ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เรื่อง : เรื่องราวของ “โค” ที่ปราสาทพนมรุ้ง           ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู โค หรือ วัว นับว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีโคนนทิเป็นเทพพาหนะของพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ดังนั้นที่ปราสาทพนมรุ้งซึ่งเป็นเทวลัยที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ จึงพบประติมากรรม และภาพสลักเกี่ยวกับ โค หรือ วัว สอดแทรกอยู่ตามจุดต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของเทวลัยอันยิ่งใหญ่แห่งนี้            ภาพเกี่ยวกับโคที่เด่นชัดที่สุดของปราสาทพนมรุ้งจุดแรก คือ ประติมากรรมโคนนทิ ซึ่งถูกพบระหว่างการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง ประติมากรรมดังกล่าวถูกสลักจากหินทราย เป็นรูปโคนั่งหมอบอยู่บนฐานเตี้ย ขนาดกว้าง ๘๒ เซนติเมตร ยาว ๑๑๒ เซนติเมตร และสูง ๗๒ เซนติเมตร นั่งหมอบพับขาทั้ง ๔ ข้างไปทางด้านขวา บนหลังมีโหนกนูนขึ้นมา แต่ส่วนหัวหักหายไป ก่อนจะมีการซ่อมขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์ภายหลัง ปัจจุบันประติมากรรมโคนนทิของปราสาทพนมรุ้งเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย และได้มีการจำลองไว้ที่ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ภายในมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน และหันหน้าไปยังศิวลึงค์ที่เป็นประธานของเทวาลัย หรือก็คือสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูนั่นเอง           ทั้งนี้บริเวณหน้าบันด้านทิศใต้ของมณฑปปราสาทประธานปรากฏภาพสลัก อุมามเหศวร เป็นภาพสลักของพระศิวะและพระอุมา (พระชายา) ประทับร่วมกันบนหลังโคนนทิ การปรากฏคู่กันของทั้ง ๒ พระองค์มีความหมายถึง การประทานความสุข ความอุดมสมบูรณ์ การสร้างและก่อเกิดสรรพชีวิตต่างๆ บนโลก ปัจจุบันภาพสลักดังกล่าวอยู่สภาพชำรุด แต่ยังสามารถมองเห็นภาพ โคนนทิ ซึ่งประดับเครื่องทรงงดงาม และแวดล้อมด้วยบริวารถือเครื่องสูงได้อย่างชัดเจน           ภาพสลักเกี่ยวกับโคที่ปราสาทพนมรุ้งภาพสุดท้ายเป็นภาพ โยคีรีดนมวัว ปรากฏอยู่บริเวณหน้าบันชั้นลดมุขด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ โยคีกำลังจับโคไว้เพื่อไม่ให้ดิ้น ส่วนโยคีอีกตนกำลังรีดนมวัวอยู่ ด้านบนจะเห็นโยคีอีกตนกำลังห้อยโหนบนต้นไม้ และยังปรากฏสุนัขตัวหนึ่งกำลังทำท่ากระโจนหาวัวในภาพอีกด้วย           เป็นที่น่าสนใจว่าวัวที่เปรียบเสมือนเทพพาหนะของพระศิวะ ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นอกจากได้รับการบูชาสักการะแล้ว ยังถือเป็นสัตว์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของทั้งโยคีที่บำเพ็ญตน และผู้คนในสมัยโบราณเป็นอย่างมาก หากนักท่องเที่ยวท่านใดมีโอกาสได้มาเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ อย่าลืมสังเกตประติมากรรมหรือภาพสลักต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวมีอรรถรส และเพิ่มความสนุกเพลิดเพลินในการชมโบราณสถานแห่งนี้ได้มากยิ่งขึ้น เรียบเรียงโดย นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เอกสารอ้างอิง: กมลวรรณ นิธินันทน์. ภาพสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง. นครราชสีมา: กรมศิลปากร, ๒๕๖๓. พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. สมบูรณ์ บุณยเวทย์. “บันทึกประสบการณ์ครั้งเริ่มบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง.” ศิลปากร. ๔๑, ๕ (กันยายน-ตุลาคม, ๒๕๔๑): ๖๘-๙๑.  


