ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒนภักดี (ตา เจริญยิ่ง) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงสนพระทัยต่อเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่รับอิทธิพลมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาในช่วงเวลานั้น เทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกประการในสมัยนั้น คือ ระบบประปา โดยมีหลักฐานว่าระบบการส่งน้ำประปาที่ทันสมัยเกิดจากที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้วิศวกรชาวฝรั่งเศส เปอร์เซีย และอิตาลี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ มีการวางท่อประปาที่ใช้ท่อดินเผาซึ่งมีลักษณะเป็นท่อวงกลมทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งมีขนาดที่เล็กกว่าปลายอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สวมกันเป็นท่อยาวในการลำเลียงน้ำเข้ามาใช้ในพระราชวังหรือสถานที่สำคัญ ดังเช่นหลักฐานที่พบในพระราชวังทั้งในเมืองละโว้และกรุงศรีอยุธยา โดยเมืองละโว้ หรือลพบุรี พบหลักฐานว่ามีการนำน้ำใช้ในพระราชวังจาก 2 แหล่ง คือ - น้ำจากทะเลชุบศร นำเข้ามาโดยใช้วิธีการต่อท่อผ่านประตูน้ำปากจั่นไหลลงมาสระแก้ว (อยู่ในบริเวณสวนสัตว์ลพบุรี) และต่อมายังอ่างแก้ว จากนั้นมีการวางท่อต่อตรงเข้าสู่เมืองลพบุรี - น้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็นน้ำสะอาดเกิดจากแรงธรรมชาติไหลลงมาจากซอกเขาที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงเข้ามาใช้ในเมือง เนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลจึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็กยาวทอดจนมาถึงบริเวณท่าศาลา ช่วงที่สองตั้งแต่ท่าศาลาจนถึงตัวเมืองลพบุรี โดยวิธีการฝังท่อดินเผาลงดิน ระหว่างเส้นทางแนวท่อน้ำเข้าสู่เมืองลพบุรี มีการสร้างท่อ (ปล่อง) ระบายความดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ ระบบประปาเมืองลพบุรีใช้หลักการถ่ายเทน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ จากหลักฐานอ่างเก็บน้ำและแนวท่อน้ำพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับแนวกำแพงและกลุ่มอาคารพระที่นั่งต่างๆ โดยเฉพาะตึกที่ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงต้อนรับทูตต่างประเทศในช่วงเวลานั้น ส่วนกรุงศรีอยุธยาพบมีการกล่าวถึงระบบประปาในพระราชพงศาวดารว่า มีระหัดสำหรับวิดน้ำตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระราชวังริมแม่น้ำลพบุรี จากการขุดแต่งพระราชวังโบราณเมื่อ พ.ศ. 2527 พบแนวท่อน้ำประปาดินเผาจากบริเวณเป็นที่ตั้งของระหัดน้ำ วางทะลุกำแพงเข้ามาในเขตพระราชฐาน โดยระบบประปาใช้หลักการ คือ การยกระดับน้ำขึ้นมาเก็บไว้ยังถังน้ำประปาในที่สูงเพื่อการแจกจ่ายตามท่อน้ำประปาดินเผาไปใช้ในที่ต่างๆ และจากการขุดแต่งทางโบราณคดีพระราชวังโบราณเมื่อ พ.ศ. 2560 พบร่องรอยของระบบประปา บริเวณทางทิศเหนือของพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ โดยพบเป็นแนวท่อประปาดินเผา 2 แนว สันนิษฐานว่าแนวหนึ่งใช้สำหรับนำน้ำเข้ามาใช้และอีกแนวใช้สำหรับปล่อยน้ำทิ้งเนื่องจากพบร่องรอยที่สันนิษฐานว่าเป็นปล่องระบายความดัน นอกจากนี้บนท่อประปาบางชิ้นยังพบจารึกอักษรไทย ภาษาไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย อ่านได้เบื้องต้นความว่า “หามรุก” และ “ยกามํเสั้ายม” จากภาพรวมของหลักฐานสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ท่อประปาคงทำขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช /---------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาววีณา บุญเชิญ ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา---------------------------------------------------------------
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนา ประจำปี 2564 ครั้งที่ 5 “ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร จากหลักฐานโบราณคดีและเอกสารโบราณ” เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live : Office of National Museums, Thailandการบรรยายพิเศษหัวข้อ : "ลพบุรีศรีรามเทพนคร"
โดย ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม
หัวข้อ : "ศรีรามเทพนคร - นครพระราม จากหลักฐานเอกสารโบราณ"
โดย รองศาสตราจารย์ศานติ ภักดีคำ
ดำเนินรายการ โดย
นางสาวศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
#MuseumTalk #พิพิธภัณฑ์เสวนา #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่Facebook Page : Office of National Museums, ThailandYouTube : Office of National Museums, Thailand
