่นน้ำและพ่นน้ำเป็นที่สนุกสนาน นอกจากตำนานดังกล่าว ยังเชื่อว่าพิธีนี้อาจมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพ (โดยเฉพาะฉบับสำนวนของพระครูวามเทพมุนีที่ถูกนำมาใช้ประกอบพิธีตรียัมปวาย) ซึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อพระเป็นเจ้าทั้งสามในศาสนาพราหมณ์ร่วมกันสร้างโลกเสร็จแล้ว พระอุมาวิตกว่าโลกจะไม่แข็งแรง และจะถึงกาลวิบัติในไม่ช้า พระอิศวรจึงทรงท้าพนันถึงความแข็งแรงของโลกกับพระอุมา โดยให้พญานาคนาลิวันขึงตนระหว่างต้นพุทราทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ แล้วให้พญานาคไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน พระอุมาจึงคลายความกังวล ส่วนเหล่าพญานาคที่ร่วมการทดสอบต่างพากันปิติยินดีและว่ายน้ำเล่นเป็นการใหญ่   สืบเนื่องจากตำนานข้างต้น จึงมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวายขึ้นในราชธานี และมีการสร้างเสาชิงช้ากลางพระนคร โดยสมมติให้ “เสาชิงช้า” เป็นภูเขาทั้งสองฝั่งของมหาสมุทร “นาลิวัน” ซึ่งสวมเครื่องประดับศีรษะรูปพญานาคสมมติเป็นตัวแทนของพญานาค “ขันสาคร” ซึ่งบรรจุน้ำตั้งเบื้องหน้าเสาชิงช้าระหว่างกลางเสาทั้งสองสมมติให้เป็นมหาสมุทร “พระยายืนชิงช้า” สมมติว่าคือพระอิศวรผู้ซึ่งเป็นประธานของการโล้ชิงช้า “การรำเสนง” รอบขันสาครซึ่งผู้แสดงจะต้องถือเขาสัตว์วักน้ำจากขันสาครสาดไปรอบๆ สมมติเป็นพญานาคมาแสดงความยินดี ส่วน “แผ่นไม้กระดาน” ซึ่งสลักภาพเทวี คือพระแม่ธรณี พระแม่คงคา และพระอาทิตย์ พระจันทร์ นั้น สมมติให้เป็นเทพและเทวีผู้เป็นบริวารมาเข้าเฝ้ารับเสด็จพระอิศวร   จากหลักฐานเอกสาร เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น (โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นพิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย) และคงประกอบพิธีกันในเดือนอ้าย คือราวเดือนธันวาคม ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ หรือเดือนมกราคม พระราชพิธีดังกล่าวถือปฏิบัติกันสืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ.๒๔๗๗ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฟื้นฟูพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย ขึ้นใหม่ โดยจะกระทำเฉพาะพิธีที่จัดขึ้นภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เท่านั้น ส่วนพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย นั้น มิได้นำกลับมาเช่นครั้งโบราณ โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้ ได้มีการประกอบพระราชพิธีดังกล่าวขึ้นในระหว่างวันที่ ๘ – ๒๓ มกราคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร ดังธรรมเนียมที่เคยถือปฏิบัติกันมา    สำหรับเมืองนครศรีธรรมราช ถือเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย ดังข้อความที่ระบุในตำนานพราหมณ์นครศรีธรรมราช ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งนำเทวรูปเข้ามาในเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยา และความสัมพันธ์ระหว่างพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชกับราชสำนักในสมัยอยุธยา ว่าในครั้งนั้นพระนารายณ์รามาธิบดีแห่งรามนครในอินเดียมีรับสั่งให้ราชทูตนำเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษมี หงส์ และชิงช้าทองแดงลงเรือมาถวายกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา แต่ในระหว่างทางเกิดเหตุอัศจรรย์ทำให้เทวรูปทั้งหมดมาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองนครจัดหาที่ให้เหมาะสมเพื่อประดิษฐานเทวรูปทั้งหมดในเมืองนครศรีธรรมราช แล้วจัดให้มีการสมโภชตามแบบพราหมณ์ และให้จัดสิ่งของจากกรุงศรีอยุธยาไปทำพิธีบูชาเทวรูปในพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวายอยู่เสมอมา ดังความว่า “....