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมกิจรรม NLT Edutainment ปีที่ ๕ ครั้งที่ ๔ ชมนิทรรศการและฟังการเสวนา เรื่อง "หนังสือภาพบันทึกของแอนน์ แฟร้งค์" ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ วิทยากรโดย อาจารย์มกุฏ อรฤดี, อาจารย์กาญจนา บุนนาค, นางสาวในใจ เม็ทซกะ และนางสาวศศิรี เดชวิทยาพร           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยการสแกน QR Code หรือคลิกลิงค์ https://bit.ly/3LnaG6E (รับจำนวนจำกัด) หรือ รับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ของหอสมุดแห่งชาติ


สิ่งของเครื่องใช้ในอดีตจากเอกสารจดหมายเหตุ เครื่องรับวิทยุสาธารณะ แบบ ๔ หลอด ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง ใน พ.ศ.๒๔๙๔ กรมมหาดไทยได้แจ้งถึงคณะกรมการจังหวัดว่า ได้จัดซื้อเครื่องรับวิทยุเพื่อติดตั้งเป็นวิทยุสาธารณะในส่วนภูมิภาค จำนวน ๕๐ เครื่อง หากอำเภอใดยังไม่มีเครื่องรับวิทยุติดตั้ง ณ ที่ว่าการ ให้แจ้งเพื่อขอรับไปติดตั้ง ขุนคำณวนวิจิตร คณะกรมการจังหวัดจันทบุรี ได้แจ้งว่าที่ว่าการอำเภอขลุงยังไม่มีเครื่องรับวิทยุสาธารณะติดตั้ง จึงขอรับมาใช้ ด้วยเหตุนี้ทางกรมมหาดไทยจึงได้มอบเครื่องรับวิทยุ “เมอร์ฟี่” ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้ง พร้อมด้วยแบตเตอรี่จำนวน ๑ แท่ง รวม ๑ เครื่อง ให้ไว้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิทยุสาธารณะหมายเลขทะเบียนที่ ร/๔๗๒๔ เครื่องรับวิทยุดังกล่าว ถูกนำไปติดตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง เพื่อใช้รับฟังข่าวที่ทางราชการสั่งปฏิบัติเป็นการด่วนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับฟังโดยทั่วกัน สำหรับเครื่องรับวิทยุรุ่นเมอร์ฟี่ ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้งนั้น พบว่าผลิตโดยบริษัท Murphy Radio ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๗๒ โดย Frank Murphy และ EJ Power ซึ่งผลิตเครื่องวิทยุที่ใช้ในบ้านเรือน มีโรงงานอยู่ที่เมือง Welwyn Garden City ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภายหลังบริษัทได้มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นผู้ออกแบบและผลิตชุดวิทยุสำหรับกองทัพอังกฤษ ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/ ผู้เขียน นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี


การดำเนินงานทดลองประกอบหินโบราณสถานปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ. ๒๕๖๕ ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ - เขียนแบบสภาพปัจจุบันโคปุระและระเบียงคตปราสาทหินพนมวันเพื่อการบูรณะเพิ่มเติม - งานทดลองประกอบชิ้นส่วนหินของโคปุระและระเบียงคตปราสาทหินพนมวัน - ดำเนินการนำชิ้นส่วนโบราณวัตถุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย นายสมสวัสดิ์ อริยเดช ช่างเขียนแบบ ( ช๒ )


ชื่อเรื่อง                     เสด็จฯ เมืองสุพรรณบุรีผู้แต่ง                       ทัศนีย์ เทพไชย                   ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ เลขหมู่                      959.373 ท364สสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติปีที่พิมพ์                    2554ลักษณะวัสดุ               74 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง                     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ - - พระราชกรณียกิจ                              สุพรรณบุรี - - ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก            เนื้อหาประกอบด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์จักรี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเสนอรายละเอียดของสถานที่พร้อมรูปภาพประกอบ  


พระพิมพ์ลีลา  สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว) ได้จากกรุที่มุมกำแพงแก้ว วิหารพระอัฏฐารส โบราณสถานวัดสะพานหิน เมืองเก่าสุโขทัย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระพิมพ์ดินเผารูปทรงคล้ายใบหอก กดประทับรูปพระพุทธเจ้า ตามแบบศิลปะสุโขทัย มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลวแหลม พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสากว้าง ครองจีวรห่มเฉียง พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นแสดงอภัยมุทรา (ปางประทานอภัย) พระกรขวาแนบพระวรกาย พระบาทขวายกขึ้นแสดงอิริยาบถลีลาบนฐานเขียง    พระพุทธรูปลีลา เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของงานศิลปกรรมสุโขทัย และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรากฏทั้งงานประติมากรรมปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม งานประติมากรรมสัมฤทธิ์ และพระพิมพ์ โดยสัมพันธ์กับเรื่องราวทางพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดา อีกทั้งรูปแบบของพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในฐานะอดีตพุทธเจ้า เช่น ลวดลายบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐* หรือรูปพระสาวกที่ฐานเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยก็แสดงอิริยาบถลีลาด้วยเช่นกัน   สำหรับแรงบันดาลใจของการสร้างพระพุทธรูปลีลานั้น น่าจะได้รับอิทธิพลงานศิลปะลังกา มีตัวอย่างคือจิตรกรรมฝาผนัง วิหารติวังกะ (Tivanka Pilimage) สมัยโปลนนารุวะ (ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘) นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในบ้านเมืองต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูปลีลาบนแผ่นทองจังโก พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และพระพุทธรูปลีลา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำ วัดพญาภู จังหวัดน่าน   *ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร -------------------------------------------------------- อ้างอิง : กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.   ---------------------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล :  นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ร่องรอยการใช้วัสดุประเภทปูนที่โบราณสถานวัดสิงห์ปูน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานสถาปัตยกรรมโบราณที่นำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้าง เช่น ใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในการก่อหรือสอให้วัสดุ เช่น อิฐ ศิลาแลง เชื่อมติดกัน เพื่อเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนัง กำแพง ให้มีความมั่นคงของโครงสร้างมากขึ้น หรือใช้เป็นวัสดุสำหรับการฉาบวัสดุอื่นเพื่อให้ผิวชั้นนอกเกิดความเรียบ หรือใช้สำหรับเป็นวัสดุสรรค์สร้างลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งอาคาร.คำว่า “ปูน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554 หมายถึง หินปูน หรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว ตัวอย่างคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ปูนดิบ หมายถึง ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว ปูนสุก หมายถึง ปูนดิบที่ถูกความชื้นในอากาศหรือพรมน้ำแล้วแตกละเอียดเป็นผงขาวสำหรับฉาบทาฝาผนัง ปูนปั้น ใช้เรียกลวดลายประดับตามอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ทำจากปูน เป็นต้น.วัดสิงห์เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร ภายในวัดพบหลักฐานการนำปูนมาใช้ประกอบงานสถาปัตยกรรมจากภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 จากรายงานการดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดี และการสำรวจเก็บข้อมูลในปัจจุบัน.. จากการดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อปีพุทธศักราช 2525 พบโกลนศิลาแลงรูปนาค ลักษณะเป็นนาคห้าเศียรแบ่งได้สองแบบ คือ นาคห้าเศียรมีหงอนด้านบน และนาคห้าเศียรแผ่แม่เบี้ยไม่มีหงอน พบโกลนศิลาแลงรูปทวารบาล ลักษณะเป็นส่วนขาและส่วนฐาน โกลนที่ด้านล่างของทั้งรูปนาคและทวารบาลนั้นมีลักษณะทำเป็นเดือยเพื่อสวมกับแท่นรองรับ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนปูนปั้นส่วนต่าง ๆของสิงห์ เช่น เล็บเท้า และเครื่องประดับข้อเท้า และ ปูนปั้นบัวหัวเสา .. จากการสำรวจภายในพื้นที่พบปูนฉาบหรือปูนตกแต่งที่เสาอาคาร และบริเวณโดยรอบเจดีย์ประธาน ปูนฉาบอาคารมีลักษณะเป็นปูนผสมทรายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1-0.5 เซนติเมตร ความหนาโดยรวมประมาณ 1-3 เซนติเมตร และ ปูนตกแต่งเจดีย์ประธานลักษณะเป็นปูนผสมทรายเม็ดละเอียดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 เซนติเมตร มีรายละเอียด ดังนี้ - อุโบสถ พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคา และเสาบริเวณบันไดทางขึ้นอาคาร มีความหนาประมาณ 2 เซนติเมตร - เจดีย์ประธาน พบปูนฉาบบริเวณผนังด้านทิศตะวันตกของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านทิศเหนือปรากฏร่องรอยการฉาบผนังด้านนอกมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยปูนฉาบที่หลงเหลืออยู่มีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณฐานบัวส่วนหน้ากระดานมีความหนา 2 เซนติเมตร ส่วนบัวคว่ำหนาประมาณ 7-9 เซนติเมตร และฐานเขียงมีความหนา 3 เซนติเมตร - ศาลาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงแก้ว พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคา ปรากฏร่องรอยการฉาบมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยปูนฉาบที่หลงเหลืออยู่มีความหนาประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร  - ศาลาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกเขตกำแพงวัด พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคา มีความหนาประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร.ปูนปั้นที่พบในวัดสิงห์นั้นเป็นชิ้นส่วนขาของสิงห์พร้อมเครื่องประดับข้อเท้าลายเม็ดไข่ปลา มีความหนาประมาณ 2 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังพบโกลนศิลาแลงรูปทวารบาล และนาคห้าเศียร โดยปรากฏภาพประติมากรรมประเภทเดียวกันนี้ในภาพถ่ายเก่าครั้งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ (เสด็จประพาสต้น) ในปี พุทธศักราช 2449 อีกทั้งยังพบชิ้นส่วนปูนปั้นรูปใบหน้าสิงห์ และโกลนรูปนาคจากการดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีที่วัดสิงห์ดังกล่าว อันเป็นหลักฐานแสดงถึงการมีอยู่ของประติมากรรมปูนปั้นบริเวณด้านหน้าอุโบสถ..ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งที่ชั่วร้ายได้ และอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะให้รู้สึกปลอดภัย จึงปรากฏการสร้างประติมากรรมรูปบุคคล และรูปสัตว์ บริเวณทางเข้าหรือประตูเพื่อเป็นทวารบาลในการปกป้องและคุ้มครองศาสนสถานแห่งต่าง ๆ.สิงห์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554 หมายถึง สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้าย และมีกำลังมาก มีที่มาจากสิงโตซึ่งเป็นสัตว์ในท้องถิ่นของประเทศอินเดีย เป็นตัวแทนของราชาแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นสัญลักษณ์แห่งกษัตริย์ เนื่องจากพระพุทธเจ้าเคยเป็นบุคคลในวรรณะกษัตริย์ สิงห์จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าของศาสนสถาน.นาค ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554 หมายถึง สัตว์ในนิยายโบราณ รูปร่างคล้ายงูแต่หัวมีหงอน ปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูได้กล่าวว่า นาคมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเหล่าเทพเจ้า เช่น นาคเป็นสายยัญชโยปวีตของพระอิศวร นาคเป็นแท่นบรรทมของพระนารายณ์ เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ของนาคกับศาสนาพุทธนั้น มีที่มาจากเรื่องราวในพุทธประวัติ เช่น พญานาคราชหรือพญามุจลินทร์นาคราชแผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า .. จากหลักฐานที่พบจึงสามารถระบุได้ว่าสถาปัตยกรรมของวัดสิงห์มีการฉาบปูน โดยการก่อสร้างอาคาร เจดีย์ สถาปัตยกรรมต่างๆ ด้วยอิฐและศิลาแลงก่อน แล้วจึงใช้ปูนฉาบประดับตกแต่ง และปั้นรูปทรงประติมากรรมประกอบอาคาร________________________________________เอกสารอ้างอิง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2549). ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: จังหวัดกำแพงเพชร.ศิลปากร,กรม. (ม.ป.ป.). รายงานการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และ กำแพงเพชร  พ.ศ. 2512. สุโขทัยและกำแพงเพชร: กรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถานจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย. เอกสารอัดสำเนา.ศิลปากร,กรม. (2546). ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานราช บัณฑิตยสภา.อนันต์ ชูโชติ. (2525). รายงานการขุดแต่งโบราณสถานวัดสิงห์. ม.ป.ท..