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า เมืองอู่ทองนี้เองเป็นเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงครองอยู่ก่อนที่จะอพยพผู้คนหนีโรคห่าไปสร้างกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ต่อมาได้มีการค้นพบจารึกหลักที่ ๔๘ จารึกลานทอง จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๑ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช (พ.ศ.๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าสามีหรพงศ์ เป็นผู้สร้างจารึกแผ่นทองคำ ลักษณะเหมือนลาน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมเรียกว่า จารึกลานทองวัดส่องคบ จารึกแผ่นนี้พระครูบริรักษ์บรมธาตุขุดพบในเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำบริเวณสบกันของแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มอบให้อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ในคราวเดินทางไปตรวจโบราณสถานจังหวัดชัยนาท เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องจากจารึกแผ่นนี้เส้นอักษรบางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายเห็นเส้นอักษรไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าเวลาทำงานจะมีจำกัดก็ตาม และในการคัดจำลองเส้นอักษรนั้น ใคร่ขอบอกไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า อาจจะมีส่วนเส้นที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิมได้บ้างไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน จารึกเป็นอักษรขอมภาษาไทย บนลานทอง จำนวน ๒ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๙ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๖ บรรทัด มีข้อความระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ไว้ ๒ ครั้ง ข้อความในจารึกนี้ทำให้ทราบว่าเมืองสุพรรณภูมิที่ปรากฏชื่อในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ยังคงพัฒนาสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา มิได้ร้างไป และน่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นมิใช่น้อย การอ้างถึงการทำบุญกุศลก่อนที่จะมาทำบุญที่อยุธยา เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุพรรณภูมิและอยุธยาได้ว่าผู้กระทำบุญนั้นเคยอยู่ที่สุพรรณภูมิมาก่อน กล่าวได้ว่าสุพรรณภูมิอาจเป็นเมืองที่เป็นฐานอำนาจของอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย หากผู้กระทำบุญนั้นมีฐานะเป็นเจ้านาย จารึกลานทอง ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร-----------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ-----------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย, 2544. เลขหมู่ 959.373 ว394 สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลี, สันสกฤต. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีสำนักนายกรัฐมนตรี, 2508. เลขหมู่ 417.7 ศ537ป
องค์ความรู้เรื่อง : แกะรอยชาวโยนจากตำนานล้านนาโดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. แอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเมืองพื้นราบ ที่เรียกตนเองและถูกเรียกว่า ชาวโยน หรือชาวยวน ในตำนานของล้านนาเล่าถึงการตั้งถิ่นฐานพื้นที่นี้มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน. ตำนานสิงหนวัติเล่าถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากนครไทยเทศ ตั้งแต่ราว 18 ปีก่อนพุทธกาล สิงหนวัติกุมารได้สร้างเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครใกล้กับแม่น้ำโขง เมืองโยนกฯและราชวงศ์สิงหนวัติดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวพ.ศ. 1003 เมืองได้ล่มลง เพราะชาวบ้านจับปลาไหลเผือกมากิน เมื่อเมืองโยนกฯ ล่มสลายลง ชาวเมืองรอบๆเมืองโยนกได้ตั้งขุนลังขึ้นปกครอง สร้างเวียงแห่งหนึ่งริมแม่น้ำโขง ทางตะวันออกของเวียงโยนกชื่อเวียงปรึกษา มีขุนปกครองมาอีก 16 คน จนถึงพ.ศ.1118 พระอินทร์ได้ให้ลวจังกราชโอปปาติกะมาเป็นเจ้าเมืองเงินยาง ในราวพ.ศ.1182 เริ่มต้นราชวงศ์ลวจังกราช ในราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง 25 พระองค์ (เจ้าเมืองที่มีชื่อเสียง คือ ขุนเจืองหรือพญาเจือง) ในสมัยราชวงศ์นี้ ตั้งแต่ขุนชื่นและขุนจอมธรรม แสดงให้เห็นว่าแอ่งที่ราบลุ่มเชียงรายและพะเยาเริ่มก่อร่างสร้างอาณาจักรแยกจากกัน. จนกระทั่งถึงสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ได้รวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆขึ้น สถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมา และได้ย้ายเมืองหลวงจากแอ่งที่ราบเชียงราย มายังแอ่งที่ราบเชียงใหม่ โดยน่าจะมีประสงค์เพื่อขยายอาณาจักรต่อไป และถึงแม้จะเป็นพระสหายและเป็นพระญาติกับพญางำเมืองแห่งพะเยา แต่กษัตริย์ราชวงศ์มังรายองค์ต่อๆมา ก็ยังพยายามที่จะยึดอาณาจักรของพญางำเมือง ----- จากตำนานเหล่านี้ แสดงให้เราเห็นว่า -----. ชาวโยนเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เป็นชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นราบใกล้กับแม่น้ำ แต่ในพื้นที่ก็มีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่ามิลักขุ ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง แต่ชนทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดเรื่อง. ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประชากรของกลุ่มชาวโยนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบ้านเมือง แต่ละเมืองเริ่มมีความขัดแย้งจนสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงทรัพยากร เมื่อรวบรวมตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งมีความมั่งคั่ง ชาวมิลักขุน่าจะมีบทบาทน้อยลง ดังที่ไม่ค่อยปรากฏในตำนานอย่างที่เคยเป็นมา. ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายพบหลักฐานสมัยก่อนล้านนา ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ขวานหินกะเทาะและขวานหินขัด ทั้งในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.ป่าแดด อ.เวียงชัย อ.พาน. นอกจากนี้ เราพบเมืองโบราณกระจายตัวอยู่ตามลำน้ำสายสำคัญตลอดลำน้ำ คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 เมือง
ชื่อเรื่อง สลากริวิชาสุตฺต (สลากาวิชาสูตร)
สพ.บ. 313/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 110 หน้า กว้าง 5.8 ซม. ยาว 40 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.263/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 ลาน2 (226-231) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ฉลองหนังสือ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง หนองราชวัตร : ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีผู้แต่ง วสันต์ เทพสุริยานนท์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-974-471-540-3หมวดหมู่ ประวิติศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ว358หสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ บริษัท ไซเบอร์ร็อค เอเยนซี่กรุ๊ป จำกัดปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 144 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 21 ซม.หัวเรื่อง โบราณคดี – สุพรรณบุรี สุพรรณบุรี – โบราณสถาน สุพรรณบุรี – โบราณวัตถุสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก แหล่งโบราณคดีที่เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ เป็นพื้นที่่ในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นทุกภาคส่วน
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : เรื่องราวของ “โค” ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู โค หรือ วัว นับว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีโคนนทิเป็นเทพพาหนะของพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ดังนั้นที่ปราสาทพนมรุ้งซึ่งเป็นเทวลัยที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ จึงพบประติมากรรม และภาพสลักเกี่ยวกับ โค หรือ วัว สอดแทรกอยู่ตามจุดต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของเทวลัยอันยิ่งใหญ่แห่งนี้
ภาพเกี่ยวกับโคที่เด่นชัดที่สุดของปราสาทพนมรุ้งจุดแรก คือ ประติมากรรมโคนนทิ ซึ่งถูกพบระหว่างการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง ประติมากรรมดังกล่าวถูกสลักจากหินทราย เป็นรูปโคนั่งหมอบอยู่บนฐานเตี้ย ขนาดกว้าง ๘๒ เซนติเมตร ยาว ๑๑๒ เซนติเมตร และสูง ๗๒ เซนติเมตร นั่งหมอบพับขาทั้ง ๔ ข้างไปทางด้านขวา บนหลังมีโหนกนูนขึ้นมา แต่ส่วนหัวหักหายไป ก่อนจะมีการซ่อมขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์ภายหลัง ปัจจุบันประติมากรรมโคนนทิของปราสาทพนมรุ้งเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย และได้มีการจำลองไว้ที่ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ภายในมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน และหันหน้าไปยังศิวลึงค์ที่เป็นประธานของเทวาลัย หรือก็คือสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูนั่นเอง
ทั้งนี้บริเวณหน้าบันด้านทิศใต้ของมณฑปปราสาทประธานปรากฏภาพสลัก อุมามเหศวร เป็นภาพสลักของพระศิวะและพระอุมา (พระชายา) ประทับร่วมกันบนหลังโคนนทิ การปรากฏคู่กันของทั้ง ๒ พระองค์มีความหมายถึง การประทานความสุข ความอุดมสมบูรณ์ การสร้างและก่อเกิดสรรพชีวิตต่างๆ บนโลก ปัจจุบันภาพสลักดังกล่าวอยู่สภาพชำรุด แต่ยังสามารถมองเห็นภาพ โคนนทิ ซึ่งประดับเครื่องทรงงดงาม และแวดล้อมด้วยบริวารถือเครื่องสูงได้อย่างชัดเจน
ภาพสลักเกี่ยวกับโคที่ปราสาทพนมรุ้งภาพสุดท้ายเป็นภาพ โยคีรีดนมวัว ปรากฏอยู่บริเวณหน้าบันชั้นลดมุขด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ โยคีกำลังจับโคไว้เพื่อไม่ให้ดิ้น ส่วนโยคีอีกตนกำลังรีดนมวัวอยู่ ด้านบนจะเห็นโยคีอีกตนกำลังห้อยโหนบนต้นไม้ และยังปรากฏสุนัขตัวหนึ่งกำลังทำท่ากระโจนหาวัวในภาพอีกด้วย
เป็นที่น่าสนใจว่าวัวที่เปรียบเสมือนเทพพาหนะของพระศิวะ ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นอกจากได้รับการบูชาสักการะแล้ว ยังถือเป็นสัตว์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของทั้งโยคีที่บำเพ็ญตน และผู้คนในสมัยโบราณเป็นอย่างมาก หากนักท่องเที่ยวท่านใดมีโอกาสได้มาเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ อย่าลืมสังเกตประติมากรรมหรือภาพสลักต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวมีอรรถรส และเพิ่มความสนุกเพลิดเพลินในการชมโบราณสถานแห่งนี้ได้มากยิ่งขึ้น
เรียบเรียงโดย นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง:
กมลวรรณ นิธินันทน์. ภาพสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง. นครราชสีมา: กรมศิลปากร, ๒๕๖๓.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
สมบูรณ์ บุณยเวทย์. “บันทึกประสบการณ์ครั้งเริ่มบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง.” ศิลปากร. ๔๑, ๕ (กันยายน-ตุลาคม, ๒๕๔๑): ๖๘-๙๑.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมกิจรรม NLT Edutainment ปีที่ ๕ ครั้งที่ ๔ ชมนิทรรศการและฟังการเสวนา เรื่อง "หนังสือภาพบันทึกของแอนน์ แฟร้งค์" ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ วิทยากรโดย อาจารย์มกุฏ อรฤดี, อาจารย์กาญจนา บุนนาค, นางสาวในใจ เม็ทซกะ และนางสาวศศิรี เดชวิทยาพร ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยการสแกน QR Code หรือคลิกลิงค์ https://bit.ly/3LnaG6E (รับจำนวนจำกัด) หรือ รับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ของหอสมุดแห่งชาติ
สิ่งของเครื่องใช้ในอดีตจากเอกสารจดหมายเหตุ
เครื่องรับวิทยุสาธารณะ แบบ ๔ หลอด ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง
ใน พ.ศ.๒๔๙๔ กรมมหาดไทยได้แจ้งถึงคณะกรมการจังหวัดว่า ได้จัดซื้อเครื่องรับวิทยุเพื่อติดตั้งเป็นวิทยุสาธารณะในส่วนภูมิภาค จำนวน ๕๐ เครื่อง หากอำเภอใดยังไม่มีเครื่องรับวิทยุติดตั้ง ณ ที่ว่าการ ให้แจ้งเพื่อขอรับไปติดตั้ง
ขุนคำณวนวิจิตร คณะกรมการจังหวัดจันทบุรี ได้แจ้งว่าที่ว่าการอำเภอขลุงยังไม่มีเครื่องรับวิทยุสาธารณะติดตั้ง จึงขอรับมาใช้ ด้วยเหตุนี้ทางกรมมหาดไทยจึงได้มอบเครื่องรับวิทยุ “เมอร์ฟี่” ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้ง พร้อมด้วยแบตเตอรี่จำนวน ๑ แท่ง รวม ๑ เครื่อง ให้ไว้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิทยุสาธารณะหมายเลขทะเบียนที่ ร/๔๗๒๔
เครื่องรับวิทยุดังกล่าว ถูกนำไปติดตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง เพื่อใช้รับฟังข่าวที่ทางราชการสั่งปฏิบัติเป็นการด่วนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับฟังโดยทั่วกัน
สำหรับเครื่องรับวิทยุรุ่นเมอร์ฟี่ ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้งนั้น พบว่าผลิตโดยบริษัท Murphy Radio ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๗๒ โดย Frank Murphy และ EJ Power ซึ่งผลิตเครื่องวิทยุที่ใช้ในบ้านเรือน มีโรงงานอยู่ที่เมือง Welwyn Garden City ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภายหลังบริษัทได้มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นผู้ออกแบบและผลิตชุดวิทยุสำหรับกองทัพอังกฤษ
ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/
ผู้เขียน
นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
การดำเนินงานทดลองประกอบหินโบราณสถานปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ. ๒๕๖๕ ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
- เขียนแบบสภาพปัจจุบันโคปุระและระเบียงคตปราสาทหินพนมวันเพื่อการบูรณะเพิ่มเติม
- งานทดลองประกอบชิ้นส่วนหินของโคปุระและระเบียงคตปราสาทหินพนมวัน
- ดำเนินการนำชิ้นส่วนโบราณวัตถุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
นายสมสวัสดิ์ อริยเดช ช่างเขียนแบบ ( ช๒ )
ชื่อเรื่อง เสด็จฯ เมืองสุพรรณบุรีผู้แต่ง ทัศนีย์ เทพไชย ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ท364สสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติปีที่พิมพ์ 2554ลักษณะวัสดุ 74 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ - - พระราชกรณียกิจ สุพรรณบุรี - - ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาประกอบด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์จักรี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเสนอรายละเอียดของสถานที่พร้อมรูปภาพประกอบ