เมื่อเถิงในศักราช ๗๑๒ ปีขาลนักขัตร...พระนารายน์รามาธิราช มีพระราชโองการ ให้นายตำรวจรับเอาองค์พระนารายณ์เทวารูป พระศรีลักษมี พระมเหวารีย์บรมหงษ์ ชิงช้าทองแดง เอาลงบรรจุเภตราแล้ว แลมีพระราชโองการ ให้จัดเอาชีพ่อเปนภาษา ๕ เหล่ามอบให้ผแดงธรรมนารายน์เปนนาย ให้ศุภชีพ่อ ๕ เหล่ารับเอานารายณ์เทวารูปเอาไป กรุงนครศรีอยุธยาไว้สำหรับโพธิสมภารสนองต่างองค์สมเด็จนารายน์รามาธิบดี...แลเรือต้องพยุซัดเข้าปากน้ำตรัง แลกรมการบอกหนังสือส่งข่าวมาเถิงเมืองนคร จึงเจ้าพญานครคิดด้วยพระหลวงกรมการ สั่งให้ตำรวจมหาดไทยให้ออกไปรับองค์พระนารายน์เทวารูป พระศรีลักษมี พระมเหวารีย์บรมหงษ์ แลผแดงธรรมนารายน์ชีพ่อเบญจภาษา นั้นเข้ามาเมืองนคร...แลองค์นารายน์รามาธิบดีรู้ทราบพระหฤไทยแล้ว แลมีพระราชโองการ ตรัสสั่งแก่เจ้าพญาโกษาให้แต่งตราบอกไปแก่เจ้าพญานครแลกรมการ เห็นที่ใดสมควรให้แต่งสถานรับไว้เปนศักดิสิมาแก่แผ่นดินเมืองนครเถิด...” และ “...เดือน ๑๒ แรมค่ำ ๑ ได้ฤกษ์ กะติกาโรหินีฤกษ์ พระอาทิตย์สงกรานต์เถิงราษีพิจิกให้ตามตะเกียงไม้เทพทัน แลให้นับแต่แรม ๒ ค่ำไป ๒๙ วัน เปนกรรดิมา สามนับไป ๒๘ วัน แลให้ชีพ่อพราหมณ์ ๕ คน เร่งการพิธีเตรียมปา (ตรียัมพวายตรีปาวาย) ได้ถวายเข้าเม่าเข้าตอกแต่พระนารายน์เทวารูป แลพราหมณ์ ๔ ตนอ่านหนังสืออวยไชยพรถวายพระราชกุศลตามสงกรานต์ พระอาทิตย์ไปทุกวัน...ผแดงธรรมนารายน์ทำปากศรีนาทักษิณาบูชาตามถวายแก่พระนารายน์เทวารูป ตแขงเส้งทองแดงใส่น้ำมันให้วิตถารไว้เหนืออาศชิงช้าหน้าสถาน ๓ วัน...”    จากหลักฐานเอกสารข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในสมัยอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชมีการประกอบพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย รวมทั้งมีการโล้ชิงช้าเช่นเดียวกับในราชธานี โดยสันนิษฐานว่าพิธีดังกล่าวจัดขึ้นในบริเวณโบสถ์พราหมณ์ (นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจเรียกว่าหอพระคเณศ) ซึ่งเป็นเทวสถานสำคัญประจำเมืองนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาในบริเวณเดียวกับเสาชิงช้า หอพระอิศวร และหอพระนารายณ์ นอกจากนั้น ภายในโบสถ์พราหมณ์ยังมีการค้นพบหลักฐานสำคัญเนื่องในศาสนาพราหมณ์ เช่น ศิวลึงค์ศิลา เทวรูปพระคเณศสำริด เทวรูปพระศิวะและพระอุมา รวมทั้งนางกระดานไม้ซึ่งใช้ในการโล้ชิงช้า จึงมีการเรียกพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย ในเมืองนครศรีธรรมราชอีกชื่อหนึ่งว่า “พิธีแห่นางดาน” ซึ่งมีที่มาจากคำว่านางกระดาน นั่นเอง   พิธีแห่นางดาน หรือพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวายในเมืองนครศรีธรรมราชนี้ ในอดีตถือเป็นพิธีที่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช จัดกันเป็นประเพณีสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งแต่เดิมพิธีดังกล่าวประกอบด้วยพิธีกรรมหลายขั้นตอน