ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,688 รายการ
ประวัติเกจิดังของชัยนาท
พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เกสโรเกิด พ.ศ. 2390 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง) ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ในวัยหนุ่ม ท่านเคยได้แต่งงานกับหญิงสาวจนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี โดยมีพระอธิการเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นี่
หลวงปู่ศุข ท่านได้อยู่ปรนนิบัติอาจารย์ ซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดในด้านวิปัสสนา จึงได้ศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทมนตร์คาถา ต่อมาท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปทุมวัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชนะสงคราม บางลำพู ณ ที่นี่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ ร่วมกัน ท่านทั้งสองจึงมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ
ต่อมาปี พ.ศ. 2435 ท่านได้ธุดงค์ เข้าเขตชัยนาท มาจำพรรษาอยู่ที่ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ขึ้นมาใหม่ ชาวบ้านต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติและพระเวทวิทยาคมของท่าน ท่านได้มีศิษย์เอกเป็นถึงเชื้อพระวงศ์ คือ "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" รวมถึงมีตำนานเกี่ยวกับ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ได้นำผ้าเจียดจากหลวงปู่ศุขไปแจกให้แก่ทหารเรือ เพื่อทำการทดลองอาคม โดยมี "ยัง หาญทะเล" ซึ่งเป็นทหารคนสำคัญ เป็นผู้รับอาสาทดลอง
หลวงปู่ศุข มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2466 สิริอายุได้ 76 ปี นับพรรษาได้ 54 พรรษา แต่แม้ หลวงปู่ศุข จะละสังขารมาล่วงกว่า 100 ปีแล้ว แต่ท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาจากชาวชัยนาท และลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ ด้วยท่านเป็นพระเกจิผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคมแก่กล้า จนได้รับสมญา เจ้าสำนักทางพุทธาคมอันยิ่งใหญ่แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมอย่างสูง ด้วยพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และยังคงเป็นที่กล่าวขานและแสวงหา
ชื่อผู้แต่ง คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจปริทรรศ (ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๑๒)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๖๐ หน้า
รายละเอียด
วารสารเศรษฐกิจปริทรรศเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๕ บทความเช่น ภาวะเศรษฐกิจของไทยด้านต่างประเทศ,จุดอ่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยฯลฯ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมข้อคิดเห็นทางวิชาการของผู้สนใจทั่วไปและอาจารย์ในคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 147/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5จเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง เจ้าชายของประชาชน
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรมวิชาการ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๓๒ หน้า
รายละเอียด
เจ้าชายของประชาชน เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับชั้นประถมศึกษา ในด้านการส่งเสริมและปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจและ ยึดมั่นเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน พร้อมภาพประกอบ
ปฐมวงศ์
ชื่อผู้แต่ง จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๔๗ - ๒๔๑๑.
ชื่อเรื่อง ปฐมวงศ์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๐
จำนวนหน้า ๑๓๔ หน้า : ภาพประกอบ
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ งานฌาปนกิจศพหม่อมราชวงศ์กุนตี อ่องระเบียบ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
จัดพิมพ์ขึ้นในงานฌาปนกิจศพหม่อมราชวงศ์กุนตี อ่องระเบียบ เป็นบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๔ โดยเฉพาะบทพระราชนิพนธ์ ที่ไม่ได้ตีพิมพ์มานาน เพราะอาจเป็นประโยชน์ผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์และศาสนา
ชื่อเรื่อง : ตามใจผู้เขียน ชื่อผู้แต่ง : ส.ศิวรักษ์ ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : หจก. รวมสาส์น จำนวนหน้า : 596 หน้า สาระสังเขป : ตามใจผู้เขียน เป็นภาคต่อจากหนังสือเล่ม คุยคนเดียว เป็นการรวบรวมงานพูดที่ ส.ศิวรักษ์ ได้พูดออกอากาศทาง ททท. เป็นจำนวน 39 เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนแต่น่าสนใจทั้งในแง่ความรู้ และความคิดของนักคิดชื่อดังคนนี้ เรื่องในเล่มอาทิ -เที่ยวเรือตามคลองบางหลวง -อันเนื่องมาจากพระพุทธเลิศหล้าฯ -พระเจนดุริยางค์ -เที่ยวเรือกับท่านพุทธทาส -สยามสมาคม -ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล -อันเนื่องมาแต่ฟุตบอลประเพณี ฯลฯ
เรื่องราวของช้างที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดเพชรบุรี
ในพุทธศักราช ๒๕๒๑ จังหวัดเพชรบุรี โดยนายศุภโยค พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมช้างสำคัญ ๓ เชือก แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช เป็นช้างพลายอายุประมาณ ๒ ปีเศษ ชื่อ "ภาศรี" และพัง "ขวัญตา" กระทั่งต่อมา สำนักพระราชวังได้ส่งผู้ชำนาญไปตรวจคชลักษณ์ คือ จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) ผลปรากฏว่าลูกช้างพลายภาศรี และลูกช้างพังขวัญตา เป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราพระคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฏฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" ส่วนลูกช้างพลายดาวรุ่ง มีคุณลักษณะพิเศษ โดยมีเล็บครบเป็นช้างสำคัญที่หาได้ยาก เกิดในตระกูล “วิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ครบกระจอก”
ช้างสำคัญทั้ง ๓ เชือกนี้ ตามตำราพระคชลักษณศาสตร์นิยมว่า อุบัติมาเพื่อบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ควรแก่การขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ และเป็นสิริสวัสดิมงคลแก่อาณาประชาราษฎร์ ทั้งจะบังเกิดพืชผลผลาหารบริบูรณ์แก่ประเทศชาติ เมื่อปรากฏเป็นช้างสำคัญตามตำราพระคชลักษณศาสตร์เช่นนี้ ทางกระทรวงมหาดไทยร่วมด้วยประชาชนจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีความปลาบปลื้มยินดียิ่ง ที่ได้มีช้างสำคัญอุบัติขึ้นในจังหวัดเพชรบุรีถึง ๓ เชือกพร้อมกัน นับเป็นมหาอดิเรกบุญญาธิการ อันไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างสำคัญทั้ง ๓ ช้าง เพื่อเป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมีตามราชประเพณีสืบไป
ทั้งนี้ได้ทรงพระราชดำริเห็นว่า การที่มีช้างสำคัญเกิดขึ้นในพระราชอาณาจักร โบราณราชประเพณีย่อมนิยมว่าเป็นสิริมงคลอันอุดมประเสริฐแก่ประเทศชาติ เมื่อกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยประชาชน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญด้วยมงคลคชลักษณ์ตามตำราพระคชลักษณศาสตร์เช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเกียรติประวัติแก่ส่วนภูมิภาคนี้ และนับเป็นครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีนี้ขึ้น ในจังหวัดที่พบช้างสำคัญ
เลขทะเบียน : นพ.บ.393/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145 (48-57) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : คาถาพัน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.530/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178 (281-290) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง มงฺคลตฺถทีปนี (มงคลทีป) สพ.บ. 432/9ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--พระไตรปิฏก คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญ ณ พลับพลาหน้าโรงพระราชพิธีช้างต้น จังหวัดเพชรบุรี
(รหัสเอกสาร ฉ/ร/๖๕๑)