เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
จังหวัดสุพรรณบุรีในจารึกหลักที่ ๔๘ : จารึกลานทอง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า เมืองอู่ทองนี้เองเป็นเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงครองอยู่ก่อนที่จะอพยพผู้คนหนีโรคห่าไปสร้างกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ต่อมาได้มีการค้นพบจารึกหลักที่ ๔๘ จารึกลานทอง จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๑ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช (พ.ศ.๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าสามีหรพงศ์ เป็นผู้สร้างจารึกแผ่นทองคำ ลักษณะเหมือนลาน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมเรียกว่า จารึกลานทองวัดส่องคบ จารึกแผ่นนี้พระครูบริรักษ์บรมธาตุขุดพบในเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำบริเวณสบกันของแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มอบให้อธิบดีกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ในคราวเดินทางไปตรวจโบราณสถานจังหวัดชัยนาท เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องจากจารึกแผ่นนี้เส้นอักษรบางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายเห็นเส้นอักษรไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าเวลาทำงานจะมีจำกัดก็ตาม และในการคัดจำลองเส้นอักษรนั้น ใคร่ขอบอกไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า อาจจะมีส่วนเส้นที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิมได้บ้างไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน จารึกเป็นอักษรขอมภาษาไทย บนลานทอง จำนวน ๒ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๙ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๖ บรรทัด มีข้อความระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ไว้ ๒ ครั้ง
ข้อความในจารึกนี้ทำให้ทราบว่าเมืองสุพรรณภูมิที่ปรากฏชื่อในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ยังคงพัฒนาสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา มิได้ร้างไป และน่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นมิใช่น้อย การอ้างถึงการทำบุญกุศลก่อนที่จะมาทำบุญที่อยุธยา เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุพรรณภูมิและอยุธยาได้ว่าผู้กระทำบุญนั้นเคยอยู่ที่สุพรรณภูมิมาก่อน กล่าวได้ว่าสุพรรณภูมิอาจเป็นเมืองที่เป็นฐานอำนาจของอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย หากผู้กระทำบุญนั้นมีฐานะเป็นเจ้านาย จารึกลานทอง ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
-----------------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
-----------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย, 2544. เลขหมู่ 959.373 ว394 สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลี, สันสกฤต. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีสำนักนายกรัฐมนตรี, 2508. เลขหมู่ 417.7 ศ537ป
(จำนวนผู้เข้าชม 2862 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน