ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,408 รายการ

ชื่อผู้แต่ง             เบญจกุล  มะกะระธีช ชื่อเรื่อง               ความรู้เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยสงเคราะห์ไทย ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๒ จำนวนหน้า         ๗๖  หน้า หมายเหตุ           อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนสุนทรรัตนารักษ์                          ความรู้เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙  การทะเบียน หมายถึง การจดบัญชีลักษณะของคน และสิ่งของต่างๆ ๆว้เพื่อบันทึกความทรงจำ หรือเพื่อเป็นหลักฐานไว้ในการตรวจสอบ การทะเบียนราษฎร แยกออกเป็นทะเบียน ๔ ประเภท คือ ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคน ทะเบียนเกิด และทะเบียนคนตาย


รายงานสรุปเบื้องต้น การดำเนินงานทางโบราณคดี (เดือนเมษายน 2565) โครงการศึกษาทางโบราณคดีและรูปแบบสถาปัตยกรรมกลุ่มโบราณสถานทางทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน โบราณสถานเขาคลังนอก ปีงบประมาณ 2565 >>>โบราณสถานค.น.9/2<<<


          กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับภัณฑารักษ์ เพื่อ ตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุศิลปะคันธาระ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ในระยะเวลา ๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้นำ วัตถุเลียนแบบโบราณวัตถุสกุลช่างคันธาระ มาขอรับใบอนุญาตจากกรมศิลปากรเพื่อนำส่งออกนอกราชอาณาจักรไทยมากขึ้น ซึ่งสกุลช่างคันธาระนั้นเป็นผลงานการสร้างพุทธศิลปกรรมภายใต้ราชวงศ์กุษาณะเมื่อราว ๑,๙๐๐ ปีมาแล้ว บริเวณประเทศปากีสถานในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสมัยแรกที่มีการสร้างพระพุทธรูป จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญของโลก กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญในการตรวจพิสูจน์ของภัณฑารักษ์กรมศิลปากร ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองมรดกของโลกนี้ได้ หากมีความแม่นยำในการตรวจพิสูจน์ และรู้เท่าทันสถานการณ์ลักลอบค้าโบราณวัตถุดังกล่าว จึงมอบหมายสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อให้ภัณฑารักษ์ผู้ปฏิบัติงานตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องศิลปะคันธาระอย่างครอบคลุม ในหลายมิติ โดยได้รับเกียรติจากนายฟารุก ชารีฟ อุปทูตที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย มาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมของปากีสถาน Dr.E’tienne CLE’MENT ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลักลอบค้าโบราณวัตถุระหว่างประเทศของยูเนสโก บรรยายเรื่องสถานการณ์และนโยบายการควบคุมการลักลอบค้าโบราณวัตถุระหว่างประเทศ ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีคันธาระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทน กรมศุลกากร ร่วมบรรยายกับภัณฑารักษ์และนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ          อธิบดีกรมศิลปากร ยังกล่าวอีกว่า กิจกรรมนี้นับเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและ ปากีสถานที่กรมศิลปากรดำเนินงานต่อเนื่องมาจากปี ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ ๗๐ ปี สัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างรัฐบาลไทยและปากีสถานพระพุทธรูป หิน และชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะคันธาระ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ พบที่เมืองฮัดดา ประเทศอัฟกานิสถาน จัดแสดงที่ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


องค์ความรู้ เรื่อง “หนังตะลุง” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ตอนที่ ๑ เครื่องดนตรี ค้นคว้า/เรียบเรียงโดย  นางปรางวไล ทองบัว เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช






          กรมศิลปากร เตรียมจัดนิทรรศการพิเศษชุดใหญ่ส่งท้ายปีของกรมศิลปากร เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” (The Endless Epic of Japanese-Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture)” ซึ่งเป็นความร่วมมือแลกเปลี่ยนนิทรรศการและวัฒนธรรมระหว่างกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น นำโบราณวัตถุ จาก “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเซรามิกคิวชู” พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาจัดแสดงให้ชม ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รอติดตามชมกันได้ในเร็วๆ นี้ #佐賀県有田焼展覧会バンコク国立博物館 #SagaAritaThaiceramicexhibitionBangkokNationalmuseum #นิทรรศการไทยญี่ปุ่นเซรมิกอาริตะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร





          กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต จัดการแสดงรายการ "เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต" โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ซึ่งเป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการแสดงหลากหลายรูปแบบทั้งการแสดงโขน ละคร วิพิธทัศนา การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล โดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กำหนดจัดการแสดงทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ค่าเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท            ทั้งนี้ ยังได้จัดรายการพิเศษ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์พร    ปีใหม่” ชมการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “สุครีพสุริโยโอรส” โดยงดเก็บค่าเข้าชมในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน  สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th และเฟสบุ๊ก เพจ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 


ชื่อเรื่อง                               โพธิสตฺต(บาลีโพธิสขุย) สพ.บ.                                 อย.บ.13/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/9เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลิลิตพายัพ ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนหน้า : 154 หน้าสาระสังเขป : ลิตพายัพ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งในปีนั้นการสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จตลอดถึงเมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปเปิดทางรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านพาชี แล้วเลยเสด็จประพาสเมืองลพบุรี และมณฑลนครสวรรค์ อันเป็นที่สุดของทางรถไฟ ในการเสด็จเปิดทางรถไฟคราวนี้ ได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปประพาสหัวเมืองพายัพ โดยมีพระราชประสงค์ให้ทรงคุ้นเคยกับราชการหัวเมืองประเทศราชที่ห่างไกล ซึ่งเสด็จทางชลมารคที่สถานีปากน้ำโพ ไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ และเสด็จโดยกระบวนม้าและช้างต่อไป