โดยเริ่มในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย อันเป็นพิธีต้อนรับพระอิศวร พิธีแห่นางดาน พิธีโล้ชิงช้า พิธีอ่านเม่า พิธีเปิดประตูสวรรค์ พิธียกอุลุบ พิธีร่ายพระเวท พิธีธรณีลงดิน พิธีรำเสนงกวักน้ำมนต์ และพิธีช้าหงส์ หลังจากนั้นเมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายจะเป็นส่งพระอิศวรเสด็จกลับ และทำพิธีต้อนรับพระนารายณ์จนถึงวันแรม ๕ ค่ำ จึงส่งพระนารายณ์ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๕ วัน สำหรับนางกระดานซึ่งเป็นที่มาของชื่อพิธีในเมืองนครศรีธรรมราชนี้ คือ ไม้กระดาน ๓ แผ่น แกะสลักเป็นรูปพระแม่คงคา พระแม่ธรณี พระอาทิตย์และพระจันทร์ ซึ่งสมมติเป็นเทพที่อัญเชิญมารอต้อนรับพระอิศวร   ทั้งนี้ พิธีแห่นางดานในเมืองนครศรีธรรมราช ปรากฏหลักฐานว่าได้ถูกยกเลิกไปครั้งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ และแม้ว่าในอดีตได้มีความพยายามในการรื้อฟื้นพิธีแห่นางดานขึ้นใหม่หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ กระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๔ จังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้รื้อฟื้นพิธีแห่นางดานขึ้นอีกครั้ง โดยผนวกเข้ากับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในวันงานจะมีการจำลองพิธีแห่นางดาน โดยอัญเชิญนางกระดานจำลองมายังหอพระอิศวรและประดิษฐานในหลุมหน้าเสาชิงช้า และการจำลองพิธีโล้ชิงช้า แต่ทั้งนี้พิธีกรรมดังกล่าวมิได้ครอบคลุมไปถึงส่วนของพิธีตรีปวาย หรือพิธีแห่พระนารายณ์และพิธีช้าหงส์ ดังเช่นที่เคยถือปฏิบัติกันมาเมื่อครั้งโบราณ    อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าการรื้อฟื้นพิธีแห่นางดานขึ้นอีกครั้งของเมืองนครศรีธรรมราชนี้ ถือเป็นการสืบทอดประเพณีโบราณคู่บ้านคู่เมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยอยุธยาที่เกี่ยวข้องกับพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวายที่ปรากฏในเมืองนครศรีธรรมราช อันได้แก่ หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ เสาชิงช้า โบสถ์พราหมณ์ รวมทั้งเทวรูปเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ภายในเทวสถานเหล่านี้ เช่น พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด พระคเณศสำริด หงส์สำริด และนางกระดานไม้ ซึ่งยังคงคุณค่าความสำคัญอยู่ภายในเมืองนครศรีธรรมราชมาจนถึงปัจจุบัน    เรียบเรียง/กราฟิก: นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช   อ้างอิง ๑) กรมศิลปากร. ย้อนรอยพิธีโล้ชิงช้าในสยาม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓. ๒) ประพิศ พงศ์มาศ. “พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย (พิธีโล้ชิงช้า),”ศิลปากร ปีที่ ๕๕, ฉบับที่ ๓ (พ.ค.-มิ.ย.๒๕๕๕), ๑๐๒-๑๐๙.  ๓) เปรมวัฒนา สุวรรณมาศ. “เฉลิมไตรภพ” : การศึกษาแนวคิดและกลวิธีสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๖๐. ๔) พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา). ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอกพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), นครหลวง : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ, ๒๔๗๓.