ชื่อเรื่อง                    โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทองผู้แต่ง                      กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                -หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     915.9303 ศ528บสถานที่พิมพ์              พระนครสำนักพิมพ์                กรมศิลปากรปีที่พิมพ์                   2509ลักษณะวัสดุ              232 หน้า : ภาพประกอบ, ผังแสดง, แผนที่ ; 24 ซม.หัวเรื่อง                    โบราณวัตถุ -- ไทย                             ไทย -- โบราณสถาน                             อู่ทอง -- ประวัติ ภาษา                      ไทยหมายเหตุ                 ฉบับสำเนาบทคัดย่อ/บันทึก          ประวัติและลักษณะของเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทั้งในด้านโบราณคดี ประติมากรรมพื้นบ้านของอู่ทอง พร้อมทั้งแผนที่ แผนผัง และภาพประกอบ


ส่งเสริมการอ่านกับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง ประเพณีลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีของไทยอย่างหนึ่ง จัดขึ้นในเดือน ๑๒ เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย เดิมทีเป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามหลักพุทธศาสนา กล่าวคือ เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชาพระพุทธบาท อีกทั้งการลอยกระทงยังถือเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู เพื่อขอขมาที่ได้ล่วงล้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการใช้วัสดุที่ลอยน้ำได้ อาทิ ต้นกล้วย กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ปักธูปเทียน ดอกไม้ รวมทั้งใส่เครื่องเซ่นไหว้ลอยไปตามสายน้ำ การทำกระทงปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ความว่า นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้า ได้คิดอ่านทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวกมุท ซึ่งเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งเท่านั้น พระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรและรับรู้ในความหมาย ก็พอพระทัยเป็นอย่างมาก จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำโคมเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปวสาน” ที่มา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ลอยกระทง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/17735 แปลก สนธิรักษ์. พิธีกรรมและประเพณี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/19450





ชื่อผู้แต่ง       สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย  ชื่อเรื่อง         วารสารคหเศรษฐศาสตร์  (ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๑) ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ธนบุรี สำนักพิมพ์     บรรหาร ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๑ จำนวนหน้า    ๗๙ หน้า รายละเอียด                   วารสารวิชาการสำหรับชาวคหกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายในเล่มประกอบด้วย ๑๐ บทความ เช่น ความสุขจากนักล่าต้นไม้ (ตอน ๒) , สีกับชีวิตประจำวัน , ทำอย่างไรจึงมีเพื่อนมาก , ตาต่อตา ฯลฯ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5ฌ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           บรรณานุกรมของศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เล่ม ๑ พร้อมด้วยพระประวัติและผลงานของศาตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๒ จำนวนหน้า     ๔๓๘  หน้า รายละเอียด                     เป็นหนังสือที่รวบรวมพระประวัติ รายชื่อหนังสือภาษาไทยที่ได้รับจากห้องสมุดส่วนพระองค์ของศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และผู้บริจาครายย่อย   ประกอบด้วย คำนำ คำอนุโมทนา พระประวัติของศาตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ รายละเอียดการจัดหมวดหมู่บรรณานุกรม นอกจากนี้ยังมีดรรชนีผู้แต่งและดรรชนีชื่อเรื่องประกอบไว้ท้ายเล่มอีกด้วย


Messenger