ไซอิ๋ว เล่ม ๓.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง


ชื่อเรื่อง                         ทุกนิบาตปาลิ องคฺตรนิกาย (ทุกกนิปาตชาดก) อย.บ.                            389/11 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา



relationship in the world’s trade and culture At Siwamokkhaphiman Throne Hall, The National Museum, Bangkok 14th September – 14th December 2022


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ.                           244/16หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                56 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด


ชื่อเรื่อง                                 สมเด็จพระยุพราชชาติทหารผู้แต่ง                                    วิฑูร กวยะปาณิกประเภทวัสดุ/มีเดีย                 หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                                ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลขหมู่                                    923.2593 ว153วสถานที่พิมพ์                          กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                            รุ่งเรืองวัฒนาพานิชปีที่พิมพ์                                 2520ลักษณะวัสดุ                           116 หน้าหัวเรื่อง                                  บรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร, สมเด็จพระ, 2495ภาษา                                    ไทย  


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “สามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรี : ผู้คิดค้นการเผาพลอยคนแรกของไทย” จันทบุรีมีชื่อเสียงเกี่ยวกับธุรกิจการค้าอัญมณีเลื่องลือไปทั่วโลก นอกจากจะเป็นถิ่นกำเนิดของพลอยหลากสีที่มีคุณภาพ ยังเป็นศูนย์รวมของช่างพลอยมากฝีมือและประสบการณ์ ด้วยภูมิปัญญาด้านงานช่างอัญมณีที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น ทั้งกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพสีสันของพลอย การเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการประกอบตัวเรือนอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้พลอยเมืองจันท์เป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลกว่าเป็นพลอยที่มีความสวยงามและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพลอยที่มีสีสันสวยงามนี้ เกิดจากภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการเผาพลอยที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากความช่างสังเกตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นนวัตกรรมเตาเผาที่เหมาะสมกับพลอยหลากหลายชนิด และส่งผลให้ชื่อเสียงของคุณสามเมืองและพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักในระดับสากล จากหนังสือเรื่อง “ไม้ขีดไฟก้านแรก” ได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรีว่า คุณสามเมืองเริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยหลังลาออกจากการรับราชการตำรวจเมื่ออายุ 30 ปี ด้วยการลองผิดลองถูกทั้งการซื้อขายและการปะพลอย ต่อมาวันหนึ่งได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตก แต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดในการปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม จากการปะพลอยนี้เองคุณสามเมืองได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีพลอย โดยเนื้อพลอยจะใสขึ้นกว่าเดิม และมีสีจางลงเล็กน้อยเมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ความสงสัยจุดประกายเล็ก ๆ ขึ้นในใจเป็นครั้งแรกว่าความร้อนต้องเป็นสาเหตุหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของสีพลอยเป็นแน่ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ตลาดเมืองจันทบุรีครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก พลอยก้อนในร้านถูกเผาไหม้จมดิน และมีผู้นำมาขายให้ คุณสามเมืองสังเกตเห็นชัดว่าพลอยทุกเม็ดมีเนื้อใสหมด ทำให้เชื่อมั่นว่าความร้อนสามารถทำให้พลอยเปลี่ยนสีได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าการเผาพลอยอย่างจริงจัง ผ่านการลองผิดลองถูก และได้รับความร่วมมือในการผลิตเตาเผาด้วยถ่านหินซึ่งทนความร้อนสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทำให้สามารถเผาพลอยจนกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยพลอยเม็ดแรกที่เผาสำเร็จเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่าผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “คุณสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง คุณสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยพบว่าเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยสีน้ำเงิน เนื่องจากมีคาร์บอนมาก เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง เพราะไม่มีคาร์บอนมาสันดาปให้เกิดสีม่วง และเตาแก๊สเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ปรับให้ใช้ได้กับพลอยทุกสี เพราะสามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จในช่วง พ.ศ. 2523 - 2524 จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้น ทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด หลังจากนั้นมีการนำบุษราคัมที่ผ่านการเผานี้ไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา สร้างความสนใจแก่นักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการผลิตเป็นอย่างมาก มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติได้ให้ความสนใจและเดินทางมาทำข่าวถึงจันทบุรี ต่อมาได้มีการรับรองคุณภาพพลอยที่เผาด้วยความร้อน (Heat Treatment) และมีการตีพิมพ์เนื้อหาการปรับปรุงคุณภาพพลอยจากการเผาของจันทบุรี ลงในวารสาร Gems & Gemology Volume XVIII, Winter 1982 คุณสามเมืองจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Orange Sapphires” และเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่คุณสามเมืองได้สร้างไว้เป็นคุณูปการ และถ่ายทอดส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมาเพื่อเป็นสมบัติของชาติ เป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรีและชาวไทย อ้างอิง : เมธี จึงสงวนสิทธิ์. จันทบูร = Chining Moon. จันทบุรี: ไชน์นิ่งมูน, 2560. สามเมือง แก้วแหวน. ไม้ขีดไฟก้านแรก. กรุงเทพฯ: บีสแควร์ พริ้นท์ แอนด์ดีไซน์, 2564. Keller, Peter C. “The Chanthaburi - Trat Gem Field, Thailand.” Gems & Gemology. (Winter 1982): pp. 186 - 196. [Online]. Retrieved 26 September 2023, from: https:// www.gia.edu/doc/WN82.pdf ผู้เรียบเรียง : นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี